อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ

ความคลั่งทิวลิป วิกฤตฟองสบู่ลูกแรก ๆ ในประวัติศาสตร์โลก

หลายคนอาจจะเคยอ่านบทความ เรื่องราวของ “ความคลั่งทิวลิป (Tulip Mania)” กันมาบ้างแล้ว 
                 
เหตุการณ์นี้นับเป็นฟองสบู่ลูกแรกๆ ในประวัติศาสตร์ และมีจุดเริ่มต้นในศตวรรษที่ 16 เมื่อนักเดินทางชาวตะวันตก ได้เดินทางมายังจักรวรรดิออตโตมันในคอนสแตนติโนเปิล และเกิดพบเห็นดอกทิวลิป
         นักเดินทางชาวตะวันตกต่างตกหลุมรักกับสีสันที่สวยงามของดอกทิวลิป และได้ทำการขนดอกทิวลิปจำนวนมากกลับไปฝรั่งเศส ก่อนจะค่อยๆ ลามไปยังเนเธอแลนด์ 
     ในศตวรรษที่ 17 เนเธอแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในยุโรป
 ค.ศ.1602 (พ.ศ.2145) ตลาดหุ้นกรุงอัมสเตอร์ดัมได้เปิดเป็นครั้งแรก ทำให้เศรษฐกิจยิ่งขยายตัว รวมทั้งตลาดสินค้าหรูหราก็เบ่งบานเต็มที่
         หนึ่งในสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมคือ “ดอกทิวลิป” เนื่องด้วยความสวยงามของมัน และการที่เจ้าของต้องมานั่งลุ้นว่าเมื่อมันเบ่งบานเต็มที่ สีของดอกทิวลิปจะสวยงาม หลากสีเพียงใด
         ภายในยุคค.ศ.1630 (พ.ศ.2173-2182) เหล่าคนรวยต่างก็มีความต้องการจะครอบครองดอกทิวลิป
         ภายในปีค.ศ.1636 (พ.ศ.2179) ความต้องการดอกทิวลิปก็ยิ่งขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากในขณะนั้นยังเป็นฤดูหนาว ทำให้ดอกทิวลิปยังไม่บาน
         แต่ถึงทิวลิปจะยังไม่ออกดอก หากแต่ก็ได้มีพ่อค้าในอัมสเตอร์ดัม ได้สัญญากับเกษตรกรและชาวเมือง กล่าวว่าเมื่อดอกทิวลิปบาน ยินดีจะรับซื้อดอกทิวลิปในราคาที่สูง
         เมื่อเป็นอย่างนี้ กระแสความคลั่งไคล้ดอกทิวลิปจึงยิ่งขยายเป็นวงกว้าง
         มกราคม ค.ศ.1637 (พ.ศ.2180) พ่อค้าชาวดัทช์ขายดอกทิวลิปปอนด์ละ 125 กิลเดอร์ (หน่วยเงินดัทช์ในสมัยโบราณ) แต่เพียงแค่เดือนเดียว กุมภาพันธ์ ค.ศ.1637 (พ.ศ.2180) ราคาทิวลิปกลับพุ่งไปเป็น 1,500 กิลเดอร์ 
                                                ความคลั่งดอกทิวลิป 
          
 เมื่อเรื่องเป็นอย่างนี้ ผู้คนต่างก็บ้าคลั่ง ทุกคน ทุกอาชีพ ต่างไขว่คว้า แก่งแย่ง หาดอกทิวลิปกันอย่างเอาเป็นเอาตาย และต่างเชื่อมั่นว่าตนต้องรวยเพียงชั่วข้ามคืน
         ทุกคนเชื่อว่าเมื่อฤดูใบไม้ผลิมาถึง ทิวลิปออกดอก พวกตนจะกลายเป็นเศรษฐี
         ได้มีโฆษณาฉบับหนึ่ง ได้ประกาศรับซื้อทิวลิปที่มีสีสันพิเศษ โดยให้ราคาสูงถึง 5,200 กิลเดอร์ ซึ่งเท่ากับราคาบ้านหนึ่งหลังเลยทีเดียว
         แต่แล้ว ก่อนจะถึงฤดูใบไม้ผลิ ตลาดของดอกทิวลิปก็ได้ล่มสลาย
         นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่าความล่มสลาย เกิดจากการที่นักลงทุน ได้เริ่มตระหนักว่าตลาดนี้เริ่มจะเฟ้อเกินความเป็นจริง อีกทั้งผู้ซื้อ ต่างก็เริ่มตระหนักว่าดอกทิวลิปนั้นมีราคาแพงเกินความเป็นจริง ทำให้ราคาร่วง
         แต่ถึงอย่างนั้น นักประวัติศาสตร์บางคนก็ได้ศึกษา และพบว่านักธุรกิจชาวดัทช์ที่เกี่ยวข้องกับฟองสบู่ลูกนี้ มีอยู่เพียงไม่กี่คน และไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
         ผู้ที่เดือดร้อน ได้รับผลกระทบจริงๆ คือ “เกษตรกรผู้ปลูกทิวลิป”
         เมื่อตลาดล่ม ไม่มีใครซื้อดอกทิวลิปอีกแล้ว เกษตรกรที่ปลูกดอกทิวลิปจึงไม่สามารถขายดอกไม้ของตนได้ ทำให้หลายรายล้มละลาย
         วิกฤตฟองสบู่นี้ จึงเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ฟองสบู่รายแรกๆ ของโลก และเป็นบทเรียนสอนใจนักลงทุนที่สำคัญบทเรียนหนึ่ง 

                                         References :  




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2566    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2566 11:32:26 น.
Counter : 309 Pageviews.  

อดทนหรือแค่กลัว “การเปลี่ยนแปลง”

             

รู้หรือไม่ว่าชีวิตของเราดำเนินไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของร่างกาย ลักษณะนิสัย รวมทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน จนทำให้เราไม่ได้สังเกตเท่าไหร่นัก แต่หลายคนกลัวที่จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง และออกมาจากจุดที่เราเคยยืนอยู่ 

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่หลาย ๆ คนกลัวจนเห็นได้ชัดคือ “การเปลี่ยนงาน” ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน การเปลี่ยนหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้หลายคนเลือกที่จะอดทนกับงานเดิม ๆ ที่อาจจะหมดไฟไปแล้ว หรือไม่ส่งเสริมให้คุณเติบโตในหน้าที่การงาน รวมถึงเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานที่บั่นทอนจิตใจ เพียงเพราะ “กลัวการเปลี่ยนแปลง” และกังวลในเรื่องต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้  
                  หากเราเป็นคนกลัวการเปลี่ยนแปลง มักจะมีอาการอย่างไรบ้าง  

นักจิตวิทยาเคยกล่าวเอาไว้ว่า อาการกลัวความเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยปกติแล้วคนเรามักจะกลัวการเปลี่ยนแปลงที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา เพราะไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนงานใหม่ นับเป็นสิ่งที่หลายคนกลัวเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากต้องเจอกับสังคมใหม่ ๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ทำงาน และเพื่อนร่วมงานคนใหม่ จึงทำให้หลายคนไม่กล้าออกจากที่ทำงานเดิม

