ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
Kfir: ปฏิบัติการขโมยพิมพ์เขียวจากฝรั่งเศส



ตอนแรกผมว่าจะเขียนเรื่องรถถังไทยตามที่ได้รับการร้องขอมา แต่พอดีไป search เจอข้อมูลเกี่ยวกับ Kfir ซึ่งมีหลายท่านอยากให้เขียนเสียก่อน จึงขออนถญาติในเรื่อง Kfir มาเขียนก่อนครับ

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 60 อิสราเอลร้องขอให้ฝรั่งเศสพัฒนาเครื่องบินทดแทน Mirage IIIC ของตนซึ่งมีระยะปฏิบัติการที่ใกล้ ทำให้การโจมตีภาคพื้นดินทำได้ไม่มีประสิทธิภาพนัก ฝรั่งเศสจึงพัฒนา Mirage 5J จำนวน 50 ลำให้อิสราเอลตามคำขอ (จ่ายเงินแล้ว) แต่จากสงครามหกวัน ฝรั่งเศสได้คว่ำบาตรการขายอาวุธให้อิสราเอล (เพราะต้องการขายให้อาหรับ) อิสราเอลจึงเริ่มก๊อปปี้ Mirage V โดยสร้าง Nesher โดยมีหัวหน้าโครงการคือ Ovadia Harari และ Moshe Keret (ซึ่งต่อมาทั้งคู่ได้ทำงานในโครงกาาร Lavi) เครื่อง Nesher ได้รับเทคโนโลยีหลายอย่างจาก Mirage IIIC ซึ่งอิสราเอลมีประจำการอยู่

วิธีการก็คือ หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอลหรือ mossasd ได้จัดตั้งบริษัทบังหน้าขึ้นในสวิสเซอร์แลนด์เพื่อ โดยน่าจะได้รับการช่วยเหลือจาก Marcel Dassault (นามสกุลเดิม Bloch) เจ้าของบริษัท Dassault ซึ่งมีเชื้อสายยิว และต้องการช่วยเหลืออิสราเอล และ อาจจะจัดหาเครื่องจักรในการผลิตเครื่องบินอย่างลับ ๆ จากฝรั่งเศสก่อนที่ฝรั่งเศสจะคว่ำบาตร หรือไม่ก็จัดหาจากสหรัฐ หรอืไม่ก็วิจัยผลิตเอง และนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้าง Nesher (Nesher (ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น Kfir C.1) นั้นแตกต่างจาก Kfir คือช่องรับอากาศเล็ก ๆ ตรงแพนหางดิ่ง) โดยได้เลือกใช้เครื่องยนต์ J79 ของ General EleTCric ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ที่ติดตั้งในเครื่อง Mirage

Kfir มีทั้งหมด 4 รุ่นคือ


Kfir C.1: (1975) เป็นรุ่นที่มาจากการปรับปรุง Nesher โดยตรง โดยเพิ่มปีกคาร์นาร์ดขนาดเล็กเข้าไป อิสราเอลผลิต C.1 จำนวน 27 ลำ

Kfir C.2: (1976) พัฒนามาจากประสบการณ์ในการใช้ C.1 โดยติดตั้งปีกคาร์นาร์ดที่สมบูรณ์ลงไป ปรับปรุงคุณสมบัติด้านอากาศพลศาสตร์ ลดระยะทางที่ต้องใช้ในการขึ้นลง และติดตั้งเก้าอี้ดีดตัว Martin-Baker Mk.10 ติดตั้งเรด้าห์ EL/M 2001/2001B ที่อิสราเอลผลิตเอง ติดตั้งคอมพิมเตอร์ควบคุมการบินและจอ HUD และได้ผลิตรุ่น TC.2 ซึ่งเป็นรุ่นสองที่นั่งที่ใช้ฝึก โจมตี และปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิค อิสราเอลผลิต C.2 และ TC.2 ทั้งหมด 185 เครื่อง

Kfir C.7: (1983) เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น J79-GE-17E ซึ่งเพิ่มแรงขับอีก 1,000 ปอนด์ ติดตั้งระบบ jammer รุ่น EL/L-8202 ซึ่งในรุ่นนี้ Kfir ได้เปลี่ยนภารกิจจากขับไล่สกัดกั้นเป็นโจมตี เนื่องด้วยต้องเหลีกทางให้ F-15 ที่มาทำภารกิจขับไล่แทน (ทำให้สถิติการยิงเครื่องบินศัตรูตกของ Kfir หยุดอยู่ที่ 1 เครื่อง คือ MiG-21 ของซีเรียซึ่งถูกยิงตกโดย Kfir C.2)

