Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
O ความเป็นเท็จ .. ของแนวคิดข้ามภพข้ามชาติ .. O

ประเด็นนี้คงต้องเขียนกันจนตายกันไปข้างหนึ่ง
มาลองอ่านอย่างใคร่ครวญ .. อย่างช้าๆ .. อย่างไม่ต้องรีบร้อน .. ดูกันหน่อย

นำมาจาก .. อริยสัจจากพระโอษฐ์
แปลโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ

............................................................................................

อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. เบญจขันธ์เป็นทุกข์

ภิกษุ ท.!
รูป เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
"นั่นไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้;

ภิกษุ ท.!
เวทนา เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
"นี่ไม่ใช่ของเรา, นั่นไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้;

ภิกษุ ท.!
สัญญา เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
"นั่นไม่ใช่ของเรา, นั่นไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้;

ภิกษุ ท.!
สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
"นี่ไม่ใช่ของเรา, นั่นไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้;

ภิกษุ ท.!
วิญญาณ เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า
"นั่นไม่ใช่ของเรา, นั่นไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้ แล.
.
.
.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘/๔๓.

...........................................................................................


หากสมองเปิด .. และไม่เต็มไปด้วยขยะรกรุงรัง .. คงอ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยากว่า .. คำของพระพุทธองค์ที่กล่าวถึงขันธ์แต่ละตัวในเบญจขันธ์ข้างบนนี้ มันควรตีความไปทางไหน ?

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ
มาดูความหมายของแต่ละขันธ์กันดู


รูป - ในขันธ์๕ หมายถึง ส่วนร่างกายตัวตน, ในอายตนะหมายถึง "ภาพ หรือรูป "ที่เห็น ซึ่งในบางครั้งใช้ครอบคลุมถึง "สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลาย" คือรูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส, ความคิด(ธรรมารมณ์)ทั้ง๖, คือใช้แทนอายตนภายนอกทั้งหมด

- รูป
๑.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูตหรือธาตุ ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ (= รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,)

๒.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖)

๓.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย


เวทนา - การเสวยอารมณ์ (ทั้งต่อใจและกาย), ความรู้สึก,ความรู้สึกในรสของอารมณ์ (Feeling) ; ความรู้สึกจากการรับรู้ ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น เมื่อมีการกระทบสัมผัส (ผัสสะ) กับอารมณ์ต่างๆ อันมี ..
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ความคิดนึก(ธรรมมารมณ์) ด้วยอายตนะภายในอันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ;

หรือ ความรู้สึกรับรู้(รวมทั้งจําและเข้าใจ)ในสิ่งที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกาย อันหมายถึงความรู้สึกรับรู้พร้อมทั้งความจําได้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส

หรือ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส (ผัสสะ) อันพร้อมด้วยความจําได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ


สัญญา - การกำหนดหมาย, ความจำได้ ความหมายรู้ คือ ..
หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น

และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก

สัญญา เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕, สัญญามี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้หมายจำนั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป, สัททสัญญา หมายรู้เสียง, ธรรมสัญญา หมายรู้ในธรรมารมณ์หรือความนึกคิด เป็นต้น;

(ในภาษาไทย มักไปใช้ในความหมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น บางครั้งจึงทำให้สับสน)


สังขาร - สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย, สิ่งหรือผลที่เกิดขึ้น มาจากการที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยคือเครื่องสนับสนุน ปรุงแต่งกันขึ้น จึงครอบคลุมสังขารทั้งฝ่ายรูปธรรม และ นามธรรม ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, จิต, สิ่งของวัตถุ, ตัวตน ฯลฯ.

กล่าวคือจึงครอบคลุมทั้งหมดทั้งสิ้น พึงยกเว้นแต่เพียงเหล่าอสังขตธรรมเท่านั้น อันคือ สภาวธรรม ทั้งปวง ดังเช่น พระนิพพาน.

