Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
17 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
O บุญนิยม .. ใน- ศรัทธาวิปริต ..! O

.

บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น

คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข เปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถรับรู้อาการของไฟฟ้าได้

ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้

วิธีทำบุญ
1.ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
2.ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
3.ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
4.อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
5.เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
6.ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
7.ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
8.ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
9.ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
10.ทิฏฐุชุกัมภ์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
อีกนัยหนึ่ง บุญหมายถึงสิ่งที่คนควร ก็ทำ ซึ่งจะนำความสุขมาหาตนและคนอื่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

...................................


เมื่อพูดถึง"บุญ" ก็ต้องนิยามกันให้ชัดเจนก่อนว่า คืออย่างไร ? และเป็นไปเพื่ออะไร ?

ข้อความที่ยกมานั้น...พิจารณาดูให้ดี จะเห็นว่าเป็นเรื่องของ"การปฏิบัติเพื่อฝึกฝนทางจิตใจ" ทั้งสิ้น...เป็นต้นว่า...

1.ทาน ... คือการทำลายความรู้สึกว่า "ของกู"
2.ศีล ... คือการควบคุม"ตัวกู"ไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน กระทบกระทั่งผู้อื่น
3.ภาวนา ... คือการคุมขัง"ตัวกู"ไม่ให้ออกท่องเที่ยว (ฟุ้งซ่าน)
4.อปจารยะ ... คือการทำลาย"ตัวกู"โดยตรง
5.เวยยาวัจจะ ... คือการทำลายความรู้สึกว่า"ของกู"เพราะทำเพื่อผู้อื่น
6.ปัตติทานะ ... คือการทำลายความรู้สึกว่า"ของกู"เพราะมอบให้ผู้อื่น
7.ปัตตานุโมทนา ... คือการทำลายความรู้สึกว่า"ตัวกู"เพราะยินดีในสิ่งนอกตัว
8.ธัมมัสสวนะ ... คือการควบคุม"ตัวกู"ด้วยองค์รู้ในจิตที่ถูกต้อง
9.ธัมมเทสนา ... คือการทำลายความรู้สึกว่า"ของกู"ด้านความรู้เพราะมอบให้ผู้อื่น
10.ทิฏฐุชุกัมภ์ ... คือการควบคุม"ตัวกู"ด้วยองค์รู้ในจิตที่ถูกต้อง


ไม่มีที่ไหนเลยจะพูดถึง "ผลบุญ" ที่จะเกิดขึ้นในชาติอนาคตด้วยภาวะของ...
การเกิดในตระกูลสูง...การเกิดในโภคทรัพย์และบริวารที่แวดล้อม...การเกิดในภาวะแห่งสุขอนามัยเป็นเลิศ...การเกิดด้วยรูปธรรมที่งดงามกว่าคนทั่วไป แม้แต่ลักษณะเดียว !

เมื่อใดที่การตีความ พฤติกรรมต่างๆที่แวดล้อมรอบตัวเป็นไปอย่างลงกันได้แนวคิดของการ ทำลายตัวตน ของตน ทำลายความยึดมั่นถือมั่น...แล้วล่ะก็...นั่นย่อมลงกันได้กับหลัก"อนัตตา" และจิตนั้นๆย่อมมีภาวะแห่งกระบวนคิดเป็น "สัมมาทิฐิ" อย่างแท้จริง...แน่นอนเด็ดขาด


เมื่อ"ความคิดที่เป็นนามธรรม"เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับ"ตัวตนอันเป็นรูปธรรม" อย่างแนบแน่นอยู่ตลอดเวลา...การรับรู้กระบวนการทำงานของจิตที่กำลังเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นสิ่งที่เป็นจริงอย่างไม่ต้องคาดเดา หรือ สงสัยแต่อย่างใดทั้งสิ้น...

