Group Blog
 
All Blogs
 

หมดกิเลส หมดเศร้า

นันทิสูตรที่ ๒
เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโค ย่อมยินดี เพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิเป็นความดีของ คน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่มียินดีเลย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย บุคคลมีโค ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิ เป็นความเศร้าโศกของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้น ไม่เศร้าโศกเลย 

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑๕๙-๑๖๙ หน้าที่ ๘-๙.


 




 

Create Date : 22 มีนาคม 2562    
Last Update : 22 มีนาคม 2562 5:28:53 น.
Counter : 1796 Pageviews.  

พึงใช้สอยและพึงให้ทาน







"โภคทรัพย์ทั้งหลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบไป ถูกไฟไหม้ เสียหายอนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมละทิ้งสรีรกาย กับทั้งข้าวของ เพราะความตาย นักปราชญ์ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้างครั้นให้ทาน และใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถาน คือ สวรรค์."



ที่มา : กามสุตตนิทเทส ที่ ๑.
ขอบพระคุณาภาพจาก @Single Mind for Peace .




 

Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2560    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2560 15:35:17 น.
Counter : 1742 Pageviews.  

อาศัยศีลดุจแผ่นดิน [พลกรณียสูตรที่ ๑]







ภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.


นื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๕๗๙ - ๑๕๙๓. หน้าที่ ๖๙.
ขอบพระคุณภาพจาก @Single Mind for Peace.Smiley




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2559 14:59:04 น.
Counter : 1179 Pageviews.  

นิมิตร พาล-บัณฑิต [จินตาสูตร]






ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลจักไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาด้วยเหตุอย่างไรว่า ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะคนพาลย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดชั่ว พูดคำที่พูดชั่ว ทำกรรมที่ทำชั่ว ฉะนั้น
บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต
นิมิตบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น ไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดดี ๑ พูดคำที่พูดดี ๑ ทำกรรมที่ทำดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดดี พูดคำที่พูดดี และทำกรรมที่ทำดี เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาได้ด้วยเหตุอะไรว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะบัณฑิตย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดดี พูดคำที่พูดดี และทำกรรมที่ทำดี ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้เป็น
บัณฑิต เป็นคนดี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต นิมิตบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๖๖๘ - ๒๖๘๙. หน้าที่ ๑๑๕ - ๑๑๖.
ขอบพระคุณภาพประกอบจาก @single Mind for Peace.Smiley




 

Create Date : 05 สิงหาคม 2559    
Last Update : 5 สิงหาคม 2559 13:15:38 น.
Counter : 989 Pageviews.  

การพิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕






 “.....ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ภิกษุผู้เป็นอนาคามี และแม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรพิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕ โดยรอบคอบ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน...

“ภิกษุผู้มีศีล (เมื่อทำได้ดังนี้) พึงกระทำให้แจ้งชื่อโสดาปัตติผล ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ภิกษุผู้เป็นอนาคามี พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหันตตผล ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ และธรรมเหล่านี้ ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัปชัญญะ”

สีลสูตร ขันธ. สํ. (๓๑๐-๓๑๔)




 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2559    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2559 8:57:56 น.
Counter : 1189 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.