Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
29 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
O แก่นธรรม .. แท้จริง ของพุทธ คืออย่างไร .. ? O

.



.



เชื่อว่าคนไทยจำนวนมากกว่า 70% ที่ประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ .. หาได้เข้าใจได้อย่าง
ถูกต้องไม่ว่า แท้จริงแล้ว แก่นหลักแห่งธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบรู้แจ้ง และสั่งสอน
ชาวบ้าน นั้น คืออย่างไรกันแน่ ..

นั่นคือในด้านย่อหย่อน คือ สักแต่ว่าทำตาม เชื่อตาม ที่รับรู้จากชนรุ่นก่อนอย่างไม่มีความ
ลังเล สงสัย แปลกใจ แต่อย่างใด

ขณะที่ด้านตรงข้าม ที่อาจเรียกว่า พวกศรีธนนชัย ก็จะเป็นอีกแบบ โดยการอ้างเอากาลเวลา
ที่ยาวนาน การสืบทอดที่ผ่านการแปลความระหว่างภาษามคธในยุคพุทธกาล กับภาษาไทย
ยุคปัจจุบันของคนไทย ในด้านความหมาย รวมทั้งความเป็นไปได้ว่าจะเป็นสิ่งที่สืบทอดมา
ถูกต้อง เที่ยงแท้เพียงไร ? เป็นความสงสัยไปหมด !


แล้ว ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?


หากจะพูดจากันในประเด็นนี้ .. ย่อมหลีกเลี่ยงประเด็นข้อเท็จจริงด้านประวัติศาสตร์
ไปไม่ได้เลย .. จริงไหม ?


เราในยุคปัจจุบัน .. กับ .. สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนในยุคพุทธกาลนั้นมีระยะห่างกัน
ในมิติไหนบ้าง ?


1. มิติด้านภาษา .. แน่นอน ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้พูดภาษาไทยยุคปัจจุบัน แต่ท่าน
ใช้ภาษาแห่งแคว้นมคธสั่งสอนคน

( ภาษามคธีหรือภาษามคฮีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ใน
กลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหาร
และบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ
มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธีคือภาษาที่ใช้พูดใน
สมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่ง
ของภาษามคธีโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธี เรียกว่า ภาษาอรธามคธี
ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธีกับภาษาอรธามคธี อยู่ในรูปแบบเดียว
กับความต่างจากภาษาบาลี

ภาษามคธียังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหาร
ในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร

บรรพบุรุษของภาษามคธคือภาษาปรากฤตมคธที่เคยใช้พูดในอินเดียตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือ
ภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย บังกลาเทศและเนปาล บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรมคธ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐพิหาร และเชื่อว่าเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า รวมทั้ง
ภาษาราชการในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ....

วิกิพีเดีย )


2. มิติด้านกาลเวลา .. แน่นอนว่า ไทยเราใช้ พศ. ซึ่งเริ่มนับเมื่อพุทธปรินิพพาน
เป็นปีที่ 1 .. เราจึงพูดว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้เมื่อ 2600 ปีที่แล้วพอดี .. คือ
เมื่อพระชนม์ 35 .. จนเมื่อพระชนม์ 80 จึงปรินิพพาน .. คือหลังจากตรัสรู้แล้ว 45 ปี
จึงปรินิพพาน

2600 ปี นับตั้งแต่ทรงตรัสรู้อริยสัจจ์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ใต้โคนโพธิ์ นับมาถึงบัดนี้
เป็นระยะเวลายาวนานนัก ..

นานขนาดไหนให้ลองนึกถึง ช่วงระยะเวลาที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ
พศ.2310 นับมาจนบัดนี้ พศ.2555 ระยะเวลานานแค่ 245 ปี เท่านั้นเอง ! ..
นานเท่านี้เอง แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยังหาความจริงแท้ได้ไม่เต็มร้อยเลย ..



3. มิติทางสังคม พฤติกรรมของผู้คนยุคพุทธกาล .. ประเด้นนี้เราไม่สามารถพิจารณา
อย่างโดดๆได้ .. จำต้องมองในภาพรวมทั้งความสอดคล้อง และความขัดแย้ง แห่งยุค
สมัย ..



.............................


เรื่องภาษา ..
เนื่องจากภาษาไทยที่ใช้กันในปัจจุบันนี้เอง หากนับเอาตั้งแต่พ่อขุนรามประดิษฐ์ขึ้นมา
ก็นับได้เพียง พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 (ระยะครองราชย์ของพ่อขุน
รามคำแหง) มาถึงปัจจุบันเท่านั้นเอง .. ลองยกประโยชน์ให้ท่านเริ่มคิดเรื่องอักษรไทย
ตั้งแต่ปีแรกที่ครองราชย์ ยังนับได้เพียง 2555-1822= 733 ปีเท่านั้นเอง

อีกทั้งสำนวน ศัพท์แสงที่ใช้ ย่อมแตกต่างกับปัจจุบันอยู่มาก .. คือ ไม่สามารถพูดได้ว่า
เหมือนกับภาษาไทยที่พูดกันในปัจจุบันทั้ง 100%

หรือใครจะแย้ง ?

ดังนั้น .. ก่อนมีภาษาไทยสำหรับแปลความ .. ศาสนาพุทธที่เผยแผ่มาถึงสุวรรณภูมิ
ตั้งแต่สมัยสมณะทูตยุคพระเจ้าอโศกส่งมา ดังความว่า ..

..........


การสังคายนาครั้งที่ 3

เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา
มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้
พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง

หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯ ได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา
คือ

1. คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ
2. คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำ
โคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
3. คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์(ในปัจจุบันคือมุมไบ)
4. คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
5. คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
6. คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน
และเตอร์กิสถาน
7. คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน
8. คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
9. คณะพระมหินทระ ไปลังกา

ที่มา //th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสนาพุทธ
.................

คณะพระโสณะ มาไทยในยุคพระเจ้าอโศก .. หลังสังคายนาครั้งที่ ๓
คำถามต่อมาคือ ..

พระเจ้าอโศก ครองอาณาจักรมคธ ยุคไหน ?
คำตอบคือ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311 ..




เราสามารถประมาณได้ว่า การกระทำสังคายนาคร้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศก มีขึ้น
เมื่อ พศ.300 .. เพื่อความง่ายแก่การจดจำ ..


จาก พศ.300 ที่พระเจ้าอโศกส่งพระโสณะมาสุวรรณภูมิ จนถึง พศ.1830 ที่พ่อขุนราม
คิดอักษรไทยสำหรับจดจารเรื่องราวได้นับเป็นเวลา 1,530 ปี .. !

คำถามคือ ..
ช่วงเวลานั้น หลักธรรมของพระพุทธองค์ "ดำรงอยู่" ในแผ่นดินสุวรรณภูมิได้ด้วยวิธีไหน
ได้เยี่ยงไร ? ในเมื่อภาษาสำหรับจดบันทึกยังไม่มี

ข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้คือ .. ก่อนอาณาจักรสยาม เป็นยุคสมัยของอาณาจักรใด ? ..
ก็ย่อมเป็นภาษาของอาณาจักรนั้น เป็นต้นว่า .. อาณาจักรทวารวดี ที่มีศูนย์กลางอำนาจ
อยู่ที่ นครปฐม สุพรรณบุรี

................

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่
รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี
โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของ
งานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย
กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16


ที่มา วิกิพีเดีย
..................


คงต้องใช้ข้อมูลตามนี้ไปก่อน .. ว่า

1. ยุคทวารวดี คือ ช่วง พศ.1200-1600

......................

ต่อมาเมื่ออาณาจักรเจนละเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรขอม ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่นครธม
ก็ได้แผ่อำนาจไปทั่วภาคอีสาน ภาคกลางและภาคเหนือบางส่วนของประเทศไทยในปัจจุบัน
บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 เป็นดินแดนที่ตกอยู่ในอิทธิพล
และวัฒนธรรมของอาณาจักรขอม นำลัทธิศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
เข้ามาแพร่หลาย


ที่มา //manussawee-story.blogspot.com/

......................


2. ยุคขอม คือ ช่วง พศ.1500-1800

.
.

จะเห็นได้ว่า .. อำนาจของอาณาจักรต่างๆเหนือแผ่นดินสุวรรณภูมิในแต่ละช่วงเวลาเริ่ม
มีความต่อเนื่องกันคือ

พศ.1200-1600 คือ อาณาจักรทวารวดี
พศ.1500-1800 คือ อาณาจักรขอม
พศ.1800-1900 คือ อาณาจักรสุโขทัย
พศ.1900-2300 คือ อาณาจักรอยุธยา
พศ.2300-ปัจจุบัน คือ อาณาจักรธนบุรี + รัตนโกสินทร์

แล้ว .. ช่วงเวลาก่อนหน้า พศ.1200 เล่า คืออำนาจของกลุ่มไหน ?

...................

ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลาง ของ"อาณาจักรมอญ" คืออาณาจักรสุธรรมวดีหรือสะเทิม
(Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมว่า อาณาจักรสะเทิมสร้างโดย
พระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าติสสะ แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241
พระองค์นำ พลพรรคลงเรือสำเภา มาจอดที่อ่าวเมาะตะมะ และตั้งรากฐาน ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้ง
ของเมือง อาณาจักรสะเทิม รุ่งเรืองมาก มีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดีย
และลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ และศาสนา
โดยเฉพาะรับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานมา มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
ไปยังชนชาติอื่นอย่าง ชาวพม่า ไทย และลาว

ที่มา วิกิพีเดีย
.....................


พศ.300-1200 คือ อาณาจักรสะเทิม


เราเริ่มเห็นภาพแล้วว่า .. พุทธศาสนา สายเถรวาท หรือ หินยานนี้ในยุคเริ่มต้น จะต้องลง
หลักปักฐานลงในแว่นแคว้นสะเทิมของเชื้อชาติมอญก่อนเป็นปฐมค่อนข้างแน่นอน

และจากการที่อาณาจักรสะเทิมนี้ ได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้านอักษรศาสตร์
และศาสนา .. ข้อนี้เราสามารถสันนิษฐานต่อได้ว่า ภาษาบาลี ที่พระจากอินเดียนำเผยแผ่
ศาสนา คงถูกสืบทอด ถ่ายทอดลงมากับหลักพุทธธรรมตั้งแต่ครั้งนั้น

ประเด็นของการกระทำสังคายนาทั้ง 3 ครั้งมีว่าอย่างไร มาดูกัน ..


...................

การสังคายนาครั้งที่ 1 :
การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ
ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์
อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับ
พระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ

การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพาน
เพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะ ดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์
ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่า
สิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม

เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุ
ที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดงความเห็น
คัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยก
ในคณะสงฆ์[5] แต่ไม่ถือว่าเป็นสังฆเภท เนื่องจากพระปุราณะยึดถือตามพุทธานุญาตที่
ทรงให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้


การสังคายนาครั้งที่ 2 :
การแตกนิกายเมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10
ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกใน
หมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่
ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ใน
ขณะนั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้ง

ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำ
สังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนา
ในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท
ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท

อีกราว 100 ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตก
ไป 18 นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป 20 นิกาย ได้แก่ .. ( ไปหาอ่านเอา
ใน วิกิพีเดีย .. เรื่อง"การสังคายนาครั้งที่ 2 - ประวัติศาสนาพุทธ" )


การสังคายนาครั้งที่ 3
การแพร่กระจายของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา
9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง

หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา
ดู .. ที่ลงไว้ด้านบน)

ที่มา วิกิพีเดีย
...................


จากการสังคายนาครั้งที่ 1 .. เราพอสรุปประเด็นสำคัญได้ว่า ..

1. กระทำหลังพุทธปรินิพพานเพียง 3 เดือน ความบิดเบือนต่างๆ ยังมีไม่มากนัก (ข้อบิดเบือน
- bias ทั้งหมด .. เกิดจาก "ปัญญาที่มีอยู่แตกต่างกันในแต่ละคน" ในการรับรู้ ทำความ
เข้าใจเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังมา)

2. พระอานนท์ เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับ"พระธรรม" - จุดนี้คือแก่นหลักของพระศาสนา ..

ส่วนที่พระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับ"พระวินัย" ซึ่งหมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติของสงฆ์ที่จะมี
ปฏิสัมพันธ์ต่อโลกแวดล้อม ถือเป็นประเด็นรอง ที่ไม่ใช่แก่นธรรม

อีกทั้งเป็นที่รับรู้กันว่า พระอานนท์ นั้นท่านเป็น ..
2.1 ผู้มีความจำเป็นเลิศ
2.2 เป็นพระอุปัฏฐากพระพุทธองค์ คืออยู่คอยรับใช้ใกล้ชิด ย่อมได้รับรู้ รับฟังข้อธรรมที่
พระพุทธองค์ตรัสสอน ตอบ คำถามของบุคคลต่างๆ รวมทั้งต่อท่านเองโดยตรง มากที่สุดใน
บรรดาสงฆ์ทั้งหลายในยุคพุทธกาล
2.3 ท่านบรรลุอรหันต์แล้วก่อนการสังคายนาครั้งที่ 1 นี้ ย่อมเข้าใจหลักธรรมที่ถูกต้องได้
แน่แท้ (หาไม่แล้ว จักถอนอาสวะจากจิตได้อย่างไร - จริงไหม ? )

3. จากข้อความนี้ ".. การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วง"พระธรรม
วินัย" หลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน .." เราเห็นได้ถึงประเด็นความแตกแยกทางความคิด
เรื่อง "วินัย" ไม่ใช่แก่นธรรม

รวมทั้ง ".. เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้น
ราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ พระปุราณะแสดง
ความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม .." นี่ก็เป็นเรื่องสิกขาบท
อันเป็นเรื่อง "วินัย" เช่นกัน

ซึ่งประเด็นเรื่อง วินัย นี้พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาติให้เปลี่ยนแปลงได้บ้างเล็กน้อย

สรุปได้ว่า ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ไม่มีความเห็นแย้งในเรื่องของ "หลักธรรม"


เมื่อมาถึง การสังคายนาครั้งที่ 2 หลังจากพุทธปรินิพพาน 100 ปี .. คือห่างจากครั้งแรก
100 ปีนั่นเอง โดยประมาณ

สามารถจับประเด็นได้ว่า ..
".. ภิกษุชาววัชชี เมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย .." ก็ยังคง
เป็นเรื่องของ วินัย อยู่

หากแต่คราวนี้แตกกันถึงขั้นไม่ร่วมสังคายนาเดียวกัน .. ต่างคนต่างทำ และเป็นที่มาของ การ
แยกเป็น ..

"เถรวาท หรือ หินยาน" ที่ยึดถือทุกอย่างตามการสังคายนาครั้งที่ 1 และ
"อาจาริยาวาท หรือ มหายาน" ที่ยึดถือตามมติอาจารย์ของตน คือพวกภิกษุชาววัชชี นั้นเอง

มาถึงจุดนี้ คือ พศ.100 ก็ยังไม่ได้แตกแยกในประเด็น หลักธรรม แต่อย่างใด ยังเป็นเรื่อง
ของ วินัย ที่เป็นวัตรปฏิบัติ ตึง-หย่อน ในหมู่สงฆ์เท่านั้น


ในขณะที่การสังคายนาครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศก กระทำหลังจากครั้งที่ 2 ต่อมาอีก 200
ปี หรือห่างจากครั้งที่ 1 มาประมาณ 300 ปีนั้น กลับเป็นประเด็นของ เดียรถีย์มาปลอมบวชใน
พุทธศาสนาและพระเจ้าอโศกต้องการกำจัดออกไปให้สิ้น เป็นจุดประสงค์หลักในการกระทำสังคายนา

(เหมือนที่ผู้เขียน .. ต้องการกำจัดการบวชแบบ"ประเพณีสืบทอดของชายอายุ 21 ปี" ให้
หมดไปจากพระศาสนานั่นเอง เพราะเป็นตัวทำลายศาสนาโดยตรงของเหล่า "โมฆะบุรุษ อายุ
21" เหล่านั้น - 55)


ดังนั้น .. ข้อสรุปทางด้านภาษาที่เป็นมิติหนึ่งที่อาจเป็นปัญหาในการส่งผ่าน สืบทอดหลักพุทธ
ธรรมลงในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ .. ควรเป็นว่า

หลังการสังคายนาครั้งที่ 3 .. เพื่อป้องกันหลักธรรมฟั่นเฟือนจากการบิดเบือนตีความเอาเอง
ตามใจชอบของเหล่า เดียรถีย์ (พวกนอกศาสนา) จึงได้มีการจดบันทึกหลักธรรมที่คณะสงฆ์เห็น
พ้องกันแล้วลงเป็นลายลักษณ์อักษร ..

การจดบันทึกนี้กระทำในอาณาจักรมคธ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศก จึงค่อนข้างเชื่อได้ว่า
บันทึกไว้ด้วยภาษามคธยุคนั้น ซึ่งก็คือภาษาบาลีนั่นเอง


และอย่าลืมว่า ในการกระทำสังคายนาทั้ง 3 ครั้ง ไม่มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของ "หลัก
ธรรม" เลยแม้แต่ครั้งเดียว นอกจากเรื่อง"วินัยสงฆ์" เท่านั้น !


