|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
JAS-39 Gripen: ขอโต้เถียงข้อมูลในหนังสือพิมพ์ ภาค 1
สื่อสวีเดนโวยขายเครื่องบินให้รบ.เผด็จการ แฉราคาจริง2หมื่นล.แต่ไทยซื้อสูง3.4หมื่นล.
เอ็นจีโอ-สื่อสวีเดนโวยรัฐบาลขายเครื่องขับไล่'กริฟเฟน' รัฐบาลไทยซึ่งเป็นเผด็ ขณะที่ชอบอ้างว่าวางตัวเป้นกลาง เว็บไซต์สารานุกรมดังระบุราคาแค่ลำละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม12 ลำ มูลค่า 20,000 ล้าน แต่ไทยซื้อมูลค่ากว่า 34,000 ล้าน ทอ.แจงไม่มีค่านายหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมว่า หนังสือพิมพ์'ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน'รายงานเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมว่า กรณีที่ทางกาสวีเดนเตรียมขายเครื่องบินรบเอนกประสงค์ กริฟเฟน ให้กับกองทัพอากาศไทยกำลังกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในสวีเดน เพราะมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน หลังจากที่มีการประกาศความตกลงที่จะซื้อขายดังกล่าวกันในสวีเดนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เสียงคัดค้านเป็นเพราะเห็นว่ารัฐบาลไทยในเวลานี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ทั้งนี้นายโอลา แมตต์สัน เลขาธิการสมาคมสันติและการรอมชอมแห่งสวีเดน (เอสพีเอเอส) ระบุว่า รัฐบาลสวีเดนไม่ควรขายอาวุธให้กับประเทศไทยที่เป็นประเทศเผด็จการทหาร ในขณะที่นายแจน โอเอล แอนเดอร์สสัน ผู้อำนวยการโครงการสถาบันกิจการระหว่างประเทศ ที่เป็นสถาบันทางวิชาการอิสระของสวีเดน ชี้ว่าการที่สวีเดน ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง ยึดถือแนวทางเป็นกลางมายาวนาน กลับมาผลักดันกิจการขายอาวุธระหว่างประเทศ นอกจากจะทำให้การดำรงความเป็นกลางยุ่งยากขึ้นแล้วยังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศที่ส่งเสริมเสรีภาพ สันติภาพไม่ได้รับการเชื่อถืออีกต่อไป
ผู้สื่อข่าวระบุด้วยว่าจากการตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า กริฟเฟน หรือ กริฟฟิน เป็นเครื่องบินรบแบบอเนกประสงค์ สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลายภารกิจ ทั้งประจันบาน, โจมตี (ด้วยจรวดจากอากาศสู่อากาศ) และ เครื่องบินตรวจการณ์ ขณะนี้มีประจำการอยู่ในกองทัพอากาศของ 4 ประเทศ ประกอบด้วย สวีเดน, แอฟริกาใต้, ฮังการี และสาธารณรัฐเชค โดยจนถึงเดือนกันยายนปี 2549 ที่ผ่านมามีการสร้างเสร็จและส่งมอบแล้วรวม 184 ลำ ยังมีคำสั่งซื้อคงค้างอยู่อีก 232
วิกิพีเดีย ระบุว่าราคาขายต่อลำไว้ว่า อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ในปี 2541 และ 45-50 ล้านดอลลาร์ในปี 2549 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้น มูลค่าของเครื่องบินดังกล่าวที่ทางการไทยจัดซื้อรวม 12 ลำจะเท่ากับเพียง 600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 20,400 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่กองทัพอากาศของไทยระบุจะซื้อเครื่องดังกล่าวตากสวีเดนสูงถึง 34,500 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่า เครื่องบินกริฟเฟน มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 รุ่น คือ เจเอเอส 39เอ, เจเอเอส 39บี, เจเอเอส39ซี, เจเอเอส 39ดี และ เจเอเอส 39อี/เอฟ และวิกิพีเดียไม่ได้ระบุแต่อย่างใดว่า ราคาต่อหน่วยดังกล่าวเป็นราคาของรุ่นใด ในขณะที่ทางกองทัพอากาศไทยระบุว่าจะจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนรุ่น เจเอเอส 39ซี/ดี (เครื่องบินรบในสมรรถนะเดียวกับเครื่องบินรบของนาโต้ ที่มีที่นั่งเดี่ยวและ 2 ที่นั่ง)
