|
ฟันธง!!! "เรือดำน้ำ" เหมาะกับไทยหรือไม่ พร้อมวิเคราะห์ตัวเลือกที่เป็นไปได้สำหรับไทย
เนื่อจากคุณ exsodus ใจตรงกับผมเป็นที่สุด เพราะผมก็กะว่าจะเขียนเรื่องเรือดำน้ำฉลองสงกรานต์ซะหน่อย เพราะมันก็น้ำ ๆ เหมือนกัน ประกอบกับไทยวางโครงการในแผนพัฒนากองทัพ 9 ปี (ที่อาจจะต้องยืดออกไปนานกว่านั้น) ว่าจะจัดหาเรือดำน้ำมาใช้งาน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่เราน่าจะมาทำความรู้จักกับเรือดำน้ำที่น่าจะได้ติดธงราชนาวีไทยในอีก 10 ปีนับจากนี้ แต่ก่อนอื่นต้องอกตัวก่อนว่าผมไม่ชำนาญเรื่องเรือดำน้ำ ทำให้ข้อมูลอาจจะไม่ลึกเท่าที่ควร ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ประวัติของเรือดำน้ำกับราชนาวีไทย
 เรือหลวงมัจฉาณุ ลำที่ 2 ภาพของคุณ OA แห่ง Wing21
ไทยเป็นชาติเอเชียชาติที่สองต่อจากญี่ปุ่น และเป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ เรือดำน้ำชุดแรกนั้นเราสั่งต่อจากประเทศญี่ปุ่นอันเป็นมหามิตรของเราในช่วงนั้น และขึ้นระวางประจำการในปี 2481 ประกอบด้วย 1. ร.ล.มัจฉาณุ (ลำที่สอง) 2. ร.ล.วิรุณ 3. ร.ล.สินสมุทร 4. ร.ล.พลายชุมพล และปลดประจำการในปี 2494 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำได้เคยออกปฏิบัติการหลังจากที่เรือหลวงธนบุรีถูกจมแล้ว (ถ้าตอนนั้นเรือดำน้ำอยู่แถวนั้นอะไร ๆ อาจจะไม่เป็นอย่างนี้) หลังจากนั้นเราก็ไม่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการอีกเลย

เรือดำน้ำในชาติอาเซียนในปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีอยู่ 4 ชาติในอาเซียนที่ประจำการด้วยเรือดำน้ำคือ เวียดนาม อินโดนิเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยอินโดนิเซียก็มีแผนที่จะสั่งเรือดำน้ำเพิ่มอีก 8 ลำในอีกหลายปีข้างหน้า ส่วนสิงคโปร์เพิ่งซื้อเรือดำน้ำมือสองที่ปรับปรุงโดยติดระบบ AIP (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) จากสวีเดน และมาเลเซียสั่งเรือ scorpene จากฝรั่งเศส 2 ลำ จะได้รับมอบในปี 2553 ส่วนเวียดนามใช้เรือดำน้ำที่เก่ามากในปัจจุบัน
ความต้องการของกองทัพเรือในส่วนของเรือดำน้ำ
บันทึก 9 รายละเอียดความต้องการเรือดำน้ำของ ทร. 9.1 ประเภท : เรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังธรรมดา 9.2 โครงการ : 2 ลำ, ระยะเวลาโครงการ : 2555 - 2560 9.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ 9.3.1 โจมตีเรือผิวน้ำ 9.3.2 ปราบเรือดำน้ำ 9.3.3 วางทุ่นระเบิด 9.3.4 ลำเลียงหน่วยปฏิบัติการพิเศษ 9.