ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
23 กันยายน 2549
 
All Blogs
 

อันว่าด้วย "เรือรบล่องหน"

บทความสนี้เคยเป็นกระทู้ในพันทิปครับ ก๊อปมาเก็บใน Blog ครับผม




Concept ของเครื่องบินรบล่องหนเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรศที่ 80 แล้ว แต่สำหรับการประยุกต์เทคโนโลยี Stealth แบบสมบูรณ์เข้ากับเรือรบนั้นเพิ่งมาเริ่มเอาในทศวรรศที่ 90 ปลาย ๆ นี่เอง

ณ ปัจจุบัน มีเรือรบที่ถือได้ว่ามีเทคโนโลยี Stealth ที่สมบูรณ์แบบอยู่ 3 ชั้นคือ เรือคอร์แวตต์ชั้น Visby ของราชนาวีสวีเดน เรือฟริเกตชั้น La Fayette ของกองทัพเรือฝรั่งเศส และ เรือคอแวตต์ชั้น MEKO A ของกองทัพเรือเยอรมัน

La Fayette Class Frigate




เรือฟริเกตชั้น ลา ฟาเย็ตเต้ ลำแรกเข้าระจำการในปี 1996 และลำสุดท้ายในปี 2001

ตัวเรือมีน้ำหนัก 3,500 ตัน ด้านข้างของเรือลาดเอียง 10 องศาเพื่อลดการสะท้อนเรด้าห์กลับสู่แหล่งกำเนิด ส่วนนอกถูกเคลือบด้วยสีที่ดูดซับคลื่นเรด้าห์ จึงทำให้มีภาคตัดขวางเรด้าห์ (Radar Cross Section: RCS) ค่อนข้างต่ำ ตัวเรือออกแบบปืนใหญ่เพื่อลดการสะท้อนเรด้าห์ (ลบเหลี่ยมหรือรูปทรงที่สามารถสะท้อนเรด้าห์ได้)

La fayette ติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่พื้นแบบ Exocet MM40 Block II จำนวน 8 ท่อยิง มีระยะยิงไกล 70 กม. และคาดว่าจะได้รับการติดตั้ง Exocet MM40 Block III ที่เพิ่มพิสัยยิงได้ไกลกว่า 180 กม.

La Fayette ติดตั้ง SAM รุ่น Crotale Naval CN2 ระยะยิงไกล 13 กม.

La Fayette ติดตั้งปืนใหญ่เรือขนาด 100 มม. 1 กระบอก ปืน 20 มม. 2 กระบอก สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์หนัก 10 ตันได้ โดยเรือชั้น La Fayette มีทั้งหมด 5 ลำคือ (ในวงเว็บคือรหัสเรือ)

La Fayette (F710)
Surcouf (F711)
Courbet (F712)
Aconit (F713)
Guépratte (F714)

มีอีกสามประเทศที่สั่งซื้อเรือชั้น La Fayette ไว้ใช้งานคือซาอุดิอารเบีย (Al Riyadh class) ไต้หวัน (Kang Ding class) และสิงคโปร์ (Formidalbe class) ซึ่งการติดอาวุธจะแตกต่างออกไปจากที่ติดตั้งในกองทัพเรือฝรั่งเศส



RSS Formidable


แต่เรือชั้น Formidable จะแตกต่างออกไปจาก La Fayette ตัวต้นแบบเล็กน้อย โดยกองทัพเรือสิงคโปร์ได้ออกแบบ Formidable ให้มีขนาดเล็กลง สะท้อนเรด้าห์ต่ำลง ลดเสียง อินฟาเรด และคลื่นแม่เหล็กที่แผ่ออกจากตัวเรือลง เพิ่มระบบอัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ใช้ลูกเรือน้อยลงคือเพียงแค่ 70 คน ในขณะที่ La Fayette ใช้ถึง 164 คน

กองทัพสิงคโปร์สั่งซื้อ Formidable 6 ลำ โดย 1 ลำต่อที่ฝรั่งเศส ส่วนอีก 5 ลำต่อที่สิงคโปร์ พร้อมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจะเข้าประจำการและพร้อมรบอย่างเป็นทางการในปี 2007

MEKO A



เรือตระกูล MEKO A ถือได้ว่าเป็นเรือที่มีขนาดไม่ใหญ่แต่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีสองชั้นใหญ่ ๆ คือ MEKO A-100 และ MEKO A-200 (อันที่จริง ชื่อ MEKO นี้ไม่ใช่ชั้นเรือครับ แต่เป็นชื่อองค์ประกอบที่จะมาเป็นเรือชั้นหนึ่ง ๆ นั้งเอง)

