Group Blog
 
All Blogs
 

ประเพณีสร้างเสาหงส์ ธงตะขาบ


บทความ โดย องค์ บรรจุน

ประเพณีการสร้างเสาหงส์นั้นเป็นประเพณีที่พบเห็นได้ทั่วไปตามชุมชนชาวมอญในเมืองไทยทุกวันนี้ยังพบว่ามีปรากฏในเมืองมอญ(ประเทศพม่า) บ้างไม่ในบางวัด เช่น วัดเกาะซั่ววัดธอมแหมะซะ เมืองมะละแหม่ง แต่เดิมชาวมอญมีคติการสร้างเสาธงเป็นการสร้างเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ตามตำนานในพุทธประวัติแต่เดิมที่ว่ามีชาวบ้านป่าที่ยากจนเข็ญใจ ต้องการบูชาพระพุทธคุณ จึงได้กระทำไปตามอัตภาพของตนด้วยการนำผ้าห่มนอนเก่าๆของตน ผูกและชักขึ้นเหนือยอดเสา และเกิดอานิสงค์ผลบุญครั้นสิ้นชีวิตลงได้ไปเกิดเป็นพระราชาผู้มีทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติในภพชาติต่อมา จากตำนานดังกล่าวจึงมีประเพณีการสร้างเสาธงสืบมาจนปัจจุบัน

“เสา หงส์”สำหรับวัดมอญในเมืองไทยทุกวันนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามีกันแทบทุกวัด ถึงแม้บางคนจะกล่าวว่า “เสาหงส์” มีแต่ในเมืองไทยเท่านั้นเพราะคนมอญในเมืองไทยสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเมืองหงสาวดีเมื่อต้องจากบ้านทิ้งเมืองไปอยู่เมืองไทยและเพิ่งจะมีขึ้นเมื่อราวร้อยกว่าปีมานี้เองโดยยกเอาบทพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ที่ตอบถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ถึงความเป็นมาของการสร้างเสาหงส์

“หงส์”เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์โดยเป็นพาหนะของพระพรหมตามคติของชาวฮินดูต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ผู้คนที่นับถือศาสนาฮินดูอยู่เดิมเมื่อได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธจึงเอาคติเรื่องหงส์มาผนวกเข้ากับความเชื่อในพุทธศาสนา ในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้าและ “หงส์” ก็เป็นสัตว์ชั้นสูงของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธทุกชนชาติเช่น ไทย จีน พม่า เขมร ลาว ญวน ไม่เฉพาะมอญเท่านั้น

“เสาหงส์”นั้นสืบเนื่องมาจากสมัยก่อนที่มีการสร้างเสาแขวนธงยาวแบบธงจีนเป็นสิ่งประดับตกแต่งบ้านเมืองอย่างหนึ่งทว่าธงนั้นงามเฉพาะเวลากลางวันครั้นยามกลางคืนก็มองไม่เห็นต่อมาจึงมีคนคิดผนวกโคมไฟขึ้นบนเสานั้นด้วย ออกแบบให้เป็นรูปหงส์คาบโคมไฟห้อยลงมาไม่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวมอญ อันเป็นต้นกำเนิดของเสาหงส์ในหมู่ชาวมอญเมืองไทยและกลายเป็นประเพณีนิยมและรับรู้กันทั่วไปว่าวัดที่มี “เสาหงส์”แสดงว่าเป็นวัดมอญ

หากเหตุผลเป็นดังกล่าวข้างต้นแล้วแสดงว่าในเมืองมอญก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง “เสาหงส์” เพราะเมืองหงสาวดีก็อยู่ณ เมืองนั้นแล้ว พบเห็นกันอยู่ได้ง่ายแต่เท่าที่ผู้เขียนได้พบวัดมอญในเมืองพม่ามาหลายวัดก็ปรากฏมีเสาหงส์อยู่มาก มายหน้าตาผิดแผกแตกต่างกันไป และก็ไม่มีใครบอกได้ว่าเสาหงส์ในเมืองมอญมีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใดถามผู้เฒ่าผู้แก่ก็บอกแต่เพียงว่ามีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อมูลอ้างอิงได้

