อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
วิธีรับมือเพื่อยื้อชีวิต! วูบหมดสติจากหัวใจหยุดเต้น ไม่เป็นโรคหัวใจก็เกิดได้ แม้อายุน้อย

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันตามชื่อ เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณหรืออาการบอกล่วงหน้า เมื่อหัวใจที่มีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดหยุดเต้นจะทำให้ความดันเลือดภายในร่างกายตกลง ระบบอวัยวะที่ต้องการเลือดไปเลี้ยงก็จะหยุดทำงานตามไปด้วย โดยเฉพาะสมอง ผลที่ออกมาคือการวูบหมดสติและล้มลงไป

หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอย่างเหมาะสมหรือการรักษาที่ทันเวลาอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะนี้ยังอันตรายมาก เพราะเมื่อสมองขาดเลือดและออกซิเจนจะทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย และเป็นอัมพาต

ภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เราเข้าใจกันมักจะเป็นโรคของคนสูงวัยที่มีโรคประจำตัว แต่ภาวะนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าคุณจะอายุน้อยก็อาจมีความเสี่ยงของภาวะนี้ด้วยเหมือนกัน การรู้จักกับภาวะนี้และวิธีปฐมพยาบาลจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้  
                               สาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน  

สาเหตุหลักที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมาจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติด้วยสาเหตุต่าง ๆ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นรัว และหยุดเต้น คนที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้มากกว่า อย่างโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน โรคหัวใจโต โรคลิ้นหัวใจรั่ว และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

แต่อย่างที่ได้บอกไปว่าต่อให้คุณไม่ได้มีโรคหัวใจ คุณก็อาจมีความเสี่ยงได้เหมือนกัน หากมีปัจจัยต่อไปนี้  

  • สูบบุหรี่ ดื่มหนัก ใช้สารเสพติด
  • มีโรคประจำตัว โรคอ้วน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต
  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • คนในครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
  • ผู้ชายเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง     
นอกจากโรคหัวใจและปัจจัยเหล่านี้แล้ว บางคนอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจแฝงอยู่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งรู้อีกทีก็เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว 

          รับมือภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเพื่อยื้อชีวิต 

แม้ว่าเคสส่วนใหญ่จะไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า แต่ในบางคนอาจพบอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจลำบาก รู้สึกเวียนหัวและหน้ามืด ก่อนที่จะหมดสติไป แต่ทั้งหมดนี้มักเกิดในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

การปฐมพยาบาลและได้รับการรักษาภายใน 4 นาทีหลังหมดสติมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิต โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนสูงที่สุด โดยแต่ละนาทีที่ผ่านไปจะเสี่ยงอันตรายมากขึ้นเป็นเท่าตัว

เมื่อหากพบคนหมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้น คุณสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยวิธีต่อไปนี้  
                                       1. เช็กสถานะของคนที่หมดสติ  
ด้วยการปลุกและเขย่าตัว พร้อมเรียกชื่อดัง ๆ  

  • หากตอบสนอง เช่น ขยับตัวหรือตอบสนองต่อเสียงให้รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือเรียกรถพยาบาล
  • หากไม่ตอบสนองหรือไม่หายใจ โทรเรียกรถพยาบาลหรือโทรสายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 1669 และตะโกนให้คนในบริเวณนั้นนำเครื่อง AED มา (หากมี)    

                            2. ปฐมพยาบาลจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง  

การปฐมพยาบาลคนที่หมดสติจากหัวใจหยุดเต้นมี 2 กรณีด้วยกัน   

                                     ปฐมพยาบาลด้วยวิธี CPR หรือการปั๊มหัวใจ  

การ CPR จำเป็นต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอวัยวะภายในบาดเจ็บ การ CPR ต้องทำต่อเนื่องจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง   
  • การวางผู้ป่วยให้นอนหงายราบกับพื้นแข็ง
  • คนทำ CPR ควรอยู่ข้าง
  • นำมือด้านที่ถนัดสอดไปที่ด้านหลังมืออีกด้านด้วยการประสานนิ้ว วางส้นมือไว้เหนือกระดูกหน้าอก 2 นิ้ว แขนตึง ตั้งฉากกับพื้น
  • กดหน้าอกด้วยการปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่แขนทั้งสองข้าง ลึกลงไป 1.5-2 นิ้ว ด้วยความถี่ 1–2 ครั้ง / วินาทีเพื่อปั๊มหัวใจให้ได้ 100–120 ครั้ง/นาที
  • ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่ารถพยาบาลหรือเครื่อง AED จะมาถึง
       .  หากผู้ป่วยฟื้นให้พลิกหรือตะแคงตัว และเฝ้าดูอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง   
 

