Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2560
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 พฤษภาคม 2560
 
All Blogs
 
O พุทธธรรม .. O



.
.
จากประวัติพุทธศาสนา ..
เป็นคำสอนของพุทธะ ถูกบันทึกไว้ในสมัยพระเจ้าอโศกระหว่างกระทำสังคายนาครั้งที่ 3 ประมาณ พศ.300 ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
.
หลังจากนั้นมีการส่งพระสมณทูต นำเอาพระไตรปิฎกออกเผยแผ่ไป 9 เส้นทาง
.
เส้นทางที่ 8 นำโดยพระโสณะมาทางสุวรรณภูมิ
เส้นทางที่ 9 นำโดยพระมหินทร์ ไปศรีลังกา
.
ไตรปิฎกที่ตกทอดมาในปัจจุบันในแถบสุวรรณภูมิ ได้มาจากสมณทูตสายที่ 8 .. อันมี พม่า มอญ ไทย ลาว เขมร เป็นสำคัญที่สืบทอดเนื้อหาในแนวทางพุทธแบบเถรวาท
.
สำหรับเมืองไทย .. มีการแปลเป็นภาษาไทยให้อ่านเข้าใจอยู่หลากหลายฉบับ ..
.
จากการแปล เหล่านี้ มีข้อน่าสังเกตุบางประการให้ใคร่ครวญ
1.เป็นการใช้ความเข้าใจของผู้แปล อธิบายความออกมา
2.การใช้ภาษา ศัพท์แสง เชิงวิชาการ ทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจของชาวบ้านทั่วไป
.
จากประการที่ 1 จึงเป็นที่มาของ "การตีความ" ที่เป็นไปตามใจผู้แปล ..
.
จากประการที่ 2 จึงเป็นที่มาของ "อรรถกถา" ที่หมายถึงหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นเพื่ออธิบายความหมายในพระไตรปิฎกอีกทีหนึ่ง .. เช่นคัมภีร์ วิสุทธิมรรค เป็นต้น
.
"ปัญญา" ของผู้แปล จึงส่งผลสำคัญต่อ "ความถูกตรง" หรือ "ความเบี่ยงเบน" ไปจากพุทธะประสงค์ของพุทธธรรม
.
ปัญญา - ย่อมไม่ใช่ ศรัทธา
ปัญญา เป็นสิ่งที่ต้องรู้แจ้งด้วยตนเอง หลังการทดลองกระทำแล้วได้ผลลัพธ์
.
ท่านจึงกำหนด แนวทางเพื่อเป็นไปตามหลักของ ปัญญา คือ "กาลามสูตร" - อันหมายถึง "ความที่ยังไม่ต้องเชื่อ 10 ประการ" ให้ศาสนิกปฏิบัติ
.
สังคมสยามเพิ่งเริ่มต้นมาประมาณ 800 ปี
การสืบทอด รับเอาพุทธธรรมเถรวาทจึงเริ่มต้นมาเพียง 800 ปี
ขณะที่การสังคยนาครั้งที่ 3 เกิดเมื่อ 2,300 ปีที่แล้ว
.
การดำรงอยู่ของพุทธธรรมในสุวรรณภูมิจึงมีมาก่อนความเป็นสยามจะตั้งต้นราวประมาณ 1,500 ปี
.
ก่อนพ่อขุนรามคำแหงจะประดิษฐ์อักษรไทย
1500 ปีก่อนมีภาษาไทย .. พุทธธรรมดำรงอยู่ด้วยภาษาใด ?
.
การจะสืบสาวเรื่องนี้ต้องรู้ช่วงเวลา เรืองอำนาจ ของอาณาจักรต่างๆ ในสุวรรณภูมินี้ให้ชัดเจนก่อน .. (ขอไม่พูดถึงในที่นี้) ..
.
สันนิษฐานได้เพียงว่า - การแปลความ ตีความ พุทธธรรมในระยะเวลายาวนานที่ผ่านมา "มีปัญหา" แน่นอน ..
.
.
.
ประการที่ 1 - ขัดหลักกาลามสูตร
ประการที่ 2 - ขัดหลักไตรลักษณ์
.
.
"ไตรภูมิพระร่วง" เป็นปฐมเหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิในสังคมไทย - สามารถพูดฟันธงได้อย่างนี้
.
หนังสือเล่มนี้ แปล วิสุทธิมรรค มา
.
การบรรยาย สวรรค์ นรก ภพ ภูมิ
การอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท
ทั้ง 2 ประการเป็นไปตามแบบ "อุปนิษัท" ของพรามหณ์ (สมัยนี้เรียก ฮินดู)
.
.
.
(วิสุทธิมรรค อธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ออกทะเล
โดยแทรก "ปฏิสนธิวิญญาณ" ขึ้นมาสนธิช่วงต่อ ระหว่าง วิญญาณ กับ นามรูป
โดยวาง ..
.. อวิชชา กับ สังขาร - เป็นอดีตชาติ
.. (ปฏิสนธิ)วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ ตัณหา เวทนา อุปาทาน ภพ - เป็นปัจจุบันชาติ
.. ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส - เป็นอนาคตชาติ
.
.
เกิดตรง นามรูป ครั้งหนึ่ง
เกิดตรง ชาติ อีกครั้ง
.
.
ซึ่งคำ "ปฏิสนธิวิญญาณ" นี้ไม่มีในพระไตรปิฎก
.
จึงกลายเป็นเกิด 2 ครั้ง มี 3 ภพ 3 ชาติ
และนับเนื่องเป็นตัวตน (บุคคล) เดิมเดียว อันเป็นเรื่องของ อาตมัน ของพราหมณ์
ในทางพุทธศาสนา เรียกแนวคิดการเวียนว่ายตายเกิดแบบนี้ว่า สัสสตทิฏฐิ)
.
.
.
พุทธธรรม ในยุคที่ อินเตอร์เนต มีใช้งานกันทั่วไป - รู้ได้โดยไม่ต้องไปวัด ..
.
การเดินทาง .. การสมาคม .. รวมทั้งพิธีรีตอง เป็นเรื่องเกินความจำเป็นของผู้สนใจ "เนื้อหา" .. เป็นเพียง "รูปแบบ" ที่หวังผลไม่ได้
.
พุทธธรรมแห่งยุคสมัยจึงอยู่ในบ้าน - บ้านที่สงบเงียบ ทั้งสามารถสอบทานหลักธรรมกับ ไตรปิฎก - พุทธวจนะ ได้โดยตรง - หาก"ขวนขวาย"พอ
.
"ข้ออ้าง" ต่างๆ จึงเป็นเพียง "โลกวิสัยแห่งวัฏฏะสงสาร" เท่านั้นเอง




Create Date : 29 พฤษภาคม 2560
Last Update : 14 มกราคม 2563 8:56:29 น. 1 comments
Counter : 1285 Pageviews.

 
ดีงามพระรามเก้าค่ะ


โดย: พรหมญาณี IP: 183.89.77.149 วันที่: 15 กันยายน 2563 เวลา:15:01:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.