Group Blog
 
All Blogs
 

รายนามผู้ได้รับ รางวัลผู้นำพุทธโลก ครั้งที่ 1 ปี 2557

รายนามผู้ได้รับ รางวัลผู้นาพุทธโลก ครั้งที่ 1 ปี 2557

ในการประชุมคณะกรรมการจัดงาน พิธีมอบรางวัลผู้ทาคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ณ สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ประชุมอันประกอบไปด้วย ผู้แทนสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ มีมติถวายรางวัลผู้นาพุทธโลก World Buddhist Outstanding Leader Award แด่พระภิกษุ และมอบรางวัลให้แก่บุคคลและองค์กร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

รายนามผู้ได้รับ รางวัลผู้นาพุทธโลก ครั้งที่ 1 ปี 2557
The 1st World Buddhist Outstanding Leader Award 2014


 

      ในการประชุมคณะกรรมการจัดงาน พิธีมอบรางวัลผู้ทาคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2557 ณ สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ประชุมอันประกอบไปด้วย ผู้แทนสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้แทนองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และคณะผู้ทรงคุณวุฒิ มีมติถวายรางวัลผู้นาพุทธโลก World Buddhist Outstanding Leader Award แด่พระภิกษุ และมอบรางวัลให้แก่บุคคลและองค์กร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ อุทิศชีวิต เพื่อปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุน และเผยแผ่พระพุทธศาสนา อย่างโดดเด่น อันสมควรได้รับการยกย่อง เชิดชู ประกาศเกียรติคุณ เพื่อเป็นขวัญกาลังใจและเป็นเกียรติประวัติสืบไป

     บัดนี้คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายนามผู้ได้รับรางวัลผู้นำพุทธโลก อันประกอบไปด้วย พระภิกษุ บุคคล และ องค์กร ทั้งในและต่างประเทศดังนี้

ผู้รับรางวัลผู้นาพุทธโลก จากประเทศไทย


1.ประเภทพระภิกษุ


1. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ
2. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.๓) วัดยานนาวา กรุงเทพฯ
3. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้า ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
4. พระพรหมเมธี (จานงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
5. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดสามพระยาวรวิหาร กรุงเทพฯ
6. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพฯ
7. พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
8. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
9. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี
10. พระธรรมสุธี (พีร์ สุชาโต ป.ธ.๕) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
11. พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ ป.ธ.๙) วัดศาลาลอย สุรินทร์
12. พระธรรมเจติยาจารย์ (บุญเรือง บุญฺญโชโต ป.ธ.๔) วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
13. พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิต จิตฺตทนฺโต ป.ธ.๔) วัดโคกสมานคุณ สงขลา
14. พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
15. พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ.๘) วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สุพรรณบุรี
16. พระเทพศีลวิสุทธิ์ (อ่อน ทนฺตจิตฺโต) วัดประชุมชลธารา นราธิวาส
17. พระเทพรัตนสุธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.๕) วัดเขียนเขต พระอารามหลวง ปทุมธานี
18. พระเทพวรมุนี (สาลี ปญฺญาวโร ป.ธ.๕) วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร นครพนม
19. พระเทพปริยัติเมธี (สฤษดิ์ สิริธโร ป.ธ.๙) วัดนครสวรรค์ พระอารามหลวง นครสวรรค์
20. พระเทพปริยัติ (สะอาด ขนฺติโก ป.ธ.๗) วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่
21. พระเทพสิทธิมุนี (บุญสิน อุตฺตมชาโต ป.ธ.๙) วัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
22. พระเทพญาณมหามุนี วิ. (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
23. พระเทพมังคลาจารย์ (สมาน กิตฺติโสภโณ) วัดท่าตอน เชียงใหม่
24. พระราชวิสุทธิคุณ (ถวิล เขมงฺกโร ป.ธ.๔) วัดหลักเมือง ปัตตานี
25. พระราชวราจารย์ (อุทัย ปุณฺโณทโย ป.ธ.๕) วัดนพวงศาราม ปัตตานี
26. พระราชปัญญามุนี (ภิญฺโญ ปวฒฺฑโน ป.ธ.๙) วัดเวฬุวัน ยะลา
27. พระราชสิทธิวราจารย์ (อุดม สุทฺธสีโล) วัดประสิทธิเวช นครนายก
28. พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช ป.ธ.๙) วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ
29. พระราชเมธี (วิชา อภิปญฺโญ ป.ธ.๗) วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพฯ
30. พระราชภาวนาจารย์ วิ. (เผด็จ ทตฺตชีโว) วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
31. พระสุธีธรรมมานุวัตร (เทียบ สิริญาโณ ป.ธ.๙) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
32. พระปัญญานันทมุนี (พระมหาสง่า สุภโร ป.ธ.๓) วัดปัญญานันทาราม ปทุมธานี
33. พระกิตติโสภณวิเทศ(เศรษฐกิจ สมาหิโต) วัดนาคปรก กรุงเทพฯ
34. พระครูสุทธิธรรมานุศาสก์(สิทธิพงศ์ ปุญญเสวี ป.ธ.๓) วัดพุทธภูมิ พระอารามหลวง ยะลา
35. พระครูปลัดภูเบศ ฌานาภิญโญ วัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
36. พระครูปลัดทวี พฺรหฺมเทโว ศูนย์อบรมเยาวชนผาสุกวนิช ราชบุรี
37. พระครูพิศาลสรนาท(พจนารถ ปภาโส) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
38. พระมหาธีรธรรม ธมฺมธีโร(ป.ธ.๙) ศูนย์ส่งเสริมปฏิบัติธรรมดอนเมือง กรุงเทพฯ