MEKO A มีตัวเรือที่มีเหลี่ยมมุมเพื่อลดการสะท้อนเรด้าห์ โดยซ่อนทางเดินทางกราบเหมือนกับ La Fayette ด้วย ตัวเรือสามารถลดการปล่อยรังสีอินฟราเรดได้ถึง 75% ของที่ปล่อยออกมาจริง โดยถอดปล่องปล่อยไอเสียออกไป โดยไอเสียจะผ่านเข้าสู่กระบวนการทำให้เย็นโดยฉัดนี้ทะเลเข้าไป และปล่อยออกในระดับน้ำทะเล

รังสีอินฟราเรดเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้จรวดที่พุ่งเข้ามาสามารถจับตำแหน่งของเรือได้ ฉะนั้น มีได้ยิ่งน้อยยิ่งดีครับ

ในที่นี้ จะขอพูดถึง MEKO A-100 ครับ

มาเลเซียสั่งซื้อ MEKO A-100 จำนวน 6 ลำ โดยจะต่อที่เยอรมันส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งต่อในมาเลเซียเอง และจะต่อให้ได้ถึง 27 ลำ

MEKO A-100 ของมาเลเซียในขั้นต้นจะติดตั้งเฉพาะปืนใหญ่เรือ 76/62 และปืน 30 mm. ของ Oto Melara เท่านั้นตามหลักการของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แต่ในอนาคต (เมื่อมีงบประมาณและจำเป็น) มาเลเซียอาจจะติดตั้งระบบ SAM แบบ RIM-116A RAM (Rolling Airframe Missile) ระบบ SAM แบบ Umkhonto ติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (Vertical Launching System: VLS) จำนวน 16 ท่อยิง และขีปนาวุธพื้นสู่พื้นแบบ Exocet MM40

ทั้งใน ในยามสงบ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV) จะทำหน้าที่ลาดตระเวนทางทะเลต่อภัยคุกคามต่ำเช่นการทำผิดทางทะเล โจรสลัด สินค้าหนีภาษี แต่เมื่อจำเป็นหรือเมื่อเกิดสงคราม OPV ก็สามารถติดตั้งอาวุธแบบเรือฟริเกตและเข้าร่วมกับกองเรือได้อย่างดี

ส่วน MEKO ที่สั่งต่อโดยประเทศอื่น ๆ ก็จะมีระบบอาวุธต่างกันออกไป โดยมีผู้สั่งซื้อคือ โปแลนด์ (A-100) แอฟริกาใต้และตุรกี (A-200 ทั้งคู่)

Visby Class Corvette




สุดท้าย และสุดยอดที่สุด คือเรือคอร์แวตตชั้น Visby ของราชนาวีสวีเดน โดยเรือลำแรกคือ HMS Visby จำเข้าประจำการในปีนี้ และอีก 4 ลำในปี 2007 โดย 4 ลำแรกจะทำภารกิจปราบเรือดำน้ำและกวาดทุ่นระเบิด ส่วนลำสุดท้ายจะทำภารกิจปราบเรือผิวน้ำ และมี option ต่อเพิ่มอีก 1 ลำ

เรือชั้นนี้ใช้เทคโนโลยี Sealth ที่สมบูรณ์แบบที่สุดเมื่อเทียบกับสองชั้นก่อนหน้า โดยตัวเรือลดรังสีอินฟราเรด เสียง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ลดความดันและภาคตัดขวางขอเรด้าห์ ซึ่งในสภาวะอากาศปกติเรือจะถูกตรวจจับได้ที่ระยะไกล 13 km (ไกลกว่า 13 กม.จับไม่ได้) และในพายุที่ 22 กม. แต่ถ้าเปิดระบบ Jamming ก็จะสามารถลดระยะการถูกตรวจจับลงไปได้ที่ 8 กม.ที่อากาศปกติ และ 11 กม.ในพายุ


ในภาพแสดงการสะท้อนของเรด้าห์เมื่อตกกระทบที่ผิวของเรือ สังเกตุว่าเรด้าห์จะสะท้อนตามเหลี่ยมมุมของเรือออกไปในทิศทางคนละด้านกับแหล่งกำเนิด


