Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
16 ตุลาคม 2560
 
All Blogs
 

O ตรรกะวิภาษ .. O

.
.
.





ครั้งหนึ่งในการบรรยายธรรมหัวข้อ "หลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท"โดยท่านพุทธทาสภิกขุ .. (สมัยที่บรรยายนั้น ราวๆปี 2513-2514 บันทึกเสียงโดยใช้แถบเสียงซึ่งมีเสียงรบกวนมาก .. เดี๋ยวนี้มีเผยแผ่ใน YouTube โดยผู้ทำได้ลบเสียงรบกวนออกหมด นับว่าดีเยี่ยม)
.
ในตอนที่ 4 ท่านได้วิพากย์ ผู้แต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรค คือพระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุชาวอินเดียที่บวชแล้วจาริกไปอยู่ในศรีลังกา ประมาณ พศ.1000
.
ประเด็นที่วิพากย์คือ "วิญญาณ"
ในขณะที่พุทธะสอนเรื่อง วิญญาณ 6 อันเป็นปัจจยาการ คือไม่มีภาวะถาวรอะไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นครั้งคราวที่ อาตนะภายใน (อวัยวะบนร่างกายคือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง .. รวมทั้งจิตใจ) กระทบสัมผัสกับ "คู่ของมัน"
.
จากสายปฏิจจสมุปบาทสายเกิด ..
อวิชชา > สังขาร > "วิญญาณ" > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรา มรณะโศกะ ปริเทวะ โทมนัส อุปายาส
.
ตา กระทบ รูป .. นี่คือคู่ของมัน
ตา คงไม่กระทบกับ เสียง ไปได้
.
.
.
ก่อนนาทีที่จะ กระทบ ..
ตรงนี้เข้าใจยากมาก คิดตามลำดับข้อธรรมแล้ว น่าจะได้ประมาณนี้
(ไม่ได้บอกว่า ถูกต้อง - แต่เป็นการว่าตามสติปัญญาของคนเขียนเอง)

ภาวะตามธรรมชาติที่ติดตัวมานั้น ..
มีตัวตนที่ยืนนั่งหายใจอยู่
ตัวตนนี้ไม่เข้าใจโลกรอบตัวได้ดีพอ มืดบอดในความนึกคิด
ตัวตนนี้จึงมีคุณสมบัติบางประการครอบงำ เราเรียกมันว่า"อวิชชา"

อวิชชาตัวนี้คอยผลักดันเปลี่ยนแปรสภาพภาวะมืดบอดไปเป็น
ลักษณะความสามารถในการปรุงแต่งเรื่องราว เราเรียกมันว่า"สังขาร"
รอคอยปรุงแต่งภาวะทางอารมณ์ตอบสนอง .. ยืนโรงรออยู่

(เป็นคุณสมบัติตามธรรมชาติของ ความมืดบอด ที่จะต้องปรุงแต่ง
ความนึกคิดเสมอไป .. แบบเดียวกับวัตถุสิ่งของที่ต้องหล่นจากที่สูง
เพราะแรงโน้มถ่วงดึงลากลงมา เสมอไป)

รออยู่ในภาวะที่เรียกว่า ภาวะพร้อมรับรู้ ภาวะพร้อมกระทบสัมผัส
เราเรียกมันว่า "วิญญาณ" มี 6 ทาง

เนื่องจาก ภาวะพร้อมรู้ ภาวะพร้อมสัมผัสนี้ จำต้องอาศัยตั้งอยู่บน
รูปนาม มันถึงจะทำงานได้ วิญญาณ จึงต้องตั้งบน รูปนามเสมอไป
วิญญาณจึงเนื่องอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า "นามรูป"

นามรูปนี้เอง เป็นโดยนาม เท่านั้นทั้ง
นาม โดยนาม
รูป ก็โดยนาม
แต่ตั้งภาวะขึ้นบนรูป ที่เป็นรูปขันธ์ คือ ร่างกายที่เป็นๆ

ตรงนี้ งง แน่นอน ว่า
"รูปโดยนาม" เป็นอย่างไรฟะ ?
อธิบายอย่างนี้ว่า ...

รูปลักษณ์หนึ่งๆ ที่รอ ดวงตา สบสัมผัส ..
คือตัวจักขุวิญญาณที่สวมทับลงบนตาเนื้อ .. รอกระทบสัมผัสกับ ความหมายบนรูป
ดังนั้น รูปลักษณ์นั้นๆ จำต้องถูกแปรรูป (to be transformed) ภาวะเป็น นาม เสียก่อน

แปรรูปอย่างไร ?
แปรรูป เป็น "ความหมาย หรือ คุณค่า" ที่ภาวะมืดบอดกำหนดขึ้นมาสวมทับ
ลงบนรูปจริง - ความหมายหรือคุณค่า นี้คือนามที่ตั้งอยู่บนรูป

"จักษุวิญญาณ" นั้นจึงสัมผัส กับ "คุณค่า หรือ ความหมาย" บนรูปนั้น
จักษุวิญญาณ ไม่ได้สัมผัสรูปลักษณ์โดยตรง
ที่สัมผัสรูปลักษณ์โดยตรงคือ ดวงตา ภายใต้แสงสะท้อนรูปนั้นมากระทบ