2. ประเภทบุคคล


ผู้นำองค์กรพุทธ


1. แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
2. พลเอกธงชัย เกื้อสกุล
3. พลตรี ดร.ไชยนาจ ญาติฉิมพลี
4. พลตารวจตรีนรวัฒน์ เจริญรัชต์ภาคย์
5. รองศาสตราจารย์ วารินทร์ มาศกุล
6. นายสุธรรม ปั้นประเสริฐ
7. นายนพเก้า ไชยะบุรินทร์
8. นายจำลอง ทับสุวรรณ์

นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา


1. ศาสตราจารย์พิเศษ จานงค์ ทองประเสริฐ
2. ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ
3. ศาสตราจารย์ ดร.อุทิส ศิริวรรณ

ข้าราชการ


1. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์
2. ดร.อานาจ บัวศิริ
3. ดร.กนก แสนประเสริฐ
4. นายพนม ศรศิลป์
5. นายบารุง พันธุ์อุบล
6. นางสุนีย์ สัจจาไชยนนท์
7. ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร
8. ดร.ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล

นักการเมือง


1. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
2. ดร.ประกอบ จิรกิติ
3. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
4. ดร.ลีลาวดี วัชโรบล
5. นายธีระ สุวรรณกุล
6. ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา
7. นายสัมพันธ์ เตชะเจริญผล

นักธุรกิจ


1. นายอนันต์ อัศวโภคิน
2. นายบุญชัย เบญจรงคกุล
3. ดร.กฤษฏา จ่างใจมนต์
4. นายอนุรุธ ว่องวานิช
5. ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร
6. นายชัย นิมากร
7. นายสมหมาย ครสาคู
8. นายสุวิทย์ วิมุตตานนท์
9. นายสมเดช สุประดิษฐ์อาภรณ์
10.นางนวรัตน์ ฤดีพิพัฒนพงศ์

สื่อมวลชน


1. นายสมาน สุดโต
2. นางวิรงรอง รัตนฉายา
3. นางศศินา วิมุตตานนท์
4. ดร.วีระ สุภะ
5. นายองอาจ ธรรมนิทา
6. นางสาวยุวดี บุญครอง
7. นางสาววรรนรี ไตรเนตร

ศิลปิน


1. รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี
2. นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
3. นายลือพงศ์ ลีลพนัง
4. นางปิยะนุช ศกุนตนาค (นาคคง)

