ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
เมษายน 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 เมษายน 2549
 
All Blogs
 
เรือรบใหม่ของกองทัพเรือไทยในแผนปรับปรุงกองทัพ 9 ปี




ช่วงนี้ผมฟิตครับ ฟิตจริง ๆ เขียนอยู่ได้ blog น่ะ เหอ ๆ.....ผมชอบขีด ๆ เขียน ๆ แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ชอบอ่ะครับ ยังไงท่านใด้เบื่อซะก่อนก็ขออภัยครับ

หลังจากพอทราบเรือดำน้ำที่ "น่าจะ" เป็นเป้าหมายของกองทัพเรือไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูเรือผิวน้ำดูบ้างครับ ซึ่งทร.ต้องการใหม่อีก 3 ชนิดคือ Frigate 2 ลำ OPV 4 ลำ และ LPD 2 ลำ ในระยะเวลา 9 ปี โดยเน้นที่การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร ซึ่งแต่ละแบบเป็นอย่างไรก็เชิญติดตามครับ



High Performance Frigate


สเปคที่ทางทร.กำหนด

บันทึก 6 รายละเอียดความต้องการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของ ทร.
6.1 ประเภท : เรือฟริเกตสมรรถนะสูง
6.2 โครงการ : 2 ลำ, ระยะเวลาโครงการ : 2549 - 2553
6.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
6.3.1 ต่อต้านภัยผิวน้ำได้
6.3.2 ต่อต้านภัยทางอากาศได้ตั้งแต่ระยะปานกลาง
6.3.3 ต่อต้านภัยจากเรือดำน้ำ
6.3.4 ทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์
6.3.5 ระดมยิงฝั่ง
6.3.6 ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
6.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
6.4.1 ระวางขับน้ำเต็มที่ ระหว่าง 2,000 - 3,000 ตัน
6.4.2 ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 25 นอต
6.4.3 ระยะปฏิบัติการ (ที่ความเร็วมัธยัสถ์ไม่ต่ำกว่า 18 นอต) ไม่น้อยกว่า 4,000 ไมล์ทะเล
6.4.4 ปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 15 วัน
6.4.5 ปฏิบัติการได้ในสภาวะแวดล้อมถึง Sea State 5
6.4.6 มีดาดฟ้า ฮ. และโรงเก็บ สามารถสนับสนุนการปฏิบัติของ ฮ. ได้ถึงขนาดน้ำหนัก 22,000 ปอนด์
6.4.7 ระบบขับเคลื่อน เป็นเครื่องจักรดีเซล หรือแกสเทอร์ไปน์ หรือผสมกัน อย่างน้อย 2 เครื่อง
6.4.8 ระบบอาวุธ : อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น; พื้น-สู่-อากาศ; ตอร์ปิโด
: ปืนหลัก ขนาด 76 มม. ปืนรอง ขนาด 40/30 มม. และ 20 มม.
: อาวุธป้องกันตนเองระยะประชิด 1 ระบบ ระบบเป้าลวง
6.4.9 ระบบอำนวยการรบ เป็นแบบรวมการ
6.4.10 มีระบบสื่อสารทั้งภายในและภายนอก และทัศนสัญญาณตามย่านความถี่และมาตรฐานที่ ทร.กำหนด
6.4.11 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้สามารถปฏิบัติการได้เนื่องอย่างน้อย 30 ปี

ซึ่งความต้องการนี้อยู่ในหมวด "การป้องกันประเทศและรักษาสมดุลกำลังทางเรือในภูมิภาค" ทำให้ทราบว่าทร.ก็ตระหนักดีถึงดุลอำนาจทางทะเลที่เปลี่ยนไป แถมเรือฟริเกตที่มีอยู่ก็ยังไม่พอใช้ด้วย