ผลจากการกระทำใดๆ...จิตย่อมรับรู้ได้ทันทีว่าถูก ควบคุม กักขัง รำงับ และทำลาย"ตัวกู" หรือไม่ อย่างไร

ไม่ต้องรอชาติหน้า

นี่คือการมอง"โลก"เข้าในข้างในตนของแต่ละคน ที่ศาสนามีเจตนาจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ทุกข์โศกอย่างแท้จริง


"บุญ" อะไรก็ตามที่ทำ...ต้อง เป็นไปเพื่อทำลาย"ตัวกู" ลงเท่านั้น

หาก"บุญ"ที่ทำ เป็นไปเพื่อสร้าง..ตัวกู..ขึ้นมาเพื่อรอรับ"ผลบุญ"ในกาลข้างหน้าอันเป็นแนวคิดแบบ"ฝากธนาคาร"ไว้ก่อนนั้นแล้วไซร้...ซึ่งเป็นการยากต่อการยืนยันพิสูจน์...นั่นจะเป็น บุญนิยม .. ใน- ศรัทธาวิปริต อย่างแท้จริง

เนื่องจากสิ่งนั้นเป็นผลมาจากการ "ลวงโลกด้วยภาวะการณ์ที่ไม่มีใครรับรู้ได้ พิสูจน์ได้" ต่อผู้มีกระบวนคิดเชิงเหตุผลอ่อนด้อย...และต้องนับเป็น เจตนาทุจริต อย่างร้ายแรงในจิตใจผู้พูด !



เมื่อมามองรูปการผ่าน "เจตนารมย์" ของผู้พูด...จะเห็นได้ว่า..คนพูดเน้นย้ำแนวคิดแบบ "บุญ-ฝากธนาคารเอาไว้...แล้วตัวตนผู้ฝากในอนาคตจะมาถอนจากบัญชีออกไปใช้ !" นั้นได้รับประโยชน์โดยตรง เพราะว่าได้สร้างสถานภาพให้คนเชื่อว่า ตนเองเป็นธนาคารรับฝากความดี หรือ บุญนั้นๆ เอาไว้...!

ซึ่งในตรรกะและลำดับขั้นตอนของเรื่องราวแล้วนั้น...หากคนพูด พูดแล้วตนเองได้ประโยชน์...เราเรียกว่า "การพูดแบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน"...ยิ่งพูดยิ่งสอนฝังหัวให้คนเชื่อได้มากเท่าใด...วัตถุธรรมยิ่งหลั่งไหลเข้ามาฝากไว้กับตัวตนผู้พูดมากขึ้นเท่านั้น...!


เมื่อสอนกันแต่ว่า ..."นาย-ก จงทำบุญให้มากไว้...ชาติหน้าจะได้มีเสบียงกรังติดตัวไว้ใช้..ในระหว่างการเดินทางไปในเส้นทางสายพระนิพพาน"

ก็แปลว่า นาย-ก ในปัจจุบัน...กับ นาย-อะไรก็ไม่รู้ในอนาคต(ชาติหน้า) ที่สืบผลการกระทำของนาย-ก ในปัจจุบัน เป็นตัวตนเดียวกัน - ก็ขัดกับหลัก อนัตตา อันเป็น 1 ใน 3 ไตรลักษณ์ของพุทธ ทันที....เพราะเป็นการสอนให้มี อัตตา !


พระรูปไหนสอนแบบนี้ .. ก็เป็นเดียรถีย์ เป็นมิจฉาทิฐิเต็มรูปแบบ !


ใน จริต 6 ได้จำแนกบุคคลไว้ดังนี้....
คำว่าจริยา หมายถึงลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นเพของบุคคลแต่ละคน

คำว่าจริต ใช้เรียกบุคคลที่มีจริยาอย่างนั้นๆ เช่น คนมีโทสจริยา เรียกว่า โทสจริต

จริตนั้นแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภท หรือ 6 จริต คือ

๑.ราคจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม ชอบสิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน และจิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ

๒.โทสจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน วู่วาม หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง โผงผาง เจ้าอารมณ์

๓.โมหจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโมหะ เขลา เซื่องซึม เชื่อคนง่าย งมงาย ขาดเหตุผล มองอะไรไม่ทะลุปรุโปร่ง

๔.วิตักกจริต หรือวิตกจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนี้ทีเรื่องนั้นที เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่สามารถยึดเกาะกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ

วิตก แปลว่าการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการเพ่งจิตสู่ความคิดในเรื่องต่างๆ ไม่ได้หมายถึงความกังวลใจ วิตกจริตจึงหมายถึง ผู้ที่เดี๋ยวยกจิตสู่เรื่องโน้น เดื๋ยวยกจิตสู่เรื่องนี้ ไม่ตั้งมั่น ไม่มั่นคงนั่นเอง

๕.ศรัทธาจริต หรือสัทธาจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสได้ง่าย ซึ่งถ้าเลื่อมใสในสิ่งที่ถูกก็ย่อมเป็นคุณ แต่ถ้าไปเลื่อมใสในสิ่งที่ผิดก็ย่อมเป็นโทษต่างจากโมหจริตตรงที่โมหจริตนั้นเชื่อแบบเซื่องซึม ส่วนศรัทธาจริตนั้นเชื่อด้วยความเลื่อมใส เบิกบานใจ

๖.ญาณจริต หรือพุทธิจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางชอบคิด พิจารณาด้วยเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ชอบใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่เชื่ออะไรโดยไม่มีเหตุผล

โดยความเป็นจริงแล้ว คนเรามักมีจริตมากกว่า 1 อย่างผสมกัน เช่น ราคโทสจริต ราคโมหจริต โทสโมหจริต ราคโทสโมหจริต สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธิวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริต เป็นต้น เมื่อรวมกับจริตหลัก 6 ชนิด จึงได้เป็นบุคคล 14 ประเภท หรือ 14 จริต



เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้มีจริตทั้ง 6 แบบแล้วจะเห็นได้ว่า...สามารถจัดกลุ่มให้เทียบเคียงกับ “บัว 3 เหล่า” ได้ดังนี้

โมหจริต, ศรัทธาจริต, วิตกจริต - - ย่อมจัดอยู่ในจำพวก บัวดอกที่ 3 คือ ไม่อาจโผล่พ้นน้ำได้เลยตลอดกาล ต้องเป็นอาหาร ปู เต่า ปลา ในที่สุด จริตตัวนี้ไม่อาจนำพาบุคคลไปสู่ กระแสอริยสัจจ์ ได้เลย

ราคจริต, โทสจริต - - ย่อมจัดอยู่ในจำพวก บัวดอกที่ 2 ซึ่งถึงแม้จะมีภาวะยึดติดกับทางโลกมากอยู่สักหน่อย แต่ไม่เด่นชัดในเรื่องของความด้อยปัญญา บุคคลที่มีโทสจริตสูง จึงยังสามารถบรรลุธรรมได้อยู่ (เป็นต้นว่า พระองคุลีมาลย์)

พุทธิจริต - - ย่อมจัดอยู่ในจำพวก บัวดอกที่ 1 คือมักชอบใช้ปัญญารับมือกับเหตุการณ์แวดล้อมที่มากระทบ และเป็นคุณลักษณะที่ง่ายต่อการบรรลุธรรมมากที่สุด พระสารีบุตร พระโมคคัลลาน์ และ ชฎิลทั้ง 1,000 จัดอยู่ในผู้ที่มีจริตแบบนี้
.
.
.
ในประเด็นของ "มิจฉาทิฐิ" ที่เกิดจากความเชื่อง่ายอันเป็นจริตที่ติดตัวมาแต่กำเนิดนั้น คงยากจะเปลี่ยนแปลง..และพัฒนาได้ เพราะเป็นธรรมชาติติดตัวมาของแต่ละคน...ยิ่งเติบโตมาจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้วยิ่งยากจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของจิตที่มีมาแต่เกิด....บุญแบบฝากธนาคารจึงอาจพอปลอบประโลมจิตวิญญาณให้มีที่ยึดเหนี่ยวได้อยู่

เพียงแต่นั่น...ย่อมเป็นความสูญเปล่า...ทั้งด้านของพัฒนาการและด้านเวลาของจิตโดยแท้ !