ดารา-นักร้อง-นักแสดง


1. นางดาวใจไพจิตร สุจริตกุล
2. นางสาวมาลีวัลย์ เจมีน่า
3. นางสาวสุรางคณา สุนทรพนาเวช
4. นายจิรายุ แก้วพะเนาว์

ประชาชนผู้ปฎิบัติธรรม


1. ดร.บุญยง ว่องวานิช
2. เจ้าสุไร สิโรรส
3. นางเกษมสุข ภมรสถิตย์
4. นางนิสารัตน์ ลาวัลยกุล
5. นางไพลิน จารุสมบัติ
6. นางสาวพรลพัชร นรารัตน์วันชัย
7. นางจารัส พลสมัคร
8. ทันตแพทย์สุวัฒน์ สุริยาแสงเพ็ชร์
9. นายบงกช เพ็งพานิช
10. นายอุทัย คูตระกูล

3. ประเภทองค์กร


1. สถานีวิทยุโทรทัศน์ดาวเทียมเพื่อพระพุทธศาสนา (Dhamma Media Channel-DMC)
2. สถานีวิทยุโทรทัศน์ธรรมาธิปไตยของประชาชน (DDTV)
3. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
4. ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
5. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ

รายนามผู้ได้รับรางวัลจากต่างประเทศ

International Awardees


1. Monks


Asia-Theravada Budhhist Sect


1. H.H. Sangharaj Dr. Dharmasen Mahathera Supreme Sangha Council Bangladesh
2. H.H. Deputy Sangharaj Dr.Jnanasree Mahathera Supreme Sangha Council Bangladesh
3. H. H. Sanghanayaka Suddhananda Mahathero BBKPS Bangladesh
4. Most Ven.Dr.Gyana Ratna Chittagong University Bangladesh
5. Venerable Bhikkhu Sanghasena MIMC, Ladakh India
6. พระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) Wat Thai, Bodhgaya India
7. Ven.Gayanalankar Bhikkhu Geyanalankar Buddhist Sangha ,Kolkata India
8. พระครูประกาศธรรมนิเทศ (วงศ์สิน ลาภิโภ) Wat Vipassana Chaha Indonesia
9. Phramaha Somchai Thanavuddho (M.D, Ph.D.) DIMC Japan
10. พระบุนมี ยานวีโร วัดศรีมงคลเชียงแว่ นครเวียงจันทร์ Laos
11. พระมหาบุญทวี วิไลจักร วัดวิจิตธรรมาราม แขวงจาปาศักดิ์ Laos
12. Ven.Eaindanyna Dawei Myanmar
13. พระเทพสิทธิวิเทศ (สุจินต์ โชติปณฺโญ ป.ธ.๖) Wat Ananda Metyarama Singapore
14. Most Ven. Anuruddha World Buddhist Sangha Youth (WBSY) Sri Lanka
15. Ven. Pasura Dantamano World Peace Initiative Foundation Thailand
16. Ven. Pawithai Vajiravijjo (M.D, Ph.D.) Sun of Peace Institute Thailand

Asia-Mahayana,Vacharayana,Japanese Buddhist Sects


1. Master Hsing Yun BLIA / Fo Guang Shan Taiwan
2. Ven. Lama Lobzang IBC India
3. Ven. Weijing Ci Hang Taiwan
4. Rev. Seiko Ito JYBA Japan
5. Rev. Kantai Sakamoto JYBA Japan

Oceanea


1. Phrakruevithetsudhammayana Vi. (Sudham Sudhammo) Buddhist Federation of Australia,Australia

Europe


1. Most Ven. Thic Nhat Hanh Plum Village France
2. Lama Gangchen Rinpoche World Peace Foundation Italy
3. พระเทพพุทธิมงคล(สวัสดิ์ อตฺถโชโต) วัดพุทธาราม เมืองวาลแวกซ์ Netherland
4. Phrakrubhavanathiradham Vi. (Phajon Theradammo) DIMC, Schwarzwald Germany
5. Ven. Prof Dr. Chatri Hemapantho Wat Buddha Vihara St Petersberg Russia
6. พระครูปลัดเอกพล พลปญฺโญ สมาคมชาวพุทธไทยแห่งดอลาร์น่า Sweden
7. พระครูวินัยธรสมศักดิ์ สกฺกเมธี วัดธัมมปทีป แมเคเลิ่น Belgium