วิเคราะห์สเปค

ด้วยน้ำหนัก 2,000 - 3,000 ตันทำให้เราจะได้เรือฟริเกตขนาดกลาง โดยระบุถึงความสามารถในการรบทั้ง 3 มิติ คือใต้น้ำ ผิวน้ำ และอากาศ ข้อสังเกตุคือทร.ระบุความต้องการเอาไว้ว่าจะต้องสามารถต่อต้านภัยทางอากาศได้ตั้งแต่ระยะปานกลาง ซึ่งคาดว่าระบบ SAM (Surface-to-Air Missile) นั้นคงเป็น AIM-7 Sea Sparrow ซึ่งติดตั้งบนฐานยิงจรวดทางดิ่ง (Vertical Launching System:VLS) แบบ Mk. 41 มีระยะยิงไกลสุดประมาณ 55 กิโลเมตร

ถัดมาลองมามองดูอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น (Surface-to-Surface Missile:SSM) กันบ้างครับ โดยในปัจจุบันก็มีอาวุธที่น่ามองอยู่ 3 แบบคือ Harpoon (USA), Exocet MM40 Block III (France), และ RBS-15 (Sewden) ซึ่งตัวหลังนี้ถ้าเราซื้อ JAS-39 ทางสวีเดนก็จะแถม RBS-15 รุ่นยิงจากเครื่องบินมาด้วย โดยแต่ละแบบก็มีความทันสมัยและสามารถยิงได้เกินร้อยกิโลเมตรทั้งหมด ใจผมผมเชื่อให้ใช้ Harpoon Block หลัง ๆ แต่ถ้ามะกันม่ยอมขายอีก RBS-15 เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุด
สำหรับอาวุธป้องกันตัวระยะประชิด 1 ระบบนั้น Phalanx ก็คงนอนมาแน่นอน
แต่สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ งบประมาณสำหรับเรือ 2 ลำที่ตั้งเอาไว้ 30,000 ล้านบาทนั้นถือว่าค่อนข้างแพงอยู่ ถ้าเทียบกับเรือล่องหนชั้น La Fayette ของทร.สิงคโปร์ที่มีราคาเพียงแค่ 7,000 กว่าล้านบาท ทำให้สงสัยว่าอะไรกันหนอที่ทำให้เจ้าสาวใหม่ของทร.จึงมีค่าสินสอดแพงขนาดนี้

AEGIS หรือเปล่า????? อันนี้น่าติดตามครับ

ปล. ผมยังไม่สามารถคาดเดาถึงแบบเรือลงไปได้เลย เพราะเวลาทร.ต่อเรือแต่ละทีเราจะร่วมออกแบบหรือปรับปรุงแบบจากของเดิมเสมอ หลัง ๆ มานี่เราถึงกับออกแบบเองทั้งลำ (ร.ล.ปัตตานี) ซึ่งผมยังไม่เก่งพอที่จะมองว่าเรือชั้นใดที่ทร.อาจจะนำมาเป็นพื้นฐานในการออกแบบหรือแม้แต่ซื้อใช้ไปเลย แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาเรามีข่าวกับทางเกาหลีใต้ อังกฤษ และล่าสุดเยอรมัน ซึ่งปีนี้เป็นเพียงปีแรกของโครงการ คงจะไม่มีรายละเอียดมากนัก