น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองเจ้ากรมกิจการพลเรือน และรองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ทดแทนเอฟ 5 อีเอฟ ซึ่งกองทัพอากาศมีข้อสรุปที่จะซื้อเครื่องบินกริฟเฟนของสวีเดน ว่า ขณะนี้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญาอะไรกับทางสวีเดน เพราะการจัดซื้อครั้งนี้ดำเนินการด้วยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปกองทัพอากาศจะเสนอโครงการไปยังกระทรวงกลาโหมเพื่อพิจารณาเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนเข้าประจำการ ส่วนขั้นตอนการลงนามอยู่ที่รัฐบาลจะมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ลงนามหรือจะให้กองทัพอากาศลงนามสัญญาก็ได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปตามระเบียบ
รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า สำหรับการจัดซื้อของกองทัพอากาศครั้งนี้เป็นการของบประมาณประจำปี 2551 ตามปกติที่กองทัพอากาศจะได้รับการพิจารณา ไม่ใช่เป็นงบพิเศษเพื่ออนุมัติจัดซื้อ แต่เป็นการเกลี่ยงบประมาณในโครงการต่างๆของกองทัพอากาศ ซึ่งเราได็ดำเนินการคัดเลือกโครงการที่มีความเร่งด่วนและระงับโครงการบางอย่างที่จะเสนอของบประมาณในปี 2552 ออกไป เพราะกองทัพอากาศมีความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อเครื่องบินขับไล่มาทดแทนเครื่องบินเอฟ 5 ที่จะปลดประจำการไป ทั้งนี้ การจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนนี้ เราดำเนินการด้วยเงินงบประมาณไม่มีการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบาร์เตอร์เทรดตามนโยบายเดิมของรัฐบาลที่ผ่านมา รวมทั้งไม่มีค่าขายหน้าหรือค่าคอมมิสชั่นใด เพราะเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีแบบรัฐต่อรัฐ
"เหตุผลสำคัญที่กองทัพอากาศเลือกที่จะซื้อเครื่องบินกริฟเฟน เพราะกองทัพอากาศพิจารณาอย่างรอบด้าน และสวีเดนมีข้อเสนอให้กับเราแบบเต็มออฟชั่น สิ่งสำคัญที่สุดคือสวีเดนมอบซอล์ทโครตเดต้า ซึ่งเป็นรหัสข้อมูลเครื่องให้กับเราไว้เพื่อพัฒนาระบบได้เองในอนาคต ซึ่งไม่มีประเทศใดมอบรหัสตัวนี้ให้กับไทย บ่งบอกถึงความจริงใจ รวมถึงการสนับสุนนหลังการขายสวีเดนที่ดีมาก ซึ่งกองทัพอากาศแทบไม่จำเป็นที่จะต้องซื้ออะไรเพิ่มเติม"รองโฆษกกองทัพอากาศกล่าว