เราจึงสามารถอนุมาณได้ว่า .. หลักธรรมไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้จนเมื่อพระโสณะ ได้เป็นพระ
สมณะทูตมาเผยแผ่พระศาสนาถึงสุวรรณภูมิ .. ข้อหลักธรรมก็ยังไม่เคยถูกแตะต้องเลย ตั้งแต่
การกระทำสังคายนาครั้งที่ 1 หลังพุทธปรินิพพานเพียง 3 เดือนมาแล้วนั้น


อีกทั้ง .. พระโสณะ จะมามือเปล่าพร้อมกับความจำในสัญญา กระนั้นหรือ ในการมาเผยแผ่พระ
ศาสนาในสุวรรณภูมิ ที่มีข้อธรรมหมวดหมู่ต่างๆมากมาย ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ .. หรือ
ท่านควรมาพร้อมกับพระคัมภีร์ จากการจดบันทึกลงในใบลานหรือวัสดุสำหรับใช้จดจารแห่งยุคสมัย
นั้นๆ จากการกระทำสังคายนาภายใต้อุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศก ?



มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้กับการมาพร้อมด้วย เพียงแค่ความจำในสัญญา .. ไม่มีทางแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว


ดังนั้น บันทึกที่ท่านนำมาด้วยย่อมเป็นบันทึกที่สืบทอดเนื้อหามาจากการกระทำสังคายนาครั้งที่ 3 เป็นสำคัญ

และการกระทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้ ย่อมสืบทอดข้อธรรมต่างๆมาจากการกระทำสังคายนาครั้งที่ 1-2 เสียทั้งสิ้น

และ "ภาษา" ในบันทึกเหล่านั้น ต้องเป็นภาษา "มคธ - ยุคพระเจ้าอโศก หรือที่เรียกว่า บาลี" แน่นอนเด็ดขาด

เมื่อนำบันทึกเหล่านี้ไปถึงที่ใด .. จำต้องไปแปลออกมาเป็นภาษาพื้นถิ่นนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง ..
และต้องเป็นอย่างนี้ ทั้ง 9 สายของพระสมณะทูต ไม่มีทางเป็นอย่างอื่นไปได้ ..

รวมทั้งสายที่ 9 ของพระมหินทร์ ที่ไปเผยแผ่ที่ลังกา อันจะเกี่ยวพันกับไทยเราต่อไป ก็จำต้อง
นำไปแปลไว้เป็นภาษาสิงหล (หากว่ายุคสมัย พศ.300 ลังกาใช้ภาษาสิงหลเป็นหลัก)

หลักธรรม จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะบิดเบือนจากการเพียงแค่ "คำแปล - มิติด้านภาษา"
เนื่องจากฉบับดั้งเดิม"คงต้อง"เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนสิ้นอายุขัยไปตามธรรมชาติ - เนื่องจาก
เป็นประเด็นของ "ความศักดิ์สิทธิ์ในความคิดของคนเมื่อ 2,000-2,300 ปีที่ผ่านมา" ด้วยเป็น
ประการสำคัญที่จะไม่มีใครไปรบกวนเนื้อหาในต้นฉบับภาษาบาลีที่พระสมณะทูตนำมา

รวมทั้งเป็นไปได้น้อยจากการบิดเบือนจาก"มิติด้านกาลเวลา" ..

เพราะเหตุใด ?

เพราะไม่ใช่การถ่ายทอดแบบ"การพูดจากปากต่อปาก" .. แต่ตลอด 2555 ปีแห่งอายุพระ
ศาสนานี้ มีการร่วม"กระทำความถูกต้องร่วมกัน" เพียง 3 ครั้งเท่านั้นเอง

และทุกครั้งมีการถามตอบ สอบทานกันเป็นอย่างดี อย่างมีขั้นตอน หลักเกณฑ์

หาใช่การอภิปราย เล่นสำนวน โวหาร กันจนน้ำลายแตกฟองไม่ !


จึงต้องมาพิจารณากันในประเด็นที่ 3 ..
มิติทางสังคม พฤติกรรมของผู้คนยุคพุทธกาล เป็นประเด็นต่อไป


ว่า .. ขณะแห่งการเกิดขึ้นของลัทธิใหม่ ในยุคพุทธกาล ในสังคมของมหาชนบททั้ง 16
แคว้น ดังแผนที่ด้านบนนี้นั้น ..

อะไร เป็น แก่นแกน ของความเชื่อของคน ?

จากประวัติศาสตร์พุทธศาสนา .. เรารับรู้ว่า ขณะนั้นลัทธิพราหมณ์ เป็นแนวความเชื่อที่มีอยู่
ก่อนแล้ว ซึ่งสมบูรณ์พร้อมเพรียงด้วยพิธีกรรมที่กำหนดสืบทอด ทำตามกันมานับเป็นพันปี


พรั่งพร้อมทั้ง"การจัดระเบียบสังคม - ผ่านการกำหนดสถานภาพทางชนชั้น ตามสายอาชีพที่ทำ
ที่กำหนดผ่านจิตวิญญาณผู้ศรัทธา ให้เชื่องให้เชื่อตามที่ระบุลงมาจาก"มือที่มองไม่เห็น -
บุพกรรม หรือ กรรมเก่า (อันเป็นประเด็น อจินไตย หรือ สิ่งที่รู้ไม่ได้ และไม่ควรคิด ในทาง
พุทธศาสนา)" .. แล้วนั้น - นั่นเอง" ..

รวมทั้งมีวิวัฒนาการ ปฏิรูป เปลี่ยนแปลง ต่อเนื่องมาไม่ขาดระยะ ทั้งในกรอบย่อย และ กรอบ
หลัก

ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่เทพองค์ต่างๆจะถูกเลื่อนชั้นขึ้น หรือ เลื่อนชั้นลง จาก
สถานภาพเดิม ตามแต่"กำลังสังขารในจิต" จะปรุงแต่งเอากับเจ้านิกาย หรือผู้นำทางจิตวิญญาณ
ของลัทธินั้นที่จะตีความ อธิบายความไปตามกำลังสังขารในจิตของตน จนค่อยๆแปลกแยกออกไป
.. เป็นนิกายย่อยอยู่ในลัทธิเดิมนั่นเอง .. ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนา


ลองหยิบยกมาสักประเด็น ว่า ศาสนาพราหมณ์ เป็นเพียง "ความเชื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนไป
ตามยุคสมัยเพื่อความอยู่รอด" เท่านั้นเอง หาใช่หลักสัจจธรรมแต่อย่างใด


โดยการมองผ่าน กรณี "นารายณ์อวตาร 10 ปาง"
ดังความว่า ..

.....................................
.
.
ปางที่ 7 รามาวตาร
- พระวิษณุอวตารเป็นพระราม กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา วีรบุรุษในมหากาพย์เรื่องรามายณะ

ปางที่ 8 กฤษณาวตาร
- พระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ กษัตริย์แห่งกรุงทวารกา ผู้เป็นตัวละครหลักในคัมภีร์ภควต
ปุราณะ มหากาพย์มหาภารตะ และอนุศาสน์ภควัทคีตา อย่างไรก็ตาม ในทศวาตารฉบับดั้งเดิม
นั้นกล่าวว่าพระพลรามซึ่งเป็นพี่ชายของพระกฤษณะเป็นอวตารปางที่แปดของพระวิษณุ ส่วนพระ
กฤษณะนั้นคือต้นธารแห่งอวตารทุกปางที่ปรากฏในโลก

ปางที่ 9 พุทธาวตาร
- พระวิษณุอวตารเป็นพระศากยโคดมพุทธเจ้า ศาสดาในศาสนาพุทธ

ปางที่ 10 กัลกยาวตาร
- ในอนาคตกาลเมื่อถึงปลายกลียุค พระวิษณุจะอวตารมาเป็นบุรุษขี่ม้าขาวชื่อกัลกิ ("นิรันดร",
"กาลเวลา", หรือ "ผู้บำราบความเขลา") เพื่อปราบยุคเข็ญ มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในกัลกิ
ปุราณะ

ที่มา .. วิกิพีเดีย
...........................


ในยุคแห่งมหากาพย์ภารตะยุทธ ก่อนพุทธกาลนั้น นารายณ์อวตาร มีแค่พระกฤษณะเท่านั้นเอง
.. ซึ่งเป็นช่วงปฏิรูปคำสอนในยุค "อุปนิษัท" ..

ทีนี้ .. ในยุคพุทธกาล .. เนื่องจากหลักธรรมของพราหมณ์แทบทั้งหมดในระดับโลกุตระ นั้น
เป็นเพียง "ความเชื่อ" ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ .. เท่านั้นเอง

ดังนั้นในทุกๆการโต้ตอบข้อธรรมที่ที่ประชุมชน .. จึงมักจนด้วยเหตุผลต่อลัทธิเกิดใหม่ทั้งหลาย
ไม่ว่า พุทธ หรือ เชน อยู่เสมอ

หากแต่ ธรรม ของพระสมณะโคดมมีเหตุมีผล อย่างยากจะหักล้าง สุดที่พราหมณ์จะสามารถหัก
ล้างได้ด้วยเพียงโวหาร ..