America


1. พระราชธรรมวิเทศ (อมรวุฒิ อมโร) Wat Thai LA USA
2. Phrakruvitetpanyaborn( Somboon Sammapunyo) DIMC, California USA
3. Phra Vitesdhammarangsri (Luang Ta Chi) Wat Thai Washington DC USA

South America


1. Phra Paramai Dhanissaro International Meditation Center Peru

South Africa


1. Phrakru Vinaithorn Bundit Varapunyo DIMC S. Africa S. Africa

2. WFB Ex CO members 11 persons


1. H. E. Phan Wannamethee President, Thailand
2. Mr. Phallop Thaiarry Hon. Secretary-General, Thailand
3. Ms. Patcharin Vongsiridej Hon. Treasurer, Thailand
4. Mr. Zhang Lin Deputy Secretary General The Buddhist Association of China, China
5. Dr. Yo, Hsiang-chou Associate Professor in the Departmentof Buddhist Studies Fo Gang University c/o Lay Buddhists’ Association Chinese Taipei.Taiwan
6. Ms. Camellia Darmawan International Relations Officer, Majelis Agama Buddha Theravada Indonesia (MAGABUDHI)
7. Rev. Yoshiharu Tomatsu Secretary - General - Japan Buddhist Federation, Japan
8. Dr. Chi, Ran-Lee Chief Vice-President, Korea Buddhist Culture Welfare Forum, (KBC WFB Regional Center, ROK) S.Korea
9. Mr. Jagath Sumathipala President, All Ceylon Buddhist Congress, Srilanka
10. Mrs. Kanchana Soonsawad c/o The Buddhist Association of Thailand under Royal Patronage,Thailand
11. Ven. Chao Chu Abbot of Rosemead Buddhist Monastery President of the Los Angeles Buddhist Union (LABU), USA
 
3. WFBY Executive Boards 11 persons

1. Dr. Pornchai Pinyapong (MD) President,Thailand
2. Mr. Loka NG Sai Kai Deputy President,Malaysia
3. Ven. Sun Up Vice President • Youth Development,S.Korea
4. Rev. Hakuga Murayama VIice Presidents • Humanitarian,Japan
5. Ven. Shih Ming Yu Vice Presidents • Buddhist Propagation,Taiwan
6. Ven. Altankhuu, Tsereniav Vice Presidents • Buddhist Art & Culture,Mongolia
7. Mr. Tsewang Norbu Vivek Vice Presidents • Buddhist Education,India
8. Ms. Loh Yit Phing Vice Presidents • Leadership Development, Malaysia
9. Mr. Idanont Thaiarry Vice Presidents • International Affairs Thailand
10. Mr. Wannarat Buranasittiporn Treasurer General, Thailand
11. Mr. Denphong Suwannachairop Secretary General, Thailand
4. Persons

1. Mr. Chandraprema Gamage Commissioner General of Buddhist Affairs Sri Lanka
2. Mr. Joko Wuryanto Director of General of Buddhist Department Indonesia
3. Datuk Seri Dr. Victor Wee President of Buddhist Gem Fellowship Malaysia
4. Dr. Ong See Yew President of the Melaka Buddhist Lodge Malaysia
5. Mr. Sri Dewa Kumara Semage WFBY Sri Lanka Sri Lanka
6. Maha Upbasika Nhek Buntha Director of Buddhist Cultural Center of Cambodia Cambodia
7. Mr. David Salim President of Shanghai Wanye Enterprise Laoximen Real Estate Development Limited Indonesia
8. Mr. Anthoni Salim President of Salim Group Indonesia
9. Mr. Joyshanta Bikash Barua Chairman, National Federation of WFBY Regional Center Bangladesh Bangladesh
10. Mr. Sarajit Barua BBJP, Executives Bangladesh
11. Mrs. Shova Shakya President YMBA Nepal
12. Mrs. Nguyen Thi Phuong Supporter/ Vinh Nghiem Pagoda Vietnam
13. Mrs. Nang Kham None Co-ordinator Buddhism Myanmar-Thailand Myanmar
 
5. Organization

1. Tzu Chi Foundation Taiwan
2. Chinese Young Buddhist Association (CYBA) Taiwan
3. Ci-Hang Social Welfare Foundation Taiwan
4. Buddhist Missionary Society Malaysia (BMSM) Malaysia
5. All Ceylon Buddhist Congress (ACBC) Sri Lanka
ที่มา //www.  dmc.tv




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2557    
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2557 16:23:16 น.
Counter : 1414 Pageviews.  