(ในภาษาไทย บางทีใช้คำว่า สังขาร ในความหมายว่าร่างกาย เช่น "สังขารแก่เฒ่าลงไปทุกวัน" ที่หมายถึงรูปสังขารคือร่างกาย จนบางครั้งก่อความสับสนในการพิจารณาธรรม คือ คิดนึกถึงตีความไปหมายถึงแต่ร่างกายเสียแต่ฝ่ายเดียว จนเสียการ - เสียความหมายไปเลย)


วิญญาณ - ในปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ อันหมายถึงการรับรู้จากอายตนะ หรือความรู้แจ้งอารมณ์ หรือระบบประสาทอันทําหน้าที่ในการสื่อสาร ดังเช่น จักขุวิญญาณ ระบบประสาทรับรู้ของตา กล่าวคือ การรับรู้หรือรู้แจ้งในรูป ที่มากระทบตา

- ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต(ก็เรียกกัน), ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;

วิญญาณ ๖ คือ
๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)
.
.
.

สิ่งใดเป็นทุกข์ .. สิ่งนั้นเป็น"อนัตตา"

อนัตตา .. แปลว่าอะไร ?
แปลว่า .. นั่นไม่ใช่ของเรา, นั่นไม่ใช่เรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ..


อ .. ตัวเดียว แปลว่า ไม่
อัตตา .. แปลว่าตัวเรา

อ+อัตตา
เข้าสมาส เป็น อนัตตา

คำแปลนี้ อ่านให้ดีๆ จะเห็นถึงความแตกต่างของความหมายที่แฝงอยู่ ..
มิใช่เรา
มิใช่ของเรา
มิใช่ตัวตนของเรา

แปลว่า มีรูปกายและชีวิตของเรา .. แต่ไม่ถือว่ามี

แปลต่อว่า .. รูปกาย ชีวิตที่เรียกว่า เรา นั้นมีอยู่ หายใจได้อยู่ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

แต่ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ออกรับ หลบเลี่ยง เมื่อกระทบกระทั่งกับโลกภายนอกที่แวดล้อมตัวอยู่

บางคนใช้คำว่า นิระ แทนคำว่า ไม่มี หรือ ไร้ หรือ ว่าง หรือ ปราศจาก
นิระ+อัตตา = นิรัตตา

(แต่คำนี้ความหมายค่อนข้างรุนแรง คือไปในทาง "ขาดสูญ" หรือ "อุจเฉททิฏฐิ" มากกว่า "อนัตตา" ซึ่งมีลักษณะของปัจจยาการ ..

โพธิรักษ์ นักบวชแห่งกลุ่มสันตอโศก พยายามใช้คำ "นิรัตตา" นี้แทนคำว่า "อนัตตา" เข้าใจว่าพยายามสร้างเอกลักษณ์ เป็นของตน .. แต่เนื่องจากความอ่อนด้อยเชิงภาษาศาสตร์ จึงไม่สามารถเข้าใจความแตกต่างของรากศัพท์ได้อย่างถ่องแท้

พระสงฆ์ที่บวชไม่นาน ยังทำความเข้าใจในหลักธรรมได้ไม่ถ่องแท้ แต่รีบร้อนออก เทศนา สอนธรรมชาวบ้าน มักเป็นแบบนี้ ..
)

มีตัวตนอยู่ แต่อยู่แบบเข้าใจโลก จนเห็นเป็นเรื่องสมมุติกันเอาเอง จับยึดกันไปเอง ไร้สาระ ไม่มีแก่นสาร จนสามารถปล่อยวางลงได้ทั้งหมด

นี่คือคำว่า อยู่เหนือโลก เหนือการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 โดยสิ้นเชิง
โลก+อุดร(เหนือ) = โลกุตระ

อยู่เหนือ แปลว่า ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีการกระเพื่อมของจิตในทางปรุงแต่งอย่างมืดบอดจนเกิดอารมณ์ตอบสนองทั้งทางบวกหรือทางลบ


วิญญาณ เป็นทุกข์
วิญญาณ จึงเป็น อนัตตา
สิ่งที่เป็นอนัตตา แปลว่า ไม่มีภาวะถาวรให้ยึดถือ ให้นับเนื่องสืบทอด