“เสาหงส์”ของมอญจึงเป็นเรื่องที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ต้องค้นคว้าหาหลักฐานเพิ่มเติมกันต่อไป แต่สิ่งสะดุดตาอีกอย่างของเสาหงส์วัดธอมแมะซะในหมู่บ้านธอมแมะซะเมืองมะละแหม่งนี้ คือสร้างอยู่ข้างหน้าเจดีย์มอญเหมือนคติการสร้างอย่างในเมืองไทยพร้อมทั้งแขวนธงตะขาบเสียด้วย นอกจากไม่พบเห็นว่ามีที่วัดอื่นแล้วธงตะขาบดังกล่าวยังทำด้วยผ้าที่มีสัดส่วน ลวดลาย และรูปแบบเดียวกันกับธงตะขาบของชาวมอญพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการเสียแต่ว่าวันที่ผู้เขียนเดินทางไปนั้นไม่มีพระสงฆ์รูปใดในวัดและชาวบ้านที่รู้เรื่องพอจะให้ความกระจ่างถึงที่มาได้ จึงได้แต่สันนิษฐานไว้เป็นสองกรณีคือหนึ่งพระมอญที่นั่นได้แบบอย่างไปจากมอญพระประแดง ด้วยความโด่งดังของประเพณีสงกรานต์มอญพระประแดงที่มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศเป็นข่าวไปทั่วโลก สองคนมอญในเมืองไทยทำไปถวายเสียเองข้อหลังนี้มีความเป็นไปได้มากเพราะเท่าที่เห็นนั้นรูปแบบเหมือนกันอย่างกับแกะทีเดียว


ขอบพระคุณข้อมูลจาก Openbase.in.th

ภาพจาก panoramio.com




 

Create Date : 15 มกราคม 2559    
Last Update : 15 มกราคม 2559 11:48:51 น.
Counter : 3627 Pageviews.  

สุขในกลาง....




ความสุขที่หยุดได้..........ในกลาง

เป็นสุขสุดตามทาง.........พุทธเจ้า

สะอาดสงบสว่าง............พราวแพร้ว

หยุดนิ่งทุกค่ำเข้า...........จักได้สุดธรรม


-ตะวันธรรม-




 

Create Date : 15 มกราคม 2559    
Last Update : 15 มกราคม 2559 10:48:20 น.
Counter : 726 Pageviews.  

Five rooms which affect your habit : Lesson1 Bedroom

Bedroom

Five rooms which affect your habit
Compiled from the Most Ven. Phrabhavanaviriyakhun (Dattajivo Bhikkhu)’s teaching


The Most Ven. Phrabhavanaviriyakhun (Dattajivo Bhikkhu), the vice abbot of Dhammakaya Temple

When I, Luang Phaw Dattajivo, finished writing the book, “The Warm Family”, I was happy and thought that I finished another one.  But when I reviewed it again, I found that I did not finish it at all because the Master Nun Chand had given some interesting comments.
The Master Nun focused about the good habit for attaining Dhamma as the followings

1.    How can you teach your children to love cleanness?
2.    How can you teach your children to care one another?

I recalled how the Master Nun had taught me before being ordained, how the Master Nun taught the temple’s staffs and laypeople who were closed to her since the time of building the temple, etc.  I closed my eyes and recalled those pictures so I decided to make a small book in which I concluded some topics of the practical Dhamma and named it, “The five rooms which affect your habit” for you to self-practice.  If you read it but do not apply in your daily life, this book will not be useful as it should be because the content of this book is the summary of the Master Nun’s way to develop the good habit



1.    Bedroom is the auspicious room
If you ask someone that what the bedroom is, they may answer that it is used to sleep or have a rest.  This answer is underestimated.  Actually, the bedroom is the room of developing the habit of loving merit and being afraid of sin.

The main objectives of bedroom are
1.    To cultivate the Right View

Teaching your children to realize what is good, bad, sinful or meritorious is able to do in the bedroom because the emotion before getting sleep is the best emotion.  Teaching your children to respect the Triple Gems should be done in this room.  Parents should bow the Buddha Image to recall the great kindness of the Lord Buddha together.