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ 9.4.1 ระวางขับน้ำใต้น้ำ 1,000 - 2,500 ตัน 9.4.2 รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 2,500 ไมล์ 9.4.3 ปฏิบัติการในทะเลได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15 วัน 9.4.4 ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบดีเซลไฟฟ้า พร้อมระบบ AIP (Air Independance Propulsion) 9.4.5 มีเครื่องมือเดินเรือทั้งผิวน้ำและใต้น้ำที่สมบูรณ์ 9.4.6 ระบบสื่อสารเป็นแบบรวมการ ประกอบด้วย ระบบสื่อสารภายใน สื่อสารภายนอก ทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำและระบบ GMDSS 9.4.7 อุปกรณ์ตรวจจับ ประกอบด้วย ระบบโซนาร์แบบ PASSIVE และ/หรือ ACTIVE SONAR , ระบบ ELECTRONIC WARFARE , กล้อง Periscope 2 กล้อง ได้แก่ Attack และ Search โดยมีอุปกรณ์กล้อง IR/TV/กล้องถ่ายภาพนิ่ง/เรดาร์ติดตั้งร่วมด้วย 9.4.8 ระบบอาวุธ ประกอบด้วย ตอร์ปิโด จำนวน 6 - 8 ท่อ พร้อมคลังและขีดความสามารถบรรจุ ระบบ countermeasure และระบบลวงตอร์ปิโด/โซนาร์ 9.4.9 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้อย่างน้อย 30 ปี โดยส่วนที่ผมทำตัวดำเอาไว้นั้นคือข้อกำหนดสำคัญที่ผมจะนำมาพิจารณา (แทนทร.ก่อน) ในตอนนี้
ระบบ AIP (Air Independance Propulsion)
ระบบนี้จะช่วยแก้ปัญหาใหญ่ที่สำคัญของเรือดำน้ำแต่ก่อนคือ เรือต้องขึ้นสู่ผิวน้ำเสมอเมื่อเวลาจะต้องชาร์จแบต (ใช้แบตขับเคลื่อน) โดยการชาร์จคือการเดินเครื่องดีเซลปั่นไฟ แล้วเอาไฟที่ได้ใส่แบต เสร็จแล้วก็ใช้ไฟนั้นดำน้ำหรือเคลื่อนที่ใต้น้ำ ข้อเสียคือ 1. แบตหมดก็ต้องลอยลำขึ้นมาชาร์จ 2.เวลาชาร์จเสียงจะดังมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เสมือนเป็นการตะโกนให้ข้าศึกรู้ว่า "ชั้นอยู่นี่ มายิงชั้นหน่อย"
และนี่จึงเป็นที่มาของระบบนี้ครับ โดย AIP จะเพิ่มระยะเวลาการอยู่ใต้น้ำให้นานขึ้นมากเดิม มิใช่ทำให้เร็วขึ้น หรือดำได้ลึกขึ้นแต่อย่างใด
คราวนี้เรามี AIP 2 ระบบคือ 1. ใช้ Fuel Cell เป็นตัวชาร์จไฟ โดยใช้หลักการเคมีม.ปลายคือการแลกเปลี่ยนไอออนของสารสองตัวเช่นไฮโดรเจนกับออกซิเจน หรือโพรเพนกับออกซิเจน ข้อดี - ไม่มีเสียง เพราะเป็นแค่การถ่ายไอออน - ได้พลังงานเร็ว ข้อเสีย - ระบบมีขนาดใหญ่ - ให้กำลังน้อย - ยังจำเป็นต้องใช้เครื่องยนต์ดีเซลอยู่ - เชื้อเพลิงมีอันตราย อาจจะตูมตามได้ง่าย เรือที่ใช้ระบบนี้คือ U-212 จากเยอรมันและ Amur จากรัสเซีย 2. ใช้การสันดาปในห้องสันดาปที่ได้รับการควบคุม โดยมี input คือ สารอินทรีย์กับออกซิเจน มี output คือคาร์บอนไดออกไซด์กับไอน้ำ ซึ่งไอน้ำที่ได้จะนำไปหมุนเพลาและหมุนใบพัดต่อไป โดยเชื้อเพลิงที่ input เข้าไปก็เช่นน้ำมันดีเซลกับออกซิเจนเหลว เป็นต้น ข้อดี - ให้กำลังสูง - ใช้แทนเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดาได้ - เชื้อเพลิงมีความปลอดภัย ข้อเสีย - จำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบเครื่องยนต์ดีเซล (ระบบ sterling) - ให้พลังงานต่ำ (ระบบ sterling) - มีเสียงดังจากระบบเพลา (ระบบ MESMA) - เสียงดังจากการสั่นสะเทือน โดยเรือที่ใช้ระบบนี้คือ Scorpene AM-2000 ของฝรั่งเศส (ระบบ MESMA) และ A-19 Gotland ของสวีเดน(ระบบ sterling) ***หมายเหตุ ข้อมูลในส่วนนี้ขอขอบคุณคุณ ICY_CMU แห่ง Wing21 ครับ***
ในบทความนี้เราจะมองดูเรือดำน้ำ 3 แบบคือ U-212 จากเยอรมัน Amur 1650 จากรัสเซีย และ A-19 Gotland จากสวีเดน โดยจะขอตัด Scorpene จากฝรั่งเศสออกไป เพราะว่ามาเลเซียซื้อไปแล้ว และไทยก็คงไม่ซื้อซ้ำซ้อนอีก อันตรายครับ (เพราะถ้าเกิดสงครามฝรั่งเศสอาจจะส่งอะไหล่ให้มาเลเซียแต่ไม่ส่งอะไหล่ให้เราก็ได้ เหมือนที่ไม่ส่งอะไหล่เครื่อง Mirage ให้อิสราเอลในสงครามกับอาหรับ)
U-212

เรือดำน้ำรุ่นใหม่จากเมืองเบียร์ ลำแรกเพิ่งขึ้นระวางประจำการในปีที่แล้วนี่เอง เรือมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยสุด ๆ เรือมีท่อยิงตอร์ปิโดส์ 6 ท่อยิง ใช้ตอร์ปิโด DM2A4 heavyweight torpedo ติดระบบสงครามอิเล็กทรอนิก 1800U ระบบต่อต้านตอร์ปิโด TAU 2000 ซึ่งจะปล่อยเป้าลวงออกมาเมื่อถูกเรือดำน้ำด้วยกันโจมตี โดยระบบ AIP ของเรือลำนี้ใช้ PEM (polymer electrolyte membrane) fuel cells 9 เซลล์ แต่ละอันให้กำลังไฟ 30 - 50 kW เมื่อต้องการความเร็ว เรือจะใช้เครื่องยนต์ดีเซลล์ MTU 16 V- 396 เรือสามารถวิ่งได้เร็วบนผิวน้ำ 12 Knots และใต้น้ำที่ 20 Knot ใช้ลูกเรือ 27 คน ระวางขัยน้ำบนผิวน้ำ 1,524 ตัน ขณะดำ 1,830 ตัน
A-19 Gotland

เรือดำน้ำจากสวีเดนลำนี้พี่น้องของมันเกือบได้แจ้งเกิดในทร.ไทยเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว แต่โดนพิษการเมืองเล่นงานจนต้องพับโครงการไป แต่มาวันนี้เธอกลับมาใหม่ด้วยมาดไฉไลกว่าเดิม เรือมีระบบความคุมการรบ 9SCS Mark 3 ใช้ตอร์ปิโด Type-613 จาก Bofors Underwater Systems ยิงจากท่อยิง 533 mm 4 ท่อ ซึ่งใช้สำหรับต่อต้านเรือผิวน้ำโดยการนำวิถีด้วยเส้นลวด (คือมีเส้นลวดยาว ๆ จากเรือต่อกับตอร์ปิโดใช้ส่งข้อมูล ทำให้การยิงแม่นยำเพราะใช้คนบังคับ) มีดินระเบิด 240 กิโลกรัม วิ่งด้วยความเร็ว 42 Knots ในรัศมี 20 กิโลเมตร ส่วนอีกขนาดหนึ่งคือ Type-43 จาก Saab Bofors Underwater Systems ยิงจากท่อยิง 400 mm. 2 ท่อ ใช้ต่อต้านเรือดำน้ำ นำวิถีด้วยเส้นลวด 2 ท่อยิงสามารถยิงได้ 4 ลูกด้วยกัน