ทั้งนี้อาการกลัวการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากสมองที่มีความวิตกกังวลและมีความกลัวเกิดขึ้นมา อาการกลัวการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะถือเป็นหนึ่งใน “สัญชาตญาณ” การเอาตัวรอดของมนุษย์อย่างหนึ่ง ปกติแล้วเมื่อเราเกิดความกลัวการเปลี่ยนแปลง ก็มักแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาแตกต่างกัน เช่น เมื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น มักมีอาการใจสั่น มือสั่น เหงื่อตก ไม่กล้าที่จะออกมาจากความสัมพันธ์หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี จนยอมทนอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ไม่กล้าเริ่มต้นใหม่ กังวลสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และกลัวความไม่แน่นอน 
                          ทำไมเราถึงกลัวการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการงาน? 
เชื่อได้เลยว่าคงมีเพียงไม่กี่คนที่รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ โดยส่วนใหญ่คนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้จะเป็นคนที่ทำใจมาแล้ว และเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่กลัวจนทำให้ไม่กล้าเดินออกมาจาก Comfort zone ของตนเอง สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้หลายคนกลัวการเปลี่ยนแปลงมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น “ความคุ้นเคย” เพราะเรามักจะรู้สึกคุ้นเคยกับสถานการณ์หรือสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งในเรื่องของลักษณะงานด้วยเช่นกัน ซึ่งความเคยชินเหล่านี้ส่งผลให้เราไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงหรือเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ  
อีกทั้งยังมีสาเหตุในเรื่องของความวิตกกังวล ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักจนทำให้หลายคนไม่กล้าเปลี่ยนงานใหม่ เพราะกลัวว่าจะมีปัญหาหรืออุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ส่งผลให้วิตกกังวลและคิดล่วงหน้าไปต่าง ๆ นานา ว่าจะมีผลเสียตามมามากมาย เช่น กลัวว่าเมื่อย้ายที่ทำงานใหม่แล้วจะเจอกับหัวหน้างานที่เอาเปรียบ กดขี่ข่มเหง หรือกลัวว่าจะไม่สามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ จนทำให้ยังยืนอยู่ที่เดิม ไม่เปลี่ยนงาน ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงอะไรให้ต่างไปจากเดิม  
                       วิธีจัดการกับความกลัวการเปลี่ยนแปลงให้ได้ผลมากที่สุด 

ทุกคนรู้หรือไม่ว่า อาการกลัวความเปลี่ยนแปลงจะส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจของเราได้อย่างชัดเจน เพราะเราไม่กล้าที่จะเริ่มต้นใหม่หรือเดินหน้าออกจาก Comfort zone เดิม ๆ ยิ่งเป็นเรื่องการงานด้วยแล้วล่ะก็ หากไม่กล้าเดินออกมา และทนอยู่กับงานเดิม ๆ นอกจากจะทำให้เราไม่เติบโตในหน้าที่การงานแล้ว อาจจะทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้อีกด้วย ดังนั้นไปดูวิธีจัดการกับความกลัวการเปลี่ยนแปลงให้ได้ผลมากที่สุดกันเลย

  • วางแผนอนาคตล่วงหน้า: การตั้งเป้าหมายเอาไว้ล่วงหน้า จะเป็นตัวช่วยลดความกลัวการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น เพราะจะเปรียบเสมือนกับว่าเราได้คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าแล้ว ช่วยให้สามารถเห็นภาพต่าง ๆ ได้ชัดเจน และจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น มีความกังวลในเรื่องของอนาคตน้อยลง
  • ไม่วิตกกังวลล่วงหน้า: ความวิตกกังวลหรือความกลัว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรากลัวการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งความจริงแล้วในอนาคตข้างหน้าอาจจะไม่ได้เลวร้ายเหมือนอย่างที่คิด แต่เมื่อเราวิตกกังวลไปก่อน จึงทำให้เราไม่กล้าเดินออกมาจาก Comfort zone เดิม ๆ
  • เผชิญหน้ากับความเป็นจริง: แม้ว่าเราจะกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ควรกล้าที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงด้วยเช่นกัน อย่างแรกเลยก็คือเราจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปรับตัวให้เข้ากับการสถานที่และสถานการณ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากที่สุด   
เข้าใจได้ว่าในเรื่องการเริ่มต้นใหม่ การเปลี่ยนแปลง หรือการเปิดรับอะไรใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต ถือเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คน เพราะบางคนยังไม่เคยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์เหล่านี้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดควรฝึกฝนจิตใจของตัวเองให้มีความกล้า แข็งแกร่ง เพื่อให้พร้อมต่อการเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ และค่อย ๆ ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่กดดันตัวเองหรือฝืนตัวเองมากเกินไป แนะนำให้ลองหาวิธีการปรับตัวที่เข้ากับตัวเองมากที่สุด เพื่อให้เราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด 
                 อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ OOCA (อูก้า) ปรึกษาปัญหาใจ  
 




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2566    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2566 11:18:03 น.
Counter : 253 Pageviews.  

ร้านราเมงไต้หวัน ชวนชิมเมนูใหม่ทำจากซุปไก่ท็อปด้วย “ไอโซพอดยักษ์” สัตว์ทะเลน้ำลึกหายาก

Ramen Boy ร้านราเมนชื่อดังในไต้หวัน เปิดตัวเมนูใหม่ชวนขนลุกให้ลูกค้าได้ลิ้มลองรสชาติของราเมนซุปไก่ที่ท็อปปิ้งด้วยสัตว์ทะเลหายากแสนแปลกตาอย่างไอโซพอดยักษ์ โดยจัดเสิร์ฟบนให้แบบเต็มๆ ทั้งตัวในชามราเมน 
             
ไอโซพอดยักษ์ หรือแมลงสาบทะเลยักษ์ เป็นสัตว์ทะเลน้ำลึกซึ่งอาศัยอยู่ในจุดที่อุณภูมิต่ำที่สุด และลึกสุดของทะเล รวมถึงแสงยังต้องส่องลงไปถึงตัวได้น้อยที่สุดด้วย ที่ผ่านมาอาจจะเคยมีคนนำไอโซพอดยักษ์ทำอาหารบ้าง แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่หาได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไต้หวัน ขณะที่ทางร้านเองก็ยืนยันว่าไอโซพอดยักษ์เป็นเหมือนวัตถุดิบในฝัน ที่พวกเขาเพิ่งจะได้รับมา 
                              
เจ้าของร้าน “Ramen Boy” บอกด้วยว่าต่อมสีเหลืองของไอโซพอดยักษ์มีรสชาติเหมือนน้ำพริกไข่ปู ส่วนเนื้อขาว ๆ ของไอโซพอดยักษ์นั้นต่างจากกุ้งและปู แต่โดยรวมแล้วรสชาติที่ออกมามีความสดใหม่และหวานอย่างคาดไม่ถึง แถมไม่มีกลิ่นคาวด้วย ถือเป็นความสำเร็จครั้งใหม่ในการรังสรรค์เมูราเมงขึ้นมา ส่วนราคาต่อชามอยู่ที่ 1,480 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 1,600 บาทนั่นเอง แต่ต้องจองล่วงหน้าเท่านั้นเพราะวัตถุดิบมีจำนวนจำกัด  
                       
พวกอยุ่เพื่อกิน คงชอบนะครับ18




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2566    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2566 11:08:47 น.
Counter : 336 Pageviews.  

[รีวิว] Disney’s The Little Mermaid – หนังไถ่บาปในรูปสินค้าขายดีของดิสนีย์

เรียกเสียงวิจารณ์และเหล่า Hater ได้ตลอดนับแต่วันปล่อยทีเซอร์หนัง เทรลเลอร์และภาพนิ่งจากภาพยนตร์สำหรับ ‘Disney’s The Little Mermaid’ หรือ ‘เงือกน้อยผจญภัย’ ที่มีฐานแฟนคลับจากแอนิเมชันดั้งเดิมและที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการเป็นหนี่งในสัญลักษณ์ของ LGBTQIA+ ทั้งโดยนัยและความชอบที่แผ่กระจายไปทุกเพศทุกวัย โดยเป้าหมายของการโจมตีหลัก ๆ ของหนังคือเรื่องโทนภาพที่ลดความสดใสลงและแน่นอนการแคสต์ แฮลลี เบลีย์ (Halle Bailey) นักแสดงผิวดำมาเป็นแอเรียลจนเกิดคำถามว่า ดิสนีย์พยายามตามกระแสโวค (Woke) จนเกินงามไปหรือเปล่า 
เรียกเสียงวิจารณ์และเหล่า Hater ได้ตลอดนับแต่วันปล่อยทีเซอร์หนัง เทรลเลอร์และภาพนิ่งจากภาพยนตร์สำหรับ ‘Disney’s The Little Mermaid’ หรือ ‘เงือกน้อยผจญภัย’ ที่มีฐานแฟนคลับจากแอนิเมชันดั้งเดิมและที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือการเป็นหนี่งในสัญลักษณ์ของ LGBTQIA+ ทั้งโดยนัยและความชอบที่แผ่กระจายไปทุกเพศทุกวัย โดยเป้าหมายของการโจมตีหลัก ๆ ของหนังคือเรื่องโทนภาพที่ลดความสดใสลงและแน่นอนการแคสต์ แฮลลี เบลีย์ (Halle Bailey) นักแสดงผิวดำมาเป็นแอเรียลจนเกิดคำถามว่า ดิสนีย์พยายามตามกระแสโวค (Woke) จนเกินงามไปหรือเปล่า 
ตัวหนังไม่ได้ต่างจากฉบับแอนิเมชันนักมันยังคงวนเวียนกับเรื่องราวของความรักของ แอเรียล (รับบทโดย เบลีย์) เงือกน้อยไร้เดียงสาทีมีต่อมนุษย์อย่าง เจ้าชายอีริก (รับบทโดย โจนาห์ ฮาวเออร์-คิง, Jonah Hauer-King) จนเธอหลงไปแลกเสียงของเธอกับขาเพื่อตามหารักจาก เออร์ซูลา (รับบทโดย เมลิสซา แม็กคาร์ธี, Melissa McCarthy) แม่มดหนวดปลาหมึกเพื่อวางหมากหวังจะจับแอเรียลเป็นทาสและคิดบัญชีแค้นกับ คิงไทรทัน (รับบทโดย ฮาเวียร์ บาเด็ม, Javier Bardem) โดยจุมพิตรักแท้ภายใน 3 วันจากเจ้าชายอีริกคือทางเดียวที่แอเรียลจะเป็นมนุษย์และสมหวังในความรัก 

ขอลัดไปพูดถึงการแคสต์เบลีย์เป็นเงือกน้อยตัวละครไอคอนนิคก่อนนะครับ คือถ้าให้พูดตรง ๆ ผมก็คิดว่าเธอมีคุณสมบัติเพียงพอแหละทั้งทักษะการแสดงและการร้องเพลงแบบมิวสิคัล ซึ่งทำได้ดีไม่แพ้ต้นฉบับเลย แต่…หากจะถามว่าการปรากฎตัวของเธอว้าวแค่ไหน ก็ต้องบอกตามตรงว่าธรรมดาครับ วัดง่าย ๆ จากรอบสื่อเลยเพราะทางดิสนีย์เชิญเซเลบที่เป็น LGBTQIA+ ไปเยอะมากแต่ฉากร้องเพลงใด ๆ คือกริบ ไม่มีปรบมือ ไม่มีกรี๊ดกร๊าด ถ้าให้พูดแบบถนอมน้ำใจก็คือเสมอตัวแหละครับ

และอย่างที่บอกว่าฉบับไลฟ์แอ็กชันของผู้กำกับ ร็อบ มาร์แชล (Rob Marshall) ก็เหมือนเอาแอนิเมชันสุดคลาสสิกเป็นธรรมนูญหลักในการสร้างภาพ ซึ่งมันก็คงฉากจำต่าง ๆ ไว้รวมถึงแทบจะลอกลายกันมาเป็นหนังเลยก็ว่าได้ โดยหักหลบเล่นท่าเปลี่ยนนั่นนู่นนี่บ้าง ซึ่งหนังมีการเติมตัวละครใหม่ ๆ และตัดตัวละครและบางประเด็นออก โดยต่อเนื่องจากดรามาของเบลีย์ในฐานะนางเงือกคนดำ หนังก็ให้เหตุผลในฉากชุมนุมธิดาเงือกทั้ง 7 คาบสมุทรที่ในแอนิเมชันอาจมีเงือกที่ดูเป็นคนจีนเอเซียแต่ฉบับหนังคือมีทั้งคนดำแบบแอฟริกาและเงือกอเมริกาใต้อยู่ด้วยเพื่อทำให้เงือกฉบับเบลีย์ดูมีเหตุผลรองรับ 
แต่คำสาปสำคัญของ ‘ความสมจริง’ หลายอย่างที่เราเคยประจักษ์มาแล้วจาก ‘The Lion King’ ที่ใกล้เคียงกันในแง่ของการมีสัตว์เป็นตัวละครก็คือมันต้องยอมลดทอนความน่ารักและท่าทีไม่สมจริง จนตัวละครอย่าง ฟลาวน์เดอร์ ที่พากย์โดย เจคอบ เทรมเบลย์ (Jacob Tremblay) กลายเป็นปลาเทวดา (Angel Fish) ที่ดูธรรมดาแล้วปากขยับได้ต่างจากแอนิเมชันที่น่ารักจนเป็นขวัญใจเด็ก ๆ หรือกระทั่งการตัดซีนที่เซบาสเตียน (ให้เสียงพากย์โดย ดาวีด ดิกส์, Daveed Diggs) ปูอำมาตย์ที่ต้องเอาตัวรอดจากการเป็นอาหารเสิร์ฟดินเนอร์ หนังก็ตัดออกเพื่อลดภาพความโหดร้ายหรือการทารุณกรรมสัตว์ออกไปก็ทำให้มุกตลกแบบแอนิเมชันหายไป 