Teaching your children to bow the parents’ feet should be done in this room because when your children bow your feet and you bless them, they will be warm and impressed so it is easier to cultivate the gratefulness in their mind.

2.    To practice meditation for your mind stilling firmly at the center of the body
When you, your spouse and children want to meditate, you should do it in the bedroom.  You purify your mind before going to bed and still your mind at the center of the body.  It is easy to attain Dhamma and you will have stronger willpower to pursue the perfections to the Utmost Dhamma like the Most Ven. Luang Pu said.
What is the strong enemy in your bedroom?
I have to ask you first that who have TV in the bedroom. If you say ‘yes’, when you go back home, you should carry it off your bedroom because it will cause you not to meditate.  First, you want to watch only the news.  In fact, when you finish watching news, you watch the soap opera or some series until you are sleepy. When you are sleepy and go to bed without chanting at all.  In addition, the soap opera or series you watch, the stories are about slap (for love) or fierce fighting (the blood scenes).  You may watch it until having a backache or neck ache.  Finally, you cannot think about the merit resource as easy as usual because of your mind is filled about slap or fighting.  When you cannot think about the merit resource easily, so you do not sleep in the merit resource and you will get up in the next morning without thinking of the Buddha easily.

It is the nature of those who just woke up that they will think about the last thing before they slept. So if they watch the soap opera before, their mind will be cloudy before and after waking up.

Therefore, if you have TV in your bedroom, you may not chant or bow the Triple Gems. I would like you to carry it off your bedroom.  If you do like that, you will be punctual and have more available time to talk to your children.  Before going to bed, you should teach your children to bow the parents’ feet and give the blessings to them at that time.  Your children will recall your blessings before sleeping and when they wake up, they will recall those blessings.  Your children will be warm and not lonely.
So, the bedroom is the auspicious room that you can use to cultivate morality, determine merit and sin, give the blessings to your children when they bow your feet before going to bed, and meditate before going to bed which these activities will bring good things to your lives.
Translated by Chadawee Chaipooripat




 

Create Date : 12 มกราคม 2559    
Last Update : 12 มกราคม 2559 17:08:20 น.
Counter : 693 Pageviews.  

ทำไม...ต้องนั่งสมาธิทุกวัน

 




 

Create Date : 23 กันยายน 2557    
Last Update : 23 กันยายน 2557 17:51:13 น.
Counter : 1185 Pageviews.  

พระบรมธาตุในประเทศไทย ตอนที่ 4

 

พระบรมธาตุในประเทศไทย ตอนที่ 4
 
 
วัดพระธาตุบังพวน  จังหวัดหนองคาย เป็นศาสนสถานสำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน เพราะมีพระธาตุบังพวนซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ 
และสัตตมหาสถานจำลอง  หนึ่งในสามที่ปรากฏอยู่ในโลก   นอกเหนือจากที่พุทธคยา  ประเทศอินเดีย 
พร้อมทั้งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่สักการะบูชากันอย่างกว้างขวาง
 