น.อ.มณฑล กล่าวว่า ส่วนที่มีเสียงวิจารณ์ว่ากองทัพอากาศใช้เหตุผลที่ซื้อเครื่องบินกริฟเฟน เพราะอ้างข้อกฎหมายที่สหรัฐไม่ขายอาวุธให้กับประเทศรัฐประหารนั้น ซึ่งวันที่แถลงข่าวมีสื่อมวลชนถามประเด็นนี้ ผู้บัญชาการทหารทหารอากาศไม่ได้ระบุว่าเหตุผลที่ซื้อเครื่องบินกริฟเฟนด้วยเหตุผลข้างต้น ท่านชี้แจงชัดเจนว่าการซื้อเครื่องบินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน บางทีเรามีเงินที่จะซื้อ แต่ประเทศผู้ขายเขาไม่ยอมขายให้ก็ได้ โดยเฉพาะระบบอาวุธ ซึ่งหากเราซื้อเครื่องบินรบ แต่ติดปัญหาที่ไม่ได้อาวุธตามต้องการ ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก เพราะเราจะไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุด และผู้บัญชาการทหารอากาศก็ยืนยันชัดเจนว่า เครื่องบินกริฟเฟนสมรรถะการรบไม่ได้ด้อยกว่าเครื่องบินรุ่นอื่นที่พิจารณาเลย และเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ของเรามากที่สุด ซึ่งเราส่งนายทหารระดับสูงของกองทัพไปทดลองขับเครื่องบินทั้ง 3 รุ่น คือ เครื่องบินเอฟ 16 ซีดี เครื่องบินซู 30 และเครื่องบินกริฟเฟน ซึ่งสมรรถะของเครื่องบินกริฟเฟนไม่ได้ด้อยกว่าเครื่องบินรุ่นอื่นเลย
'เครื่องบินทุกรุ่นเป็นเครื่องบินที่ดี แต่อะไรคือสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุด เครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐก็ดี แต่ติดปัญหาบางอย่างที่กล่าวมา ยกตัวอย่างมีประเทศหนึ่งที่เล็กขอซื้อเครื่องบินเอฟ 16 แต่เขาไม่แถมระบบอาวุธที่ดีและทันสมัยให้ ด้วยเหตุผลประเทศนี้คงไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธที่หนักและทันสมัย แต่เมื่อมีประเทศหนึ่งที่ใหญ่กว่ากลับให้อาวุธที่ดีและทันสมัย มากกว่าประเทศที่เล็ก อย่างนี้กถือว่าไม่แฟร์กลับประเทศผู้ซื้อ ขณะที่เครื่องบินซู 30 ก็เป็นเครื่องที่ดี แต่มีปัญหาที่เครื่องบินชนิดนี้ลำใหญ่ใช้น้ำมันจำนวนมาก ดังนั้น ในอนาคตเราจะรับปัญหาตรงนี้ได้หรือไม่ หากไม่มีเงินเติมน้ำมันก็เท่ากับเสียเปล่า ซึ่งเครื่องบินกริฟเฟนเป็นเครื่องที่เล็ก และทันสมัยมีความคล่องตัวสูง ด้วยราคาขนาดนี้ถือว่าดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับกองทัพไทย ที่สำคัญคือออฟชั่นที่เขาเสนอให้เรา ซึ่งดีกว่าข้อเสนอของประเทศอื่น'รองโฆษกกองทัพอากาศกล่าว
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ'มติชน ออนไลน์'พบว่า เครื่องบินกริฟเฟ็น เป็นเครื่องบินรบผลิตโดยบริษัท'Saab'โดยบริษัทนี้ทำหน้าที่เป็นผู้ทำสัญญาและรับผิดชอบด้านการ,การตลาด และคอยโฆษณาสนับสนุนเครื่องบินรุ่นนี้ทั่วโลกด้วย มีการผลิต'ตั้งแต่เมื่อปี 1996 และโดยถูกใช้ในสวีเดนและขายให้แก่บางประเทศ เช่น แอฟริกาใต้,ฮังการี และสาธารณรัฐเชก
เครื่องบิน'กริฟเฟ็น'เป็นเครื่องบินประเภทนักบินคู่ มีสมรรถภาพถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินที่มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการบิน และสวีเดนได้เลือกที่จะพัฒนาเครื่องบินกริฟเฟ็น แทนการซื้อเครื่องบินเอฟ 16 จากประเทศดังๆ โดยสมรรถภาพหนึ่งที่น่าสนใจของเครื่องบินสวีเดนรุ่นนี้ก็คือ สามารถลงจอดบนทางหลวง(ตามยุทธศาสตร์ด้านกลาโหมของสวีเดน)และสามารถเติมน้ำมัน หรือติดอาวุธใหม่ได้ภายใน 10 นาที ซึ่งใช้เจ้าหน้าที่ทหารจำนวนไม่มากนัก ที่สามารถใช้รถบรรทุกเข้าทำการเติมน้ำมันหรือติดอาวุธดังกล่าวให้แก่เครื่องบินลำนี้
//www.matichon.co.th/news_detail.php?id=7810&catid=1
เรียนหนังสือพิมพ์มติชนที่เคารพและด้วยความเคารพ
คุณลองเช็คดูหน่อยเถิดครับ Wikipedia บอกว่า L-39 ลำละ 300,000 เหรียญ F-16C/D ลำละ 18 ล้านเหรียญ แค่นี้ก็น่าสงสัยในความน่าเชื่อถือของข้อมูลราคาใน Wikipedia แล้วครับ
