ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
12 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

มารู้จัก "เอจีส" กันเถอะ [Mk 7 Aegis Combat System]

ผมเคยโพสกระทู้เกี่ยวกับเอจีสที่เว็บบอร์ด Wing21 มาแล้วหนนึง ประกอบกับไปพบกระทู้ของคุณ OA แห่ง Wing21 ซึ่งอธิบายระบบอำนวยการรบนี้ได้อย่างชัดเจน ผมคิดว่า น่าจะเป็นการดีที่จะได้นำมาเสนอให้ทุกท่านอ่านกันครับ ขอขอบคุณคุณ OA มา ณ ที่นี้ด้วยครับ



ระบบอำนวยการรบคืออะไร


การที่จะรู้จัก AEGIS เราก็ต้องรู้จัก "ระบบอำนวยการรบ" หรือ "Combat System" กันก่อนว่ามันคืออะไร (เพราะว่า AEGIS ก็คือระบบอำนวยการรบชนิดหนึ่งนั้นเอง)

ระบบอำนวยกการรบก็คือระบบที่จะคอยควบคุมและสั่งการการใช้อาวุธในเรือนั้นเองครับ อย่าง AEGIS นี่ถือเป็นระบบแบบรวมการที่สามารรถต่อตีเป้าหมายได้ทั้งผิวน้ำ ใต้น้ำ และบนฟ้า ถือได้ว่าเป็นระบบที่เป็นหัวใจในการใช้อาวุธของเรือรบนั่นเอง

AEGIS คืออะไร


ระบบเอจิส เป็นระบบอาวุธรวมทั้งหมดที่ติดตั้งอยู่ในเรือ ซึ่งเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์, เรดาร์ และอาวุธปล่อยเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ป้องกันครอบคลุมเหนือเรือผิวน้ำ ระบบนี้สามารถตรวจหา, ติดตาม และทำลาย อาวุธที่ยิงมาจากทางอากาศ, ทางทะเล และทางบก ได้โดยอัตโนมัติ

ระบบเอจิส ถือเป็นระบบการต่อสู้แบบรวมการเบ็ดเสร็จที่ทันสมัยของเรือรบในยุคปัจจุบัน ซึ่งสามารถยิงเป้าขีปนาวุธและอากาศยาน ได้ครั้งละหลายๆเป้าในเวลาเดียวกัน เอจิสจึงเป็นชุดระบบป้องกันภัยทางอากาศบนเรือรบที่ดีที่สุดในโลกระบบหนึ่ง สหรัฐอเมริกาได้ติดตั้งระบบเอจิสบนเรือลาดตระเวนหรือเรือพิฆาตที่มีหน้าที่หลักในการคุ้มกันกองเรือจากภัยทางอากาศเช่นเรือพิฆาตชั้น Arleign Burke และเรือลาดตระเวน Ticoderoga ระบบเอจิสประกอบด้วย เรดาร์ (radar) สมรรถนะสูง, ระบบพิสูจน์ฝ่าย และ ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศแบบ SM-2 และกำลังจะมีการพัฒนาSAM SM-4 ตามมา ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบ

ระบบเอจิสดีกว่าระบบอื่นๆตรงที่เป็นระบบเรดาห์แบบ phase array ซึ่งมีการสแกนเป็นแบบ electronically ไม่ใช่แบบ mechanically เหมือนเรดาร์ปกติ จึงให้ข้อมูลเป้าหมายในแบบ 3 มิติ คือ ระยะห่าง, ทิศทาง และความสูง ที่ระยะไกลถึง 200 ไมล์ทะเล ตั้งแต่ระดับยอดคลื่นจนถึงเหนือหัว และทำการติดตามเป้ารวมกันได้มากกว่า 100 เป้าหมาย ตั้งแต่อากาศยาน, จรวดนำวิถี/จรวดร่อนโจมตีเรือ ไปจนถึงขีปนาวุธ (ballistic missiles) ภายใต้การรบกวนจากเป้าลวงและการรบกวนทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนาแน่น

จริงๆแล้วระบบเอจิส (AEGIS weapon system Mk7; Aegis หมายถึงโล่ของเทพเจ้า Zeus) เป็นระบบแบบรวมการ (integrated) ไม่ได้มีเฉพาะเรดาร์ (AN/SPY-1) เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงระบบควบคุมและสั่งการ, ระบบอาวุธ (ทั้งตัวแท่นยิงและลูกจรวด เช่น SM-2, ESSM), ระบบเรดาห์ควบคุมการยิง (AN/SPG-62) ด้วย จากขีดความสามารถแบบนี้ทำให้ บ.ข.คุ้มกันกองเรือสามารถโฟกัสไปที่การสกัดกั้นระยะห่างได้ โดยระยะใกล้ๆ ก็ให้เรือที่ติดระบบเอจิสรับหน้าที่แทน