หนองคาย

1.    วัดทุ่งธาตุ 100 บ.ทุ่งธาตุ ม.10 ต.จุมพล อ.โพนพิสัย (ธาตุเจดีย์โบราณ) สันนิษฐานว่า บรรจุพระบรมธาตุฝ่ามือซ้าย
2.    วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ บ.ห้วยไซงัว ม.5 ต.ผาตั้ง อ.สังคม(ธาตุเจดีย์สูง 12 เมตร) สร้างพ.ศ.2522 บรรจุพระบรมธาตุเล็กใสได้จากศรีลังกา และอรหันตธาตุลักษณะคล้ายเม็ดในพุทรา มีงานประจำปีเดือน พ.ย.
3.    วัดพระธาตุบังพวน :172 บ.พระธาตุบังพวน ม.3 ต.พระธาตุบังพวน (ดอนหมู) อ.เมือง (พระบรมธาตุส่วนหัวเหน่า 29 องค์ มีงานนมัสการและเทศกาลเฉลิมฉลองทุกวันเพ็ญเดือน 3) พระยาจันทบุรีกับหมื่นกลางโซ่งเป็นผู้สร้าง พระบรมธาตุมีอายุเกิน 2000 ปีแล้ว
4.    วัดพระธาตุบุ (โพนจิกเวียงงัว) :วัดป่าโคกป่าฝาง (บ้านปะโค ต.เวียงคุก มีพระธาตุเขี้ยวฝาง 3 องค์ เจดีย์สูง 2 เมตร
5.    วัดยอดแก้ว : ม.4 ต.เวียงคุก อ.เมือง (พระบรมธาตุสร้างโกศทองปิดไว้)
6.    วัดสุคนธราราม : บ.เหล่าหลวง ม.3 ต.ดังบัง กิ่งอ.บึงโขงหลง (ธาตุเจดีย์)
7.    ภูทอก : อ.บึงกาฬ (ชั้นที่ 5 และ 7 ) และในวิหารมีพระบรมธาตุวัดชื่อเจติยารามศีรีวิหาร
8.    พระธาตุหอแพ : บรรจุธาตุเขี้ยวฝาง 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ที่ท่าหอแพริมแม่น้ำโขงฝั่งซ้าย
9.    พระธาตุเมืองลาหนองคาย :  บรรจุพระบรมธาตุพระบาทเบื้องขวา 9 องค์ อยู่ที่วัดธาตุหนองคายพังลงไปในแม่น้ำโขงเมื่อพ.ศ. 2390
 
อุดรธานี

10.    วัดศรีเจริญโพนบก : บ.ธาตุ ม.10 ต.บ้านธาตุ อ.เพ็ญ 41150 (อุโบสถและพระธาตุประดับลายเทพพนม) ผู้สร้างเป็นคณะเดียวกับที่สร้างพระธาตุพนม
11.    วัดศรีธาตุประมัญชา (พระธาตุน้อย) : บ.หนองแวง ม.3 ต.จำปี อ.ศรีธาตุ (ธาตุเจดีย์โบราณ)
12.    วัดศรีมหาธาตุ (วัดป่าแมว) 1 บ.ธาตุ ม.4 ต.บ้านยา อ.หนองหาน (องค์พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง) เคยมีแมวทองคำส่องแสงออกมาจากองค์พระธาตุสีมรกตเรืองรองใครขอพรก็ได้ดังประสงค์
13.    วัดศรีสว่าง : บ.กุดดู่ ม.1 ต.กุดดู่ อ.โนนสัง (พระธาตุ 5 ชั้น)
14.    วัดสามัคคีบำเพ็ญผล : บ.หนองหาร ถ.อภัยสำราญ ม.2 ต.หนองหาน อ.หนองหาน (เจดีย์สูง 10 เมตร )
15.    วัดหงสาวดี : บ.ดงขวาง ม.10 ต.หายโศก อ.บ้านผือ (พระธาตุเจดีย์โบราณยอดหัก และพระธาตุขนาดเล็ก)