ความเข้าใจไม่ได้ในธรรม...สามารถเทียบเคียงกันได้กับ ความเข้าใจไม่ได้ของโจทย์ทางคณิตศาสตร์...ที่ผู้ไม่รู้เรื่องจะมีความคลุมเครือ มืดมน และดูยุ่งยากมากมาย ในลำดับขั้นตอนวิธีคิดแต่ละขั้นๆ จนถึงจุดที่จะได้คำตอบ

ความสับสนในวิธีคิดวิธีปฏิบัติของคนเราย่อมเกิดจาก ไม่รู้ว่าอะไรก่อน อะไรหลัง ในเส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

เมื่อศีล...มีไว้เพื่อการกักขัง ควบคุม จิตวิญญาณ เพื่อความสงบ รำงับ ไม่ซัดส่าย
สมาธิ อันเป็นลำดับขั้นตอนต่อมาจึงจะควรทำให้เจริญยิ่งขึ้นได้ เนื่องจากต้องการพื้นฐานจากความสงบ รำงับ ก่อนเป็นเบื้องต้น...

กลับกลายเป็นว่า ใช้ชีวิตกันเป็นปกติธรรมดา ทั้งทางกายและทางจิตอย่างไม่มีการควบคุมเลย แล้วอยู่ๆ วันเสาร์อาทิตย์ ก็ไปนั่งหลับตาทันทีอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย...ภายใต้เสียงเนิบๆนุ่มๆของพระที่ชี้นำกรอกหูอยู่นั้น ก็ย่อมปรุงแต่งภาวะ”อุปาทานหมู่” ขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ จนเห็นนั่น เห็นนี่....อันเป็นจินตนาการผสมปนเปกับสัญญา (ความจำได้ในรูป รส สัมผัส ในจิต)ที่นอนเนื่องอยู่เดิม

การที่จิตไม่เคยถูกควบคุม (คนไม่มีศีล) ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างสมาธิให้เกิดขึ้นในจิตนั้นๆได้....เป็นความหลงในสัญญาและจินตนาการผสมคำพูดของเสียงชี้นำเท่านั้นเอง...


ทีนี้...เมื่อมีบุญแบบฝากธนาคารที่รอการถอนไปใช้โดยผู้ฝากในภายภาคหน้าแล้ว....ก็จำต้องมี”ชาติหน้า”ไว้สำหรับให้ผู้ฝากได้ดำรงอยู่ขึ้นมาด้วย ระบบบุญนิยมจึงจะสมบูรณ์ครบองค์ประกอบ...

“ชาติหน้า”....จะมีได้...ก็ต้องมี”ชาติปัจจุบัน” และ”ชาติอดีต” เพื่อสร้างระบบการส่งผ่านบุญบาป..และการรองรับการส่งผ่าน..ได้อย่างครบวงจร...

อาจเพราะเข้าใจไม่ได้ในหลักธรรมใหญ่ คือ ปฏิจจสมุปบาท ของผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่ติดแน่นอยู่กับการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏแบบพราหมณ์ที่เคยร่ำเรียนมา....จึงตีความคำว่า “วิญญาณ” กับ ”นามรูป” ไปในรูปแบบที่มีภาวะถาวร....

อวิชชา
สังขาร
วิญญาณ – วิญญาณ 6 เดิม
- - ปฏิสนธิวิญญาณ – เพิ่มเข้ามา โดยผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
นามรูป – การเกิดใหม่ - อธิบายโดยผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
สฬายตนะ (อายตนะภายนอก...ภายใน)
ผัสสะ
เวทนา
ตัณหา
อุปาทาน
ภพ
ชาติ – การเกิดใหม่ - อธิบายโดยผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


การอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ของพระพุทธโฆษาจารย์ จึงต้องแยกออกเป็น 3 ช่วงคือ....

อวิชชา สังขาร … เป็นชาติอดีต
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ... เป็นชาติปัจจุบัน
ชาติ ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ... เป็นชาติหน้า หรือ ชาติอนาคต



การอธิบายจึงมีว่า....