แต่กระนั้นเราก็ต้องยอมรับว่าพอรูปลักษณ์ที่สมจริงของสัตว์ในเรื่องถูกลดทอนความน่ารักมุ้งมิ้งออกไป สิ่งเดียวที่จะเอาคนดูอยู่คือเหล่านักแสดงที่มาให้เสียงพากย์ซึ่งเราขอกล่าวถึง ดาวีด ดิกส์ และ อควาฟีนา (Awkwafina) ที่ให้เสียงปูอำมาตย์เซบาสเตียนกับนกแกนเน็ตช่างพูดนามว่า ‘สกัทเทิล’ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างสีสันเล่นมุกตลกกระตุ้นให้ผู้ชมหัวเราะแล้ว หนังยังให้โอกาสทั้งคู่ในการโชว์เสียงร้องทั้งเพลง ‘Under the sea’ และ ‘Kiss the girl’ ของดิกส์โดยเพลงหลังอควาฟีนาก็มีส่วนร่วมในการแจมในท่อมคอรัส

หรือที่เซอร์ไพร์สมากในเพลงแต่งใหม่อย่าง ‘The Scuttlebutt’ ที่ อลัน เมนเคน (Alan Menken) ที่เคยทำดนตรีให้แอนิเมชันต้นฉบับกลับมาคุมดนตรีแล้วให้ ลิน-มานูเอล มิแรนดา (Lin-Manuel Miranda) ตัวจริงสายบรอดเวย์มาแต่งเนื้อร้อง ซึ่งที่บอกเซอร์ไพร์สก็เพราะว่านี่คือเพลงแรป-ใช่ครับฟังไม่ผิด แทร็กนี้ไม่อยู่ในแอนิเมชันต้นฉบับเพราะเป็นตอนสกัทเทิลมาบอกข่าวเจ้าชายแต่งงานให้กับแอเรียลได้รู้ในตอนท้าย ซึ่งถือเป็นการใช้ประโยชน์จากความเป็นแรปเปอร์ของเธอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพลงก็มันจนอดโยกหัวตามไม่ได้เลย 

ส่วนเพลงโดยรวมทั่วไปก็ถือว่าทำได้ดีตามมาตรฐานของเมนเคนครับ เพลงเดิมแต่ปรับดนตรีให้อลังการขึ้น มีการเล่นกับการบันทึกเสียงที่ทันสมัยขึ้นโดยเฉพาะการออกแบบซาวด์ในเพลง ‘Kiss the girl’ ที่มีการใช้โฟลีย์เลียนเสียงธรรมชาติมาประกอบงานภาพได้ลงตัว แต่นอกจากเพลงแต่งใหม่อย่าง ‘The Scuttlebutt’ แล้วก็ต้องบอกว่า เมนเคนเพลย์เซฟมากไปหน่อยครับ

เอาล่ะหลังจากอ้อมไปเขียนเรื่องอื่นตั้งนานทีนี้มาคำถามสำคัญว่าตกลงคราวนี้การที่แคสต์คนผิวดำมาเป็นนางเงือกทำให้เห็นว่าดิสนีย์โวค (Woke) หรือเปล่า ให้ตอบแบบเป็นธรรมก็ต้องบอกว่ามันไม่ได้พยายามยัดเยียดอย่างที่หลายคนเข้าใจหรอกครับ ตามที่ได้บอกไปแล้วว่านี่คือการพยายามทำให้ภาพจากแอนิเมชันมาอยู่ในรูปแบบไลฟ์แอ็กชันแล้วสมจริง รวมถึงการพยายามหาแง่มุมใหม่ ๆ เพื่อมาสร้างเรื่องเล่าที่ตอบโจทย์กับสังคมในปัจจุบัน

ดังนั้นหลังจากได้สร้างภาพนางเงือกที่ถูกบรรยายในหนังสือ ฮานส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซ่น (Hans Christian Andersen) ว่า ‘มีรูปโฉมงดงามที่สุดในบรรดาพี่น้องสาวสวยทั้ง 7’ เป็นเงือกผิวขาวผมแดง (ที่ต้องผมแดงเพราะดิสนีย์เคยเจ๊งจากหนังนางเงือกอย่าง ‘Splash’ มาก่อนซึ่งนางเอกเป็นเงือกมีผมบลอนด์) ดังนั้น การรับรู้ความงาม (Beauty Perception) ของผู้ชมในปี 1989 กับปี 2023 ย่อมต่างกันโดยเฉพาะการเปิดกว้างเรื่องความงามและมันก็อนุญาตให้ผู้สร้างเติมช่องว่างเรื่องสีผิวที่นิยายต้นฉบับก็ไม่ได้บรรยายไว้อีกด้วย 




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2566    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2566 10:57:02 น.
Counter : 315 Pageviews.  

(บทความพิเศษ) หรือ Metaverse จะมาถึงตอนอวสานแล้ว ?

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หลาย ๆ คนคงต้องได้รู้จักกับคำว่า ‘Metaverse’ (เมตาเวิร์ส) กันจนหนาหูแน่นอน ผ่านมาจนถึงปี 2023 คำว่าเมตาเวิร์สค่อย ๆ หายไปจากวงการเทคโนโลยี ตอนนี้เมตาเวิร์สไปไหนแล้ว หรือว่าเมตาเวิร์สจะมาถึงตอนอวสานแล้วกันแน่ ?

เรื่องทั้งหมดมันเริ่มขึ้นตั้งแต่มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อบริษัทของตัวเองจาก Facebook Inc. ไปเป็น Meta Inc. เมื่อเดือนตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา ในตอนนั้น มาร์คคิดว่า Facebook หรือ Meta ในตอนนั้น ไม่ใช่บริษัทที่เกี่ยวกับ Social Media อย่างเดียวอีกต่อไป แต่เป็นการเข้าสู่ยุคของโลกเสมือนหรือ Metaverse มากขึ้น 
                         The Hype Train – เมื่อยักษ์ใหญ่เริ่ม ก็ต้องมีคนตาม  

หลังจากที่ซักเคอร์เบิร์กได้ตัดสินใจเบนเข็มบริษัททั้งหมดไปสู่ Metaverse อย่างเต็มตัว ก็ได้สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั้งวงการเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ เพราะซักเคอร์เบิร์กเองก็มั่นหมายในเมตาเวิร์สของเขาหนักมาก ถึงขนาดเคยบอกว่า “เมตาเวิร์สน่ะ คืออนาคตของอินเทอร์เน็ต”

ในงาน Facebook Connect 2021 ที่เฟซบุ๊กได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทอย่างเป็นทางการ ก็ได้มาพร้อมกับคลิปวิดีโอโปรโมตสวยหรู ที่เราจะสามารถพูดคุยกันได้ในโลกจำลอง (Virtual Worlds) กันแบบไร้รอยต่อ ผู้ใช้ที่ได้เข้าโลกเมตาเวิร์สก็จะได้ทั้ง “จ้องตากันได้” หรือจะ “รู้สึกได้ว่าอยู่ในห้องเดียวกัน” รวมทั้งเมตาเวิร์สจะทำให้คนรู้สึกได้ถึงประสบการณ์ที่ ‘สมจริง’ (Immersive) ที่มากขึ้นได้ไปพร้อม ๆ กัน