16.    วัดถ้ำพระ : บ.กลางใหญ่ ม.5 ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ (รูปอรหันตสาวกบรรจุอรหันตธาตุ 1600 องค์
17.    วัดธาตุจอมศรี : บ.แชแล ม.1 ต.แชแล อ.กุมภวาปี (เจดีย์)
18.    วัดธาตุมังคลาราม : บ.เชียงยืน ม.1-2 ต.เชียงยืน อ.เมือง (พระธาตุเชียงยืนเป็นเจดีย์อิฐเผาคล้ายที่ศรีสองรัก)
19.    วัดธาตุวารุการาม : บ.ธาตุไชยมูล (โนนธาตุ) ม.2 ต.หายโศก อ.บ้านผือ
20.    วัดธาตุอุปสมาราม : บ.โก่ม ม.3 ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ 41160
21.    วัดป่าเลไลยก์ : 42 บ.เชียง ม.11 ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน (พระบรมธาตุจากอินเดีย พ.ศ.2529 )
22.    วัดพระธาตุ : บ.หนาด ม.10ต.นาบัว อ.เพ็ญ
23.    วัดมหาธาตุ : บ.หลวง ม.5 ต.นาพู่ อ.เพ็ญ
24.    วัดพระธาตุเวฬุวัน : บ.สว่างวัฒนา ถ.วัฒนา ม.8 ต.นาดี อ.สุวรรณคูหา (พระธาตุเจดีย์โบราณศักดิ์มาก )
25.    วัดพระธาตุหนองหมัด : บ.ท่าสังข์ ม.5 ต.ห้วยเกิ้ง อ.กุมภวาปี
26.    วัดโพธิ์ชัยงิ้วเหนือ  บ.งิ้ว ม.7 ต.บ้านตาด อ.บ้านตุง (เจดีย์ธาตุโบราณ)
27.    วัดโพธิ์ชุม : 56 บ.นาพัง ม.2 ต.เตาไห อ.เพ็ญ (มหาธาตุเจดีย์สร้างด้วยหินที่ฐาน) ปัจจุบันเจดีย์ชำรุดมีต้นมะขามขึ้นระหว่างกลาง
28.    วัดโพธิ์ศรี : 69 บ.จันทน์ ม.1 ต.บ้านจันทน์ อ.บ้านตุง (พระธาตุเจดีย์)
29.    วัดโพธิ์สมภรณ์ : 22 ต.หมากแข้ง อ.เมือง (พระบรมธาตุในเกศพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์)
30.    วัดมหาธาตุเจดีย์ (พระธาตุดอนแก้ว) : บ.ดอนแก้ว ม.5 ต.ตูมใต้ อ.กุมภวาปี (เจดีย์สูง 40 เมตร กว้าง 16 เมตร บรรจุพระอรหันตธาตุ) สร้างสมัยพระธาตุพนมมีงานฉลองและสรงน้ำพระธาตุในวันสงกรานต์
31.    วัดเวฬุวนาราม (วัดบ้านเหมือด) : บ.ทึ่งฝน ถ.ทุ่งฝน-อ้อมกอ ม.8 ต.ทุ่งฝน อ.ทุ่งฝน (ธาตุเจดีย์โบราณ)
32.    พระธาตุบ้านเดียม : ต.เชียงแหว อ.กุมภวาปี สร้างพร้อมพระธาตุดอนแก้วเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก :บนไหล่เข้าภูพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ บรรจุพรบรมธาตุสีขาวเงินยวงเจดีย์สูง 40 ม. มีงานนมัสการช่วงขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3และวันเพ็ญ เดือน
 