คู่ ภายนอก-ภายใน
คือ รูปลักษณ์-ดวงตา

ทั้ง 2 อย่างนี้เรียก สฬายตนะ
เป็นภาวะที่ "รอพร้อมอยู่" ทั้งสิ้น ตั้งแต่อวิชชา จน สฬายตนะ
เพียงแต่มีคุณสมบัติตามที่มี ที่เป็น อยู่ตามคุณสมบัติของภาวะ มืดบอด

เมื่อ"ดวงตาโดยนาม" กับ "รูปลักษณ์โดยนาม" ที่เราเรียกรวมกันว่า
"สฬายตนะ" เกิดการกระทบกัน เราเรียกว่า "ผัสสะ"
.
รูป กับ ตา พอกระทบกัน
สฬายตนะช่องทางนี้คือ"จักษุวิญญาณ" กับ "รูปลักษณ์" ก็สัมผัส
เป็นสัมผัสที่มืดบอด ก็เกิดความรู้สึกในรสของอารมณ์ เราเรียก "เวทนา"

.
.
.
สังเกตให้ดีว่า อายตนะ ซ้อน อายตนะ
ตัวแรก บนรูปขันธ์ที่มีมาแต่กำเนิด คือ ตาเนื้อ
ตัวหลัง บนภาวะปรุงแต่งของสังขาร คือ วิญญาณ 6 คือ ตาโดยนาม
.
.
ท่านพุทธโฆษาจารย์ .. กลับอธิบายไปอีกแบบ
โดย เพิ่ม หรือ แทรก "ปฏิสนธิวิญญาณ" ขึ้นมาตรงนี้เอง
ตรงที่เรียกว่า ตาโดยนาม
กลายเป็นว่า ตาโดยรูป เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมา
และน่าหัวร่อที่กลายเป็น ตาของตัวอ่อน ในท้องมารดา !
.
คือเมื่อตา สบ รูป .. อัตภาพนั้นๆควรมีปฏิกิริยาหลังจากนั้น ทางใดทางหนึ่ง
และทางอารมณ์เท่านั้น ..
.
เพราะเป็นแค่การมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น
.
เป็นไปไม่ได้ ที่จะข้ามไปเกิดเป็นวิญญาณของอีก อัตภาพหนึ่ง คือ ตัวอ่อนในครรภ์มารดา ..
.
พลันที่ ตาเนื้อ กระทบ รูป
พุทธโฆษาจารย์ อธิบายว่า เกิด ปฏิสนธิวิญญาณ เพื่อเกิดเป็น นามรูปในอีกภพ .. คือการเกิดจากท้องแม่ ที่ตรงนี้ ..
.
พอเข้าใจได้ว่า ..
การปฏิสนธิของตัวอ่อนในครรภ์มารดา เกิดขึ้นได้เมื่อ
อสุจิของฝ่ายบิดา ผสมกับ ไข่ของฝ่ายมารดา ..
.
เมื่อเอาภาวะ ปฏิสนธิวิญญาณ มาวางตรงที่ การปฏิสนธิในครรภ์มารดา .. ตรงนี้ย่อมนับเป็นจุดเริ่มแรกของ ชาติปัจจุบัน
.
ดังนั้น อวิชชา กับ สังขาร จึงต้องอยู่ในอดีตชาติ เสมอไป
ไม่ใช่ติดต่อสืบเนื่องรวดเดียวแบบที่ใน พุทธะวจนะ กล่าวไว้
.
อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรา มรณะโศกะ ปริเทวะ โทมนัส อุปายาส
.
เกิดตรง "นามรูป" ครั้ง ที่ 1
เกิดตรง "ชาติ" ครั้งที่ 2
.
จึงเกิดแนวคิด คร่อมภพคร่อมชาติ
อดีตชาติ - อวิชชา สังขาร
ปัจจุบันชาติ - วิญญาณ .. จนถึง .. ภพ
อนาคตชาติ .. ชาติ ชรา มรณะ ฯ
.
กลายเป็นวงจรที่ไม่อาจตัดบั่นได้ด้วยตัวเอง
เพราะ เหตุ กับ ผล ถูกวางไว้คนละชาติกัน
.
จึงต้องมี "วิบากกรรม" เรื่องที่มาจากอดีตที่รู้ไม่ได้ด้วยตัวเอง .. และใครก็บอกไม่ได้ด้วย .. (เป็น 1 ใน 4 เรื่องที่พุทธะท่านบอกไม่ให้ไปคิด อยู่ อจินไตยสูตร) มารองรับการตีความคร่อมภพชาติแบบนี้ ..
.
.
การวิพากย์ลักษณะนี้มีมากในพุทธสายวัชรยานของธิเบต
ฝรั่งตะวันตกจึงถูกจริตมากกว่าทางเถรวาทแบบไทย
.
ตรรกะวิภาษ จึงเป็นวัตร ปฏิบัติ ของพระธิเบตในระหว่างการศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้เข้าใจ
.
ตรรกะวิภาษ จึงไม่ใช่การ หมิ่นประมาท
มีแต่วัฒนธรรมที่เชิดชูการกระทำตรรกะวิภาษ เท่านั้น เหตุและผลจึงจะงอกเงยได้ ..
.
.
ในทางการเมือง
หากใครสักคนกระทำ วิภาษวิธี ระบอบการปกครองที่สืบทอดมาแต่ก่อนเก่าแบบนี้บ้าง
.
อะไรจะเกิดขึ้น ?
.
.
.










 

Create Date : 16 ตุลาคม 2560
0 comments
Last Update : 24 เมษายน 2562 19:22:48 น.
Counter : 1643 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.