จึงจำต้องยกขึ้นเคารพกราบไหว้ .. แล้วเอาเป็นของตนเสีย .. โดยการบรรจุลงไปในส่วนภาค
แห่ง เทพสูงสุด 1 ใน 3 คือ พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (อิศวร พรหม วิษณุ) เป็นบุคคล
าธิษฐานเทียบเท่าพระกฤษณะ ในมหาภารตะยุทธเลยทีเดียว

จะเห็นได้ถึงการ "ปรับเปลี่ยน" ที่เหมือน "ปลิ้นปล้อน-กลับกลอก" ของลัทธิพราหมณ์ได้
ชัดเจน ว่าแยบยลเพียงไร

ด้วยกลอุบายเยี่ยงนี้ .. เมื่อผ่านยุคพุทธกาลไป พราหมณ์ก็สร้างยุคใหม่รอคอยไว้ในคัมภีร์
"กัลกิปุราณะ" เรียบร้อย ..

คือ พอถึงยุคสมัยหนึ่ง ยุคแห่งพุทธาวตารจะต้องสิ้นสุด .. แต่พระวิษณุยังอยู่ .. เพื่อจะ
อวตารมาเป็นบุคคลอื่นสืบไป ..


ด้วยวิธีนี้ ศาสนาพุทธ จึงหมดสิ้นจากอินเดีย !


เช่นกันกับที่พวก"มิจฉาทิฏฐิ"เริ่มประโคมถึงคำทำนายว่า หลัง "พระสมณะโคดม" แล้ว จะถึง
ยุค "พระศรีอริยเมตไตร" นั่นแหละ ..

( โดยมีเรื่องแต่งประกอบไว้คอยประโคมกรอกใส่ .. สมองที่มีรอยหยักน้อย .. ของเหล่าบัว
ใต้น้ำ อย่างที่จะไม่ให้ลืมหูลืมตากันเสียเลย –

"//www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=2949" ..

ลองอ่านดู .. ผู้เขียนทนอ่านจนจบไม่ไหว ..ขออำภัย .. 555 )

.............................


ทีนี้มาดูทางพระสมณะทูต สายที่ 9 บ้าง
คือพระมหินทร์ ที่ไปทางลังกา

ความว่า ..

............................


พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากอินเดียสู่ลังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 ในคราวที่พระเจ้าอโศก
มหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ในอินเดีย และได้ส่งพระเถระผู้รอบรู้
แตกฉานในพระธรรมวินัยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม 9 สายด้วยกัน


ใน 9 สายนั้น สายหนึ่งได้มายังเกาะของชาวสิงหล ได้แก่ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน โดยการนำ
ของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของลังกาและเป็นพระ
สหายของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ทั้งสองพระองค์ยังไม่เคยพบกัน

พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัด
เรียกว่า “ วัดมหาวิหาร ” ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพุทธ
ศาสนาแบบเถรวาท พระมหินทเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย


จาก .....วิกิพีเดีย

................................



" .. พระมหินทเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย .. "

จากข้อความนี้ .. ชัดเจนจนไม่ต้องสงสัยว่า พระสมณะทูตทุกสายได้นำเอา พระไตรปิฎกและ
อรรถกถาติดตัวเมื่อออกเดินทางไปด้วย ..

การเดินทางเผยแผ่ศาสนาพุทธทั้ง 9 สาย เกิดจากความคิดเดียวกัน จึงย่อมต้องจัดการเรื่องราว
ในทำนองเดียวกัน ไม่แต่พระมหินทร์ แต่รวมทั้งสายพระโสณะด้วย แน่นอน - ฟันธง !

ดังนั้น .. เนื้อหาหลักธรรม ที่นำไป คือเนื้อหาในสังคายนาครั้งที่ 3

และเป็นเนื้อหาที่สืบเนื่องมาแต่การสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพุทธบัญญัติใดๆทั้ง
สิ้นเลยแม้แต่น้อย

จุดเริ่มต้นของแก่นธรรมที่ถูกต้อง จึงสามารถพูดได้ว่า ถ่ายโอนมาสู่ยุคสมัยแห่งพระสมณะทูต
เหล่านั้น ได้ทั้งหมด !


แปลว่า .. แนวคิดที่บิดเบือน (หากว่ามี) ย่อมเกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นภายหลังยุคพระสมณะทูต
ได้ประดิษฐานพุทธธรรมลงหลักมั่นคงไปแล้ว

ทีนี้ .. เข้าประเด็นได้เสียที


ต้องพูดว่า อิทธิพล ความคิดหลักในเรื่องพุทธธรรม ของไทย (รวมทั้ง พม่า มอญ ลังกา
ลาว เขมร) มาจากคัมภีร์ วิสุทธิมรรค ซึ่งเขียนขึ้นมาโดย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือ พระพุทธ
โฆสะ ภิกษุชาวอินเดีย ..

มาดูประวัติท่านกัน

..................................

ข้อมูล .. จาก
//larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/008637.htm


.. พระพุทธโฆสะ เป็นชาวอินเดีย เกิด ณ หมู่บ้านชื่อโฆสคาม ใกล้พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
ของพระพุทธเจ้าเมื่อ พศ.๙๕๖ ได้ศึกษาจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อน ต่อมาจึง
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตเถระ หรือบางแห่งเรียกธรรมโฆสะก็มี และ
ได้บรรพชาอุปสมบทกับพระเรวัตตะนั่นเอง

เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระพุทธพจน์โดยเคารพประกอบด้วยอุตสาหะอย่างยิ่ง จน
แตกฉานทั้งในพระไตรปิฏกและอรรถกถา ได้แต่งปกรณ์ชื่อญาโณทัยขึ้นคัมภีร์หนึ่ง และกำลัง
ปรารถจะแต่งอรรถกถาพระอภิธรรมชื่ออรรถกถาสาลินี และอรรถกถาปลีกย่อยอื่นๆ

ท่านเรวัตตะผู้เป็นอุปฌายะจึงแนะนำว่า เมื่อจะแต่งอรรถกถาเหล่านี้ ก็ควรเดินทางไปเกาะลังกา
เพราะเวลานั้นอินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฏกทั้งสิ้น ส่วนอรรถกถาทั้งหลายมีอยู่ ณ เกาะลังกาเป็น
ภาษาสิงหลซึ่งพระเถระมีพระสารีบุตร(ชาวลังกามิใช่พระสารีบุตรอัครสาวก) และพระมหินเทเถระ
ได้กระทำไว้

พระพุทธโฆสะจึงเดินทางไปลังกาทางเรือ และได้แปลอรรถกถาต่างๆ เป็นอันมากจากภาษาสิงหล
เป็นภาษามคธ ได้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคในขณะที่อยู่ลังกานั่นเอง ท่านได้เลือกเฟ้นพระพุทธ
พจน์ที่เหมาะสมยิ่งคือ มีใจความรวมเอาหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด ได้แก่ ศีล
สมาธิ และปัญญา แล้วนำมาขยายเพราะเหตุที่ท่านแตกฉานในพระพุทธพจน์และอรรถกถาจึง
สามารถขยายความได้ดีเยี่ยม

อรรถกถาที่มีอยู่ในลังกาเวลานั้นคือ ..

- มหาอรรถกถา
- อรรถกถาปัจจรียะ และ
- อรรถกถากุรุน .. ทีพระพุทธโฆสะแปลอรรถกถากุรุนทีจากสิงหล เป็นมคธแล้วรจนาคัมภีร์
สมันตัปปสาทิกา อันเป็นอรรถกถาพระวินัยปิฏก

ต่อจากนั้นจึงแปลมหาอรรถกถา แล้วรจนาอรรถกถาพระสุตตันตปิฏก คือ

- อรรถกถา ฑีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี
- อรรถกถา มัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี
- อรรถกถา สังยุตตนิกาย ชื่อ สารัตถปกาสินี
- อรรถกถา อังคุตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี

แล้วจึงแปลอรรถกถาปัจจรียะ แล้วรจนาอรรถกถาแห่งพระอภิธรรมให้ชื่อว่า อัฏฐสาลินี และวิภังค
ปกรณ์ ชื่อ สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาแห่งปกรณ์ทั้ง ๕ ชื่อ ปรมัตถทีปนี เสร็จแล้วจึงได้กลับ
อินเดีย นำตำราต่างๆที่ท่านแต่งไว้กลับไปเป็นประโยชน์แก่กุลบุตรชาวอินเดียเป็นอันมาก

นอกจากนี้ ท่านยังได้รจนาคัมภีร์อื่นๆอีก เช่น อรรถกถาธรรมบท เป็นต้น รวมความว่าคัมภีร์ต่างๆ
ที่ใช้ศึกษาอยู่ในเมืองไทยเวลานี้ เป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์เป็นส่วนใหญ่ เป็นการยากที่
จะหาพระมหาเถระอื่นใดเทียบได้

สำหรับตำราภาษาไทยที่พระสงฆ์ใช้ศึกษาอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผลงานของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

พระเถระผู้มีนามว่าพุทธโฆสะนี้ มีเกียรติคุณเฟื่องฟุ้งในสมัยของท่าน เป็นที่ยอมรับในลังกา และ
อินเดียว่าเป็นนักปราชญ์ ทรงวิทยาคุณสูงส่งประกอบด้วยคุณธรรม คือ ศรัทธาความรู้และความ
เพียรอันบริสุทธิ์ยิ่งกระกระฉ่อนด้วยคุณสมุทัย คือ ศีล ความประพฤติ ความซื่อตรง และความ
อ่อนโยน มีความสามารถ แตกฉานในพระพุทธศาสนา และลัทธิคำสอนของพระศาสดา
คณาจารย์อื่นๆ ประกอบด้วยปัญญาอันแหลมคม แจ่มจ้าด้วยญาณรัศมีอันมิได้ติดขัดในศาสนาของ
พระศาสดา และในอรรถกถาทั้งหลาย มีวาจาไพเราะเปล่งออกโดยมิได้ติดขัดเป็นนักพูดผู้ประเสริฐ
เป็นมหากวี เป็นเครื่องประดับวงศ์แห่งพระเถระคณะมหาวิหาร มีความรู้บริสุทธิ์ และไพบูลย์

ท่านผู้ประกอบด้วยเกียรติคุณดังกล่าวแต่โดยย่อนี้แล ได้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้แล้ว


................