และนั่นทำให้คนทั้งโลกตื่นตัวเรื่องเมตาเวิร์ส หรือ ‘จักรวาลนฤมิต’ ตามคำที่ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติคำไทยของเมตาเวิร์สหลังจากที่มาร์คเปลี่ยนชื่อบริษัทได้ประมาณ 4 เดือน นั่นแปลว่าคนไทยเองก็ให้ความสนใจในเรื่องของเมตาเวิร์สอยู่ไม่น้อย หลาย ๆ คนมองว่า เมตาเวิร์สนี่แหละคืออนาคตของอินเทอร์เน็ต (รวมถึงผู้เขียนที่ตัดสินใจทำวิทยานิพนธ์ปริญญาตรีเรื่องนี้เช่นกัน) 

แน่นอนว่าพอมีคนเริ่ม ก็ต้องมีคนตาม โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่าง ‘เมตา’ ที่ในตอนนั้นเริ่มขยับตัวเข้าสู่การพัฒนาเมตาเวิร์สอย่างเต็มตัว ทำให้มีคนเริ่มสนใจ ลงทุน หรือผลิตเมตาเวิร์สในแบบของตัวเองขึ้นมา รวมถึงในไทยเอง ที่มีคนตัดสินใจลงมาเล่นกับเทรนด์เมตาเวิร์สเยอะพอสมควรเลย เช่น ทรานส์ลูเซีย (Translucia Metaverse), แอนิเวิร์ส เมตาเวิร์ส (Aniverse Metaverse), เมตาโพลิส (Metapolis), MQDC Idyllias หรือกระทั่ง ออมสินเมตาเวิร์ส เป็นต้น

แต่ดูเหมือนว่าต่อให้เมตาเวิร์สเป็นคำที่เป็นที่นิยม เป็นเทรนด์ที่มาแรงมาก ๆ ในตอนนั้น แต่กลับกลายเป็นว่าคำว่าเมตาเวิร์สกลับค่อย ๆ หายจากพื้นที่สื่อ และหายไปจากความสนใจของผู้คน

ในตอนที่เมตาได้เปลี่ยนชื่อบริษัท ก็ได้เปิด ‘ที่ทำงานจำลอง’ ที่ชื่อ ฮอไรซอนเวิร์ครูม (Horizon Workrooms) ซึ่งแม้ว่าคอนเซ็ปต์หลักของการสร้างห้องประชุมจำลองในตอนนั้นถือว่าทำได้ดีมาก แต่กลายเป็นว่า Horizon Workrooms เป็นเหมือนกับเกมโลกเสมือนที่หน้าตาธรรมดา และเพิ่มหน้าจองานเข้าไปแทน ในมุมมองของหลาย ๆ คนก็มองว่าเป็นอะไรที่ไม่จำเป็นเอาได้หรือเปล่า โดยเฉพาะจากที่เราสังเกตกันในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 เทรนด์การทำงานที่บ้านเข้ามา แต่ไม่ได้มาในรูปเมตาเวิร์ส แต่มาในรูปแบบ Zoom !

กลายเป็นว่า การทำงานในคอมพิวเตอร์ที่บ้านแบบธรรมดา แต่มีโปรแกรมประชุมออนไลน์ที่สามารถเข้าได้พร้อมกันหลาย ๆ คนอย่าง Zoom, Google Meet, Microsoft Teams แทน และที่ทำงานจำลอง ที่ไม่ได้มีแค่ Horizon Workrooms แต่รวมไปถึง Gather.town ซึ่งคนสนใจเพียงชั่วครู่เท่านั้นเอง

                                                                                                                         

แน่นอนว่าพอมีคนเริ่ม ก็ต้องมีคนตาม โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่าง ‘เมตา’ ที่ในตอนนั้นเริ่มขยับตัวเข้าสู่การพัฒนาเมตาเวิร์สอย่างเต็มตัว ทำให้มีคนเริ่มสนใจ ลงทุน หรือผลิตเมตาเวิร์สในแบบของตัวเองขึ้นมา รวมถึงในไทยเอง ที่มีคนตัดสินใจลงมาเล่นกับเทรนด์เมตาเวิร์สเยอะพอสมควรเลย เช่น ทรานส์ลูเซีย (Translucia Metaverse), แอนิเวิร์ส เมตาเวิร์ส (Aniverse Metaverse), เมตาโพลิส (Metapolis), MQDC Idyllias หรือกระทั่ง ออมสินเมตาเวิร์ส เป็นต้น

แต่ดูเหมือนว่าต่อให้เมตาเวิร์สเป็นคำที่เป็นที่นิยม เป็นเทรนด์ที่มาแรงมาก ๆ ในตอนนั้น แต่กลับกลายเป็นว่าคำว่าเมตาเวิร์สกลับค่อย ๆ หายจากพื้นที่สื่อ และหายไปจากความสนใจของผู้คน

ในตอนที่เมตาได้เปลี่ยนชื่อบริษัท ก็ได้เปิด ‘ที่ทำงานจำลอง’ ที่ชื่อ ฮอไรซอนเวิร์ครูม (Horizon Workrooms) ซึ่งแม้ว่าคอนเซ็ปต์หลักของการสร้างห้องประชุมจำลองในตอนนั้นถือว่าทำได้ดีมาก แต่กลายเป็นว่า Horizon Workrooms เป็นเหมือนกับเกมโลกเสมือนที่หน้าตาธรรมดา และเพิ่มหน้าจองานเข้าไปแทน ในมุมมองของหลาย ๆ คนก็มองว่าเป็นอะไรที่ไม่จำเป็นเอาได้หรือเปล่า โดยเฉพาะจากที่เราสังเกตกันในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 เทรนด์การทำงานที่บ้านเข้ามา แต่ไม่ได้มาในรูปเมตาเวิร์ส แต่มาในรูปแบบ Zoom !

กลายเป็นว่า การทำงานในคอมพิวเตอร์ที่บ้านแบบธรรมดา แต่มีโปรแกรมประชุมออนไลน์ที่สามารถเข้าได้พร้อมกันหลาย ๆ คนอย่าง Zoom, Google Meet, Microsoft Teams แทน และที่ทำงานจำลอง ที่ไม่ได้มีแค่ Horizon Workrooms แต่รวมไปถึง Gather.town ซึ่งคนสนใจเพียงชั่วครู่เท่านั้นเอง

และนี่คือสัญญาณแรกเท่านั้น  
                            Identity Crisis – ปัญหาด้านตัวตนของเมตาเวิร์ส  

ในขณะเดียวกัน เมตาเวิร์สก็เจอกับปัญหาด้านอัตลักษณ์อย่างหนักตั้งแต่เริ่มเลย จากบทความในประเด็นเดียวกันนี้ของ Business Insider บอกว่าสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อ และประสบความสำเร็จได้จะต้องประกอบไปด้วย : การใช้งานที่ชัดเจน, กลุ่มเป้าหมาย และความต้องการของลูกค้าที่อยากจะ ‘ย้าย’ มาใช้สินค้านั้น ๆ โดยในตอนนั้น มาร์ค ซักเคอร์เบิร์กก็ได้ยืนยันว่า เมตาเวิร์สจะเป็นวิสัยทัศน์ของบริษัทอื่น ๆ ต่อไป และเป็นถึง ‘ขั้นต่อไปของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบพกพา’ เลยก็ว่าได้ แต่เอาจริง ๆ เมตาเวิร์สยังไม่สามารถตอบคำถามเรื่องส่วนประกอบก่อนหน้านี้ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