เรือใช้เครื่องยนดีเซลล์ MTU และใช้ระบบ AIP ที่ชื่อว่า Kockums V4-275R Stirling 2 ระบบ แต่ละระบบให้พลังงาน 75 kW สามารถดำน้ำได้ต่อเนื่อง 2 อาทิตย์ที่ความเร็ว 5 Knots เรือมีระวางขับน้ำบนผิวน้ำ 1,240 ตัน ใต้น้ำ 1,490 ตัน ทำความเร็วบนผิวน้ำได้ 11 Knots ความเร็วดำได้ 20 Knots
Amur 1650

เรือดำน้ำจากรัสเซียลำนี้ขึ้นระวางประจำการในราว ๆ ปี 2000 โดยเรือลำนี้พัฒนามาจากเรือชั้น Kilo ตัวเรือสร้างจากเหล็กกล้า AB-2 ทำให้สามารถดำได้สูงสุด 250 เมตร ความเร็วใต้น้ำสูงสุด 21 Knots ระวางขับน้ำ 1,765 ตัน กำลังพลประจำเรือ 30 คน ปฏิบัติการได้ต่อเนื่องนาน 45 วัน ดำได้ต่อเนื่องนาน 15 วัน สามารถบรรทุกอาวุธได้ 18 ลูก โดยสามารถผสมกันได้ระหว่าง ตอร์ปิโด SET-80, จรวดต่อต้านเรือ SS-N-15 และ SS-N-16, ทุ่นระเบิด, และที่เด็ดที่สุดคืออาวุธนำวิธียิงในแนวตั้ง Klub-S การทำงานคล้าย ๆ Tomahawk ของอเมริกา สามารถโจมตีเป้าหมายเรือที่อยู่บนผิวน้ำได้

 Klub-S ที่สามารถยิงจาก Amur
เจ๋งกันหมดอย่างงี้เราควรเล่นรุ่นไหน
อันนี้มันก็เกินวิสัยที่ผมจะตอบได้ แต่มีสิ่งที่น่าพิจารณาอยู่ไม่กี่อย่างคือ 1. ไม่แน่ใจว่า Amur จะสามารถเข้ากับระบบสื่อสารของกองทัพเรือที่เป็นมาตราฐานนาโต้ได้หรือไม่ 2. เราควรซื้อกับประเทศที่รับสินค้าเกษตรจากเรา เพราะเรือดำน้ำลำนึงราคาเกือบหมื่นล้าน มากกว่าเรือจักรีเสียอีก ฉะนั้นเพื่อลดการขาดดุล ประเทศที่เราจะซื้อก็ควรรับสินค้าเกษตรจากเราด้วย รัสเซียผมเชื่อว่าไม่มีปัญหา สวีเด็นก็น่าจะยอมรับ แต่เยอรมันนี่ไม่ทราบเลยครับ 3. ถ้าให้ผมเลือกแบบไม่สนใจข้อ 1 ผมขอเลือก Amur เพราะรัสเซียก็ผลิตเรือดำน้ำมีคุณภาพอยู่เสมอ ๆ อยู่แล้ว แถมยังขายอาวุธให้ไม่อั้น ไม่มีแทงกั๊ก ไม่ต้องไปเก็บไว้ที่ไหน ซื้อปุ๊ปมาเก็บที่สัตหีบได้เลย สบายใจ 4. การเรื่องรู้เทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าห่วง เพราะถึงแม้ทร.จะส่งคนไปเรียนวิชาเรือดำน้ำเสมอ ๆ แต่การที่เราเพิ่งซื้อเรือดำน้ำใหม่แบบไม่เคยมีมานานก็ย่อมต้องเรียนรู้ใหม่อยู่แล้วไม่ว่าจะซื้อยี่ห้อไหนก็ตาม
คำถามคาใจ...อ่าวไทยรับปฏิบัติการของเรือดำน้ำได้หรือไม่