ทีนี้มาตามสืบเสาะร่องรอย .. ที่มาของความเชื่อในสังคมไทยกันดู

................


ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิ
โลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"

เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิ
ไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสันฐาน ที่แบ่งเป็น 3
ส่วน หรือ ไตรภูมิ
ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ


วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์
การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้าง
โลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ฯลฯ


ประวัติ
ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ.683
ม.ศ.1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญ
พระอภิธรรม

ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุทธ
ศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่
พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่ม
แรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ อ.สินชัย กระบวนแสง ได้วิเคราะห์เหตุผลการแต่งไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิ
ไท ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองด้วย (เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว - จขบ.) เนื่องจาก
ไตรภูมิเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอนให้คนรู้จักการทำความดีเพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ หาก
แต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศีลก็จะต้องตกนรก

กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้การ
ปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็ไม่อาจดูแล
ได้ทั่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมา
เพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่สุขสบาย และ
หากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก

ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถ
เข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกันแต่อย่างไร

จาก .. วิกิพีเดีย
...................


ลองพิจารณาสังเกตุข้อความที่ขีดเส้นใต้ไว้ดู
" .. รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสันฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน
หรือ ไตรภูมิ .. "

คัมภีร์ใดเล่าในพุทธศาสนา .. ในยุคพระมหาธรรมราชาลิไท ที่จะมีอยู่ให้ท่านอ่านและนำมา
เขียนไตรภูมิพระร่วงได้ หากมิใช่ วิสุทธิมรรค ?

เนื่องจากว่า ..
" .. คัมภีร์ต่างๆ ที่ใช้ศึกษาอยู่ในเมืองไทยเวลานี้ เป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์เป็นส่วน
ใหญ่ .. "

นี่ขนาด"เวลานี้" ที่คนไทยมีการศึกษากันกว้างขวางโดยทั่วไปที่อาจมีตำราอื่นให้ศึกษาอีก
มากมาย ยังต้องมานั่งศึกษาผลงานของพระพุทธโฆสะ เป็นส่วนใหญ่ .. แล้วยุคพญาลิไท เมื่อ
พศ.1864 คือ 691 ปีที่แล้ว จะมีปัญญาชนอื่นใดสามารถเขียนตำราทางพุทธศาสนาได้เช่นนี้เล่า ..

แปลว่า .. พญาลิไท อ่าน วิสุทธิมรรค แล้วเขียน ไตรภูมิพระร่วง .. อันนี้เป็นข้อสันนิษฐาน
แต่เชื่อเหอะ ว่า ชัวร์เต็มร้อย

แปลว่า "โลกสัณฐาน" ในไตรภูมิพระร่วง เอามาจาก ตำราของพระพุทธโฆสะ ซึ่งจะเป็นวิสุทธิ
มรรคหรือไม่ - ผู้อ่านลองใคร่ครวญดูเอา

ขณะที่ ..

.....................


โลกของพระพุทธเจ้า
ตามเรื่องของโรหิตัสสะเทพบุตร และตามพระพุทธภาษิตที่ตรัส เป็นเครื่องส่องความให้เห็นว่า ได้
ทรงรู้แจ้งโลกโดยประการทั้งปวงดังกล่าวมาข้างต้น คือโดยสภาวะหรือโดยสภาพ โดยสมุทัย
โดยนิโรธ โดยอุบายคือทางปฏิบัติให้เข้าถึงนิโรธ อันความรู้โลกของพระพุทธเจ้า ตามที่พระ
อาจารย์ได้อธิบายอ้างพระพุทธภาษิตที่ตรัสเอาไว้ จึงเป็นอธิบายอันถูกต้อง เพราะมิได้อธิบายเอา
เอง

และตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสเล่าถึงโรหิตัสสะเทพบุตรนั้น เป็นเรื่องที่ตรัสเล่าถึงการไป เพื่อจะพบ
ที่สุดโลก ในโลกภายนอกนี้เอง ซึ่งเทพบุตรไม่อาจจะถึงที่สุดโลก ต้องสิ้นชีวิตเสียก่อน คือต้อง
จุติ คือต้องเคลื่อนจากภาวะเป็นเทพไปเสียก่อน แต่พระพุทธภาษิตที่ตรัสแสดงเป็นเทศนาสั่งสอน
ได้ทรงตรัสชี้เข้ามาถึงโลกในกเฬวระ คือในกายที่มีขนาดวาหนึ่งโดยส่วนสูงหรือโดยส่วนยาว ซึ่ง
มีสัญญาและมีใจนี้ เป็นการตรัสที่น้อมเข้ามาถึงขันธ์โลก โลกคือขันธ์ ๕ กายและใจอันนี้

และโดยที่ได้ตรัสว่าได้ทรงบัญญัติเรื่องโลก ก็ทรงบัญญัติในกเฬวระ คือในร่างกายที่มีสัญญามีใจ
นี้ ไม่ได้ทรงบัญญัติโลกในภายนอก ในคำสั่งสอนของพระองค์

และก็ตรัสว่าที่สุดโลก คือที่สุดโลกในภายในดังกล่าว ก็เป็นที่ที่ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตาย ไม่จุติคือ
เคลื่อน ไม่อุปบัติคือเข้าถึง และที่สุดโลกนี้เองก็เป็นที่สุดแห่งทุกข์ด้วย เพราะฉะนั้น แม้ในโลก
ภายในนี้เมื่อไม่ถึงที่สุด ก็ไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็ต้องถึงที่สุดแห่งโลกใน
ภายในนี้ เพราะฉะนั้น พระธรรมเทศนาที่ตรัสแสดงนี้ จึงเป็นพระธรรมเทศนาที่ผู้ฟังอาจตรองตาม
ให้เห็นจริงได้ อาจปฏิบัติให้ถึงได้ เพราะอยู่ภายในกเฬวระ คือร่างกายที่มีสัญญามีใจของทุกๆ
คน ของตนเอง ไม่ต้องไปค้นหาในภายนอกที่ไหน .. "


ที่มา ..
//www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-124.htm
โดย .. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
.......................


"โลก" เยี่ยงไร จึงควรเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกับชีวิตคนเรา ?

โลกสัณฐาน แบบ แผ่นดิน แผ่นน้ำ แผ่นฟ้า สวรรค์ชั้นต่างๆ นรกขุมต่างๆ
อย่างที่บรรยายไว้ในไตรภูมิพระร่วง

หรือ โลกของพระพุทธเจ้า แบบที่สมเด็จพระสังฆราชยกมาพูด

โลกแบบไหน กันเล่าที่ฝังหัวคนไทยจนจมปลักดิ้นไม่หลุด ?
ให้แนบแน่นอยู่กับความบิดเบือน เบี่ยงเบน จนกลายเป็นทิฏฐิวิบัติ หรือ ทิฏฐิวิปลาส ในหมู่คนไทยแทบทั้งหมด ?

แทบไม่ต้อง ค้นคว้าอะไรให้ยืดยาว

เพียง "กาลามสูตร" บทเดียว ก็สามารถเอามาใคร่ครวญหลักธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตได้แล้ว
ว่า .. ฟัง"เขาว่า" แล้วก็ปล่อยให้"เขาว่า" กันไปก่อน จริงเท็จอย่างไร ต้องรู้ด้วยตนเอง
ก่อนจึงจะเชื่อ หรือไม่เชื่อ

ควรเป็นอย่างนี้ จริงไหม ?

แล้วถ้าอย่างนั้น .. นรกทุกขุม สวรรค์ทุกชั้น คนเราสามารถรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร ?


แล้วทำไมถึงเชื่อกันนัก ?


- ใจที่เชื่อหรือไม่เชื่อทั้งหลาย .. รู้ได้ด้วยตนเองแล้วหรือ ?