ถ้าพูดกันจริง ๆ แล้ว คอนเซ็ปต์ของความเป็น ‘โลกเสมือนที่จะให้แต่ละคนเข้าสู่โลกจำลอง และมีปฏิสัมพันธ์ด้วยตัวละครที่สร้างขึ้นเอง’ นั้นถือเป็นคอนเซ็ปต์ที่เก่ามาก ๆ แล้ว ย้อนไปจนถึงยุคของเกมออนไลน์สมัยก่อน ถ้าแกนกลางของเมตาเวิร์สคือสิ่งนั้นแล้ว Ragnarok Online เองก็ไม่ได้ต่างกันนัก

แม้เมตาเวิร์สในตอนนี้จะยังเป็นโครงค่อนข้างมาก แต่ผลงานที่เข้าใกล้เมตาเวิร์สของซักเคอร์เบิร์กอย่าง Horizon Worlds (ฮอไรซอน เวิลส์) โลกเสมือนที่ต้องใช้แว่น VR หนาเตอะในการเข้าร่วม (ซึ่งตอนนี้ราคาก็ยังแรงจนเข้าถึงทุกคนไม่ได้) ก็ยังไม่ได้ทำอะไรที่เข้าใกล้วิสัยทัศน์ที่มาร์ควางเอาไว้เลย 
                                 Emerging Martet ? – ตลาดใหม่จริงหรือเปล่า ?   

อย่างที่อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ว่าเมตาเวิร์สนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มาก (และเก่าไปพร้อม ๆ กัน) และยิ่งมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ตัดสินใจลงมาเล่นเรื่องนี้ และมุ่งพัฒนาเมตาเวิร์สของตัวเองแล้ว ก็มีคนตามอย่างต่อเนื่องเลย และหลาย ๆ ผู้ผลิตก็ตัดสินใจลงมาเล่นโดยที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบถึงแกนหลักของเมตาเวิร์สด้วยซ้ำไป

สัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) CEO ของ Microsoft เคยพูดในการประชุม Ignite Conference ของบริษัทในปี 2021 ที่ผ่านมา ว่าเขาไม่สามารถพูดได้เลยว่า Metaverse เป็นความก้าวหน้ามากแค่ไหน สำหรับ Microsoft, อุตสาหกรรมไอที และโลกใบนี้

นอกจากนั้นก็มีคนพยายามเข้าตลาดเมตาเวิร์สกันเรื่อย ๆ รวมถึงคนในวงการสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ด้วย เช่น Bored Ape Yacht Club NFT ที่พยายามจะทำเมตาเวิร์สของตัวเอง ด้วยการเอาตัว ‘NFT ลิง’ ของแต่ละคนใส่เข้าไปในนั้น (แม้ในตอนนี้จะยังไม่เห็นผลเป็นรูปเป็นร่างก็ตาม) และคนในวงการอื่น ๆ ก็เลือกที่จะนำเอาคริปโทเคอร์เรนซีเข้าไปผสมกับเมตาเวิร์ส ออกมาเป็น NFT ที่ดินในเมตาเวิร์ส หรือ สกุลเงินดิจิทัลในเมตาเวิร์ส เป็นต้น

หรือแม้แต่ธุรกิจที่อาจจะไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเลยอย่าง Disney ก็เคยก่อตั้งแผนกเมตาเวิร์สในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เพื่อวิจัย และสร้างวิธีการใหม่ ๆ สำหรับสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมดิสนีย์ด้วยรูปแบบที่แปลกใหม่ และก็ถูกปิดตัว และเลิกจ้างทีมงานไป 50 คนในปี 2023 นี้เอง และ Walmart ที่เปิดตัว WMT Metaverse เป็นเมตาเวิร์สของตัวเอง แถมเตรียมจะขายเหรียญคริปโทฯ ของตัวเอง และทำตลาด NFT ของตัวเองด้วย ! แต่นั่นเป็นข่าวตั้งแต่เมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมา และไม่มีอัปเดตอีกเลย

เรียกได้ว่าบริษัทต่าง ๆ ในระดับโลก ต่างพยายามเข้าสู่ ‘ตลาดใหม่’ อย่างเมตาเวิร์สนี้ และการที่มีคนเริ่มลงมือเยอะแบบนี้ ทำให้นักวิเคราะห์ตลาดหลายคนมองว่านี่แหละคือตลาดใหม่ อย่างบริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุน การ์ตเนอร์ (Gartner) อ้างว่าคนกว่า 25% จะเข้าไปใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงต่อวันใน Metaverse ภายในปี 2026 นี้, หรืออย่าง The Wall Street Journal ก็ออกรายงานว่า Metaverse จะเปลี่ยนวิธีการทำงานของเราไปตลอดกาล, หรืออย่างซิตี้ (Citi) ที่ได้จัดทำรายงานขนาดใหญ่ที่ประกาศว่า Metaverse จะเป็นโอกาสในการสร้างเม็ดเงินได้ถึง 13 ล้านล้านเหรียญเลยทีเดียว

แม้เมตาเวิร์สจะเป็นเหมือนตลาดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเพื่อเป็น ‘อนาคต’ ของวงการเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าเราข้ามเวลามาถึงตอนนี้ (พฤษภาคม 2023) ก็ต้องเกิดคำถามกันแน่ ๆ ว่า…
                     Where is it now ? – แล้วตอนนี้เมตาเวิร์สหายไปไหนแล้ว ?  

ช่วงกลางปีที่แล้ว (2022) Meta, Microsoft รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีอีกหลายบริษัทได้รวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมเมตาเวิร์ส โดยมีเป้าหมายในการสร้างโลกดิจิทัลที่แต่ละโลกสามารถเข้ากันได้ (compatible) ในนาม Metaverse Standard Forum และสร้างมาตรฐานในการทำงานที่ต้องร่วมมือกัน แต่โดยพื้นฐานแล้วก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่าสรุปแล้วเมตาเวิร์สที่เป็น ‘มาตรฐานกลาง’ นั้นจะต้องเป็นแบบไหนกันแน่

อย่างที่เคยบอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า แกนหลักของเมตาเวิร์ส (อย่างน้อยก็จนถึงตอนนี้) นั้นยังไม่ได้มีความต่างจาก ‘เกมออนไลน์’ ที่สามารถซื้อ ‘ที่ดินในเกม’ ด้วย ‘สกุลเงิน’ ของเกมนั้น ๆ และคอนเซ็ปต์นี้ของเกมออนไลน์ต่าง ๆ (โดยเฉพาะเกม MMORPG เช่น Black Desert Online หรือ Albion Online) ก็เป็นสิ่งที่มีมานานมาก จนทำให้เมตาเวิร์สที่มาใหม่นี้ ไม่ได้ใหม่อย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิด

และทั้งหมดนั้นนำไปสู่ความ ‘ร้าง’ ของเมตาเวิร์ส 

DappRadar ผู้ให้บริการเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับเกม ได้บอกข้อมูลจำนวนผู้ใช้งาน (Active User) รายวันของ Decentraland หนึ่งในเมตาเวิร์สที่ชื่อดังที่สุดของโลก มีคนสนับสนุนมาก ไร้ตัวกลาง แถมยังมีพื้นฐานบนคริปโทเคอร์เรนซี ที่ 38 ราย และ The Sandbox เมตาเวิร์สชื่อดังอีกแห่ง มีผู้ใช้รายวัน 522 ราย เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา (2022) นี้เอง แม้ทาง Decentraland จะออกมาทวิตบอกว่า ยอดผู้ใช้งานรายวันนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง และได้รายงานยอดด้วยตัวเองออกมาว่าตอนนั้นมีคนใช้อยู่ถึง 56,697 ราย ตลอดทั้งเดือนนั้น และมีผู้ใช้ต่อวันช่วงนั้นอยู่ที่ประมาณ 8,000 รายก็ตาม

ทาง Decentraland บอกว่าถ้าอยากดูข้อมูลผู้ใช้ให้เข้าไปดูบนเว็บไซต์ dcl-metrics.com แต่จากที่ผู้เขียนได้ลองไปดูในวันนี้ (24 พฤษภาคม 2023) ก็พบว่าผู้ใช้ในวันนี้มีอยู่แค่ 455 รายเท่านั้นเอง !