นอกจากนี้ การออกแบบเรือที่จะติดตั้งระบบเอจิส จะมีรูปร่างภายนอกจะแตกต่างจากเรือรบผิวน้ำแบบอื่นๆตรงที่หัวเรือจะเป็นมุมแป้นและโค้งมนไปตลอดลำเรือ ทั้งนี้เพื่อลดพื้นที่หน้าตัดเรดาร์ทำให้คลื่นเรดาร์ที่มากระทบแตกกระจายออกไป เพื่อให้เรือฝ่ายตรงข้ามตรวจจับยากขึ้นด้วย

ขอขอบคุณคุณ OA ครับ


ส่วนหนึ่งของแผงเรด้าห์ Phased Array บนเรือที่ติดตั้งระบบ AEGIS


ข้อสังเกตุ: เรือที่ติดระบบ AEGIS ของแท้ต้องติดตั้งเรด้าห์ AN/SPY-1 เท่านั้นครับ ถ้าท่านไปเห็นเรือชั้นอื่น ๆ ที่แม้ว่าจะติดเรด้าห์ Phased Array แต่ถ้าไม่ใช่ AN/SPY-1 ก็แปลว่าไม่ใช่ระบบ AEGIS ครับ

Standard Missile -2 เขี้ยวเล็บสำคัญของเรือ AEGIS



Standard Missile - 2


Standard Missile -2 หรือ SM-2 ถือได้ว่าเป็นขีปนาวุธพื้นสู่อากาศที่มีประสิทธิภาพสูงมากครับ พัฒนามาจากรุ่นพี่คือ SM-1 โดย SM-2 มีระบบป้องกันจากถูกรบกวนทางอิเล็กทรอนิค (ป้องกันการ Jam) โดยตัวจรวดจะเป็นแบบ semi-active คือจรวดจะวิ่งไปตามสัญญาณที่เรือส่งไปกระทบเป้าหมายตลอดเวลาครับ (ไม่ใช่แบบยิงแล้วลืม) มีระยะยิงที่ไกลกว่า 100 กิโล ซึ่งความไฮเท็คของมันทำให้มันมีราคาถึงลูกละ 500,000 เหรียญสหรัฐ

Iran Air Flight 655


เหตุการณ์สำคัญที่เรือ AEGIS เกี่ยวข้องก็คือการยิงเครื่องบิน Airbus A300B2 ของสายการบินอิหร่านตกในปี 1988 ทำให้พลเรือนเสียชีวิต 290 คน โดยเรือ USS Vincennes เข้าใจผิดเพราะเครื่อบินลดระดับต่ำลงมาเหมือนท่าทางการโจมตี เรือเลยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่อง F-14 ของอิหร่าน ซึ่งความจริงแล้วระบบ IFF (identification friend or foe) หรือระบบพิสูจน์ฝ่ายก็ระบุว่าเป็นเครื่องบินพลเรือน แต่ลูกเรือกลับแปลข้อมูลผิดพลาด การสอบสวนโดยกองทัพเรือและวุฒิสภาสหรัสก็ไม่สามารถระบุได้ว่าลูกเรือคนไหนเป็นคนผิด ทำให้ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบบการฝึกใหม่ทั้งหมด



เรือที่ติดตั้งระบบ AEGIS มีดั้งนี้ (ไม่ได้มีแต่เรือสหรัฐเท่านั้น)

เรือลาดตระเวนชั้น Ticonderoga กองทัพเรือสหรัฐ


Ticonderoga Class Cruiser


เรือ AEGISลำแรกคือ USS Ticonderoga (CG-47) ในชั้น Ticonderoga ซึ่งได้ต้นแบบมาจากเรือพิฆาตชั้น Spruance

ถัดมาในเรือ USS Bunker Hill (CG-52) ในชั้นเดียวกันนั้นถือได้ว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการสงครามผิวน้ำ เพราะเป็นลำแรกที่ติดตั้ง Vertical Launching System (VLS) หรือระบบจรวดแนวดิ่ง ซึ่งให้อำนาจการยิงที่สูงกว่า