น่าแปลกที่ พระวจนะนี้ คนพุทธส่วนใหญ่ไม่ยอมเชื่อถือ
พระวจนะกล่าวไว้ชัดเจน .. หาอ่าน ศึกษาได้ไม่ยาก .. แต่คนพุทธส่วนใหญ่ยังคงเชื่อเรื่องชาติที่แล้ว ชาติปัจจุบัน ชาติหน้า อย่างไม่อาจตัดใจไปจากจินตนาการสวยงาม เพริดแพร้วพิสดาร ได้เลย

รุ่นแล้วรุ่นเล่า ..

มันยากตรงไหน กับคำพระพุทธองค์ที่ยกมาตัวหนังสือสีเขียวข้างบน ?

มันเหมือนกับที่เชื่ออยู่ไหม ?

หากไม่เหมือน แล้วจะเชื่อต่อ .. หรือหันมาเชื่อพระพุทธองค์ ?

และที่สำคัญ

พระพุทธวจนะข้างบน .. ขัดกับหลักกาลามสูตรไหม ?

และที่เชื่อเรื่องชาติที่แล้ว ชาติหน้า ขัดกับหลักกาลามสูตรไหม ?

หากว่าไม่ขัด .. แล้วจะรู้ด้วยตนเองก่อนแล้วค่อยเชื่อได้ทางไหน,
ชาติที่แล้วจะรู้ได้อย่างไร ?
ชาติหน้าจะรู้ได้ด้วยวิธีไหน ?


หากว่ารู้ไม่ได้ แต่เชื่อสนิทใจ .. จักเทียบพฤติกรรมเยี่ยงนี้ว่าอย่างไร ?


กาลามสูตร คำนี้ แปลว่าอะไร ?
(ระวัง .. อย่าไปมั่วสับสน กับ คำว่า "กามสูตร" .. ตามลักษณาการมักง่ายแบบไทย ๆ )

..............................................................................................

กาลามสูตร
คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี)

กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6. มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

แต่จงเชื่อก็ต่อเมื่อ ..
.. ได้ศึกษาและทดสอบด้วยตนเองแล้ว (สนฺทิฏฐิโก)
.. เห็นว่าเป็นสัจธรรมสมบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ (อกาลิโก)
.. สามารถท้าทายการพิสูจน์ของผู้อื่นได้ (เอหิปสฺสิโก)
.. เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ (โอปนยิโก)
.. และเป็นธรรมที่วิญญูชนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (ปจฺจตฺตํเวทิตพฺโพ วิญญูหิ)
.. เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า .. ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย
.. และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว

วิกิพีเดีย

...........................................................................................


อาจจะเคยผ่านตากันอยู่บ้างสหรับผู้ใฝ่รู้ ..
จะเห็นได้ว่าคำสอน "อย่าเพิ่งเชื่อ ทั้ง 10 ข้อ" มองเห็นถึงความล้มเหลวในพฤติปฏิบัติของคนในสังคมไทยได้ชัดเจนยิ่ง ..


ในระดับภูมิปัญญาของบัวน้ำล่าง .. ส่วนมากเป็นระดับการศึกษาต่ำทั้งหลาย .. อย่างไม่ต้องสอบสวนทวนความใดๆ .. จริตที่จะใช้ไตร่ตรองเรื่องราวแทบเป็นศูนย์ จึงมีกรณี "โล้นห่มเหลือง" มาให้รับรู้เป็นระยะ

และการแสดงความเคารพนบนอบต่อ เดรัจฉาน พิกลพิการ ไม่สมประกอบทั้งหลาย เป็นต้นว่า ควายดำตกลูกสีขาว .. ช้างมี 5 ขา .. หมามี 2 หาง .. ฯลฯ

รวมทั้งจริตที่ฝักใฝ่ในเดรัจฉานวิชาทั้งหลาย .. สักยันต์ ฝังตระกรุด แขวนพระเครื่อง ไหว้เจว็ดเจ้าที่ ศาลเจ้าที่ผีเจ้าถิ่น ฯลฯ


