|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
มันมาแล้ว!!!...เอ้ย....ยินดีต้อนรับ "Su-30 MKM" สุดยอดเครื่องบินรบในอาเซียนของ "ทอ.มาเลเซีย"
แม้อาเซียนกำลังจะตั้งชุมชนอาเซียน รวมเป็นตลาดเดียวแต่เป็นฐานการผลิตร่วม รวมไปถึงการร่างกฏบัตรอาเซียน แต่การแข่งขันสะสมอาวุธในภูมิภาพนี้ดูแล้วจะยังไม่จบเอาง่าย ๆ ซึ่งเคราะห์แล้ว เป็นผลดีต่อความมั่นคงโดยรวมของภูมิภาคนี้มากที่เดียว
ผู้เล่นสำคัญในเกมส์นี้อย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ ต่างก็มีการจัดหาอาวุธสมัยใหม่กันอย่างคึกคัก และในปีที่ผ่านมา อินโดนิเซียก็เข้าร่วมชิงชัยในสังเวียนนี้ด้วย
หนึ่งในอาวุธที่ชาวอาเซียนต่างพูดถึงกันมาเป็นแรมปีนั้นก็คือ "Su-30 MKM" ของกองทัพอากาศมาเลเซีย จำนวน 18 เครื่อง ซึ่งยังไม่เคยมีใครเห็นหน้าค่าตามาก่อนเลย จะมีก็แต่ภาพ prototype ที่หลุดออกมาเท่านั้น
แต่มาวันนี้ ก็ถึงเวลาที่มาเลเซียจะเปิดตัวสุดยอดเครื่องบินรบแบบหนึ่งของโลกออกสู่สายตาดำ ๆ ของชาวอาเซียน ซึ่งจากภาพที่ได้รับการเปิดเผยนั้น ทำให้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่างในตัวเครื่องบินลำนี้ได้เป็นอย่างดี
มาวันนี้ ผมจึงขอนำทุกท่านไปทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ของเรา Su-30 MKM กันครับ
Sukhoi Fighter Aircraft A Tactical And Strategic Asset
From Mohd Haikal Mohd Isa
IRKUTSK (Russia), May 24 (Bernama) -- Royal Malaysian Air Force (RMAF) Chief Jen Datuk Seri Azizan Ariffin said the Sukhoi Su-30MKM multi-role fighter jet is a tactical and strategic asset to RMAF as its ability to cover long distances puts it on par with the air forces of neighbouring states.
"The Su-30MKM will act as a deterrent to parties that try to threaten the sovereignty of Malaysia," said Azizan when signing an early acceptance certificate for the delivery of two Su-30MKMs (M52-01 and M52-02) from representatives of Russian state corporation Rosoboronexport and the Irkut Aircraft Corporation here today.
The RMAF Chief arrived in this eastern Siberian city yesterday piloting a C-130 Hercules transport aircraft.
"Today is a historical day for the RMAF as the Su-30MKMs delivered are the most sophisticated multi-role aircraft in Southeast Asia," he told reporters at the Irkut Aircraft Corporation's runway with temperatures dipping to -10 degrees Celcius.
The two Su-30MKM jets are the first of 18 ordered by RMAF in May 2003 at a cost of RM3.42 billion (USD900 million).
The Malaysian delegation comprising senior RMAF officers and the media were treated to a 10-minute aerobatics show by a squadron of Su-30MKM jets.
Azizan said the two Sukhoi planes would be delivered in June using the Antonov AN-124 transport aircraft to the RMAF base in Gong Kedak, Kelantan.
The sixteen others will be delivered in stages between the end of the year and mid-2008.
Azizan said the fighters will be equipped with sophisticated air-to-air RVV-AE missiles.
RVV-AE is the Russian acronym for Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile or AMRAAMski in defence circles and is said to be as good if not better than the United States-made AMRAAMs.
Other than Malaysia, Singapore is believed to have equipped its F-16C Fighting Falcon aircraft with AMRAAMs.
The Su-30MKMs can fly for 4.5 hours with a range of 3,000km on a normal fuel tank, but with inflight refuelling, the time and distance can be extended to 10 hours and 8,000 km.
They are also equipped with high-powered radars to detect targets from afar enabling them to double up as early warning aircraft.