Off-Shore Patrol Vessel



ร.ล.ปัตตานี เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำแรกของไทย


สเปคที่ทางทร.กำหนด
บันทึก 3 รายละเอียดความต้องการเรือตรวจการไกลฝั่งของ ทร.
3.1 ประเภท : เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง
3.2 โครงการ : 4 ลำ, ระยะเวลาโครงการ : 2552-2555
3.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
3.3.1 ลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเล
3.3.2 ค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
3.3.3 ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล
3.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
3.4.1 ระวางขับน้ำ 1,000 - 2,000 ตัน
3.4.2 ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 25 นอต
3.4.3 ระยะปฏิบัติการ (ที่ความเร็วมัธยัสถ์ไม่ต่ำกว่า 15 นอต) ไม่น้อยกว่า 3,500 ไมล์ทะเล
3.4.4 ปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 20 วัน
3.4.5 ปฏิบัติการในทะเลได้ถึง Sea State 5
3.4.6 มีดาดฟ้า ฮ. พร้อมอุปกรณ์รับ-ส่ง ฮ. ได้ถึงขนาด 22,000 ปอนด์
3.4.7 ระบบขับเคลื่อน เป็นเครื่องจักรใหญ่ดีเซล
3.4.8 ระบบอาวุธ : ปืนหลัก ขนาด 76 มม. พร้อมระบบของควบคุมการยิง
: ปืนรอง และอาวุธปืนระยะประชิด ขนาด 20 มม. และ .05 นิ้ว
: สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น, พื้น-สู่-อากาศ และแท่นยิงเป้าลวงในอนาคตได้
3.4.9 ระบบตรวจการณ์และพิสูจน์ทราบ สนับสนุนการปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
3.4.10 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้สามารถปฏิบัติการได้เนื่องอย่างน้อย ๓๐ ปี

เรือ OPV นี้เป็นเรือรบอีกประเภทนึงครับ มันจะมีขนาดเพียง 1,000 - 2,000 ตัน ในยามปรกติหน้าที่มันคือลาดตระเวนทางทะเล โดยจะแบกไปแค่ปืนเรือและปืนกลเท่านั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เรือฟริเกตซึ่งออกแบบมาทำการรบโดยตรงมาทำการลาดตระเวน เพราะจะทำให้ฟริเกคนั้นเก่าเร็วและค่าใช้จ่ายสูง แต่ในยามสงครามเรือ OPV สามารถติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่พื้นและพื้นสู่อากาศ และเข้าร่วมกับกองเรือรบเหมือนเรือฟริเกตเบาลำนึงได้เลยทีเดียว
สำหรับเรือในหมวดนี้ผมขอเชียร์ใช้ทางทร.ไม่ต้องมองไกลที่ไหน เพียงแต่ทร.ต่อเรือชั้นปัตตานีเพิ่มอีก 4 ลำก็น่าจะเพียงพอแล้วเพราะ
1. เป็นการลดแบบเรือให้มีความหลากหลายลดลง ทำให้ลดภาระการซ่อมบำรุงและอะไหล่ลงได้มาก
2. เรือปัตตานีก็มีระบบต่าง ๆ ที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว โดยเรือสามารถติด Harpoon ได้เลย เพราะระบบต่าง ๆ แม้แต่สายไฟก็เดินไว้แล้ว
3. นอกจากนั้นทร.ก็ควรจะต่อเรือทั้ง 4 ลำในไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย และไทยก็มีความสามารถที่จะต่อเรือระดับนี้ได้อยู่แล้ว ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญครับ

HTMS Pattani Specification

ความยาวตลอดลำ 95.5 เมตร
ความกว้างสูงสุด 11.6 เมตร
กินน้ำลึกสูงสุด 3 เมตร
ระวางขับน้ำสูงสุด 1440 ตัน
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล Ruston 16RK270 2 เครื่อง
เครื่องไฟฟ้า MAN D2840LE301 4 เครื่อง
ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 25 นอต
ระบบอำนวยการรบ STN ATLAS Combat Suite 1 ระบบ
เรดาร์ควบคุมการยิง TMX/EO 1 ระบบ
ปืน 76/62 Super Rapid 1 กระบอก
ปืนกล 20 มม. 2 กระบอก
ปืนกล .50 นิ้ว 2 กระบอก
กำลังพลประจำเรือ 84 นาย

หมายเหตุ: เยี่ยมเว็บไซต์เรือหลวงปัตตานี พร้อมภาพการปฏิบัติงานได้ที่ //www24.brinkster.com/pookky/rtnopv511/