ยืนยันว่าได้แน่นอน เพราะไล่ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกเราก็มีเรือดำน้ำใช้แล้ว ระหว่างสงครามโลกก็มีเรือดำน้ำญี่ปุ่นกับเรือดำน้ำอเมริกันมาไล่ยิงกันในอ่าวไทยด้วย แถมตอนสงครามเย็นเรายังเคยจับสัญญาณของเรือดำน้ำไม่ปรากฏฝ่ายได้อยู่บ่อย ๆ ทำให้เชื่อได้ว่าเรือดำน้ำสามารถปฏิบัติการได้แน่นอนในอ่าวไทย ที่จริงเราไม่ควรจะมองว่าเราจะอยู่ในแต่อ่าวไทยอย่างเดียว เพราะเรือดำน้ำของเราอาจจะต้องให้การคุ้มกันขบวน convoy ซึ่งลำเลียงยุทธปัจจัยในยามสงครามได้ถึงในทะเลหลวงด้วย และยังสามารถเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปในแนวป้องกันภัยให้กับเรือจักรีด้วย ทำให้เรามีกองเรือที่สมบูรณ์แบบครบทั้ง 4 มิติ (ใต้น้ำ ผิวน้ำ บนฟ้า และบนฝั่ง)
จบครับ ผิดพลาดประการใดชี้แนะด้วยครับ
Create Date : 10 เมษายน 2549 |
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 12:58:17 น. |
|
18 comments
|
Counter : 10393 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: jubchay IP: 58.9.13.94 วันที่: 11 เมษายน 2549 เวลา:19:29:01 น. |
|
|
|
โดย: ๋Johnny Thunders. IP: 58.9.40.235 วันที่: 11 เมษายน 2549 เวลา:23:26:56 น. |
|
|
|
โดย: ผีกองกอย IP: 137.132.3.11 วันที่: 12 เมษายน 2549 เวลา:12:30:28 น. |
|
|
|
โดย: Analayo วันที่: 12 เมษายน 2549 เวลา:16:16:29 น. |
|
|
|
โดย: exsodus วันที่: 13 เมษายน 2549 เวลา:10:42:36 น. |
|
|
|
โดย: icy_CMU IP: 203.156.130.115 วันที่: 15 เมษายน 2549 เวลา:19:54:14 น. |
|
|
|
โดย: neosiamese IP: 58.10.149.109 วันที่: 26 มิถุนายน 2549 เวลา:0:47:28 น. |
|
|
|
โดย: OA IP: 222.123.98.237 วันที่: 20 มีนาคม 2550 เวลา:21:56:12 น. |
|
|
|
โดย: The KOp IP: 124.157.212.79 วันที่: 10 มิถุนายน 2550 เวลา:2:53:11 น. |
|
|
|
โดย: สมรภูมิ IP: 125.24.150.228 วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:18:58:03 น. |
|
|
|
โดย: SING BIRD IP: 125.24.129.92 วันที่: 21 กรกฎาคม 2550 เวลา:4:43:11 น. |
|
|
|
โดย: มม IP: 124.157.209.120 วันที่: 25 กรกฎาคม 2550 เวลา:13:25:00 น. |
|
|
|
โดย: กอล์ฟ IP: 203.146.246.177 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:9:05:44 น. |
|
|
|
โดย: กอล์ฟ IP: 203.146.246.177 วันที่: 3 กันยายน 2550 เวลา:9:21:37 น. |
|
|
|
โดย: T NAVY IP: 203.153.185.68 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:12:23:47 น. |
|
|
|
โดย: ttr IP: 61.7.165.254 วันที่: 2 ตุลาคม 2550 เวลา:15:57:32 น. |
|
|
|
โดย: Kwang IP: 124.121.175.159 วันที่: 29 ตุลาคม 2550 เวลา:14:38:40 น. |
|
|
|
โดย: เบียร์แดนชล IP: 203.113.80.8 วันที่: 30 ตุลาคม 2550 เวลา:13:05:02 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @

|
|
|
|
|
|
|