Meanwhile, the deputy general director of Rosoboronexport, Victor Komardin, said the RMAF's Su-30MKMs were the most versatile and modern multi-role combat aircraft (MRCA) aircraft in the world.
"They have the most modern engine, avionics and weapons systems," he said.
-- BERNAMA
ความเป็นมา
มาเลเซียเป็นประเทศที่มีปัญหาข้อพิพาษทางชายแดนและพื้นที่กับทุกประเทศที่อยู่ติดกัน ทั้งเรื่องการแย่งสิทธิเหนือหมู่เกาะกับอินโดนิเซีย การอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรดลี่ย์ อีกทั้งยังมีที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นั่นคือช่องแคบมะละกา ซ้ำร้ายยังมีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับประเทศสิงคโปร์
นโยบายด้านความมั่นคงของมาเลเซียจึงจำเป็นต้องตอบสนองทุก ๆ ข้อขัดแย้งดังที่กล่าวมาข้างต้น มาเลเซียถือว่าการมีอาวุธไม่ใช่เพื่อรบ แต่เพื่อป้องกันการรบไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้
พิจารณาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของมาเลเซียซึ่งมีแผ่นดินอยู่สองแห่งแล้ว จึงพบว่าหลักการใช้กำลังทางอากาศของมาเลเซียจำเป็นต้องเน้นไปที่เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ ปฏิบัติการได้ไกล และมีสองเครื่องยนต์เพื่อความปลอดภัย ดังจะเห็นได้จากเครื่องบินที่ประจำการอยู่ทั้ง MiG-29N, F-18D, Hawk 208 เป็นต้น
โครงการการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบใหม่จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองโจทย์นี้ โดย Su-30 MKM นั้นเป็นเพียงแบบเดียวที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งทางยุทธวิธี ยุทธศาสตร์ และการเมือง จึงทำให้ในปี 2003 มาเลเซียประกาศเลือกแบบแผน Su-30 MKM ให้ได้รับสัญญาสร้างจำนวน 18 ลำ ในโครงการมูลค่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง 1 ใน 3 ของมูลค่าสัญญา (300 ล้านเหรียญ) มาเลเซียจ่ายเป็นน้ำมันปาล์ม และมีเงื่อนไขในการส่งมนุษย์อวกาศไปกับยานโซยุสอีกด้วย
แม้ว่าจะเกิดข้อครหาในการทุจริตในโครงการที่มีการกินค่าคอมมิสชั่นกันเกือบ 10% และความล่าช้าในการผลิตและส่งมอบ แต่ในที่สุด Su-30 MKM สองเครื่องแรกก็ได้ทำพิธีส่งมอบให้กับกองทัพอากาศมาเลเซียในเดือนนี้
โฉมหน้าสาวรัสเซีย
มีหลายอย่างที่ดูจะผิดแผกไปจากการวิเคราะห์ของแหล่งข่าวทางทหารเมื่อทุกคนได้เห็น Su-30 MKM เป็นครั้งแรก นั้นคือตัวมันติดปีกคาร์นาร์ด (ปีกเล็ก ๆ ด้านหน้า) และมีเครื่องยนต์ปรับทิศทางได้ ซึ่งดูอย่างนี้ก็ยิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าเครื่องบินรุ่นนี้ได้รับแบบแผนจาก Su-30 MKI ของกองทัพอากาศอินเดียเป็นแน่แท้
Su-30 MKM Walk Around
ลองมาดูกันจะ ๆ ในแต่ละส่วนกันครับ