อดีต .. มีการกระทำเป็นอดีตกรรม...ส่งผลมาสู่ปัจจุบันเรียกว่า วิบากกรรมจากอดีต

ปัจจุบัน .. เกิดจากวิบากกรรมในอดีตส่งผลมาให้เกิดเป็นการกระทำในปัจจุบัน...แล้วจะส่งผลไปสู่อนาคต เรียกว่า วิบากกรรมจากปัจจุบัน

อนาคต .. เกิดจากวิบากกรรมของปัจจุบัน จะส่งผลไปให้เกิดการสร้างอนาคตกรรม แล้วส่งเป็นวิบากไปยังชาติอนาคตถัดไป..ต่อไปอีก


การอธิบายลักษณะนี้ จะไม่มีที่สิ้นสุด อดีตจะย้อนไปแก้ไขไม่ได้...อนาคตจะป้องกันไม่ได้...เพราะอยู่คนละช่วงเวลากัน !

ดังนั้น...อวิชชา...ที่แปลว่า "สภาพที่ปราศจากความรู้ในอริยสัจจ์ของจิต" จะต้องอยู่ในอดีตชาติ ตลอดกาล...เพราะเหตุว่าอุปาทานอยู่ในชาติปัจจุบันเสมอ...จึงไม่อาจ “แก้ที่ต้นเหตุ”ได้เลย....


การสอนแบบนี้ จึงไม่อาจแก้ทุกข์ในจิตใจของคนได้...เพราะ...

ทุกข์ ทั้งปวง เกิดแต่เหตุ...
พระตถาคต ทรงตรัสเรื่องความทุกข์นั้น...เหตุแห่งทุกข์นั้น...ความดับแห่งทุกข์นั้น...และทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์นั้น....



หากว่าเหตุแห่งทุกข์ คือ อวิชชา อยู่ใน อดีตชาติ....แล้วเราจะดับเหตุได้อย่างไร ?....และที่สำคัญ เราจะรู้ได้อย่างไร ?

หากว่าเราไม่อาจรู้ได้ด้วยตนเอง...คำสอนนั้นๆก็ไม่เป็น "สันทิฏฐิโก"คำนี้แปลว่าอะไร ?....ยกพุทธดำรัสมาให้อ่าน...

"ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว.... ฟังเสียงด้วยหูแล้ว.... ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว.... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว.... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว.... เป็นผู้เสวยรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เสวยความกำหนัดใน (อายตนะภายนอก ๖) และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ในภายใน...

"ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ.... ฟังเสียงด้วยหู.... ดมกลิ่นด้วยจมูก.... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย.... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว.... เป็นผู้เสวยรูปเป็นต้นนั้น แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูปเป็นต้นนั้น และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด รูปเป็นต้น อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในรูปเป็นต้นในภายใน อาการที่ภิกษุ.... รู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปเป็นต้น อันมีในภายในว่าเรามีความกำหนัดในรูปเป็นต้นในภายใน... และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปเป็นต้นอันไม่มีในภายใน ว่าเราไม่มีความกำหนัด ในภายใน อย่างนี้แลชื่อว่า.."เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาจะถึงรู้ด้วยตนเอง"...."


รวมทั้งไม่เป็น "อกาลิโก"..

"อกาลิโก"หมายความว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลทุกเมื่อทุกโอกาส ให้ผลตามลำดับแห่งการปฏิบัติ คือได้บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น ได้บรรลุถึงระดับใหนก็ให้ผลในระดับเมื่อนั้น ทั้งความจริงความแท้แห่งพระธรรมนี้ไม่มีกำหนดอายุกาล จริงแท้อยู่ตลอดกาล จริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้ พระธรรมจึงได้ชื่อว่า อกาลิโก (ไม่ขึ้นกับกาล)


การสอนแบบพระพุทธโฆษาจารย์...จึงไม่เป็นสันทิฏฐิโก...ไม่เป็นอกาลิโก..... เพราะไม่อาจรู้ได้ด้วยตนเอง...เพราะขึ้นกับกาลเวลา....จากการคร่อมภพคร่อมชาติ.......

จึงผิด !

การสอนแบบนี้จึงเป็น มิจฉาทิฐิ อย่างแท้จริง !




ขอจบบทความด้วยพระพุทธวจนะ....