Visby ติดตั้งขีปนาวุธพื้นสู่พื้นประสิทธิภาพสูงแบบ RBS-15 ของสวีเดนจำนวน 8 นัด ซึ่งจะเก็บเอาไว้ใน bay ภายในตัวเรือเพื่อป้องกันการถูกตรวจจับได้ พร้อมตอปิโดและจรวดปราบเรือดำน้ำ

ตัวเรือติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 57 mm ของ Bofors ซึ่งมีอัตราการยิงสูงถึง 220 นัดต่อนาทีที่ระยะไกล 17 กม. และตัวปืนนั้นถูกปรับให้มีคุณสมบัติ Stealth เช่นเดียวกับตัวเรือ

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือเรือชั้น Visby ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ Water Jet แบบเดียวกับเรือชั้น fearless ของสิงคโปร์

'ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำใช้แรงผลักของเครื่องพ่นน้ำในการขับเคลื่อนเรือ โดยการดูดน้ำจากนอกตัวเรือผ่านปั๊มแรงดันสูง และพ่นออกมาด้วยความเร็วสูงเพื่อให้เกิดแรงผลักในทิศตรงกันข้าม ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำเป็นระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้ใบจักรและหางเสือ แต่ใช้การควบคุมทิศทางน้ำที่พ่นออกมา ซึ่งเป็นการควบคุมทิศทางที่ให้ความคล่องตัวสูง และการที่ระบบขับเคลื่อนแบบนี้ไม่มีใบจักรและชุดเฟืองทดจึงสามารถลดอัตรากินน้ำลึกของเรือ ประหยัดพื้นที่ใช้สอย ลดเสียงและการสั่นสะเทือน และยังไม่เกิดปัญหาความเสียหายของใบจักรเมื่อเรือเข้าที่ตื้น หรือปัญหาการเกิดโพรงอากาศหรือคาวิเตชั่น (Cavitation) ที่ใบจักรเมื่อใช้ความเร็วสูง ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำเริ่มมีใช้ในเรือความเร็วสูงขนาดเล็กมาหลายสิบปีแล้ว และในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องพ่นน้ำในเรือขนาดกลางและขนาดใหญ่' (ขอบคุณคุณกัปตันนีโมแห่ง Wing 21 ครับ)



Visby ถือเป็นหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์เรือรบที่มีคุณสมบัติ Stealth อย่างสมบูรณ์แบบ และในอนาคตเทคโนโลยี Stealth ก็จะเป็นเทรนใหม่ของเรือรบที่จะต่อในอนาคตต่อไป



ภาคผนวก


ยังมีเรืออีกชั้นหนึ่งทีน่าสนใจคือเรือชั้น Hamina ซึ่งมีคุณสมบัติกึ่งล่องหน (semi stealth) ของกองทัพเรือฟินแลนด์


เรือชั้น Hamina เป็นเรือ Missile Boat ติดปืนใหญ่เรือแบบ 40/70 ปืนกล 12.7 mm. 2 กระบอก SAM รุ่น Umkhonto ติดตั้งในท่อยิงทางดิ่ง (VLS) มีขีปนาวุธพื้นสู่พื้นคือ RBS-15 4 นัด จรวดปราบเรือดำน้ำ และอุปกรณ์วางทุ่นระเบิด แต่ขนาดแค่ 250 ตันเท่านั้น เป็นเรือที่มีเทคโนโลยี Stealth อยู่เหมือนกัน แต่จะไม่เท่ากับสามลำข้างบน

อย่างไรก็ตาม เรือของกองทัพเรือฟินแลนด์ล้วนทำสีอย่างนี้ทั้งสิ้นครับ เป็นการพรางจากการตรวจการณ์ด้วยสายตา ทำให้รูปร่างของวัตถุเปลี่ยนรูปไปเมื่อมองด้วยตา แต่เรือที่มีเทคโนโลยี Stealth นั้นคงมีเพียงเรือชั้นนี้เท่านั้น

กองทัพเรือสหรัฐก็มีการวิจัยเรือรบล่องหนเช่นกันในเรือที่ชื่อว่า Sea Shadow ตามภาพข้างล่าง



สำหรับกองทัพเรือไทยใช้เทคโนโลยี Stealth ครั้งแรกในการสั่งต่อเรือชั้นนเรศวรจากจีน โดยส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา แต่การ Stealth นั้นยังไม่เท่าเรือทั้งสามชั้นที่กล่าวมา



เรือชั้นล่าสุดที่ทร.ได้รับคือเรือชั้นปัตตานีก็มีเทคโนโลยี Stealth เช่นกัน โดยดูได้ง่าย ๆ จากรูปทรงของเรือซึ่งมีการตัดเหลี่ยมมุมบางส่วนออกไป



และเป็นที่น่ายินดีว่าทั้งเรือชั้นนเรศวรและเรือชั้นปัตตานีนั้นราชนาวีไทยเป็นผู้ออกแบบเองทั้งสิ้น

จบครับ




 

Create Date : 23 กันยายน 2549
14 comments
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:21:16 น.
Counter : 17809 Pageviews.