Landing Platform Dock



Albion Class of Royal Navy


สเปคที่ทางทร.กำหนด

บันทึก 1 รายละเอียดความต้องการเรืออเนกประสงค์/ลำเลียง/ช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ฝึก ของ ทร.
1.1 ประเภท : เรืออเนกประสงค์/ลำเลียง/ช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ฝึก (LANDING PLATFORM DOCK : LPD)
1.2 โครงการ : 2 ลำ ระยะเวลาโครงการ : 2549 - 2553
1.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
1.3.1 เคลื่อนกำลังจากทะเลสู่ฝั่ง (โจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบก)
1.3.2 ช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาสาธารณภัยตามชายฝั่ง
1.3.3 ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
1.3.4 ฝึกกำลังพล
1.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
1.4.1 ระวางขับน้ำระหว่าง 6,000 - 9,000 ตัน
1.4.2 ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องมากกว่า 20 นอต
1.4.3 ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วมัธยัสถ์ (ไม่ต่ำกว่า 15 นอต) ไม่น้อยกว่า 5,000 ไมล์
1.4.4 ปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 45 วัน
1.4.5 ปฏิบัติการในทะเลได้ถึง Sea State 6
1.4.6 รับ – ส่ง และสนับสนุนการปฏิบัติของ ฮ.ประจำเรือ ได้ถึงขนาดน้ำหนัก 22,000 ปอนด์
1.4.7 ระบบขับเคลื่อน เป็นเครื่องจักรใหญ่ดีเซล
1.4.8 ระบบอาวุธ : ปืนหลัก ขนาด 76 มม. พร้อมระบบของควบคุมการยิง
: ปืนรอง ขนาด 20/30 มม. และ .50 นิ้ว และอาวุธปืนระยะประชิด
1.4.9 ขีดความสามารถในการบรรทุก
1.4.10 ดาดฟ้าบิน มีพื้นที่สำหรับ ฮ.ขนาดน้ำหนัก 22,000 ปอนด์ ลงจอดจำนวน 2 จุด
1.4.11 อู่ลอย (WELL DOCK) บรรทุกเรือระบายพลขนาดกลาง(LCM) 3 ลำ หรือยานเบาะอากาศ ได้อย่างน้อย 2 ลำ หรือเรือปฏิบัติการพิเศษแบบ Mk5 (เรือ Sea Fox) ได้อย่างน้อย 2 ลำ
1.4.12 ดาดฟ้าระวาง (WELL DECK) มีพื้นที่บรรทุกสิ่งอุปกรณ์ไม่ต่ำกว่า 150 ลูกบาศก์เมตร บรรทุกรถสะเทินน้ำสะเทินบกประมาณ 20 คัน และรถถังขนาดกลางประมาณ 30 คัน
1.4.13 สามารถรองรับกำลังทหารไม่ต่ำกว่า 500 นาย (รวมกำลังพลประจำเรือ)
1.4.14 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้สามารถปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง 30 ปี

นี่สิครับที่น่าสนใจ LPD ไม่เคยมีเข้าประจำการในไทยมาก่อนเลยครับ

LPD (Landing Platform Dock) เรือชนิดนี้ไม่มีคำเรียกภาษาไทยที่ครับก็จะขอเรียก LPD ละกัน เจ้า LPD นี้ออกแบบมาเพื่อขนส่งและแน่นอน สนับสนุนการยกพลขึ้นบก โดยเรือจะมีดาดฟ้าที่จะรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาดราว ๆ ซีฮอร์คได้ 2 ลำพร้อมกัน และก็มีพื้นที่ที่สามารถเก็บรถระบายพลและรถถังได้ด้วย สำหรับสนับสนุนการยกพลขึ้นบก และที่น่าตื่นตาตื่นใจก็คือ ทร.ต้องการยานยกพลขึ้นบกขนาดกลาง 3 ลำต่อ 1 LPD หรือ ยานเบาะอากาศอย่างน้อย 2 ลำต่อ 1 LPD


Mechanized Landing Craft: LCM Mk.8



Landing Craft, Air Cushion: LCAC


ซึ่งทั้งสองแบบนี้ (เลือกอันใดอันหนึ่ง) จะเพิ่มประสิทธิภาพในการยกพลขึ้นบกของกองพลนาวิกโยธินไทยได้อีกมากเลยทีเดียว แบบล่างที่จะดูดีมีระดับหน่อย เพราะตัวเรือมันอยู่บนเบาะอากาศและใช้ใบพัด 2 อันในการขับเคลื่อน ผมไม่แน่ใจว่ารุ่นไหนถึงจะสามารถใส่เข้าไปใน LPD ของเราได้ (ไม่เก่ง) จึงดูภาพแค่พอรู้แล้วกันครับ