ข้อมูลของเรือ USS Ticonderoga (CG-47)

Ordered: 22 September 1978 (as DDG-47)
Laid down: 21 January 1980
Launched: 25 April 1981
Commissioned (ขึ้นระวางประจำการ): 22 January 1983
Decommissioned (ปลดประจำการ): 30 September 2004
Status: Inactive Ship's Maintenance Facility, Philadelphia (เก็บรักษา)

General Characteristics
Displacement (ระวางขับน้ำ): 9,600 tons
Length: 567 ft
Beam: 55 ft
Draught: 33 ft
Propulsion: 4 × General Electric LM2500 gas turbines, 2 shafts, 80,000 shp
Speed: 30+ knots
Range:
Complement: 387 officers and enlisted
Armament:

2 x Mk 26 missile launchers เป็นระบบยิงขีปนาวุธแบบอัตโนมัติ
88 x RIM-67 SM-2 ขีปนาวุธ SM-2 อันโด่งดัง
8 x AGM-84 Harpoon missiles
2 x 5 in, 2–4 x 12.7 mm guns
2 x Phalanx CIWS
2 x Mk 46 triple torpedo tubes
Aircraft: 2 x SH-2 Seasprite helicopters

เรือพิฆาตชั้น Arleigh Burke กองทัพเรือสหรัฐ


Arleigh Burke Class Destroyer


เรือลำนี้จะแตกต่างกับชั้น Ticonderoga ในแง่ของภารกิจครับ เพราะมันมีหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือ ในขณะที่ Ticonderoga มีหน้าที่ป้องกันภัยผิวน้ำ

Builders: General Dynamics, Bath Iron Works Division and Northrop Grumman Ship Systems
Power Plant: 4 × General Electric LM2500-30 gas turbines; two shafts, 100,000 total shaft horsepower (75 MW).
SPY-1 Radar and Combat System Integrator: Lockheed Martin
Length
Flights I and II (51-78): 505 ft (154 m)
Flight IIA (79-99): 509* ft (155 m)
Beam: 59 ft (18 m)
Displacement
Hulls 51 through 71: 8315 tons full load
Hulls 72 through 78: 8400 tons full load
Hulls 79 and on: 9200 tons full load
Speed: in excess of 30 knots (56 km/h)
Aircraft: None. LAMPS III electronics installed on landing deck for coordinated DDG-51/helo ASW operations (hulls 51-78); two SH-60 Seahawk LAMPS III helos (hulls 79 on)
Complement: 23 officers, 300 enlisted
Armament:
Standard missile;
AGM-84 Harpoon;
Vertical Launch ASROC (VLA) missiles;
Tomahawk missiles;
six Mk-46 torpedoes (from two triple tube mounts); one 5 inch (127 mm)/54-caliber Mk-45 (lightweight gun) (DDG-51 through 80);
one 5 inch (127 mm)/62-caliber Mk-45 mod 4 (lightweight gun) (DDG-81 on);
two 20 mm Phalanx CIWS (DDG-51 through 83); RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile (DDG-84 onward)
Date Deployed: 4 July 1991 (Arleigh Burke)

เรือพิฆาตชั้น Kongo กองกำลังป้องกันตนเองทางเรือญี่ปุ่น


Kongo Class Destroyer


ใช้ในภารกิจต่อต้านขีปนาวุธเกาหลีเหนือ โดยตั้งชื่อตามภูเขาในประเทศญี่ปุ่นครับ

four Ishikawajima-Harima LM2500 gas turbines (เครื่องยนต์สัญชาติญั่ปุ่น)
RIM-66 SM2 Block II surface-to-air missile (90 units)
RUM-139 vertically launched anti-submarine rocket
RGM-84 Harpoon anti-ship missile
two Mark 15 20 mm CIWS gun mounts
two torpedo mounts in a triple tube configuration
OTO 127 mm 54 caliber gun.