ภิกษุทั้งหลาย !
เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น(ทุกคราวไป).

ภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น;

ภิกษุทั้งหลาย !
ฉันใดก็ฉันนั้น ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย, สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้งเป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึงและจักสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.


ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิต
เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.

ด้วยการทำดังนี้เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้.

ภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่; จัดเป็นบริษัทที่เลิศแล.

(ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ หน้า ๓๕ ๒,พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๒๐/๙๒/๒๙๒)



ปฎิจจสมุปบาท



สรุปเรื่องปฏิจจสมุปบาท...พุทธทาสภิกขุ





Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 8 ธันวาคม 2563 14:29:06 น. 7 comments
Counter : 2219 Pageviews.

 


"บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว"

เห็นที มินตราจะไม่มีบุญติดตัวนะ


โดย: บุษบามินตรา IP: 79.221.144.231 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:29:17 น.  

 

"O ดวงไฟเต้นเปลวปะ..รูปพระแผ้ว
กระทบแก้วนัยน์ตาทั่วหล้าต่ำ
สะท้อนแววตอบรับ..ลำดับธรรม
เช่นบัวสัมผัสรู้..ฤดูลม"

ค่ะ.."เช่นบัวสัมผัสรู้..ฤดูลม
หลวงพี่ขึ้นธรรมาสน์ อีกแล้ว...555


โดย: บุษบามินตรา IP: 79.221.144.231 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:38:12 น.  

 
มินตรา....

สังคมไทยเป็นสังคม "เชื่อง-เชื่อ" ขาดเหตุผลและโลกทัศน์คับแคบ...นี่พูดถึงภาพรวมนะ เฉพาะตัวบุคคลย่อมมีที่อยู่นอกภาพรวมนี้...แต่เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก

ดังนั้น...วัดอย่าง"ธรรมกาย" จึงเอาประเด็นนี้มาเล่นอย่างได้ผล...วัตถุธรรมและผลประโยชน์มูลค่าเป็นหมื่นล้านก็ค่อยๆนำมา"ฝากเอาไว้เพื่อรอถอนในชาติหน้า" มากมาย

การจัดตั้งเป็นระบบผ่าน "ชมรมพุทธศาสตร์" ตามมหาวิทยาลัยมีมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษา "ไทยเชื้อสายจีน" ชนชั้นกลาง-สูงที่มีกำลังทางเศรษฐกิจที่ทรงพลัง หากแต่มีภาวะ"เชื่อง่าย"อยู่โดยมาก

เจดีย์ที่คลองหลวงศูนย์กลางสำนักนั้นมีมูลค่ามหาศาลหลายพันล้าน

ในขณะที่ สวนโมกข์ของท่านพุทธทาสนั้น มีแค่ลานหินโค้งและโรงมโหรสพทางวิญญาณสำหรับ"สอน"คนเท่านั้น...

แต่ฝรั่งกลับมองเห็น"ประเด็นที่เป็นสาระ" จึงเชิดชูท่านพุทธทาสผ่านองค์กรอย่าง ยูเนสโก จนคนทั่วโลกรู้จัก

จึงมองว่า ฝรั่ง ที่ถือเหตุผล น่าจะเหมาะกับพุทธมากกว่าคริสต์...จึงควรต้องช่วยกันเผยแผ่...ทั้งยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย...ดังนี้แล...

โดยเฉพาะฝรั่งเยอรมัน....55





โดย: สดายุ... วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:11:27 น.  

 

ดายุขา..

มินตราน่ะ คนบุญน้อย ขอเสวยสุขในฐานะพลเมืองที่ดี เท่านั้นเถอะ
พวก"บอกบุญไม่รับ"ค่ะ


โดย: บุษบามินตรา IP: 79.221.144.231 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:08:17 น.  

 

ดายุ..