ในระดับภูมิปัญญาของบัวน้ำกลาง .. อย่างไม่เคยใช้เหตุผล แต่ด้นดั้นไปด้วยความเชื่อตาม"เขาว่า"อย่างเดียว .. แม้มีการศึกษาทางโลกไม่ต่างกับ บัวน้ำบน แต่ความสามารถทางความใคร่ครวญไตร่ตรองเชิงเหตุผล ที่เรียกว่า critical thinking นั้่นอ่อนด้อยจนไม่สามารถใช้งานได้

จึงหัวปักหัวปำกับแนวคิด บุญสะสมข้ามภพข้ามชาติ แบบที่ธรรมชัยโยแห่งสำนักธรรมกายชักจูง ..

ซึ่งแค่เอาหลัก "กาลามสูตร" มาจับก็จบเห่แล้ว !

เพราะเหตุว่า .. คำของพระพุทธองค์ย่อมไม่ขัดแย้งกันเอง เด็ดขาด

ดังนั้น .. พระพุทธวจนะ ตัวหนังสือสีเขียวด้านบน .. กับหลักกาลามสูตร ตัวหนังสือเหลือง ด้านบนต่อมา จักต้องสอดคล้องกันในแง่หลักการ


ในเมื่อ ขันธ์ 5 เป็นทุกข์
.. จึงย่อมเป็นอนัตตา ..
.. จึงย่อมไม่มีการสืบทอดภาวะระหว่างรูปกายที่แตกดับ
.. จึงย่อมไม่มีวิญญาณล่องลอย ออกจากร่างที่ตายแล้ว ไปมุดเข้าท้องหญิงมีครรภ์แล้วสถิตลงในตัวทารกใดๆ (ส่วนที่เชื่อกันอยู่นั้นมันคือ "ดวงมนัส" ของอุปนิษัทในลัทธิพราหมณ์ ที่ล่องลอยไม่มีวันจบสิ้นจนกว่าจะเข้าถึงปรมาตมัน-อัตตาตัวใหญ่)
.. จึงไม่มีการ "คดห่อบุญ" ข้ามภาวะแตกดับของรูปขันธ์ได้
.. จึงไม่มีเรื่องต้องพิจารณา ทั้งในฝ่ายอดีต และฝ่ายอนาคต
.. เรื่องอดีตของตัวตนที่เคยมี เคยเป็น จึงเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ลวงโลก
.. เรื่องอนาคตของตัวตนที่จะมี ที่จะเป็น จึงเป็นเรื่องเดามั่ว ไปตามอำนาจสังขารปรุงแต่งของผู้มากจินตนาการ เท่านั้น
.. การเดามั่ว มาจากไม่มีการมองเห็น"ภาวะการณ์ใดๆ" ของชีวิตหนึ่งก่อนกำเนิดจากท้องแม่ หรือ หลังการตายเข้าโลง โดยสิ้นเชิง


เมื่อเป็นดังนั้น .. พุทธธรรมจึงจักสอดคล้องกับแนวคิดเชิง ปฏิบัติจิต ควบคุมจิต แต่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น .. จึงสามารถเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ..
.. ตามองเห็น
.. หูได้ยินเสียง
.. จมูกได้กลิ่น
.. ลิ้นรู้รส
.. ผิวกายรู้สึกต่อสัมผัสจับต้อง
.. จิตใจรับรู้อารมณ์ ความนึกคิดต่อเรื่องราวต่างๆ
ได้ด้วยตนเอง

จึงสอดคล้องกับ "กาลามสูตร" ที่ ..
.. ได้ศึกษาและทดสอบด้วยตนเองแล้ว (สนฺทิฏฐิโก)
.. เห็นว่าเป็นสัจธรรมสมบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ (อกาลิโก)
.. สามารถท้าทายการพิสูจน์ของผู้อื่นได้ (เอหิปสฺสิโก)
.. เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ (โอปนยิโก)
.. และเป็นธรรมที่วิญญูชนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (ปจฺจตฺตํเวทิตพฺโพ วิญญูหิ)
.. เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า .. ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย
.. และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ


ได้อย่างไม่มีข้อโต้แย้ง
นี่คือหลักการพิจารณาหลักธรรมด้วยเหตุผล .. ที่ยากจะบิดเบี้ยวไปได้
.
.
.