ช่วงครึ่งปีหลังของปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงที่แสดงสัญญาณถึงขาลงของเมตาเวิร์สเลยก็ว่าได้ เช่น วิทาลิก บูเทอริน (Vitalik Buterin) ผู้ร่วมก่อตั้งอีเธอเรียม (Ethereum) เหรียญคริปโทอันดับ 2 ของโลก ไม่เชื่อว่าความพยายามที่จะสร้างเมตาเวิร์สทั้งหมดที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้จะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะเมตาเวิร์สของเมตา, ที่ดินในเมตาเวิร์สราคาลดลงกว่า 85% แถมปริมาณซื้อขายลดลงอย่างมากตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

และจุดแตกหักก็มาถึง เมื่อเมตา ได้เผยภาพแรกของเมตาเวิร์สที่เมตาสร้างขึ้นเองกับมืออย่าง Horizon Worlds พร้อมอวทาร์ ของเขาเองแล้วภาพที่ออกมานั้น… 
             ภาพแรกของ Horizon Worlds ‘เมตาเวิร์ส’ ในแบบของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก  

ซึ่งหลังจากที่ภาพนี้ออกสู่สายตาชาวโลก ก็สร้างกระแส (ในทางลบ) ให้กับเมตา และเมตาเวิร์สในภาพรวมขึ้นมาทันที เพราะขนาดเจ้าที่เป็นผู้นำอย่างเมตา ยังไม่สามารถทำเมตาเวิร์สให้ออกมาดีได้ หลาย ๆ คน (โดยเฉพาะคนเล่นเกม) ก็จะมอง Horizon Worlds เป็นเกมที่กราฟิกดูเก่าเกินกว่าจะเป็น ‘โลกเสมือน’ หรือ ‘จักรวาลนฤมิต’ ที่หลาย ๆ คนวาดฝันเอาไว้ ซึ่งแม้แต่ผู้บริหารของ Meta ยังบอกเลยว่า แอปเมตาเวิร์สของเมตานั้นบั๊กเยอะเกินไป แม้แต่ทีมพัฒนายังใช้งานไม่มากเท่าที่ควร โดย The Wall Street Journal เองก็รายงานว่า มีแค่เพียงประมาณ 9% ของโลกใน Horizon Worlds ที่ผู้ใช้สร้างขึ้นแค่นั้น ที่ถูกเยี่ยมชมโดยผู้เล่นมากกว่า 50 คนนั่นแปลว่าแม้แต่เมตาเองก็ไม่อาจจะดึงคนให้เข้ามาใช้เมตาเวิร์สของเขาได้เลย และอีกไม่นานต่อมา (ตุลาคม 2022) หุ้นของบริษัท Meta ก็ร่วงลงไปถึง 24% ซึ่งนับเป็นจุดต่ำสุดตั้งแต่ปี 2016 ที่ผ่านมาเลย

และยังเคราะห์ซ้ำ กรรมซัดยิ่งขึ้นอีก เมื่อเมตาเวิร์สต้องเผชิญกับ ‘คลื่นลูกใหม่กว่า’ ที่จะเข้ามาซัดใส่เมตาเวิร์สที่ไม่มีเสถียรภาพอยู่แล้ว ให้สั่นคลอนยิ่งขึ้นไปอีก อย่าง ‘AI’ 
                           AI : The ‘newer’ wave – ผู้ปิดฉากเมตาเวิร์สที่แท้จริง  

ในขณะที่เมตาเวิร์สกำลังอยู่ในช่วงซบเซาอย่างมาก ผู้ท้าชิงใหม่อย่าง OpenAI หน่วยงานวิจัยที่ได้ศึกษา และพัฒนา AI ที่เป็นมิตร ก็ได้ออก ‘AI’ ที่เขย่าวงการเทคโนโลยีในช่วงปลายปี 2022 อย่าง DALL-E ที่แค่พิมพ์คำอธิบายเข้าไป ก็ออกมาเป็นภาพวาดได้ และ ChatGPT โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ถูกฝึกมาเพื่อตอบคำถามทุกอย่างที่เราพิมพ์ใส่เข้าไปให้ได้ จากข้อมูล, ความน่าจะเป็นที่คาดเดาคำตอบให้เราได้ ซึ่งจะสามารถตอบคำถามได้หลายอย่างมาก ๆ โดยไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังมี MidJourney ที่สามารถสร้างภาพวาดจากคำที่เรากำหนดให้มันได้ แถมยังทำได้ง่าย ๆ ผ่าน DIscord อีกด้วย

ซึ่งการเข้ามาของ AI นี้ก็ได้เบนเข็มความสนใจของผู้คนออกจากเมตาเวิร์ส ไปตามทาง AI เหล่านี้อย่างรวดเร็ว ถ้าใครได้ตามอ่านข่าวอยู่เรื่อย ๆ จะพบว่า ChatGPT ล่มบ่อยมากในช่วงที่บูม หรือกระทั่งจนมาถึงทุกวันนี้ คนก็ได้ให้ความสนใจกับ AI อย่างมากด้วย

ซึ่งจากก่อนหน้านี้ ปัจจัยที่จะทำให้สินค้านั้น ๆ ประสบความสำเร็จอย่างการใช้งานที่ชัดเจน, กลุ่มเป้าหมาย และความต้องการของลูกค้าที่อยากจะ ‘ย้าย’ มาใช้สินค้านั้น ๆ ในขณะที่เมตาเวิร์สยังไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ดีนัก AI ที่เข้ามาใหม่สามารถตอบโจทย์สิ่งเหล่านั้นได้ทั้งหมด

  • การใช้งานของ AI นั้นชัดเจน แต่ละ AI มีวัตถุประสงค์ในการสร้างที่ชัดเจนมาก ๆ ตั้งแต่ตอนสร้างมา เช่น ChatGPT มีไว้เพื่อตอบคำถาม, MidJourney มีไว้เพื่อสร้างภาพจากคำที่กำหนด เป็นต้น
  • กลุ่มเป้าหมายของ AI เองแม้จะยังไม่ชัดเจนมาก แต่ก็สามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายของตัวเองที่ชัดเจนขึ้นมาได้ อยู่ที่ผู้ใช้เลยว่าจะนำ AI เหล่านั้นไปใช้ในทางไหน
  • แต่จุดสำคัญอยู่ตรงที่ ผู้ใช้แต่ละคนนั้นรู้ว่าเพราะอะไรถึงจะอยากย้ายมาใช้ AI เหล่านี้ ด้วยความสามารถ, กรณีที่จะใช้งานได้ (Use Case), และความสามารถในการแก้ปัญหาของ AI ที่ทำให้สั่นคลอนหลายวงการ จนเกิดคำถามว่า AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานของเราแล้วจริง ๆ หรอ ? ขึ้นมา