Kfir C.10 หรือ Kfir 2000: รุ่นสุดท้ายของ Kfir ในรุ่นนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนห้องนักบินไปเป็นระบบ Glass cockpit (ติดตั้งจอภาพสี 2 จอแทนเข็มวัด) ติดตั้งท่อรับการเติมน้ำมันกลางอากาศ เปลี่ยนคันบังคับเป็นแบบ HOTAS ซึ่งช่วยลดภาระของนักบิน นักบินสวมหมวกบินติดศูนย์เล็ง และเปลี่ยนเรด้าห์เป็นรุ่น EL/M-2032


ประเทศที่ประจำการ


อิสราเอล

Kfir ในอิสราเอลปฏิบัติการจริงครั้งแรกในวันที่ 9 พ.ย. 1977 ในการโจมตีค่ายผู้ก่อการร้ายใน Tel Azia ประเทศเลบานอน นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วมปฏิบัติการสันติภาพเพื่อกาลิลี่ (Operation Peace for Galilee)

สหรัฐ

กองทัพเรือและนาวิกโยธินสหรัฐเช่า Kfir C.1 จำนวน 25 ลำในช่วงปี 1985 - 1989 เพื่อจำลองเป็นเครื่อง MiG-23 ในฝูงบินข้าศึกสมมุติ และได้รับชื่อว่า F-21A Lion

โคลัมเบีย

ในปี 1989 โคลัมเบียซื้อ Kfir C.2 มือสองจำนวน 12 ลำ และ TC.2 1 ลำจากอิสราเอล โดยได้รับการปรับปรุงระบบอิเล็กทรอนิกเป็นรุ่น C.7 และได้เข้าร่วมปฏิบัตการต่อต้านยาเสพติดตลอดมา

เอลกวาดอร์

ในปี 1981 เอลกวาดอร์ซื้อ Kfir C.2 10 ลำและ Kfir TC.2 2 ลำที่ปรับปรุงแล้วเข้าประจำการ โดยเข้าร่วมสงคราม Cenepa ระหว่างเอลกวาดอร์กับเปรูในปี 1995 และยังเครื่อง A-37B ตกอีกด้วย ในปี 1998 อิสราเอลและเอกวาดอร์ร่วมกันปรับปรุงเครื่อง C.2 ของเอลกวาดอร์เป็นเครื่อง C.10 และเปลี่ยนชื่อเป็น Kfir GE

ศรีลังกา

ศรีลังกาซื้อ Kfir C.2 จำนวน 6 ลำและ TC.2 1 ลำ และจัดหา C.7 อีก 5 ลำในปี 2005 โดยใช้โจมตีกลุ่มกบฏในประเทศ

ข้อมูล


Crew: One
Length: 15.65 m (51 ft 4.25 in)
Wingspan: 8.21 m (26 ft 11.5 in)
Height: 4.55 m (14 ft 11.5 in)
Empty weight: 7,285 kg (16,060 lb)
Loaded weight: 10,415 kg (22,961 lb)
Max takeoff weight: 14,670 kg (32,340 lb)
Powerplant: 1× IAl Bedek-built General Electric J-79-J1E turbojet
Dry thrust: 52.89 kN (11,890 lb st)
Thrust with afterburner: 83.40 kN (18,750 lb st)
Performance
Maximum speed: 2,440 km/h (1,516 mph)
Range: 770 km (480 mi)
Service ceiling: 17,700 m (58,000 ft)
Rate of climb: 233.3 m/s (45,930 ft/min)
Armament
Guns: 2x Rafael-built DEFA 553 30-mm cannons with 140 rounds per gun.
Maximum Ordnance Load: 6,065 kg (13,343 lb)
Bombs: Mk-82, GBU-13 LGB, TAL-1 and TAL-2 CBUs, BLU-107 Durandal, HOBOS.
Unguided rocket launchers
Missiles: Shrike ARMs; Maverick ASMs; Sidewinder, Shafrir, and Python-series AAMs.


Create Date : 21 สิงหาคม 2549
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:18:30 น. 3 comments
Counter : 5580 Pageviews.

 
เสริมนิดหนึ่งครับ เกร็ดความรู้
Kfir เป็นภาษายิวหรือฮิบรูอะไรนี่แหละ แปลว่า สิงห์โต
จำได้จากหนังสือช่างอากาศ


โดย: Mr.SJ IP: 124.120.4.252 วันที่: 23 สิงหาคม 2549 เวลา:22:12:20 น.  

 
ขอบคุณมากครับ


โดย: Skyman (Analayo ) วันที่: 24 สิงหาคม 2549 เวลา:1:07:53 น.  

 
โอ้ ลำนี้ นิยม ใน แอเรีย 88 นี่คับ รู้ที่มาที่ไปซะที


โดย: Triceratops IP: 221.128.109.215 วันที่: 8 กันยายน 2549 เวลา:2:36:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.