คำถามคือ .. แล้วเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย ถึงเชื่อเรื่องที่ไม่ใช่คำของพระพุทธองค์ ?

ตอบว่า .. ปฐมบทแห่งมิจฉาทิฏฐิในสังคมไทย .. มาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค !

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย พระพุทธโฆษาจารย์ ภิกษุชาวอินเดีย ผู้ไปอยู่ที่ศรีลังกาเมื่อประมาณ พศ. 1500 .. ก่อนบวชเป็นพระสงฆ์ ท่านเคยเป็นพราหมณ์มาก่อน

แล้วพระร่วง หรือ พระยาลือไท ผู้ครองกรุงสุโขทัย ก็จับเอามาเขียน ไตรภูมิพระร่วง กล่อมคนไทยให้หลับไม่รู้ตื่นมานับ 700-800 ปี จนบัดนี้ยังคงสืบทอดกันอย่างซื่อสัตย์ โง่งมยิ่ง !

โลก
สวรรค์
นรก
วิญญาณล่องลอย
บุญข้ามภพ
บาปข้ามชาติ

ฯลฯ

จึงโลดแล่นอยู่ในจินตานาการของคนไทยมาจวบจนบัดนี้ .. อย่างไม่เสื่อมคลาย .. ลงแม้แต่น้อย ..

ทั้งหลักกาลามสูตร ของพระพุทธเจ้า
ทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพของ ไอสไตน์

ไม่สามารถสอดรับกับพฤติแห่งจิตของเผ่าพันธุ์สยามได้ดีเท่างานเขียนของพระร่วง !


และหากลองสอบทิฏฐิในตนของพระสงฆ์ทั้งประเทศดู .. สามารถประเมินได้ล่วงหน้าเลยว่ามีแนวคิดแบบ สัสสตทิฏฐิ ไม่ต่ำกว่า 70% ของสงฆ์ทั้งหมด !

ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเผยแพร่แนวคิดแบบ สัสสตทิฏฐิ นั้น นอกเหนือไปจากฆราวาสผู้ไม่ศึกษาเรียนรู้จนถ่องแท้แล้ว .. ยังมีสงฆ์ ศากยะบุตร อีกเป็นเรือนแสนทั่วประเทศที่ช่วยกันทุบทำลายหลักธรรมลงด้วย ทุกวัน !


.. วิญญาณล่องลอย
.. บุญข้ามภพ
.. บาปข้ามชาติ

เหล่านี้คือแนวคิด สัสสตทิฏฐิ .. เป็นการสืบทอดภาวะของ ตัวตนหรือ อัตตา ข้ามกาลเวลา คร่อมระหว่างสองรูปขันธ์ .. แต่ยังคงภาวะของความเป็นตัวตนนั้นๆ ..

อันมาสืบทอดมาจาก แนวคิดอาตมัน ปรมาตมัน ของลัทธิพราหมณ์ที่แฝงมาใน วิสุทธิมรรค

แนวคิดนี้ เข้าใจไม่ได้กับคำว่า ภพ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาท ว่าเป็นเรื่องของอุปาทานจิตล้วนๆ .. เนื่องจากจริตแนบแน่นกับแนวคิดวิญญาณล่องลอย .. จึงไม่อาจเข้าใจการตั้งภพชาติว่าเกิดจากอุปาทานจิตอย่างไร ..