หนองบัวลำภู

33.    วัดธาตุหาญเธาว์ : ม.2 บ้านธาตุ ต.บ้านขาม อ.เมือง หนองบัวลำภู 39000 (ธาตุเจดีย์ 8 เหลี่ยม) สร้าง พ.ศ.2328
34.    วัดมหาชัย (วัดมหาธาตุเจดีย์) : บ.หนองบัว ม.9 ต.ลำภู หนองบัวลำภู อ.เมือง 39000 โทร. 042-311232 (พระพุทธโบราณ และปรางค์ 2 องค์)เดิมชื่อวัดมหาธาตุไตรยะภูมิ เดิมมีพระธาตุและหอไตรกลางน้ำอายุกว่า 100 ปี มีหนังสือใบลานเป็นภาขอมแต่งเป็นเรื่องราวไว้มากมาย
35.    วัดบวรนิมิต : บ.น้ำพ่น ม.1 ต.น้ำพ่น อ.หนองวัวซอ (มีพระบรมธาตุที่พระวังคีสะเถระนำมาไว้ในวิหาร)
 
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

สกลนคร

36.    พระธาตุนารายณ์เจงเวง : วัดบ้านธาตุนาเวง ต.พังขว้าง อ.เมือง (มีงานบุญฉลองระหว่างวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 4) บรรจุถ่านเพลิงพระอังคาร (กระดูกปนถ่าน) จากพิธีอัฏฐมีบูชาพระมหากัสสปะและพระอรหันต์ 500 รูปนำมาสร้างพร้อมพระธาตุเชิงชุม สร้างด้วยศิลาแลง สูง 14 เมตร ธาตุดุม :เป็นเจดีย์ศิลาแลงและอิฐถือปูนสูง 4 วา บรรจุดุมจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ที่วัดพระธาตุดุม ต.พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง (บางตำนานว่าสร้างคร่อมตรงที่จีวรพระพุทธเจ้าตกหายไป)
37.    พระธาตุภูเพ็ก : ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณนิคม อยู่บนภูพาน สร้างด้วยศิลาแลง ยังไม่สำเร็จดี ตรงเชิงเขามีบันไดขึ้นไปสู่ที่ตั้งพระธาตุ (อุรังคธาตุ) เรียกว่าบันไดแก้ว
38.    พระธาตุวัดศรีมงคล : ต.บ้านธาตุ อ.วาริชภูมิ ห่างตัวจังหวัด 65 ก.ม. ฐานเจดีย์เป็นพุทธประวัติ พระธาตุองค์เดิมก่อนถูกสร้างครอบเป็นศิลาแลง
39.    วัดป่าสุทธาวาส : เขตเทศบาลเมือง อ.เมือง มีพระธาตุหลวงปู่มั่น

กาฬสินธุ์


พระธาตุยาคู (ธาตุใหญ่) ต.หนองแปน อ.กมลาไสย สูง 8 เมตร มีงานฉลองช่วง เม.ย-พ.ค

มหาสารคาม


40.    กู่มหาธาตุ : ต.เขวา อ.เมือง ก่อด้วยศิลาแลง สูง 16 เมตร
41.    พระธาตุนาดูน : อ.นาดูน สูง50.50 เมตร พ.ศ. 2522 ขุดพบพระบรมธาตุสีขาวขุ่นขนาดเม็ดข้าวสารหักอยู่ในสถูป มีแผ่นสัมฤทธิ์รูปบัวบานแปดกลีบรองรับอยู่ มีงานนมัสการในเดือน 3

ร้อยเอ็ด


42.    วัดบึงพระลานชัย : 116 ต.ในเมือง อ.เมือง มีเจดีย์พระธาตุ
43.    วัดบูรพาภิราม : ต.ในเมือง อ.เมือง (เจดีย์พระธาตุ)
44.    วัดกลางอุดมเวทย์ :สุขาภิบาล อ.พนมไพร มีงานบุญบั้งไฟบวงสรวงองค์พระธาตุช่วงวิสาขบูชา แรม 1ค่ำเดือน 7 เป็นวันจุดบั้งไฟ

นครพนม


45.    วัดพระธาตุพนม 183 ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม มีประวัติย้อนไปได้ถึงราวพ.ศ. 8 มีงานไหว้พระธาตุระหว่างวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 (7 วัน 7 คืน) องค์พระปฐมเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ส่วนพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) 8 องค์ ภายหลังมีผอบบรรจุพระธาตุอีก 2ผอบ ผอบหนึ่งบรรจุ 215 องค์อีกผอบบรรจุ 30 องค์เจดีย์สูง 52 เมตร ตั้งอยู่บนภูกำพร้า ยอดฉัตรเป็นทองคำหนัก 10 ก.ก. ทองประดับยอดเจดีย์หนักรวม 110 ก.ก.
46.    วัดธาตุมหาชัย :วัดโฆษาการาม ต.มหาชัย อ.ปลาปาก โทร. 01-4130019 บรรจุอัฐิธาตุพระโกณฑัญญะ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรพระอานนท์ พระภัสสะ และพระอนุรุทธะพระธาตุเรณูนคร
47.    วัดพระธาตุเรณู อยู่ระหว่าง ต.เรณู และ ต.โพนทอง อ.เมืองสูง 35 เมตร
48.    วัดพระธาตุน้อยศรีบุญเรือง :ต.พระกลางทุ่ง อ.ธาตุพนม (เป็นวักเก่าอยู่บริเวณมรุกขนคร ห่างจากที่ว่ากลางอำเภอ 7 ก.ม.)
49.    วัดมรุกขนคร : บ.ดอนนางหงส์ท่า อ.ธาตุพนม มีพระมหาเจดีย์ ภ.ป.ร.
50.    พระธาตุศรีคุณ : อ..นาแก ทางหลวง 212 แยกเข้า 223 เจดีย์สูง 8 เมตร
51.    พระธาตุประสิทธิ์ : อ.นาหว้า บรรจุพระอุรังคธาตุและดินสังเวชนียสถาน 4 และอรหันตธาตุ 14 องค์ อยู่บนเส้นทางสายท่าอุเทน-ศรีสงคราม-บ้านแพง
52.    พระธาตุท่าอุเทน : ริมแม่น้ำโขง อ.ท่าอุเทน สูง66 เมตร บรรจุพระบรมธาตุและอรหันตธาตุจากย่างกุ้ง มีงานทุกวันขึ้น 13 ค่ำ ถึง แรม 1 ค่ำเดือน 4
 