นอกจากบทบาทในการยกพลขึ้นบกแล้ว เจ้า LPD นี่ยังสามารถปฏิบัติภารกิจกู้ภัยทางทะเลได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะเจ้า LPD มีน้ำหนักมาก สามารถทนทะเลคลื่นแรง ๆ ได้สบาย ทำให้การกู้ภัยทางทะเลตามเกาะหรือบริเวณเรืออับปางสามารถทำได้อย่างมีประสทิธิภาพมากขึ้น



จบครับ จขบ.หลังจากง่วนเรื่องอาวุธฆ่าคนมามากแล้ว ขอตัวไปทำข้าวผัดใส่บาตรก่อนนะครับ เดี๋ยวพระท่านไม่มีอะไรฉันท์

สุขสันต์วันสงกรานต์ ปีใหม่ไทยครับ



Create Date : 13 เมษายน 2549
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 12:59:29 น. 13 comments
Counter : 15701 Pageviews.

 
สงสัยว่า ระบบสงครามอิเลกทรอนิกค์ นี่มันคืออะไรหรอครับ


โดย: exsodus วันที่: 13 เมษายน 2549 เวลา:10:47:22 น.  

 
ขอบคุณครับที่เขียนเรื่องเรือรบให้ได้อ่านกัน แต่ผมว่าอีกนานแหละครับกว่าเราจะได้เนื่องจากตอนนี้ได้ข่าวแว่วๆมาจากบอร์ดWing21ว่าSU-30 ที่เราตั้งใจจะซื้อมาประจำการกันนี่มีปัญหาเรื่องงบ แต่ผมไม่รู้จริงหรือป่าวเพราะข้อเสนอเรากับรัสเซียไม่ใช่เงินแต่เป็นสินค้าทางการเกษตร....แต่ผมก็หวังว่าจะได้เห็นSU-30และเรือฟริเกต,เรือLPD มาอยู่ในประเทศไทยเร็วๆนะครับ ขอบคุณที่เขียนเรื่องราวดีๆให้เราได้อ่านกันครับ


โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.15.122 วันที่: 13 เมษายน 2549 เวลา:15:55:55 น.  

 
ถ้ามีก็สุดยอดไปเลย


โดย: tHeNuTz IP: 61.19.169.71 วันที่: 13 เมษายน 2549 เวลา:19:44:56 น.  

 
เออ ผมว่า คุณ สกายแมน ไหนๆ ก็ไหนๆ เอาเรื่อง ระบบอีจีสและผองเพื่อน แล้วเรือระบบ อีจีสมาลงด้วยน่าจะเียี่ยมไปเลยนะ


โดย: Johnny Thunders. IP: 58.9.43.51 วันที่: 13 เมษายน 2549 เวลา:22:24:17 น.  

 
อืม เป็นไอเดียที่ดีครับ ผมมีข้อมูลเคยเขียนเอาไว้แล้วด้วย เดี๋ยวจะลองก๊อปมาลงอ่ะครับ


โดย: Skyman IP: 203.121.187.3 วันที่: 13 เมษายน 2549 เวลา:23:47:01 น.  

 
ขยันอัพบล็อกดีจังครับ จะได้แว่บเข้ามาอ่านบ่อยๆ


โดย: crimson parasol IP: 61.91.35.48 วันที่: 14 เมษายน 2549 เวลา:16:18:25 น.  