เมื่อเทรนด์ใหม่ ที่สามารถครองใจผู้คนได้เข้ามา ทำให้เทรนด์เก่าอย่างเมตาเวิร์ส ที่แม้ตอนนี้จะยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างเงียบ ๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการลดหายไปเยอะอย่างน่าเหลือเชื่อ มีหลากหลายบริษัทที่กระโดดเข้ามาทำเรื่องนี้ ได้กระโดดออกไปแล้ว อย่างเช่น Walmart ที่ก่อนหน้านี้จะทำเมตาเวิร์สของตัวเอง ก็ได้ปิดเมตาเวิร์ส (ที่เปิดให้เล่นในเกม Roblox) ซึ่งเปิดมาได้แค่ 6 เดือนเท่านั้น และยังไม่ได้นับรวมถึง Disney ก่อนหน้านี้ที่มีการปิดแผนกเมตาเวิร์สและปลดคนไปแล้วด้วย ซึ่งทำใก้เกิดเป็นเทรนด์การปลดคนระลอกหนึ่งเลยก็ว่าได้

แม้กระทั่งเมตาเอง ที่โดนผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งหุ้นตก, มูลค่าทรัพย์สินของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ลดลง หรือกระทั่งเมตาเวิร์ส Horizon Worlds ที่ยังไม่เห็นภาพการพัฒนาที่มากกว่าที่เคยเห็นภาพกัน ก็ตัดสินใจค่อย ๆ ‘ถอยห่าง’ ออกจากเมตาเวิร์สแล้ว แล้วก็ไปทุ่มทุนกับ AI ต่อแทน โดยซักเคอร์เบิร์ก ได้บอกเองเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า “การลงทุนที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของเราคือการทำให้ AI ก้าวหน้าให้มาก และนำ AI เหล่านั้นเข้ามาใส่ในผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นของเราให้ได้” รวมถึงเลิกเสนอเรื่องเกี่ยวกับเมตาเวิร์สในการประชุมกับผู้ลงโฆษณาต่าง ๆ แล้ว แต่ไปเน้นเรื่องการทำวิดีโอแบบสั้น (Reels) และไปเน้นย้ำเรื่องการใช้งานเครื่องมือ AI ของเมตาแทน แม้จะลงทุนไปแล้วมหาศาลเลยก็ตาม แม้จะยังไม่มีการรายงาน หรือแถลงออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ก็คงสรุปได้ไม่ยากว่า เมตาน่าจะเลิกสนใจในเมตาเวิร์สไปแล้ว

                        The Epilogue (?) – บทสรุปส่งท้าย (?)  

แม้ท้ายที่สุดแล้วเมตาจะตัดสินใจถอยห่างออกจากเมตาเวิร์สอย่างช้า ๆ แต่นั่นก็อาจจะเป็นเพราะเมตาเวิร์สยังคงมีปัญหาด้านการหาตัวตนในแบบของตัวเอง แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จนถึงตอนนี้ หลาย ๆ เจ้าที่เริ่มลงทุนลงแรงในเมตาเวิร์ส และยังไม่ถอยห่างออกมา ก็อาจจะยังซุ่มพัฒนาเมตาเวิร์ส ‘ในแบบของตัวเอง’ อยู่ก็ได้

ซึ่งแม้ในภาพรวม บทสรุปของเมตาเวิร์สอาจจะจบลงไปแล้ว แต่อีกหลายเจ้าที่ยังคงดำเนินการสร้าง หรือเปิดให้บริการอยู่ เช่นรายใหญ่อย่าง Decentraland, The Sandbox หรือกระทั่งเมตาเวิร์สในไทยที่ได้ยกตัวอย่างเอาไว้ก่อนหน้านี้ อาจจะประสบความสำเร็จก็ได้ เมื่อเราสามารถหาลู่ทางให้คนมาใช้ และหา ‘เหตุผลในการย้าย’ ให้กับผู้ใช้ได้

บางคนอาจจะมองว่าเรื่องราวของเมตาเวิร์สนั้นจบลงไปแล้ว บางคนอาจจะมองว่าเมตาเวิร์สยังอยู่อีกนาน และบางคนก็อาจจะบอกว่านี่เพิ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น

แต่ในมุมมองของผู้เขียนเองนั้นสามารถมองได้ 2 มุม

  • ตอนนี้โลกของเรายังไม่พร้อมสำหรับ ‘เมตาเวิร์ส’ ด้วยปัญหาด้านตัวตนที่บอกมาก่อนหน้านี้ ทำให้ภาพเมตาเวิร์สในมุมของนักลงทุน, นักธุรกิจ ไปจนถึงผู้สร้างเอง ยังไม่เป็นรูปธรรมมากพอ และติดกับดักภาพจำเกมออนไลน์แทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกมออนไลน์ทำ ‘เมตาเวิร์ส’ ของตัวเองได้ดีกว่าที่หลายคนประกาศว่าจะทำเสียอีก (ลองดู Final Fantasy XIV เกมที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2013 หรือสิบปีที่แล้ว และยังให้บริการถึงตอนนี้ ยังให้ภาพ Metaverse ที่มีสีสัน มีเนื้อหา มีอะไรทำ มีวัตถุประสงค์มากกว่าสิ่งที่ประกาศว่าเป็น Metaverse อีก)
  • เมตาเวิร์สตอนนี้อาจจะยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น และแม้จะผ่านมานานหลายปีแล้วก็ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่เดิมอยู่ ถ้าเรายังหาเหตุผลให้คนต้องลงทุนซื้อแว่น VR ราคาหลักหมื่นบาท รวมไปถึงไม่เดินทางออกไปไหน อยู่แต่ที่บ้าน ไม่ต้องออกไปทำงาน (เพราะทำในเมตาเวิร์ส) หรือไม่ต้องใช้ชีวิตนอกบ้านอีกแล้ว อยู่แต่ในเมตาเวิร์ส เสมือนเป็นโลกใบที่ 2 ของเราไปเลย (ตามภาพจำแนวภาพยนตร์ Ready Player One) เมตาเวิร์สอาจจะมีเหตุผลให้มีอยู่ก็เป็นได้

โดยสรุปแล้ว ถ้าถามว่าเมตาเวิร์สมาถึงตอนอวสานแล้วหรือยัง ? คงต้องตอบว่า ถ้าในตอนนี้เมตาเวิร์สยังหาตัวตน หาเหตุผลให้คนย้ายจากสิ่งที่เขาใช้อยู่เดิม มาอาศัยในเมตาเวิร์สแทนไม่ได้ เมตาเวิร์สก็ยังไม่อาจจะก้าวหน้าไปกว่านี้ และนำไปสู่ ‘อนาคตของอินเทอร์เน็ต’ ได้




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2566    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2566 10:41:35 น.
Counter : 320 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.