อำนาจเจริญ

53.    พระมงคลมิ่งเมือง : พุทธอุทยานเขาดานพระบาท บรรจุพระบรมธาตุในองค์พระ
 
พระธาตุขามแก่น สร้างขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม อำเภอเมือง ขอนแก่น

ขอนแก่น


54.    พระธาตุขามแก่น : วัดเจติยภูมิ บ.ขาม ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง (มีงานสมโภชสักการะองค์พระธาตุ ทุกวันเพ็ญ เดือน 6) เจดีย์สูง15 เมตร บรรจุพระอังคารธาตุพระพุทธเจ้า
55.    กู่ (ปรางค์ศักดิ์สิทธิ์) : อยู่ระหว่างบ้านเหล่าบ้านโพนทอง บ้านดอนช้าง บ้านหัวบึง บ้านหว้าอายุประมาณ 1000 ปี ตามใบลานวัดบ้านหว้านั้น พระครูคัณทนงเป็นผู้นำในการสร้าง มีพระธาตุอยู่กลาง มีพระพุทธรูปล้อมรอบด้วยศิลาแลง มีงานเทศกาลทุกวันเพ็ญเดือน 5
56.    พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์ : วัดหนองแวง เมืองเก่าพระอารามหลวง (ชั้นที่ 9 เป็นหอบรรจุพระบรมวารีริกธาตุ)
57.    พระธาตุเมืองพล : อ.พล
 
ยโสธร

58.    วัดมหาธาตุ : เขตเทศบาลเมืองยโสธร ถ.วารีราช เลขที่ 40 ต.ในเมือง อ.เมืองบรรจุพระธาตุพรอานนท์ซึ่งได้รับจากเทวทหะนคร อินเดีย พ.ศ.1218
59.    วัดศรีธรรมาราม : 1 ถ.วิทยดำรง เขตเทศบาลเมืองยโสธร ต.ในเมือง อ.เมือง  (พระบรมธาตุเจดีย์ศรีโสธร)
60.    พระธาตุคำบุ : บ.วัดธาตุ มีงานทำบุญสรงน้ำทุกเดือน 5
61.    พระธาตุตาดทอง (ถาดทอง) : บ.สะเดา ต.ตาดทอง อ.เมือง
62.    วัดพระเสาร์ : ต.พระเสาร์ อ.มหาชนะชัย
 
อุบลราชธานี

63.    พระธาตุศรีมหาโพธิ์ : วัดหนองบัว ต.แจระแม อ.เมือง (บนทางไปอำนาจเจริญ) เจดีย์ทรงพุทธคยาบรรจุพระบรมธาตุ พ.ศ.2500 (ได้จากเชียงแสน ทุ่งจ้อ)
64.    พระธาตุวัดสวนตาล : ต.บ้านชีทวน อ.เขื่องใน 34150 สร้างสมัยพระธาตุพนม พังลงก่อนพระธาตุพนมพังเพียง 19 วัน จนบัดนี้ยังไม่ได้รับการบูรณะ (ในวันอาสาฬหบูชาวันที่พระธาตุล้มปรากฏแสงสวางพวยพุ่งออกมาประดุจสายฟ้าแลบเป็นประกายโดยทั่วไป)