เรือฟริเกตชั้น F100 Alvaro de Bazan กองทัพเรือสเปน


F100 Alvaro de Bazan Class Frigate


เรือลำนี้เป็นเรือฟริเกตครับ แต่ดันมีระวางขับน้ำถึงกว่า 5,200 ตัน น้อง ๆ เรือพิฆาตครับ

Builder: IZAR, Astillero Ferrol
Propulsion: Two General Electric LM 2500 Gas Turbines, Two Caterpillar 3600 diesel engines
Shafts: 2
Length: 147 m (482 ft)
Beam: 18.6 m (61 ft)
Draught: 4.75 (15 ft)
Displacement: 5,802 tons full load
Speed: 29+ knots (54+ km/h)
Range: 5000 mi
Cost: 385 million €
Crew: 240 (35 officers)
Armament:
1 x 5-inch/54 Mk45 Mod 2 gun
2 x CIWS FABA 20mm/120 Meroka gun
1 x Mk41 48-cell VLS
SSM: 8 x McDonnell Douglas Harpoon
SAM: 32 x Standard SM-2 Block IV
64 x RIM-162 Evolved Sea Sparrow Missile
4 x 324mm Mk32 Mod 9 Torpedo launchers
24 x Honeywell Mk46 mod 5 Torpedo
Helicopter:
1 x Sikorsky SH-60B LAMPS III Seahawk
Electronics
Sonar: ENOSA-Raytheon DE 1160LF (I)
Radar: Lockheed Martin SPY-1D 3-D
Surface Radar: Raytheon SPS-67(V)4
Weapon Control: Aegis combat system, 2 x Raytheon SPG-62 Mk99 radar iluminator, 1 x FABA DORNA fire control
Navigation: Thales Scout
Countermeasures
4 x FMC SRBOC Mk36 flare launchers
SLQ-25A Enhanced Nixie torpedo countermeasures
ESM/ECM: Indra SLQ-380
CESELSA Elnath Mk 9000 interceptor

เรือฟริเกตชั้น Fridtjof Nansen กองทัพเรือนอร์เวย์


Fridtjof Nansen Class Frigate


เรือฟริเกตของนอร์เวย์ลำนี้ตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจชาวนอร์เวย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพครับ

Sensors: SPY-1F air search radar, MRS2000 hull-mounted sonar, CAPTAS Mark 2 towed sonar array, 2 × Mark 82 fire-control radar, CS-3701 electronic warfare suite
Armament: VLS 32 ESSM, 8 Naval Strike Missile SSMs, 12.75" torpedo tubes for Stingray torpedoes, 76mm OTO Melara Super Rapid gun, 12.7mm machine gun
Crew: 146 (50 officers, 32 enlisted, 10 apprentices, 28 conscripts and 26 as spare)
Displacement: 5,121 tonnes
Length (overall): 133.25 m
Beam: 16.80 m
Max height above water: 32.25 m
Design Draft Baseline: 4.90 m
Propulsion: CODAG
Two BAZAN BRAVO 12V 4.5 MW diesel engines for cruising
one GE LM2500 21.5 MW gas turbine for high speed running
MAAG gearboxes
two shafts driving controllable pitch propellers
Bow Thruster Retractable (Electric)1 MW Brunvoll
Diesel Generators 4 × MTU 396 Serie 12V 1250 KVA
Speed: 26+ knots (max), 18 (cruising)
Range: 4500 nm
Aviation compliment: Helicopter deck and hangar for one NH90
Weapon System Integrator: Lockheed Martin
Combat Management System: AEGIS CMS from LM with ASW and ASuW segments from Kongsberg Defence & Aerospace
Yard: IZAR, Ferrol, Spain


นอกจากนี้ ยังมีเรือของประเทศอื่น ๆ อีกที่คาดว่าจะได้รับการติดตั้งระบบ AEGIS เช่น KDX-III ของเกาหลี หรือโครงการเรือป้องกันภัยทางกาอาศของออสซี่ ส่วน Type 052C แห่งกองทัพเรือแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนถึงแม้จะไม่ใช้ AEGIS แต่ก็คล้าย ๆ กันครับในเรื่องของภารกิจและเทคโนโลยี

แถมครับ Aegis class cruiser ของฝ่าย Orb Union ใน Gundam Seed ก็ได้รับอิทธิพลการออกแบบมาจาก Arleigh Burke ครับ จึงอาจจะเป็นเรือ AEGIS ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดครับ แหะ ๆ ๆ




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2549
8 comments
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 13:12:01 น.
Counter : 13514 Pageviews.

 

ระบบเอจิสดีกว่าระบบอื่นๆตรงที่เป็นระบบเรดาห์แบบ phase array ซึ่งมีการสแกนเป็นแบบ electronically ไม่ใช่แบบ mechanically เหมือนเรดาร์ปกติ

ไอ้ทีี่ว่าelectronicallyนี่ แสกนยังไงเหรอครับ

 

โดย: roninkung IP: 124.120.160.15 13 สิงหาคม 2549 3:23:56 น.  