จึงแทรก "ปฏิสนธิวิญญาณ" ลงในปฏิจจสมุปบาท เพื่อรองรับ "นามรูป"ที่จะตั้งขึ้น .. จึงบิดเบี้ยว ฟั่นเฝือ และหลงไปเป็นตรงกันข้าม คือสอนให้มีอัตตา

เราเรียกการอธิบายธรรมแบบนี้ว่า สัทธรรมปฏิรูป .. คือเปลี่ยนหลักเอาตามใจชอบ ตามการตีความของตนเอง ..

ที่ ว.วชิระเมธี เสนอให้มีการ เซ็นเซอร์การเทศนาของบรรดาหลวงพ่อ .. หลวงพี่ก่อนอนุญาตให้เทศนาสอนคนได้ จึงชอบแล้ว !


หากว่า หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ต้นตำหรับวิชาธรรมกาย .. อาจารย์ของชีขนนกยูง ซึ่งเป็นต้นแบบแนวคิดให้ ธรรมชัยโย ทัตตะชีโว อีกต่อหนึ่งนั้น มีทิฏฐิในประเด็น สัสสตทิฏฐิ แบบที่วิสุทธิมรรคบรรยายมา ..

ก็อย่าพึงฟังคำยกย่อง แบบหลับหูหลับตาที่พร่ำเพ้อเจ้อในความเป็นอริยะบุคคลใดๆ ของกลุ่มก้อนแนวคิดนี้ เสียเลย .. แลจะเป็นบุญกุศลแก่โอกาสแห่งจิตเอาทีเดียว

เพราะมันไม่มีความเป็นไปได้แม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว !

เพราะไม่มีอะไรง่ายขนาดนั้น กับการต่อสู้กับธรรมชาติที่มีอยู่ในตนของมนุษย์เรา .. เป็นธรรมชาติที่คนที่สามารถเอาชนะได้นั้นเปรียบเหมือน เส้นผมเส้นเดียวในบรรดาเส้นผมของคนทั้งโลก !

เพราะต้นความรู้ ไม่ดำรงอยู่คอยตัดสินประเด็นเรื่องทิฏฐิแล้ว
เพราะการสืบทอดนับเนื่องมาถึง 2600 ปีแล้วนี้ บิดเบี้ยว เบี่ยงเบนในรายละเอียดมากมายแล้ว หากไม่มีหลักใหญ่ไว้จับเป็นหลักอ้างอิง แล้ว

การตีความแบบไร้หลักเกณฑ์ทั้งหลายจึงส่งคนตีความไปสู่การเวียนว่ายอยู่ในความมืดมนอนธกาลกลางกระแสแห่งมิจฉาทิฏฐิ .. มานักต่อนัก (ลงนรกแบบพราหมณ์ .. นั่นแล)

เสียเวลาเปล่า ..

เสียจริตภาวะ ..

เสียโอกาสที่จะสัมผัสกับ สัมมาทิฏฐิ อันเที่ยงตรง จริงแท้ และจับต้องได้


.. มีโลก
.. มีภาวะแห่งโลกที่แวดล้อมอยู่รอบตัว
.. มีรูปกายยังต้องเกี่ยวเนื่องกับโลก
.. มีจิตตั้งอยู่ในรูปกายที่ยังต้องเกี่ยวเนื่องกับโลก
.. แต่ไม่มี "อัตตา / ตัวกู" ครอบครองจิตที่ตั้งในรูปกายนั้น

เพราะ"วิชชา"จากสัมมาทิฏฐิ .. ที่มีอยู่เต็มพร้อมทุกขณะ ไม่มีหลุด ไม่มีหลง ไม่มีลืม ไม่มีลังเล

จิตที่เข้าใจโลก .. ที่ฝึกดีแล้วจนว่องไว มีกำลัง ..
ย่อมจัดการ "ถล่ม-ฆ่า ตัวอัตตา" ได้ในทันทีที่อุบัติขึ้นมา

และนั่นคือ วิมุติภาวะ อันควรเป็นเป้าหมายของ "บัวน้ำบน" ทุกชีวิต

และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในคืนจันทร์เพ็ญดวง เดือน 6 ริมฝั่งน้ำเนรัญชลา เมื่อ 2600 ปี ที่แล้ว





Create Date : 30 สิงหาคม 2556
Last Update : 10 เมษายน 2557 8:52:03 น. 4 comments
Counter : 2458 Pageviews.

