อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
“ตราด” ชื่อนี้มาจากไหน เมืองตราดพบในบันทึกตั้งแต่เมื่อใด

ต้นกราด หรือ ต้นยาง ภาพจากหนังสือประวัติศาสตร์เมืองตราด (ที่มา: ผศ.ดร. เภสัชกรหญิงสุดารัตน์ หอมหวล) 
ตราด เป็นชื่อของจังหวัดสุดเขตแดนตะวันออกของประเทศ ที่ครั้งหนึ่งถูกยึดครองโดยฝรั่งเศส (หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากเมืองจันทบุรี) และทางการไทยต้องสละสิทธิ์ในดินแดนมณฑลบูรพา อันประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกกับ “ตราด” ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญทางทะเลเมืองหนึ่งของชาติกลับมา 

                                         ชื่อว่า “ตราด” มาจากไหน  

แม้ชื่อจังหวัด “ตราด” ไม่ปรากฏที่มาอย่างชัดเจน แต่มีข้อสันนิษฐานที่น่าเชื่อถือ ที่คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ เรียบเรียงไว้ใน “วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด” (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2543) ดังนี้

พระครูคุณสารพิสุทธิ์ [พระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จันทสโร)] สันนิษฐานไว้ว่า ตราด เพี้ยนมาจากคำว่า ‘กราด’ เนื่องจากที่ตั้งเมืองในปัจจุบันเป็นท่าราบว่างเปล่า แม่น้ำบางพระได้พัดพาเอาต้นกราดมาติดที่ดอนนี้ จึงมีผู้นำมาตั้งเป็นชื่อเมือง เรียกว่า เมืองกราด”  [สั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม]

ส่วนพระราชเขมากร (ปกรณ์ เขมากโรทัย) เจ้าคณะจังหวัดตราด ได้สันนิษฐานว่า ได้รับคำบอกเล่าจากพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งว่า คำว่า ‘ตราษ’ เป็นภาษาเขมร หมายถึงไม้ยาง ซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองที่มีขึ้นอยู่ทั่วไป ในสมัยก่อนในท้องที่ของจังหวัดตราดมีไม้ยางอยู่มาก [สั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม] 
เมื่อสืบค้นในพจนานุกรม Dictionaire Vieux Khmer-Francais-Anglais on old Khmer-French-English Dictionary ปรากฏคำว่า “ตฺราจ” ในภาษาเขมรโบราณ และภาษาเขมรปัจจุบันว่า “ตฺราจ” เป็นชื่อต้นไม้ที่มีน้ำยางเรียกว่าต้นตราจ
                                                     พบชื่อเมืองตราด เมื่อใด  

ชื่อเมือง “ตราด” ปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ใน “พระทำนูน (พระธรรมนูญ)” ซึ่งเป็นพระไอยการหนึ่งในกฎหมายตราสามดวง กฎหมายพระทำนูนนี้ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อมหาศักราช 1544 ตรงกับพุทธศักราช 2167 ระบุว่า

ตราเจ้าพญาธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิดพิพิทวรวงษพงษภักตยาธิเบศวะราธิบดี ศรีรัตนราชโกษาธิบดีอไภยพิริยบรากรมภาหุได้ใช้ตราบัวแก้ว ถ้ามีพระราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองณะหัววเมืองขึ้นแก่โกษาธิบดี คือ เมืองจันทบูรรณ เมืองตราด เมือง ระยอง เมืองบางลมุง เมืองนนทบุรี เมืองสมุทประการ เมืองสมุทสงคราม เมืองสาครบุรี มีตราไปตั้งเจ้าเมืองปะหลัดรองปะหลัดณะหัววเมืองซึ่งขึ้นแก่โกษาธิบดีนั้น แลมีตราไปเอากิจราชการ แลกิจศุขทุกขถ้อยความณะหัววเมืองซึ่งขึ้นแก่โกษาธิบดีนั้น แลนำตราเจ้าพนักงานไปตั้งกรมการ แลตั้งนายอากอรนายขนอนทังปวง” [เน้นโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม] 
  ชื่อเมือง “ตราด” ปรากฏหลักฐานเก่าแก่ที่สุดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ใน “พระทำนูน (พระธรรมนูญ)” ซึ่งเป็นพระไอยการหนึ่งในกฎหมายตราสามดวง กฎหมายพระทำนูนนี้ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อมหาศักราช 1544 ตรงกับพุทธศักราช 2167 ระบุว่า

ตราเจ้าพญาธรรมราชเดชชาติอำมาตยานุชิดพิพิทวรวงษพงษภักตยาธิเบศวะราธิบดี ศรีรัตนราชโกษาธิบดีอไภยพิริยบรากรมภาหุได้ใช้ตราบัวแก้ว ถ้ามีพระราชโองการให้ข้าราชการผู้มีความชอบไปรั้ง ไปครองเมืองณะหัววเมืองขึ้นแก่โกษาธิบดี คือ เมืองจันทบูรรณ เมืองตราด เมือง ระยอง เมืองบางลมุง เมืองนนทบุรี เมืองสมุทประการ เมืองสมุทสงคราม เมืองสาครบุรี มีตราไปตั้งเจ้าเมืองปะหลัดรองปะหลัดณะหัววเมืองซึ่งขึ้นแก่โกษาธิบดีนั้น แลมีตราไปเอากิจราชการ แลกิจศุขทุกขถ้อยความณะหัววเมืองซึ่งขึ้นแก่โกษาธิบดีนั้น แลนำตราเจ้าพนักงานไปตั้งกรมการ แลตั้งนายอากอรนายขนอนทังปวง” [เน้นโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม] 

ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏชื่อ “เมืองตราษ” ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) เรื่อง “หนังสือไปถึงเมืองตราษว่าด้วยเกลือไม่ส่งไปเมืองพนมเปน” และจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1207 (พ.ศ. 2388) เรื่อง “ใบบอกเรื่องราชการลับเมืองเขมร” โดยเรียกว่า “เมืองตราษ”

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏการใช้คำว่า “ตราษ” และ “ตราด” ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษารัชกาลที่ 4 ซึ่งพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2401-2402 และในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4

ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อของ “เมืองตราด” ยังคงมีการใช้ว่า “เมืองตราด” หรือ “เมืองกราด”

จนถึงปี พ.ศ. 2470 ในสมัยที่พระยาอินทราบดีเป็นสมุหเทศาภิบาล จึงใช้ชื่อ “เมืองตราด” เพียงชื่อเดียว ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “จังหวัดตราด” และใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 
หมายเหตุ  บทความนี้เขียนเก็บความจาก รศ.ดร. ศานติ ภักดีคำ. ประวัติศาสตร์เมืองตราด, เจ้าของลิขสิทธิ์และผู้อำนวยการจัดทำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ, จัดทำโดย กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม บมจ.มติชน, พ.ศ. 2565




Create Date : 30 พฤษภาคม 2566
Last Update : 30 พฤษภาคม 2566 11:05:04 น. 0 comments
Counter : 253 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.