                                              ปฐมพยาบาลด้วยเครื่อง AED  

เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์กู้ชีพที่มักมีในสถานที่ใหญ่ ๆ เช่น โรงแรม คอนโด หมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า และตึกสำนักงาน การใช้เครื่อง AED จะช่วยรีเซตการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวัดให้กลับมาปกติ  
ภายในกล่อง AED จะคอยบอกวิธีการปฐมพยาบาลตั้งแต่การให้จังหวะในการปั๊มหัวใจไปจนถึงการใช้ไฟฟ้าเพื่อรีเซตการเต้นของหัวใจเมื่อปั๊มหัวใจจนหัวใจมาเต้นแล้ว ซึ่งคนที่ใช้เครื่อง AED ควรผ่านการฝึกมาก่อนแล้ว หากไม่เคยฝึกใช้งานมาก่อนในสถานการณ์ฉุกเฉินจริง ๆ ในระหว่างใช้ควรมีสติและฟังเสียงแนะนำการใช้งานให้ได้มากที่สุด เพราะในขั้นตอนการรีเซตการเต้นหัวใจจะต้องมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาจากเครื่องด้วย  
                                               เครื่อง AED มีวิธีใช้ต่อไปนี้ 
  • ปั๊มหัวใจอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่ติดตั้งเครื่อง AED
  • ถอดเครื่องประดับทั้งหมด โดยเฉพาะที่เป็นโลหะ และเช็ดผิวหนังให้แห้ง หากชื้นหรือมีเหงื่อ
  • แปะแผ่นอิเล็กโทรดไว้ใต้ไหปลาร้าเหนือหน้าอกด้านขวาและแปะแผ่นอิเล็กโทรดอีกแผ่นไว้ที่ชายโครงด้านซ้าย
  • หากติดแผ่นอิเล็กโทรดตามคำแนะนำของเครื่องแล้ว ให้หยุดปั๊มหัวใจ และห้ามสัมผัสผู้ป่วย
  • เปิดเครื่อง AED และทำตามคำแนะนำรูปแบบเสียง
  • เครื่อง AED จะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจและจังหวะการเต้น
  • เมื่อวิเคราะห์เสร็จจะมีคำแนะนำให้กดปุ่มเพื่อช็อกไฟฟ้าและจะมีคำเตือนให้ทุกคนออกห่างจากผู้ป่วยก่อนกด
  • เมื่อเสียงคำแนะนำบอกว่าช็อกไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ CPR ต่อเนื่องจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง
  • หากผู้ป่วยฟื้นให้พลิกหรือตะแคงตัว และเฝ้าดูอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง  

วิธีปฐมพยาบาลที่ Hack for Health ได้นำมาฝากใช้สำหรับคนที่หมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเท่านั้น การหมดสติจากสาเหตุอื่น เช่น การถูกไฟฟ้าชอร์ตอาจมีปัจจัยเรื่องอันตรายจากไฟฟ้าในพื้นที่ที่ผู้ป่วยหมดสติ หรือจากอุบัติเหตุที่อวัยวะภายในเสียหาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ช่วยเหลือได้รับอันตรายหรืออาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายได้มากขึ้น

ปัจจุบันไม่มีวิธีป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แต่การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เราได้เล่าไปอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะนี้ได้ และคนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหัวใจ ควรใช้ยาและทำตามที่แพทย์แนะนำ  

                                   ที่มา: Mayo ClinicBangkok Hospital  

                                     พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส  





 


Create Date : 13 พฤษภาคม 2566
Last Update : 13 พฤษภาคม 2566 15:56:28 น. 0 comments
Counter : 202 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.