 

สดายุ..

"อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. เบญจขันธ์เป็นทุกข์ "

เบญจขันธ์=รูป . เวทนา . สัญญา . สังขาร . วิญญาณ(ที่สดายุว่ามา)

"สิ่งที่เกิดขึ้นในคืนจันทร์เพ็ญดวง เดือน 6 ริมฝั่งน้ำเนรัญชลา เมื่อ 2600 ปี ที่แล้ว"
คือ พระพุทธองค์ทรงประกาศ "หลักปฏิจจสมุปบาท"
ทุกข์... สมุทัย(ต้นเหตุแห่งทุกข์)
นิโรท (ความดับทุกข์) ..มรรค(หนทางถึงความดับทุกข์ )
นี่เรียนมาตอนอยู่ชั้นมัธยม หมายถึงว่า
หากินมากับข้อสอบ..จึงเข้าใจที่สดายุ"เทศน์"มา..ว่าเป็นอย่างนี้..

ตะนี้ หากเริ่มว่า..
เมื่อคนเรามีทุกข์ จึงเข้าใจลึกซึ้งถึงธรรมะ

พระนางยโสธราผู้มีความทุกข์อันเกิดขึ้นจากพระสวามีเป็นต้นเหตุที่หนีไปบวช ..ก็น่าจะเข้าถึงธรรมะ ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าจะเข้าถึงพระธรรม มิใช่รึ.555




โดย: บุษบามินตรา IP: 87.174.127.64 วันที่: 31 สิงหาคม 2556 เวลา:15:41:52 น.  

 
มินตรา ..

ประเด็นนี้ต้องพิจารณาอย่างนี้ว่า ..
เป็นธรรมชาติวิสัยของจิตสิทธัตถะกุมารที่มักชอบสงบและปลีกวิเวกอยู่ตามลำพังมาตั้งแต่เด็ก .. จึงมีร่องรอยบันทึกไว้ว่า ..

" .. ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพิธีวัปปมงคล งานแรกนาขวัญ .. เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียวได้ความสงัดเป็นสุข ก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอาณาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิด ... "

ด้วยธรรมชาติวิสัยที่เป็นแบบนี้ บุคคลแวดล้อมจึง"น่าจะ"คุ้นเคยกันอยู่ .. และพระนางพิมพาในวัย 16 เมื่อสมรสในยุคสมัยเมื่อ 2635 ปีก่อนนั้นจะคิดอย่างอื่นอย่างไรได้ .. ยังเด็กอยู่มาก ย่อมไม่รู้จักคิดลึกซึ้งซับซ้อนอะไรเหมือนพวกนักคิดวิเคราะห์ในยุคปัจจุบันกระมัง

อยู่กันมา 13 ปี จนอายุ 29 ทั้งคู่เจ้าชายสิทธัตถะจึงออกแสวงหาโมกขธรรม

การแสวงหาโมกขธรรมของบุรุษที่เป็นรัชทายาทของผู้ครองนคร ย่อมไม่สร้างความยากลำบากต่อการดำรงชีพของลูกเมียแต่อย่างใด ในแง่ปัจจัย 4

รวมทั้งการแสวงหาทางหลุดพ้น หรือ การแสวงหาความเป็นพระพุทธเจ้ายังเป็นค่านิยมสูงสุดของยุคสมัยนั้น .. ซึ่งพอจะเปรียบเทียบได้กับรางวัลโนเบิลไพรส์ในสาขาฟิสิกซ์ หรือ สาขาเศรษฐศาสตร์ในยุคปัจจุบันเลยทีเดียว

ความเข้าใจได้ในบริบทแห่งยุคสมัยนี้ มีส่วนทำให้ทั้งพระราหุลโอรส และพระนางพิมพามเหสี รวมทั้งพระนางปชาบดีโคตรมีน้าสาว ผู้เป็นแม่เลี้ยงอยู่ด้วย (เพราะเป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา) ที่นอกจากไม่ตำหนิต่อว่าแล้ว ยังตัดสินใจออกบวชตามกระทั่งบรรลุอรหันต์กันทุกคน