"๑.ราคจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม ชอบสิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน และจิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ"

"จิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ"นี่ล่ะมินตราเลย..
ชอบนักกับ"สิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน"

"ราคจริต, โทสจริต - - ย่อมจัดอยู่ในจำพวก บัวดอกที่ 2 ซึ่งถึงแม้จะมีภาวะยึดติดกับทางโลกมากอยู่สักหน่อย แต่ไม่เด่นชัดในเรื่องของความด้อยปัญญา บุคคลที่มีโทสจริตสูง จึงยังสามารถบรรลุธรรมได้อยู่ (เป็นต้นว่า พระองคุลีมาลย์)"

เป็นได้เพียงพระองคุลีมาลย์ น่ะนะ..
นึกภาพที่มีนิ้วคนเป็นสร้อยสังวาลย์ไม่ออกเลยค่ะ..
เพียงขนสัตว์นุ่มนุ่มหน้าหนาวน่ะยังพอทำใจได้บ้าง ..
หรือไหมตายแล้วนี่ ยังกล้าใช้หน่อย..
หรือสเต๊กค์"โคขุน"ของเกษตรกำแพงแสน ยังพอทำใจรับรสอร่อยอร่อยนุ่มนุ่มได้..

มิได้ล้อเลียนนะคะนี่ แต่ยังมีความ"ไม่รู้"อีกมากมายที่รับว่า"ปกติ"
อย่าสอนบ่อยบ่อยซิคะ มานั่งคิดตามแล้ว..กลัวตนเองเลย..

เราร่ายกลอนนารีปราโมท แทนร่ายยาวมหาชาติ ดีไหมคะ..
มินตรายังไม่ต้องการเป็น"ผู้ใหญ่"เลยนะ





โดย: บุษบามินตรา IP: 79.221.165.54 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:13:19:10 น.  

 
มินตรา...

พระองคุลีมาลย์ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการวางศรัทธาลงผิดที่...คือไปเชื่อคำพูดที่เป็นมิจฉาทิฏฐิจนทำให้ต้องฆ่าคนไปมากมาย...ก่อนจะมาพบเจอพระพุทธเจ้า...แล้วบรรลุอรหันต์ในที่สุด...

เหมือนคนไทยจำนวนมากมาย 80-90% ที่ไปเจอ"พระอาจารย์ต่างๆ" ที่เต็มไปด้วยแนวคิดแบบมิจฉาทิฏฐิ...ก็เคารพเชื่อฟังกราบไหว้ทำบุญจุนเจือกันไป...หนักเข้าถึงกับปวารณาตัวเป็นโยมอุปัฏฐากบรรดา"เจ้ากู" เสียเลยก็มีไม่น้อย

ซึ่งทั้งหมดก็คงตายเปล่าไม่ได้อะไรในเชิงการลดละตัวตน..หรือการบรรลุมรรผลอะไร..

เสียเวลา...เสียเงิน...เสียปกติภาพของจิตใจที่บิดเบือนไปจากวิถีที่ถูกต้อง...

สาเหตุใหญ่ย่อมมาจากตัว ศรัทธาจริต ที่มีในตนมากเกินไปซึ่งไม่เหมาะที่จะทำความเข้าใจพุทธธรรมได้อย่างถ่องแท้...

หรือพูดได้ว่าเป็นความวิปริตของทิฏฐิ(ความคิด) ที่มีที่มาจากความศรัทธาอย่างมืดบอด ไม่ใฝ่รู้ และไม่ใคร่ครวญเรื่องราวอย่างเพียงพอ...

"ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" คือเกราะหรือกระดองไว้ป้องกันตนเองของหมู่"คนเขลา"...นั่นเอง

สาธุ คุณโยม...55




โดย: สดายุ... วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:14:50 น.  

 

ดายุ..

"สาธุ คุณโยม...55"
ไม่เอานะ ไม่เห็นขำ(We are not amused)
ไม่ชอบวัดชอบวา ..เพื่อนเพื่อนวิศวะเคยห้ามเดินเฉียดวัด เกรงจะไปสึกพระหมดวัดค่ะ แทนที่จะได้บุญ กลับไปทำบาป..(เขาว่านะ)

ห้ามสดายุ บวชนะ เก็บไว้แต่งนารีปราโมช...
เอ...ปราโมทย์ หรือ ปราโมช นะคะ


โดย: บุษบามินตรา IP: 79.221.165.54 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:17:23:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.