ในภาพนี้ จะเห็นสามส่วนหลัก ๆ ก็คือ ห้องนักบินที่ด้านหน้าจะเป็นห้องคนขับ (Pilot) และด้านหลังจะเป็นห้องของนายทหารอาวุธ (Weapon System Officer) ที่มีหน้าที่จัดการกับระบบอาวุธทั้งหมด ตามแบบแผนของ Su-30 ทั่วไป ทั้งนี้เพื่อลดภาระ (Work Load) ของนักบิน
ด้านซ้ายจะเห็นปืนกลอากาศ ส่วนด้านขวาที่เห็นมีผ้าคลุมสีแดงนั้นเป็นระบบ IRST (Infra-red search and track) ซึ่งใช้ตรวจจับเป้าหมายด้วยรังสีอินฟราเรด ตามแบบแผนของเครื่องบินรบยุคใหม่ ลักษณะจะเป็นลูกบอลแก้วที่สามารถตรวจจับเป้าหมายได้จากรังสีอิฟาเรดที่แผ่ออกมาครับ
ข้ามเข้ามาดูในห้องนักบินกันดีกว่าครับ
ภาพนี้คือห้องนักบินด้านหน้าครับ แม้ว่าจะดูยังไงก็ยังไม่สวยบาดใจเท่าห้องนักบินของตะวันตก แต่โดยรวมแล้วถือว่ารัสเซียพัฒนาการออกแบบห้องนักบินได้ดีขึ้นทุกวัน มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้มากขึ้นครับ จอสี่จอเป็นจอ LCD สีสำหรับแสดงข้อมูลทางการบินเช่นระบบอาวุธ แผนที่ เรด้าร์ ระบบแจ้งเตือนต่าง ๆ ซึ่งดูแล้วนักบินจะสามารถสั่งการได้จากคันบังคับเลย ไม่จำเป็นต้องละมือจากคันบังคับ
ส่วนภาพนี้เป็นห้องนักบินหลังครับ ดูแล้วค่อนข้างน่าประทับใจเหมือนห้องนักบินด้านหน้าทีเดียว
ถัดมาด้านข้าง จะพบกับปืนกลอากาศซึ่งน่าจะเป็นรุ่น GSh-301 ขนาด 30 ม.ม. บรรจุกระสุน 150 นัด
มองข้ามมาดูที่เนื้องาน ก็พบว่าเนื้องานเรียบร้อยมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีของรัสเซียพัฒนาไปมากแล้วครับ
มามองด้านหลัง ก็จะพบกันเครื่องยนต์ซึ่งผมไม่ทราบว่าเป็น AL-31FL หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ คือเครื่องยนต์รุ่นนี้สามารถปรับท่อไอพ่นได้ ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับเครื่องมากที่เดียว
แต่ก็มีข้อเสียก็คือ เครื่องยนต์รุ่นนี้มีอายุการใช้งานสั้น คือแค่ประมาณ 500 ชม. เท่านั้น และราคาต่อเครื่องก็น่าจะอยู่ที่ 1 - 2 ล้านเหรียญ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลมากทีเดียวครับ
หันมาดูอาวุธกันบ้างครับ งานนี้บอกอะไรได้หลายอย่างทีเดียว
ภาพนี้เป็นอาวุธพิสัยกลางซึ่งน่าจะเป็น R-27AE รุ่นที่ใช้ระบบ Active Rader แบบ AIM-120 AMRAAM ซึ่งนักบินไม่จำเป็นต้องล็อกเป้าหมายไว้ตลอดเวลา แต่สามารถสั่งยิงและทำภารกิจอื่นได้เลย
แต่ถ้าตัวนี้เป็น R-27ER ก็จะเป็นเพียงแต่ Semi-Active Rader เท่านั้น ซึ่งเทียบเท่ากับ AIM-7 Sparrow
อันนี้มันอยู่บนพื้นฐานของการที่ผมแยกสองรุ่นนี้ไม่ออกครับ แต่โดยส่วนตัวชื่อว่าน่าจะเป็น R-27AE มากกว่า
ซึ่งการปรากฏตัวของ R-27 ก็ทำให้ข่าวลือที่ว่ามาเลเซียมี R-77 รุ่นที่ใหม่กว่าไว้ประจำการนั้นไม่น่าจะจริง หรืออาจจะเป็นจริงแต่ยังเก็บไว้เป็นความลับอยู่
อย่างไรก็ตาม R-27 มีระยะยิงประมาณ 130 กม.