อีกอย่าง คุณคงไม่รู้ว่า ราคาเครื่องบิน มีทั้งราคาแบบตัวเปล่า กับราคารวม package อาวุธ ลองตรวจสอบดี ๆ ก่อนครับว่าหยิบราคาไหนมาพูด แล้วเราจัดซื้อแบบไหน แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร
คำสั่งซื้อค้างอยู่สองร้อยกว่าลำนี่ก็ไม่ใช่ครับ ตอนนี้ใน production line มีของแอฟริกาใต้และของทอ.สวีเดนอีกราว ๆ 31 ลำเท่านั้น บวกเราเข้าไปอีก 6 ลำ ซึ่งจะทำให้สายการผลิตอยู่ไปถึงปี 2012 เป็นอย่างน้อย ผมนับยังไงก็ยังไม่ได้เท่ากับสองร้อยกว่าลำ
อีกทั้ง รุ่น A/B กำลังถูกเปลี่ยนเป็น C/D ในตลาดจึงมีแต่ C/D เท่านั้น (แล้วจริง ๆ ก็ไม่ใช่ 5 รุ่นด้วยครับ รุ่น E/F ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งรุ่นที่พัฒนาอยู่มียังมีอีกคือ Gripen-N, Gripen-DK)
ถ้ามันมีการทุจริต ไม่มีใครหรอกครับอยากให้การจัดซื้อมันดำเนินต่อไป อย่างในกรณีรถเกราะ ซึ่งผมและหลาย ๆ ท่านก็เห็นด้วยว่าการจัดซื้อมันน่าสงสัยจริง ๆ และพวกเราก็สนับสนุนการระงับโครงการและเข้ามาตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ
ในอีกแง่หนึ่ง ผมก็ไม่ได้บอกว่าคุณต้องเชียร์เครื่องรุ่นนี้เหมือนผมนะครับ เพราะในบรรดานักสังเกตุการทางทหารในเมืองไทยหลาย ๆ คนที่เป็นเพื่อนผม ก็มีทั้งชอบ JAS-39 และ F-16C/D คละกันไป.......ซึ่งคุณอาจจะไปเชียร์เครื่องสหรัฐก็ได้ แต่ถ้าคุณวางตัวเป็นกลาง ก็ควรจะตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน
ผมเรียนว่า ที่ผมพูดไปในบทความนี้ หวังอยากจะให้ท่านสื่อมวลชน ตรวจสอบข้อมูลให้ดีเสียก่อนที่จะนำข้อมูลใด ๆ มาลง เพราะอย่าลืมว่า ท่านคือสื่อมวลชน ที่มีหน้าที่สื่อความจริงกับสังคม ข้อเขียนของท่าน สามารถชี้นำสังคมได้ ซึ่งถ้าท่านให้ข้อมูลที่ผิดพลาด สังคมก็จะได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และผลที่ตามมาเราก็เห็นกันจนชินตา ขอให้ท่านตรวจสอบข้อมูลด้วยครับ
Create Date : 20 ตุลาคม 2550 |
Last Update : 20 ตุลาคม 2550 22:30:13 น. |
|
7 comments
|
Counter : 2424 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 21 ตุลาคม 2550 เวลา:13:59:34 น. |
|
|
|
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 21 ตุลาคม 2550 เวลา:14:01:17 น. |
|
|
|
โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 22 ตุลาคม 2550 เวลา:6:21:13 น. |
|
|
|
โดย: prempcc วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:09:02 น. |
|
|
|
โดย: yoddel19 วันที่: 18 กรกฎาคม 2553 เวลา:17:16:45 น. |
|
|
|
|
|
|
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @

|
|
|
|
|
|
|
เครื่อข่ายเนชั่น กับ ผจก
สาระ และเนืิ้อหา เป็นการยากที่ผู้คน จะจับข้อมูลหลากหลายจากหลายสื่อ
วันๆ จะเสพเฉพาะสื่อที่ยื่นเงินส่งให้ ก็หัวเดิมมันทุกวัน
จงอย่าหวังให้ สำนักใหนๆ ออกมายอมรับว่าที่กล่าวไปผมผิดเอง
ตีเกาะเคาะกาละมัง ชี้หน้าด่า เอ็งชั่ว เอ็งเลว
แต่พอเรื่องจริงกระจ่าง เขาไม่ชั่ว เขาไม่เลว
อย่างมากที่แสนจะเป็นบุญคุณ คือ ข่าวนั้นเงียบหายไป
นี่คือศักดิ์ศรีของฐานันดรที่ห้า ... eกาสีน้ำตาลไหม้