 

ผมก็ไม่ค่อยมีความรู้มากนักครับ แต่ในลักษณะก็คือมันจะใช้ antenna ใสการส่งสัญาณเรด้าห์เป็นทิษทางไป ไม่ต้องมีก้านหมุน ๆ แบบเดิมอีกแล้วครับ

 

โดย: Skyman IP: 203.131.220.1 13 สิงหาคม 2549 14:39:24 น.  

 

อืมม..เพิ่งรู้นะเนี่ย มันเป็นอย่างนี้นี่เอง..

 

โดย: pooktoon 13 สิงหาคม 2549 21:40:11 น.  

 

มาติดตามครับ netพังเลยไม่ค่อยได้เข้ามาชม

 

โดย: จับฉ่าย IP: 58.9.17.84 14 สิงหาคม 2549 22:51:45 น.  

 

เรืออิจีสรุ่นแรกที่ใช้ฐานยิง MK29 ปลดประจำการแล้วครับ

ได้แก่ CG47 CG48 CG49

ได้ข่าวว่าเก็บสำรองสงครามไว้ ไทยน่าจะขอซื้อต่อมือสองมาใช้งานนะเนี่ย อิอิ ถึงตัวเรือจะอายุ 20 กว่าปีก็เหอะ

 

โดย: S e m a k u t e k ! IP: 124.120.101.103 15 สิงหาคม 2549 23:05:15 น.  

 

ข้อดีของจานสายอากาศแบบ Electronically Steering หรือเฟส อาร์เรย์นั้น ดีกว่าแบบที่หมุนๆนั้นคือ ไม่มีดีเลย์ระหว่างการกวาดจานสายอากาศครับ พูดง่ายๆให้นึกภาพม้าหมุนครับ เราจะมาเห็นอีกด้านของม้าหมุนในเวลาหนึ่งๆ แต่ถ้าเป็นเครื่องบินที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เวลาที่เรามองไม่เห็นนั้นอาจทำให้เครื่องบินหลุดรอดสายตาไปได้ครับ
การใช้เรดาร์แบบเฟสอาร์เรย์ จะมีข้อดีคือ ไม่มีดีเลย์ระหว่างการกวาด ซึ่งถ้าเรดาร์ธรรมดาจะทำการกวาดให้เร็วเท่าอาจจะต้องหมุนเป็นหมื่นๆรอบต่อนาทีครับซึ่งเป็นไปไม่ได้ และส่วนใหญ่แล้วเรดาร์แบบเฟสอาร์เรย์จะสามารถDetect เป้านับร้อยๆเป้าได้ในครั้งเดียว ซึ่งเรดาร์ธรรมดาทำไม่ได้
แต่ข้อเสียก็มีคือ มุมการกวาดที่ไม่360องศา สูงสุดเท่ที่เคยได้ยินคือประมาณ180-230องศาครับ ซึ่งถ้าจะให้ครอบคลุมทั้งหมด อย่างในระบบเรดาร์AN/SPY-1 จะมีการติดตั้ง4ตัวเพื่อครอบคลุมมุมการกวาดครับ

และเรดาร์เฟสอาร์เรย์ ยังแบ่งย่อยได้อีก2ประเภทคือ
AESA(Active Electronically Scanned Array)และ PESA
(Passive Electronically Scanned Array)

 

โดย: icy_CMU IP: 124.157.224.189 21 กันยายน 2549 22:09:33 น.  

 

ก็ดูที่เรือแต่ละลำจะมีหน้า อาร์เรย์ ในแต่ละทิศทาง ให้ครอบตลุม 360 องศา เพื่อไม่ต้องหมุนหน้า อาร์เรย์ (เรดาร์) เหมือนเมื่อก่อน ที่หน้าจอแสดงผลจะเห็นเป้าหมาย 360 องศาพร้อมกันทันทีแบบไม่มีเส้นกวาด
ในรูป อาร์เรย์ ก็คือ แผ่นหกเหลี่ยมด้านไม่เท่าติดอยู่ที่ผนังด้านหน้าด้านข้างหรือด้านหลังหอบังคับการเรือ

 

โดย: lek IP: 202.91.23.1 15 มีนาคม 2550 15:48:38 น.  

 

อยากให้ทร.ไทยมีซัก2-4ลำจังเลย

 

โดย: Flying T. Tiger IP: 124.121.113.73 10 พฤษภาคม 2550 0:32:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.