 
ระบบสงครามอิเล็คทรอนิคส์(Electronics Warfare)คือการทำสงครามกัน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครับ(เล่นง่ายจังนะแก) เอาให้เห็นภาพก็เช่น การดักฟังทั้งคลื่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หรือการ แจมคลื่น การส่งคลื่นรบกวน การส่งข่าวกรองทางอิเล็คทรอนิคส์แบบลวง มาตรการตอบโต้ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ(ชาฟฟ์ แฟลร์ แจมเมอร์ ) ยิ่งเขียนยิ่งงง ไปดีกว่า


โดย: ไอซี่ซีเอ็มยู IP: 203.156.130.115 วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:19:50:33 น.  

 
จาก30,000ล้าน หาร2ลำได้1.5หมื่นล้านต่อลำ ได้เป็น375million USD..
ซึ่งผมค้นไปเจอ(JaneDefenceWeekly Dec14,05) ว่าขนาดโครงการDDXของเมกายังใช้แค่ประมาณ 300mUSDสำหรับลำแรก และ200mUSD สำหรับ6ลำแรกที่เหลือ ตรงนี้ ถ้าหากไม่ได้เป็นเจ๋งสุดๆแบบDDX ย่อส่วนก็ขอให้เป็นการทุ่มงบสำหรับการต่อเองในประเทศครับ


โดย: MSTN IP: 203.209.41.12 วันที่: 18 เมษายน 2549 เวลา:17:33:58 น.  

 

ท่าน MSTN ครับ ราคาเรือ DDX ที่ว่าน่ะต้นแบบหรือเปล่าครับ(ย่อส่วน) เพราะปัจจุบันราคาเรือเอจีสของเมกาตอนนี้ตกลำละกว่า 1,000 ล้านเหรียญแล้วนะครับ (กว่า 40,000 ล้านบาท!) แพงโหดนะครับ
ระบบอำนวยการรบแบบรวมการมีหลายระบบครับนอกจากเอจีส ยังมีของยุโรป PAAM และของเยอรมัน Sewaco FD combat system แล้วก็ยังมีของดัชท์อีก SEWACO XI combat data system (จริงๆทั้งสองระบบผลิตโดย Thales จากดัชท์เช่นกัน
แต่ผมว่าเอจีสออกหวยมากกว่านะครับ เพราะเรือชั้นนเรศวรของเราออกแบบมาแต่แรกให้ใช้ MK-41 กับ จรวด ESSM ซึ่งเรือระวางขนาดนี้ น่าจะเป็นเรด้าห์ SPY-1K มากกว่านะครับ
แหมถ้าใช้เอจีสจริง น่าจะขอให้ใช้ Mk-41 strike ที่ใช้ SM-2ER ได้ด้วยนะครับ เจ๋ง........


โดย: neosiamese IP: 58.10.149.109 วันที่: 26 มิถุนายน 2549 เวลา:0:22:28 น.  

 
อยากเป็นทหารแต่เป็นไม่ได้


โดย: มิ่ง IP: 124.120.51.122 วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:10:58:43 น.  

 
สัส


โดย: ขวัญ IP: 124.120.51.122 วันที่: 15 มิถุนายน 2550 เวลา:10:59:37 น.  

 
พวก มือบอน ไปเอาข้อมูลอะไรมาเขียนรู้ไหมข้อมูลที่เขียนไป ผลมันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำเป็นรู้มาก


โดย: ทหารจริงๆ IP: 61.19.220.13 วันที่: 3 สิงหาคม 2550 เวลา:16:27:45 น.  

 
ขอถามความเป็นแนวทาง ในตอนนี้ถ้าพิจารณาทางยุทธศาสตร์ แล้ว ภัยคุกคามที่อาจเพิ่มขึ้น หลากหลาย รุนแรง เช่นที่สำคัญที่สุดคือ เรือดำน้ำที่เพิ่มขึ้น ในภูมิภาค เป็นภัยคุกคามที่ต้องมีการคานอำนาจอย่างเด่นชัด ขอความเห็นท่านหน่อยครับควรวางยุทธศานตร์ใหม่มั้ย แลวต้องจัดหา เรือ หรือ อุกรณ์ใดจึงเหมาะ


โดย: ohm T navy IP: 61.19.220.5 วันที่: 22 กันยายน 2550 เวลา:11:25:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.