ศรีสะเกษ


65.    วัดมหาธาตุศรีสะเกษ
66.    พระธาตุเรืองรอง : วัดบ้านสร้างเรือง ม.3 ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง เจดีย์สูง 43.6 เมตรชั้นบนสุดประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
67.    พระธาตุจังเกา :บ.หนองจังเกา ต.ดินแดง อ.ไพรบึง เจดีย์สูง 40 เมตร
 
มุกดาหาร

68.    ภูมโนรมย์ : อ.เมือง มีเจดีย์พระธาตุและพระพุทธบาท ยอดภูห่างจากตัวเมือง 3 ก.ม.

ชัยภูมิ


69.    พระธาตุบ้านแก้ง (พระธาตุบึงสามหมื่น) : ม.15 ต.บ้านแก้ง อ.ภูเขียว สูง 12 วา มีงานนมัสการเดือน 5 ทุกปีเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุสร้างราวพ.ศ. 500 บูรณะ พ.ศ. 2101 โดยพระเจ้าเชษฐาแห่งนครเวียงจันทร์
70.    พระธาตุกุดจอก :บ.ยางน้อย ม.2 ต.บ้านเมืองน้อย อ.เกษตรสมบูรณ์ 31620 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอ 2 ก.ม. สร้างราว พุทธศตวรรษที่ 19-20 มีงานนมัสการองค์พระธาตุทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5
 
นครราชสีมา

71.    วัดศาลาทอง : ต.หัวทะเล อ.เมือง พระสัมพุทธเจดีย์ศรีสิงหนาทบรรจุพระบรมธาตุ 2 องค์ที่ได้จากเชียงตุง เมื่อ พ.ศ.2496
72.    วัดหน้าพระธาตุ :  ม.1 ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย
73.    วัดป่าสาละวัน : มีบุษบก 3 องค์ องค์กลางบรรจุพระบรมธาตุ องค์ขวาบรรจุอัฐิพระอาจารย์มั่น องค์ซ้ายบรรจุอัฐิพระอาจารย์เสาร์
74.    พระพุทธสกลสีมามงคล : หลวงพ่อขาวหรือหลวงพ่อใหญ่หรือหลวงพ่อดงพญาเย็นอยู่บนเทือกเขาสีเสียด วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดงอ.ปากช่อง (บรรจุพระบรมธาตุไว้ในองค์พระ)
75.    วัดบ้านไร่ : บรรจุพระบรมธาตุบนบุษบกยอดพระอุโบสถ
 
พระธาตุสัจจะ องค์พระธาตุสัจจะประกอบไปด้วย ดอกบัวบานมีกลีบสามกลีบ สูง 1 เมตร
อยู่รอบองค์พระธาตุ องค์พระธาตุมีความสูงทั้งหมด 33 เมตร มีเศวตฉัตร 7 ชั้น
 
เลย

76.    พระพุทธรัตนบุรีศรีชาวเลย : หลังวัดชลประทานบ้านท่าแพ อ.เมือง ริมทางหลวง 203 เลย-ภูเรือ-ด่านซ้ายบรรจุพระบรมธาตุใบโพธิ์ และดินจากสังเวชนียสถาน 4 ในองค์พระซึ่งก่ออิฐถือปูนองค์ใหญ่อยู่บนเขาลูกรัง เมื่อพ.ศ. 2514
77.    พระธาตุดินแทน : ต.แสงกา อ.นาแห้ว มีประเพณีฉลองกลางเดือน 12
78.    พระธาตุสัจจะ : อ.ท่าลี่ ไปทางหลวง 201 แยกเข้า 2115 สายบ้านตูบโกย-ท่าลี่องค์พระธาตุสูง 33 เมตร คล้ายพระธาตุพนม

จาก :  หนังสือพระบรมธาตุ เขียนโดย : อ.บริภัทร
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2539
*ขอบคุณภาพประกอบทุกภาพจากอินเตอร์เน็ต




 

Create Date : 01 เมษายน 2557    
Last Update : 1 เมษายน 2557 17:58:02 น.
Counter : 1458 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.