- ใจที่เชื่อหรือไม่เชื่อทั้งหลาย .. ได้วิชชา3 หรือ อภิญญา 6 แล้วหรือ ?
- ใจที่เชื่อหรือไม่เชื่อทั้งหลาย .. เคยตายจนไปเห็น นรก สวรรค์ มาแล้วหรือ ?


คำถามที่ถามนั้น ไม่ใช่ เล่นโวหารเพื่อให้ผู้พูดดูดี ว่ามีหลักการแต่อย่างใด

แต่เป็นคำถามถึง"คุณสมบัติที่มีในตนถึงองค์รู้ที่ไม่ขัดกับหลักกาลามสูตร"
ในประเด็นที่อยู่เหนือ สัมผัสทั้ง 6 ทาง .. เท่านั้นเอง

และเป็นคำถามถึงว่า ปุถุชน ผู้ฟังธรรมทั้งหลาย .. แม้ในสมัยพุทธกาลจะสามารถมีองค์ประกอบ
แห่งองค์รู้ที่ว่ามาครบครันทุกคนเชียวหรือ

และเป็นคำถามถึงว่า ในการสอนธรรมนั้น พระพุทธองค์ต้องการคุณสมบัติของผู้ฟังที่"ไม่ธรรมดา"
ถึงปานนั้นเชียวหรือ ?


และเป็นคำถามถึงว่าพระองค์ถึงกับต้องใช้ "อภิธรรม" เป็นต้นว่า "ปฏิสนธิ
วิญญาณ
" อันปุถุชนทั่วไปยากจะเข้าใจได้เพื่อมาอธิบาย หลักธรรมเอก
อย่าง ปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงค้นพบในคืนเพ็ญวิสาขะ ทีเดียวเชียวหรือ ?


และเป็นคำถามถึงว่า .. การประกาศธรรมสั่งสอนหมู่สัตว์ทั้งหลาย .. หากธรรมนั้นๆ ลึกซึ้งซับ
ซ้อนถึงขนาดต้องอธิบายด้วย "อภิธรรม" แล้ว .. จะเป็นประโยชน์แก่ ปุถุชน ที่ไม่มีองค์รู้ใน
ตนขนาดจะบรรลุ วิชชา 3 หรือ อภิญญา 6 (อันเป็นคุณสมบัติที่ต้องมีก่อนจึงจะระลึกถึงเรื่องใน
ชาติก่อนๆได้) ได้อย่างไร ?


หรือ .. ทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น .. เป็นเพียง "กำลังแห่งสังขาร" ของ"เหล่าศรัทธา"ในการ
พยายาม "อภิรักษ์วิสุทธิมรรค" เท่านั้นเอง ?


.
.
.

ทีนี้ลองมาดูอีกสักหน่อยว่า ฮินดู หรือ พราหมณ์ นั้นเขามีอะไรเป็นแนวทางบ้าง ?

เพื่อจะนำมาสู่ประเด็น ที่ถกเถียง ที่ปกป้องความเชื่อความคิดตนเองว่า พระพุทธโฆสะ ไม่เกี่ยว
กับพราหมณ์ และ ความเบี่ยงเบนเรื่อง"โลก" รวมทั้งแนวคิด การเวียนว่ายตายเกิด
(การคร่อม 3 ภพ 3 ชาติ คือแนวคิดของการเวียนว่ายตายเกิด) .. ที่"เหล่าศรัทธา"คอยแก้
กันให้ว่าไม่เกี่ยวกับพราหมณ์นั้น .. ไม่เกี่ยวจริงหรือ ?


....................

ที่มา ..
//www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B5
%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%
E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97


คัมภีร์ไตรเวท
มีอยู่ 4 คัมภีร์ ดังนี้

1. คัมภีร์ฤคเวท (Rig Veda) เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยการสวดสรรเสริญและอ้อนวอนเทพเจ้าต่างๆ

2. คัมภีร์ยชุรเวท (Yajur Veda) เป็นคู่มือพิธีกรรมของพราหมณ์ เป็นบทร้อยแก้ว อธิบาย
วิธีประกอบพิธีกรรมและบวงสรวง

3. คัมภีร์สามเวท (Sama Veda) เป็นคัมภีร์รวบรวมบทสวดมนต์ โดยนำมาจากฤคเวทเป็นส่วน
มาก แต่งขึ้นใหม่มีประมาณ 78 บท ใช้สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมและขับกล่อมเทพเจ้า

4. คัมภีร์อถรรพเวท (Athava Veda) เป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นใหม่ในปลายสมัยพราหมณ์ เป็น
คาถาอาคม มนต์ขลังศักดิ์ศิทธิ์ สำหรับทำพิธีขับไล่เสนียดจัญไร และอัปมงคลให้กลับมาเป็นสวัส
ดิมงคล นำความชั่วร้ายไปบังเกิดแก่ศัตรู


องค์ประกอบของคัมภีร์
คัมภีร์ทั้ง 4 นี้ องค์ประกอบเหมือนกัน 4 หมวด ต่อไปนี้

1. มันตระ เป็นหมวดที่รวบรวมมนต์ต่างๆ สำหรับเป็นบทบริกรรมและขับกล่อมอ้อนวอน สดุดี
เทพเจ้า เนื่องในพิธีกรรมบวงสรวง ทำพลีกรรมบูชา

2. พราหมณะ หมวดนี้เป็นบทร้อยแก้วหรือเรียงความ อธิบายระเบียบการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ไว้อย่างละเอียด

3. อารัญญกะ เป็นบทร้อยแก้ว ใช้เป็นตำราคู่มือการปฏิบัติของพราหมณ์ผู้ประสงค์ดำเนินตนเป็น
วานปรัสถ์ ชฏิลหรือปริพาชก เพื่อหาความสุขสงบ ตัดความกังวลจากการอยู่ครองเรือน

4. อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ที่มีแนวคิดทางปรัชญาอย่างลึกซึ้ง เป็นตอนสุดท้ายแห่งพระเวท
คัมภีร์นี้เน้นเรื่องอาตมัน เทพเจ้า โลก และมนุษย์ ถือว่าเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของการศึกษา
เป็นบทสนทนาโต้ตอบ ได้อธิบายถึงธรรมชาติและจักวาล วิญญาณของมนุษย์ การเวียนว่ายตาย
เกิด กฎแห่งกรรม
และหลักปฏิบัติ ปรัชญาสังคม ซึ่งเป็นการอธิบายสาระสำคัญของคัมภีร์
พระเวททั้งหมด ดังนี้

1) ปรมาตมัน คือ วิญญาณดั้งเดิมหรือความเจริญสูงสุดของโลกและชีวิต หรือจักรวาล ซึ่งเรียก
ว่า พรหมัน สรรพสิ่งมาจากพรหมัน และในที่สุดก็จะกลับคืนสู่ความเป็นเอกภาพกับพรหมัน ปรมา
ตกับพรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน

2) อาตมันหรือชีวาตมัน เป็นส่วนอัตตาย่อย หรือวิญญาณย่อย ซึ่งปรากฏแยกออกมาอยู่ในแต่ละ
คน ดังนั้นการที่อาตมัน หรือชีวาตมันย่อยนี้เข้าไปรวมกับพรหมัน หรือ ปรมาตมันได้จึงจะพ้นจาก
ทุกข์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

3) เรื่องกรรม การที่ชีวาตมันจะกลับคืนสู่พรหมันเป็นเอกภาพอมตะได้นั้น ผู้นั้นจะต้องบำเพ็ญ
เพียรทำกรรมดีและประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เรียกว่า โยคะ คือ กรรมโยคะ ทำกรรมดี ภักติโยคะ
มีความภักดีในเทพเจ้า และชญานโยคะ การศึกษาจนเข้าใจพระเวทอย่างถูกต้อง

ปรมาตมัน คือ พรหมัน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ อปรพรหมัน ความเจริญสูงสุด
(Ultimate Reality) และปรพรหมัน คือ ความจริงขั้นเทพเจ้าสูงสุด (Superme
Being)

คำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท ทำให้ศาสนาพราหมณ์เป็นเอกนิยม (Monism) เชื่อว่าสรรพสิ่งมาจาก
หนึ่งและจะกลับไปสู่ความเป็นหนึ่ง หลังจากคัมภีร์อุปนิษัทได้พัฒนาจนถึงขีดสุด ทำให้เกิดลัทธิ
ปรัชญาอีก 6 สำนัก ดังต่อไปนี้

1. นยายะ เจ้าลัทธิคือ โคตมะ
2. ไวเศษิกะ เจ้าลัทธิคือ กนาทะ
3. สางขยะเ จ้าลัทธิคือ กปิละ
4. โยคะ เจ้าลัทธิคือ ปตัญชลี
5. มีมางสาหรือปูรวมีมางสา เจ้าลัทธิคือ ไชมินิ
6. เวทานตะหรืออุตตรมีมางสา เจ้าลัทธิคือ พาทรายณะหรือวยาส


............................


