อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ย้อนดู “วัฒนธรรมการกิน” ของ “อยุธยา” เป็นแบบไหน อย่างไร?

ภาพประกอบเนื้อหา - ภาพตกแต่งเพิ่มเติมจากภาพลายเส้นข้าราชสำนักฝ่ายในสมัยรัชกาลที่ 4 ภาพจากหนังสือ Travels in Siam, Cambodia and Laos 1858-1860 เขียนโดย Henri Mouhot 

เมื่อพูดถึง “วัฒนธรรมการกิน” แต่ละชนชาติก็จะมีวิธีการกินที่แตกต่างกันไป เช่น จีนกับการใช้ตะเกียบ หรือรับประทานกับทีละอย่าง ชาวตะวันตกที่มักหักขนมปังรับประทาน ควบคู่กับการใช้ช้อนส้อม หรือแม้กระทั่งแขก ซึ่งรับประทานแนมกับรวมกัน ส่วนคนไทยในสมัย “อยุธยา” ก็มีวัฒนธรรมการกินที่มีอัตลักษณ์ แตกต่างจากชาติอื่น ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาหาร, จัดแต่งอาหาร หรือวิธีการรับประทาน

เริ่มจาก “ลักษณะการประกอบอาหาร” ชาวอยุธยามักจะปรุงสิ่งหล่อเลี้ยงชีพด้วยวิธี “ต้ม” “แกง” เป็นส่วนใหญ่ ส่วนประกอบของน้ำแกงทั้งหลายนั้น จะเต็มไปด้วยเกลือ, พริกไทย, ขิง, อบเชย, กะเพรา, กานพลู, หอมขาว, จันทน์เทศ เป็นหลัก และหากว่าเป็นอาหาร ต้ม หรือนึ่งก็จะต้องทานคู่กับน้ำจิ้มที่ทำจากกะปิ ซึ่งไม่แตกต่างจากชาวไทยปัจจุบันเท่าใดนัก ที่ชื่นชอบการรับประทานน้ำจิ้มคู่กับอาหารเป็นที่สุด 
ต่อมาคือ “การจัดแต่งอาหาร” ซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอาหารไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงความปราณีต และใส่ใจของผู้ทำ สมัยอยุธยามีการจัดแต่งอาหารเพื่อเสริมความอยากรับประทาน โดยคนอยุธยามักจะใช้ปลาแห้งมาตกแต่งเป็นกับข้าวในหลากหลายสำรับด้วยการหั่นปลาแห้งเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยหน้า หรือจัดเรียงเป็นรูปต่าง ๆ รวมถึงรับวัฒนธรรมจีนมาตกแต่งให้ดูน่ากินขึ้น เช่น นำผลไม้มาแต่งเป็นรูปมังกร หรือทหาร เป็นต้น  
การจัดแต่งเช่นนี้ทำให้ชาวยุโรปที่มาเยี่ยมเยือน “อยุธยา” ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อาหาร                                                   ลักษณะนี้คือ “อาหารสำหรับดู” 
ด้าน “วิธีการรับประทาน” คนอยุธยามักจะรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับญาติพี่น้องกลุ่มใหญ่ โดยใช้มือเปิบ แม้จะมีช้อนกลางวางไว้แต่ละถ้วย ส่วนภาชนะที่ใช้ก็ไม่พ้นพวกดินเผาแบบกระเบื้อง หรือกะลามะพร้าวที่ห่อด้วยใบตอง การใช้ดินเผาแบบกระเบื้องไม่ได้เป็นวิถีของชาวบ้านทั่วไปเท่านั้น แต่ยังปรากฏอยู่ในชนชั้นสูง ตามจดหมายเหตุของลา ลูแบร์ ขณะที่เขามีโอกาสได้รับพระราชทานเลี้ยง ณ พระราชวังนารายณ์ เมืองลพบุรี ว่า 
เป็นความจริงที่ว่าพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ (หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์ -ผู้อ้าง) มิได้เสวยพระกระยาหารในจานแบนเลย เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชาวสยามนิยมใช้ภาชนะทรงสูงตั้งเครื่องต้นถวาย และภาชนะที่ใช้เป็นปกติในการเสวยนั้นก็เป็นเครื่องกระเบื้อง มิได้ใช้ภาชนะทองคําหรือเงินดังอย่างธรรมเนียมทั่วไปที่กระทํากันอยู่ ในราชสํานักทั้งหลายทางภาคพื้นอาเซีย และแม้ที่กรุงคอนสแตนตินอเปิล” 
แม้บางอัตลักษณ์จะหายไปตามกาลเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลก และมีบางสิ่งเพิ่มเสริมขึ้นมา แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “วัฒนธรรมการกิน” ดังกล่าว ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นรากเหง้าของสังคมไทย  

                                                                              อ้างอิง :  

กำพล จำปาพันธ์. “มนุษย์อยุธยา ประวัติศาสตร์สังคมจากข้าวปลา หยูกยา ตำรา SEX” กรุงเทพฯ : มติชน, 2563.

ศิลปวัฒนธรรม. “ฝรั่ง-แขก-จีน-ไทย กับวิธี “กิน” ที่เหมาะสมกับอาหารของตนเอง.” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566. https://www.silpa-mag.com/culture/article_43024.  




Create Date : 16 พฤษภาคม 2566
Last Update : 16 พฤษภาคม 2566 16:14:34 น. 0 comments
Counter : 239 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.