หันมาดู R-73 กันบ้างครับ อาวุธแบบนี้ถือเป็นอาวุธนำวิถีพิสัยใกล้ที่โดดเด่นมากในโลกการบินทางทหาร ตัวอาวุธใช้คู่กับหมวกบินติดศูนย์เล็งซึ่งนักบินเพียงแค่มองไปที่เป้าหมาย แล้วสั่งยิง อาวุธจะวิ่งเข้าหาเป้าหมายเอง ซึ่งตัวอาวุธมีความคล่องตัวสูงมาก และมีพิสัยยิงที่ค่อนข้างไกลทีเดียว
น่าเสียดายที่งานเปิดตัวนี้ ทางการมาเลเซียไม่ได้เปิดเผยถึงแบบของอาวุธโจมตีภาคพื้นดินที่จะติดตั้งกับ Su-30 MKM นี้ ซึ่งยังไม่อยากวิเคราะห์อะไรมากครับ แต่ก็สามารถพูดได้ว่าอาวุธแต่ละอย่างล้วนเป็นหมัดหนักและยิงไกลทั้งสิ้น ยิ่งถ้าทางการมาเลเซียบรรลุข้อตกลงในการจัดซื้อขีปนาวุธโจมตีเรือบรามอสจากอินเดียด้วยแล้วล่ะก็ ก็จะเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเรือรบในภูมิภาคนี้ ที่ส่วนมากไม่มีความสามารถในการป้องกันภัยจากอาวุธปล่อยความเร็วเหนือเสียงครับ
ผลกระทบและสัญญาณต่อภูมิภาค
ดูเครื่องแล้วน่าประทับใจมากทีเดียวครับ
เห็นอย่างนี้ ก็ต้องยกตำแหน่งสุดยอดเครื่องบินในภูมิภาคอาเซียนนี้ให้ Su-30 MKM ได้เลยอย่างไม่ต้องสงสัย และคู่ต่อกรที่สมน้ำสมเนื้อที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น F-15SG ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่มีความทันสมัยไม่แพ้กัน เพียงแต่ว่า F-15SG ยังไม่ได้ทำการสร้าง อยู่ในขั้นเตรียมการสร้างเท่านั้น
ซึ่งการจัดซื้อจัดหาเครื่องบินรบในช่วง 5 ปีหลังของอาเซียน ทั้งการจัดซื้อ Su-30 MKM ของมาเลเซีย, F-15SG ของสิงคโปร์, Su-27/30 ของเวียดนาม, Su-30 ของอินโดนิเซีย ล้วนทำให้ภูมิภาคนี้เข้าสู่ยุคเครื่องบินขับไล่โจมตีทางลึกขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ทั้งนี้ เนื่องมาจากยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ อย่าง "การตั้งรับเชิงรุก" หรือ "การทำสงครามนอกบ้าน" ที่มีเป้าหมายที่จะทำลายประสิทธิภาพของอาวุธและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ตั้งแต่อยู่ในบ้านของข้าศึก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในประเทศของตน ทำให้การโครงการบ.ข. 20 ของไทยเป็นที่น่าจับตาว่าจะจัดหาเครื่องบินแบบใด และถ้าเป็นแบบเล็กอย่าง JAS-39 หรือ F-16 ก็ต้องดูถึงระบบอาวุธและอิเล็กทรอนิกต์ที่จะตามมาว่า มีอะไรที่จะรับมือกับยุทธศาสตร์แบบใหม่นี้
แต่ ณ ปัจจุบันนี้ สามารถพูดได้เลยว่า Su-30 MKM มีโอกาสที่จะเอาชนะเครื่องบินของประเทศอาเซียนได้ทุกประเทศทีเดียวครับ
บทสรุป
แม้ภูมิภาคเราอาจจะไม่เดือดปุด ๆ อย่างตะวันออกกลางและตะวันออกไกล แต่การจัดซื้ออาวุธของประเทศในภูมิภาคนี้ก็มีความคึกคักตามอัตภาพของแต่ละประเทศอยู่มากทีเดียวครับ
ในปี 2008 มาเลเซียจะได้รับเครื่องบินครบตามจำนวน ซึ่งมาเลเซียเตรียมพร้อมฝึกนักบินและนายทหารอาวุธไว้ 72 คน ซึ่งผมคาดว่ามาเลเซียน่าจะประกาศความพร้อมรบของ Su-30 MKM ได้ในปี 2009-2010 นี้ได้แน่นอน
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องติดตามกันก็คือ ปัญหาด้านความพร้อมรบของทอ.มาเลเซียที่ประสบกับเครื่องบินแทบทุกแบบนั้น จะเกิดขึ้นกับ Su-30 MKM หรือไม่ เวลาเท่านั้นครับที่จะให้คำตอบ
และผู้บัญชาการทางทหารของมาเลเซียยังได้ยุติข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยกล่าวว่ามาเลเซียจะไม่หยุดปฏิบัติการด้วย MiG-29N ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด โดยจะยังทำการบินกับ MiG-29N ไปจนถึงปี 2010 ครับ
รายละเอียดของ MKM ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าไปได้ที่นี่ครับ
"บทวิเคราะห์ Su-30 MKM ของมาเลเซีย"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=14-01-2007&group=1&gblog=29
"รู้จักกับกองทัพอากาศมาเลเซีย"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=18-03-2006&group=3&gblog=26