ดูที่ขีดเส้นใต้
อุปนิษัท .. คืออะไร ..


............................

อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ของศาสนาฮินดู เนื้อหาเป็นหลักธรรม หรือคำสอนอันลึกซึ้ง นับเป็นส่วน
สุดท้ายของวรรณกรรมพระเวท (วรรณกรรมพระเวทส่วนอื่นได้แก่ สังหิตา, พราหมณะ, อารัณ
ยกะ) และเนื่องจากเป็นส่วนสุดท้ายของวรรณกรรมพระเวท จึงอีกอย่างหนึ่งว่า "เวทานฺต"
(เวทานตะ)

คำว่า "อุปนิษัท" มาจากรากศัพท์ คำอุปสรรค 'อุป' 'นิ' และธาตุ 'สัท' (นั่ง) ซึ่งหมาย
ถึง นั่งใกล้คนใดคนหนึ่ง อันได้แก่ การนั่งของศิษย์ใกล้ครูอาจารย์ เพื่อสอนหลักธรรมอันลึกซึ้ง

คัมภีร์อุปนิษัทนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และอยู่ในช่วงเวลาที่กว้าง บางเล่มอยู่ในสมัยก่อนพุทธกาล
บางเล่มมีอายุอยู่หลังพุทธกาล

ที่มา .. วิกิพีเดีย
............................

พอสรุปได้ว่า .. เป็นช่วงการปฏิรูปคำสอนเพื่อความอยู่รอดและเป็นการปรับตัวเชิงปรัชญาเพื่อ
รับมือลัทธิเกิดใหม่ คร่อมยุคพุทธกาล

และ .. เจ้าชายสิทธัตถะ สมัยก่อนออกแสวงหาหนทางหลุดพ้น .. ร่ำเรียน รับรู้มาก่อนแล้ว
ทั้งสิ้น .. ในปรัชญาที่ปรากฎอยู่ในยุคสมัยนั้น

.........................................

จาก ... //www.oknation.net/blog/chaiyassu/2011/02/11/
entry-1


ทฤษฎีความรู้แท้ของอุปนิษัท
ยุคพระเวทยกย่องความรู้ในคัมภีร์ การทรงจำคัมภีร์ได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนความรู้ในพิธีกรรม
ต่าง ๆ ในคัมภีร์พระเวทเป็นสำคัญ ผลจากการยกย่องและให้ความสำคัญดังกล่าว ทำให้คนเริ่ม
ก้าวออกห่างจากสารัตถะของพระเวท เพราะมัวแต่ไปสนพิธีกรรม สังคมจึงถูกหล่อหลอมไปด้วย
ลัทธิ ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม ซึ่งเป็นเรื่องเปลือกนอก

อุปนิษัทจึงเป็นเหมือนตัวแทนของปฏิกิริยาที่มีต่อการยกย่อง สรรเสริญพิธีกรรมเหล่านั้น โดยการ
ประกาศจุดยืนว่า พิธีกรรมต่าง ๆ ไม่เพียงพอสำหรับนำพามนุษย์ไปสู่วิถีแห่งความรู้แจ้ง และ
ความหลุดพ้น การรู้แจ้งในพรหมันต่างหาก ที่จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตาย
เกิด
เหตุนั้นในคัมภีร์อุปนิษัท จึงมีร่องรอยของการกระแนะกระแหน ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรม
อย่างตรงไปตรงมา ขอให้พิจารณาข้อความจากคัมภีร์อุปนิษัทดังต่อไปนี้

“พวกคนโงที่เต็มไปด้วยอวิชชาทั้งปวงก็คล้ายกับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมคิดว่า เราได้
บรรลุสมดังที่เรามุ่งมาดปรารถนาแล้ว โดยเหตุที่ผู้ประกอบยัญพิธีมิได้เข้าใจสัจธรรมโดยถ่องแท้
เพราะอำนาจตัณหานั่นเอง เพราะฉะนั้น พวกเขาซึ่งเป็นคนเคราะห์ร้าย จึงต้องจุติจากสวรรค์ ใน
เมื่อกุศลกรรมที่ทำให้เขาบังเกิดในโลกที่สูงส่งนั้นหมดสิ้นลง

พวกที่โง่เขลาซึ่งเห็นว่ายัญพิธีและกุศลกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้ว ก็มิได้ทราบคุณความดีทาง
ด้านจิตใจที่สูงยิ่งกว่านั้นชนิดอื่นได้เลย เมื่อพวกเขาเสวยสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ เพราะอำนาจอกุศล
กรรม (การบูชายัญเป็นต้น) อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว เขาก็จะวกกลับมายังโลกนี้อีก หรืออาจ
กลับมาสู่โลกที่ต่ำกว่านี้ก็ได้

พราหมณ์เมื่อได้พินิจพิเคราะห์ดูโลกทั้งหลายที่จะเอาชนะได้ด้วยยัญพิธีแล้ว ก็ไม่ควรจะไปถึงอะไร
เลย นอกจากความรังเกียจ โลกที่ไม่ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมานี้ เขาจะเอาชนะโดยอาศัยสิ่งที่ถูกทำ
ขึ้นมา เช่น ยัญพิธีหาได้ไม่ เพื่อจะได้รับความรู้ เขาควรถือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการบูชายัญในฐานะ
เป็นศิษย์ที่อ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไปหาคุรุ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในคัมภีร์ และมีความมั่นคงในความรู้
แจ้งพรหมัน


...................................


จะเห็นถึง .. "แนวคิด" ความพากเพียรเพื่อให้หลุดพ้นจาก "การเวียนว่ายตายเกิด" ซึ่งไม่
ต่างอะไรกับที่ปรากฎอยู่ใน "วิสุทธิมรรค" ของพระพุทธโฆสะ

ความแตกต่างของ อุปนิษัทของพราหมณ์ กับ พุทธ คือ

พุทธ .. มีวิธีการคือ ..
"การทำลาย อัตตา หรือ ความรู้สึกในความเป็นตัวตน ของตน" จึงหลุดพ้นจากการเวียนว่าย
ตายเกิด คือ หลัก อนัตตา

โดยการ .. "ปฏิบัติตน(ทั้งกายใจ) ตามหลักการของ มรรคมีองค์ 8 (การไม่ยึดมั่นถือมั่นใน
สิ่งใด .. การปล่อยวาง) "

อุปนิษัท .. มีวิธีการคือ ..
"การรู้แจ้งในพรหมัน หรือ ปรมาตมัน" จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

โดยการ .. "ถือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการบูชายัญในฐานะเป็นศิษย์ที่อ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไปหาคุรุ
ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในคัมภีร์ และมีความมั่นคงในความรู้แจ้งพรหมัน (ปรมาตมัน)"

ปรมาตมันคือวิญญาณสากลหรือเป็นความจริงอันสูงสุด เป็นศูนย์รวมของวิญญาณย่อยทั้งหลายที่
เรียกกันว่า อาตมัน หรือ ชีวาตมัน ดังนั้นคัมภีร์อุปนิษัทจึงสอนว่า อาตมันก็คือพรหมัน

อาตมัน หรือ ชีวาตมัน คือ ตัวตนของเรา นี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วน
แห่งร่างกายคือตัวตนอย่างหยาบ และ ส่วนแห่งจิตวิญญาณคือตัวตนอย่างสมบูรณ์

ในส่วนแห่งร่างกายนั้นถือว่าเป็นส่วนที่หยาบ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะมีการแตกสลายไปตาม
กาลเวลา แต่ในส่วนแห่งจิตวิญญาณอันเป็นส่วนละเอียดนั้นเป็นอาตมัน หรือเป็นตัวตนที่แท้
จริง เพราะจิตวิญญาณนั้นจะไม่มีวันตายหรือแตกสลายไปเช่นส่วนแห่งร่างกาย
เพราะว่า
วิญญาณของสรรพสิ่งแต่ละดวงนั้น เป็นอาตมันย่อยที่แยกออกจากอาตมันใหญ่ ซึ่งเป็นวิญญาณ
สากลที่เรียกว่า "ปรมาตมัน" ดังนั้น เมื่อปรมาตมันหรือวิญญาณสากลเป็นอมตะ อาตมันหรือ ชี
วาตมัน ซึ่งเป็นวิญญาณย่อย เป็นตัวตนย่อยนั้นจึงเป็นอมตะด้วย


ที่มา .. //www.siamganesh.com/guidetobrahman.html
..........................


