|
ทำไมเราไม่ "ทำเครื่องบินเอง" ซักที
 บ.ท.2 บริพัตร
นั่นสิครับ ทำไม......
คำถามนี้แล้ว สำหรับคนที่ชื่นชอบการบินทางทหาร โดยเฉพาะเรื่องเครื่องบินไทยแล้ว ถือเป็นคำถามโลกแตก และ Classic พอ ๆ กับคำถาม "ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน" พอก็ยังไม่มีใครตอบได้เหมือนกันว่าทำไม
ความจริงเราสร้างเครื่องบินเองมาก็ตลอดนะครับ มีเว้นบ้างมีหยุดบ้าง แต่ทางทอ.ก็สร้างเครื่องบินฝึกฝีมือช่างไทยอยู่เรื่อย ๆ และประจำการได้ 4 แบบ (เท่าที่ผมรู้) คือบริพัตร ประชาธิปก จันทรา และ Fantrainer แต่ก็นั่นแหละ ประจำการในจำนวนค่อนข้างน้อย และมีบางแบบก็กลายเป็นความผิดหวังของการบินไปซะ

ปัญหาเท่าที่สติปัญญาผมสรุปได้คงจะมีดังนี้น่ะครับ
1. ขาดการสนับสนุน อันนี้สำคัญครับ ส่วนใหญ่แล้วเราจะชอบมองว่าเครื่องบินต่างชาติดีกว่า เยี่ยมกว่า ควรซื้อ ซึ่งมันจริงทุกประการครับ แต่เราคงลืมไปว่าก่อนเก่งมันก็ต้องไม่เก่งซะก่อน ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด
2. ขาดเงิน การสร้างอากาศยานต้องใช้เงินจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งงบประมาณทางทหารมันน้อยอยู่แล้ว การจะเอาเงินมาทดลองก้คงจะลำบาก
3. ขาดเทคโนโลยี เทคโนโลยีในที่นี้หมายถึงเทคโนโลยีการผลิต การสร้างในระดับโรงงาน
4. ขาดประสบการณ์ ก็นั้นแหละครับ นักกีฬาไม่ได้ซ้อมก็คงเก่งไม่ได้

บรรดาเครื่องบินที่เราสร้างแล้วประจำการทั้ง 4 แบบนั้นมีประเด็นดังนี้ครับ
1.บริพัตรและประชาธิปก เราสร้างได้หลังจากพี่น้องตระกูลไรต์ไม่กี่ปี เข้าประจำการแล้วเคยบินไปประเทศอินเดียตามคำเชิญด้วย ถือเป็นเครื่องบินสร้างเองที่น่าจะประสบความสำเร็จ เพราะเราออกแบบเองทั้งหมด
2. จันทรา ได้ต้นแบบมาจากเครื่อง DHC-1 Chipmonk (บ.ฝ. 9) สร้างและเข้าประจำการ 12 ลำ เป็นเครื่องบินฝึกขั้นต้น
3. ทอ.ร่วมกันออกแบบกับบริษัทของเยอรมันโดยบริษัท RFB ซึ่งทำการสร้างเครื่องยนต์ ส่วนทอ.สร้างส่วนลำตัว และการประกอบทำโดยกองทัพอากาศเองที่ดอนเมือง พูดกันตรง ๆ คือเจ้า Fantrainer นี่ค่อนข้างมีปัญหาครับ ทำให้ประสบอุบัติเหตุค่อนข้างบ่อย ประจำการได้ประมาณ 10 ปีก็ปลดประจำการ

นี่แหละครับประวัติการสร้างเครื่องบินของเรา ความจริงพวกเราน่าจะภาคภูมิใจได้และลุกขึ้นมองไปข้างหน้า ถ้าเราจะสร้างเองใช้เองเราก้ควรเริ่มจากสิ่งเหล่านี้ครับ
1. ปรับวัฒนธรรมของเราใหม่ ปรับเป็นวัฒนธรรม "เราคนไทย ใช้ของไทย" พยายามสนับสนุนการสรางอากาศยานของไทยทั้งด้านงบประมาณและเทคโนโลยี (โดยเทคโนโลยีอาจจะมาจากการถ่ายทอดตอนเราซื้อเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่)
2. สร้างบุคลากรทางการบินขึ้นมา การสร้างเครื่องบินคงไม่ใช้แค่ดู ๆ เค้าแล้วสรางครับ มันต้องประกอบด้วยวิศวะกรหลายสาขา ทางทอ.ควรจะต้องสรางบุคลากรด้านนี้ให้มาก ๆ ซึ่งทอ.ทำแล้วครับ
3. พยายามหาลูกค้าในประเทศเมื่อสร้างเสร็จ ลูกค้าไม่ต้องมองไปไกลครับ หน่วยงานราชการเรานี้แหละ ทอ. ทร. ทบ. ตร. กองบินเกษตร รัฐบาล ใครต้องการเครื่องบินธุรการ แจ้งความต้องการมาแล้วสร้างตอบสนองความต้องการนั้น เท่านี้เราก็จะมีเครื่องบินไทยบินเต็มน่านฟ้าไทยแล้ว ต่อไปเมื่อเราทำได้ดีขึ้นเราก็เริ่มไปหาลูกค้าจากต่างประเทศได้