สังคมยุคนั้นเป็นสังคมของพราหมณ์ .. การต่อต้านพรามหณ์จึงเป็นเรื่องที่ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะผุ้เป็นชนกขุ่นเคืองมากที่สุด เพราะชนกองค์นี้มีอัตตาที่ปล่อยไม่ลง จึงไปได้แค่โสดาบันเป็นที่สุดของพัฒนาการแห่งจิต

ยุคนั้น แม้นางคณิกา ยังออกบวชแล้วบรรลุอรหันต์ได้ทันทีที่ฟังพระพุทธองค์จบ .. นี่ว่าตามบันทึกนะ

ในจีนก็มีเหลาจื๊อ จ้าวแห่งลัทธิเต๋า ที่ร่วมสมัยกัน
ในกรีซก้มี เฮราเครตุส ผู้มีความเห็นว่า "ทุกอย่างไหล" และนั่นคือหลักเดียวกับ "อนิจจะลักษณะ" และอีกนับพันปีต่อมา วิทยาศาสตร์จึงค้นพบว่าในสสารทุกอย่างมีการเคลื่อที่ของ นิวเคลียส โปรตอน อิเลคตรอน ในระดับอะตอมที่สายตามองไม่เห็น ! ..

คือ ทุกอย่างไม่อาจหยุดอยู่กับที่
คือ ทุกอย่างอยู่ใต้ภาวะแห่งอนิจจะลักษณะ
คือ ทุกอย่างไหล
คือ ทุกอย่างมีวิวัฒนาการ (พลวัต)ในตัวเอง ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา

และนี่คือตัวการ "สร้างสรรพสิ่ง" หรือ "creator" เมื่อไม่อาจนิยาม และอธิบายภาวะนี้ได้ถ่องแท้ .. บางคนจึงเรียก ..
.. พระผู้สร้าง
.. พระเจ้า
.. god ไปพลางๆก่อน

เป็นธรรมะระดับอริยะเช่นกัน .. แต่เป็นเพียงขั้นต้น ยังไปไม่ถึงระดับ .."อนัตตะลักษณะ"

พูดได้ว่าในยุคพุทธกาลนั้นเป็นยุคทองของ สติปัญญาโดยแท้

God เป็นของฝรั่ง
กฎ เป็นของพุทธ –
เราใช้ "กฏอิทัปปัจยตา" สำหรับสรรพสิ่ง
เราใช้ "กฏปฏิจจสมุปบาท" สำหรับเรื่องทางจิตวิญญาณ

สาธุคุณโยมเยอรมัน

555




โดย: สดายุ... วันที่: 31 สิงหาคม 2556 เวลา:21:01:48 น.  

 

ดายุ..

เก่งค่ะ
ยังนึกว่าเป็นแต่แต่งกลอน
แล้วปุจฉาวิปัสนา ไม่เป็นซะอีก..
อย่างนี้ ก็คุยกันรู้เรื่อง..

แปลกใจมากมากนะนี่..


โดย: บุษบามินตรา IP: 87.174.127.64 วันที่: 31 สิงหาคม 2556 เวลา:21:54:41 น.  

 
มินตรา ..
ไม่ต้องเลย 55
หากอยู่เยอรมันเหมือนมินตรา .. บล็อค "รัฐวิภาษ" ที่ไม่มี ม.112 ควบคุมจะ ตรงไปตรงมา มากกว่านี้

ดวงดาวในจักรวาลโคจรกันวุ่นวายในมุมมองระดับ galaxy .. เหมือน อิเลคตรอน โปรตรอน ในระดับอะตอมไหม ?

หมายถึง เป็นรูปแบบจำลองมาอย่างเดียวกันใช่ไหมระหว่าง macro และ micro ?

ต้องถามสาวเมืองนอก - 55


โดย: สดายุ... วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:12:59:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.