"ความพร้อมรบของทอ.มาเลเซีย: ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก และบทเรียนสำหรับกองทัพอากาศไทย"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=13-09-2006&group=3&gblog=43
ภาพการรับมอบ Su-30 MKM ที่มากกว่านี้ สามารถชมได้ที่
//pilot.strizhi.info/2007/05/26/3705#more-3705
สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ
Create Date : 28 พฤษภาคม 2550 |
Last Update : 24 มีนาคม 2551 7:31:49 น. |
|
28 comments
|
Counter : 10507 Pageviews. |
|
|
|
โดย: bomb IP: 202.143.185.97 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:12:40:46 น. |
|
|
|
โดย: Aircraft IP: 203.114.127.173 วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:13:14 น. |
|
|
|
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:08:01 น. |
|
|
|
โดย: aaaa/x IP: 203.188.32.60 วันที่: 30 พฤษภาคม 2550 เวลา:16:49:55 น. |
|
|
|
โดย: natty IP: 203.188.28.153 วันที่: 31 พฤษภาคม 2550 เวลา:17:45:55 น. |
|
|
|
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 31 พฤษภาคม 2550 เวลา:20:43:48 น. |
|
|
|
โดย: ต้อม IP: 124.121.172.119 วันที่: 1 มิถุนายน 2550 เวลา:13:34:52 น. |
|
|
|
โดย: คนมันน่ารัก วันที่: 4 มิถุนายน 2550 เวลา:5:58:37 น. |
|
|
|
โดย: a IP: 203.209.28.140 วันที่: 4 มิถุนายน 2550 เวลา:21:11:49 น. |
|
|
|
โดย: สุดยอดคับ IP: 124.120.18.95 วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:3:21:25 น. |
|
|
|
โดย: moopaa IP: 203.113.35.10 วันที่: 22 มิถุนายน 2550 เวลา:19:50:49 น. |
|
|
|
โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 23 มิถุนายน 2550 เวลา:2:31:17 น. |
|
|
|
โดย: ชัยวัฒน์ IP: 203.150.192.71 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:20:20:25 น. |
|
|
|
โดย: ชัยวัฒน์ IP: 203.150.192.71 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:20:21:16 น. |
|
|
|
โดย: ชัยวัฒน์ เจ้าหน้าที่ราชทัณ IP: 203.150.192.71 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:20:36:16 น. |
|
|
|
โดย: ผู้ชนะสิบทิศ:ชัยวัฒน์ IP: 203.150.192.71 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:21:10:15 น. |
|
|
|
โดย: วัยรุ่นเซ็ง IP: 124.121.19.140 วันที่: 5 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:15:14 น. |
|
|
|
โดย: S.A.S. IP: 203.144.135.18 วันที่: 14 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:21:48 น. |
|
|
|
โดย: นาย ธนัท IP: 203.149.12.234 วันที่: 17 สิงหาคม 2550 เวลา:15:02:33 น. |
|
|
|
โดย: ttr IP: 61.7.160.250 วันที่: 18 สิงหาคม 2550 เวลา:21:54:26 น. |
|
|
|
โดย: F16 IP: 58.8.156.227 วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:0:50:49 น. |
|
|
|
โดย: ติ๊ก IP: 222.123.230.71 วันที่: 5 ตุลาคม 2550 เวลา:18:17:56 น. |
|
|
|
โดย: ว๊อดก๊า IP: 203.151.240.74 วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:15:41:39 น. |
|
|
|
โดย: SkyGod IP: 124.121.125.88 วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:22:06:19 น. |
|
|
|
โดย: f-16 IP: 203.113.76.71 วันที่: 23 ตุลาคม 2550 เวลา:11:12:10 น. |
|
|
|
โดย: เดรัจฉาน IP: 124.121.102.86 วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:19:36:57 น. |
|
|
|
โดย: เบียร์แดนชล (beerhob ) วันที่: 30 ตุลาคม 2550 เวลา:14:52:27 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
|
|
|
|
|
|
|