ที่ขีดเส้นใต้ .. นั่นคือ ที่มาของ "วิญญาณ" หลังการตายเข้าโลง หรือ "ปฏิสนธิวิญญาณ"
ที่แทรกเข้ามาใน ปฏิจจสมุปบาท ของพุทธแต่เมื่อใดไม่รู้ แต่ปรากฎใน .. วิสุทธิมรรค มา
ตั้งแต่พระพุทธโฆสะท่านเขียนไว้ ราว พศ.1000 หรือ 1,500 ปีมาแล้ว .. และท่านออกตัว
ว่าอธิบายความตามที่บุพพาจารย์ เคยอธิบายไว้อยู่ก่อนแล้ว

ชาวอินเดีย ที่เคยศึกษาไตรเภทมา .. ต้องรู้จัก อุปนิษัท เป็นอย่างดี รวมทั้งเจ้าชายสิทธัตถะ
.. รวมทั้ง พระพุทธโฆสะ

แต่เหตุใด หลังตรัสรู้แล้ว .. วิญญาณ ของพระพุทธองค์ จึงมีแต่ วิญญาณ 6 อันเป็นเรื่อง
ของปัจจยาการเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้นิรันดรแต่อย่างใด .. ที่ตรงกันข้ามกับ "ตัวตนที่แท้จริง
ที่ไม่มีวันตาย - คือ .. อัตตาเที่ยง .. คือ .. สัสสตทิฏฐิ แบบในอุปนิษัท"


ดังนั้น แนวคิดที่ วิญญาณ เวียนเกิดดับ ข้ามภพข้ามชาติ ไม่รู้จบรู้สิ้น จนกว่าจิตจะปล่อยวาง
จากวามรู้สึกว่าตัวตนของตนได้ .. จึงหลุดพ้น


คือการเอาวิญญาณอมตะของอุปนิษัท มาผสม กับ หลักอนัตตาของพุทธ คือช่วงต้นเป็นอุปนิษัท
แล้วช่วงปลายแทนที่จิตจะเข้าร่วมกับปรมาตมัน กลับมาใช้การปล่อยวางตัวตน คือ ละอุปาทาน
เสียตามแบบพุทธ .. นั่นเอง


ทีนี้หากพิจารณาให้ดี .. จิตที่เชื่อเรื่องวิญญาณเที่ยง เวียนว่ายตายเกิด ชาติแล้วชาติเล่า ..
อยู่ๆจะมาละอุปาทานเรื่องวิญญาณ - ตัวรู้โลก .. นี้ได้ง่ายๆหรือ เพราะพฤติแห่งจิตมันขัดแย้ง
กันเองอย่างตรงกันข้าม ?


เชื่อ เรื่องวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง .. ยึดมั่นถือมั่น ว่ามี .. แล้วฝึกให้ละอุปาทาน ว่า
ไม่มี (ตามสายปฏิจจสมุปบาท) - ผู้อ่าน .. สำรวจตัวเองได้ไม่ยากว่าเชื่อหรือไม่ คือ คน
กลุ่มที่เชื่อจะเป็นพวกกลัวผี จนขี้ขึ้นหัว .. 555


กับ


ไม่เชื่อ เรื่องวิญญาณล่องลอยออกจากร่าง ยอมรับว่ามีแต่วิญญาณ 6 เท่านั้น ไม่ยึดถือ เพราะรู้
ว่าไม่มี .. แล้วฝึกให้ละอุปาทาน ว่าไม่มี (ตามสายปฏิจจสมุปบาท) - คนกลุ่มนี้จะไม่กลัวผี
เพราะไม่เชื่อเรื่องวิญญาณ ล่องลอยหลังการตายเข้าโลงนั่นเอง ..


อย่างไหน สมเหตุสมผลกว่ากัน ?


ดังนั้น .. แก่นธรรมที่แท้จริงของพระพุทธองค์ คือ การควบคุม"โลกในกาย"ที่ยาววา หนาศอก
ที่เป็นๆนี่ ที่มีพร้อมทั้งสัญญาและใจ


โลกในกายเท่านั้น .. ที่เป็นทุกข์ ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ที่เป็นความดับทุกข์ และที่รอคอยให้
จิตที่เข้าใจ รู้เท่าทัน จัดการดับทุกข์จนสิ้นได้


โลกสันฐาน นอกกาย เป็นเพียงสิ่งแวดล้อม

โลกอดีต โลกอนาคต เป็นเพียงจินตนาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับ จิตที่เป็นทุกข์อยู่ในปัจจุบัน เลย
แม้แต่น้อย และไม่ได้มีผลอะไรต่อการดับทุกข์ในจิตขณะปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง ..


ประเด็นนี้ให้ลองพิจารณาประวัติพุทธสาวก คือ พระโมคคัลลาน์ กับ พระองคุลีมาลย์ ประกอบว่า
..

ชาติที่แล้ว (สำหรับผู้ที่เชื่อเรื่องอดีต อนาคต ทำนองนี้) ของพระโมคคัลลาน์ที่ว่าท่านเคยทุบตี
มารดาตนเอง อันเป็นอนันตริยกรรม - บาปขั้นร้ายแรง .. แล้วทำไมจึงมาพบพระพุทธองค์ได้
อะไรส่งมา ? .. รวมทั้งสามารถเข้าใจธรรมจนบรรลุอรหันต์ก่อนพระสารีบุตรเพื่อนรักผู้เลิศด้วย
ปัญญาเสียอีก ..

แสดงว่า .. กรรมมหันต์นั้น ไม่สามารถขัดขวางการที่จิตของคนคนหนึ่งจะรู้ทันโลกวิสัยที่
แวดล้อมอยู่และถอนอาสวะเสียแล้วโดยสิ้นเชิง ..ได้จริงไหม ..

ทำนองเดียวกับพระองคุลีมาลย์ ที่ฆ่าคนมานับพัน .. แสดงว่ากรรมชั่วในอดีต(หากมีจริง) ไม่มี
ผลใดๆต่อการที่จิตจะบรรลุอรหันต์เลย .. หรือพูดได้ว่าไม่เกี่ยวข้องในเชิงเป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อ
กัน

ซึ่งเมื่อมองตรงนี้แล้ว .. ในด้านตรงข้ามคือ .. กรรมดี เลี้ยงดูพ่อแม่อย่างดี ทำบุญมาก ทำ
ทานมาก มีเมตตาต่อผู้อื่นมาก ..

แต่หากมีสติปัญญาด้อย ย่อมไม่อาจเข้าใจรู้เท่าทันโลกธรรมอันแวดล้อมอยู่ได้ .. ก็ย่อมเป็นไป
ไม่ได้ที่จิตจะบรรลุอรหันต์ถอนอาสวะได้ ..

ดังนั้น ปัญญา ในการเข้าใจสภาพธรรม กับ บุพกรรม จึงไม่เป็นปัจจัยส่งผลต่อกันแต่อย่าง
ใด

จึงพูดได้ว่า มิจฉากรรมหรือสัมมากรรมของชีวิตในอดีตชาติ (ที่เรารู้ไม่ได้ -เป็นปัญหาอจินไตย)
ย่อมไม่ขัดขวางการที่จิตของคนคนหนึ่งเข้าใจธรรมจนสามารถละอุปาทาน ถอนอาสวะจากจิต และ
บรรลุอรหันต์ได้เลย

จึงไม่ควรใส่ใจ หรือ กังวล !


Create Date : 29 มิถุนายน 2555
Last Update : 5 มีนาคม 2558 22:48:26 น. 5 comments
Counter : 5957 Pageviews.

 
ภาษาบาลี เท่าที่เราทราบมาจากภาษามคธปรากฤตี คือภาษาพื้นบ้านที่ใช้แพร่หลายในแคว้นมคธค่ะ


โดย: มากกว่าแน่ใจ IP: 110.168.195.72 วันที่: 29 มิถุนายน 2555 เวลา:20:27:26 น.  

 
ขอเติมใหม่ให้ครบ..

ภาษาบาลี เท่าที่เราทราบมาจากภาษามคธปรากฤตี คือภาษาพื้นบ้านที่ใช้แพร่หลายในแคว้นมคธยุคพระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ค่ะ


โดย: มากกว่าแน่ใจ IP: 110.168.195.72 วันที่: 29 มิถุนายน 2555 เวลา:20:29:48 น.  

 
แล้วที่คุณกล่าวมาทั้งหมดเชื่อถือได้ 100% งั้นรึ ????????


โดย: กะลา-มาสุด IP: 171.6.28.138 วันที่: 8 พฤษภาคม 2558 เวลา:21:04:41 น.  

 
คิดเอา .. ไม่ต้องเชื่อ
คิด
คิด


โดย: สดายุ... วันที่: 9 พฤษภาคม 2558 เวลา:14:23:06 น.  

 

ขอบคุณมากๆค่ะ
อาหารสมองอย่างแท้จริง เราเป็น พุทธ ค่ะ
เป็นพุทธตามใบเกิด ตามบัตรประชาชนมาถึง
ตอนนี้ ... ต่อนี้ไปเราจะเป๋นพุทธ อย่าง
สมบูรณ์ ได้ทราบรากเหง้า ความเป็นมา โดย
ใช้ปัญญาที่มี พิณาได้ด้วยตัวเอง

ขอบคุณมากๆ ค่ะ


โดย: จี๊ด IP: 171.100.172.5 วันที่: 21 เมษายน 2559 เวลา:8:36:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.