เป็นที่น่ายินดีว่าเมื่อประมาณปีที่แล้วทางรัฐบาลและกองทัพอากาศได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 30 กว่าล้านบาทให้ทางกรมช่างอากาศสรางเครื่องบิน 2 แบบ ซึ่งเป้นเครื่องบินใบพัด สามารถปฏิบัติภารกิจตรวจการและลาดตระเวรได้
ผมก็ไม่ได้เก่งอะไร แต่ผมขอเสนอดังนี้ครับ: อยากให้เครื่องบินที่จะสร้างใหม่นี้ทำการวิจัยและสร้างจนถึงระดับที่สามารถผลิตใช้ได้จริง จากนั้นจึงลองมองหาที่ ๆ จะประจำการครับ โดยผมเสนอให้นำไปประจำการที่กองบิน 53 ประจวบ บ้านของเจ้าบ.จธ.2 (AU-23A) Peacemaker เจ้ายุงมรณะของเราซึ่งประจำการมานานแล้ว เพราะไหน ๆ เราก็ไม่สามารถหาเครื่องที่มีคุณลักษณะเดียวกับเครื่อง AU-23A ได้ เราก็ควรสร้างเครื่องบินให้ตรงตามกับที่เราต้องการ แล้วก็ประจำการ โดยอาจจะประจำการซัก 1 - 2 ฝูง (20 - 40 ลำ) จากนั้นเราก็ลองถามไปยังทบ.ว่าท่านต้องการเครื่องบินธุรการหรือไม่ ถ้าต้องการจะต้องการซัก 5 - 10 ลำดีไหม แล้วกองบินตำรวจล่ะ ต้องการหรือไม่ กองบินเกษตร รัฐบาลด้วย ใครต้องการให้บอกมา รัฐบาลก็พยายามหางบมา น่าจะสร้างได้ประมาณ 40 - 50 ลำ เท่านี้ผมก็เห็นว่าเป็นก้าวแรกของการสร้างอุตสาหกรรมอากาศยานไทยแล้ว
 บ.ทอ.5
 บ.ชอ.1
 บ.ฝ.17 จันทรา
 บ.ทอ.2
 บ.ฝ.18 Fantrainer 400
Create Date : 03 เมษายน 2549 |
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 12:56:54 น. |
|
13 comments
|
Counter : 10004 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Plin, :-p วันที่: 8 เมษายน 2549 เวลา:12:01:21 น. |
|
|
|
โดย: jubchay IP: 58.9.13.170 วันที่: 10 เมษายน 2549 เวลา:19:49:28 น. |
|
|
|
โดย: แฟนน้องหนุ่ย IP: 58.9.6.43 วันที่: 17 เมษายน 2549 เวลา:16:21:04 น. |
|
|
|
โดย: S-s-S-s IP: 58.147.80.209 วันที่: 23 เมษายน 2549 เวลา:22:06:02 น. |
|
|
|
โดย: คาถาป้องกันแห้ว IP: 203.113.33.11 วันที่: 24 เมษายน 2549 เวลา:1:01:47 น. |
|
|
|
โดย: schwinnsree IP: 221.128.104.5 วันที่: 31 พฤษภาคม 2549 เวลา:0:19:52 น. |
|
|
|
โดย: neosiamese IP: 58.10.149.109 วันที่: 26 มิถุนายน 2549 เวลา:1:08:04 น. |
|
|
|
โดย: neosiamese IP: 58.10.149.109 วันที่: 26 มิถุนายน 2549 เวลา:1:22:49 น. |
|
|
|
โดย: spirit (pooktoon ) วันที่: 1 กรกฎาคม 2549 เวลา:17:15:28 น. |
|
|
|
โดย: SAAB IP: 124.121.231.193 วันที่: 15 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:12:35 น. |
|
|
|
โดย: SING BIRD IP: 125.24.129.92 วันที่: 21 กรกฎาคม 2550 เวลา:4:12:09 น. |
|
|
|
โดย: black IP: 203.113.71.135 วันที่: 5 สิงหาคม 2550 เวลา:13:28:03 น. |
|
|
|
โดย: Dca IP: 203.113.77.41 วันที่: 31 สิงหาคม 2550 เวลา:14:16:54 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @

|
|
|
|
|
|
|
เครื่องที่ว่าสร้างได้หลัง พี่น้องตระกูลไรท์ ได้ไม่นานนี่ วิศวกรคนไทยเราออกแบบเองหรือเปล่าครับ ใช้แบบโครงสร้างเดียวกับของตระกูลไรท์หรือเปล่าครับ
พอดีเห็นเขียนว่าออกแบบเองทั้งหมด คืออยากรู้ว่า วิศวกรตอนนั้นได้ไปร่ำเรียนมาจากที่โน่นแล้วได้ความรู้เลยทำได้ หรือว่า ไม่ได้ร่ำเรียนที่ไหน ลองออกแบบดูแล้วก็ทำได้ หรือว่าดูตัวอย่างแล้วก็คิดทำได้
อืม คำถามผมไม่ได้กวนนะ คือผมไม่ทราบจริงๆ และอยากรู้มาก
อีกอย่าง ถ้าบอกว่าไม่ได้เอาแบบมาจากเขา และสร้างหลังเขาไม่นาน แสดงว่าเราก็พัฒนาหรือวางแผนออกแบบเครื่องบินเองมานานแล้วหรือครับ
ผมผมเข้าใจมาเองตลอดว่า ในสมัยก่อน แม้ผลิตอะไรได้เองในประเทศ แต่วิศวกรเหล่านี้ก็ import จากต่างประเทศ เพราะหลายนสาขาวิชา ยังไม่ได้เปิดสอน ไม่มีคนสอน
เห็นด้วยครับว่า ปัญหาอยู่ที่งบประมาณ แต่ผมว่าอาจจะอยู่ที่บุคลากรที่ไม่พอด้วยหรือเปล่า เพราะเก่งยังไง ถ้าเก่งคนเดียว ไม่มีคนช่วยทำ มันก็คงทำอะไรได้ไม่สะดวกนัก
อ้อ ถามอีกข้อครับ งบสร้างเครื่องบินพวกนี้แต่ละลำประมาณเท่าไหร่ครับ