 


สวัสดีคร๊าบ

แวะมาเยี่ยมครับ อิ อิ เปนรายแรกเลย

ขอบคุญ สำหรับ Concept ของเครื่องบินรบล่องหนครับ

 

โดย: N'Bird (AsWeChange ) 23 กันยายน 2549 6:04:56 น.  

 

ผ่านมาชมค่ะ ชอบจังเลย เท่ห์อ่ะ ชอบๆๆ

 

โดย: เเสงตะวัน 23 กันยายน 2549 14:07:23 น.  

 

ลืม DDG 51 ของ ทร.สหรัฐฯ ไปแล้วเหรอครับ นั่นก็มีส่วน stealth เหมือนกัน แต่ลำใหญ่หลาย ซ่อนยังไงก็คงไม่มิด

 

โดย: น้องเน IP: 202.90.127.8 23 กันยายน 2549 16:18:43 น.  

 

แหะ ๆ ผมไม่เคยทราบเลยครับว่า DDG 51 เป็น Stealth เหมือนกัน

 

โดย: Skyman IP: 203.121.187.3 23 กันยายน 2549 16:31:02 น.  

 

ได้ความรู้เพิ่มครับ

 

โดย: หมาป่าดำ IP: 203.113.41.133 23 กันยายน 2549 19:44:30 น.  

 

ทั้งเสากระโดง ทั้งรูปทรงองค์เอว ออกจะลาดเอียงซะขนาดนั้น แถมยังไม่มีจานเรดาร์อากาศใหญ่ๆ อีก น่าจะเป็นเรือรบ stealth รุ่นแรกๆ แน่นอนครับ

 

โดย: น้องเน IP: 203.170.228.172 24 กันยายน 2549 22:38:34 น.  

 


เข้ามาดู

 

โดย: วันนี้กาแฟไม่หวาน IP: 203.149.53.82 26 กันยายน 2549 17:26:54 น.  

 

ตอนอ่านแรก ๆ ก็สงสัยเหมือนกันว่าประเทศไทยจะมีไหม แต่กลายเป็นว่าไทยเรามีไปแล้วสองลำ เร็วเหมือนกันนะเนี่ย

 

โดย: กิตติโชค IP: 203.147.0.44 27 กันยายน 2549 0:31:00 น.  

 

เข้ามาชมครับ

 

โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.16.124 30 กันยายน 2549 11:42:35 น.  

 

สุดยอดจิงๆครับ ทร.ไทย ก้าวหน้าจิงๆ ถ้าจะต่อเรือรบเพิ่มอีก น่าจะใช้ระบบstealth ที่ดีขึ้นกว่านี้อีกนะครับ
เนื้อหาสาระครบครับจิงๆคับ คุณ skyman

 

โดย: สมรภูมิ IP: 125.24.140.57 22 มิถุนายน 2550 13:38:38 น.  

 

 

โดย: โม IP: 125.27.139.193 2 กรกฎาคม 2550 17:57:55 น.  

 

 

โดย: บูม IP: 125.27.139.193 2 กรกฎาคม 2550 18:00:31 น.  

 

 

โดย: บูม IP: 125.27.139.193 2 กรกฎาคม 2550 18:08:01 น.  

 

ของสวีเดนนี่เจ๊งสุดยอดเลยครับ ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบพ่นน้ำ แทนที่ใบจักรกับหางเสือ ยกย่องเลย ถึงจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่เทคโนโลยี สุดยอดเลยครับ

ไทยเราก็ไม่เบานะ ออกแบบเรือเอง ต่อไป ถ้าออกแบบเอง ต่อเอง จะดีมากเลยครับ แต่เทคโนโลยีต่างๆคงต้องพัฒนาไปให้มากกว่านี้

 

โดย: Kwang IP: 124.121.177.193 22 ตุลาคม 2550 21:56:08 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.