คำอวยพรวันตรุษจีนค่ะ

คำอวยพรวันตรุษจีน


คำอวยพรวันตรุษจีน
สวัสดีปีใหม่ ภาษาจีน
    คำอวยพรวันตรุษจีน อวยพรให้คนในครอบครัว ญาติสนิทมิตรสหายในวันปีใหม่ของจีน

คำอวยพรวันตรุษจีน

คำอวยพรวันตรุษจีน ชุดที่ 1

祝你
Zhu Ni    
ขอให้
1.新年好
xin nian hao
สวัสดีปีใหม่
2.新年快乐
xin nian kuai le
สุขสันต์ปีใหม่
3.万事如意
wan shi ru yi 
สมปรารถนา
4. 身体健康 shen ti jian kang
สุขภาพแข็งแรง
5.恭喜发财
gong xi fa cai
ขอให้ร่ำรวย
6.心想事成
xin xiang shi cheng
คิดสิ่งใดก็ให้สมดังที่คิด
7. 工作顺利
gong zhuo shun li
ขอให้ทำงานราบรื่น
8. 全家幸福!
quán jiä xing fú
ครอบครัว อบอุ่น

คำอวยพรวันตรุษจีน ชุดที่ 2 พร้อมคำอ่านภาษาไทย

恭喜发财
[gōng xǐ fā cái]
กงสี่ฟาไฉ
ขอให้ร่ำรวย
财源广进
[cái yuán guǎng jìn]
ไฉเหยียนกว่างจิ้น
เงินทองไหลมา
招财进宝
[zhāo cái jìn bǎo]
เจาไฉ่จิ้นเป่า
เงินทองไหลมา
年年有余
[nián nián yǒu yú]
เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋
ทุก ๆ ปี เหลือกินเหลือใช้ 
事事顺利
[shì shì shùn lì]
ซื่อซื่อซุ่นลี่ 
ทุกเรื่องราบรื่น
玉满堂 
[yù mǎn táng]
จินยวี้หม่านถัง
ร่ำรวยเงินทอง
一本万利
[ yī běn wàn lì]
อิ้เปิ่นว่านลี่
กำไรมากมาย
大吉大利
[dà jí dà lì]
ต้าจี๋ต้าลี่
ค้าขายได้กำไร
年年发财
[nián nián fā cái]
เหนียนเหนียนฟาไฉ
รำรายตลอดไป ทุก ๆ ปี
龙马精神
[lóng mǎ jīng shén]
หลงหม่าจินเสิน
สุขภาพแข็งแรง
吉祥如意
[jí xiáng rú yì]
จี๋เสียงหยูอี้
สมปรารถนา
好运年年
[hǎo yùn nián nián]
เห่ายวิ่นเหนียนเหนียน
โชคดีตลอดไป ทุก ๆ ปี
四季平安
[sì jì píng ān]
ซื่จี้ผิงอัน
 ราบรื่น ปลอดภัยตลอดปี
一帆风顺
[yī fān fēng shùn]
อี้ฝันฟงซุ่น
ทุกอย่างราบรื่น

คำอวยพรวันตรุษจีน ชุดที่ 3

ประโยคอวยพรภาษาจีนที่พบเห็นบ่อยในการ์ดอวยพรวันปีใหม่ 

คำศัพท์

祝福            zhù fú           ขออวยพรให้

幸福如意      xìng fú rú yì  มีความสุขสมปรารถนา 

ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 1 : 祝福您和您的家人幸福如意.
zhù fú nín hé nín de jiā rén xìng fú rú yì
จู้ ฝู หนิน เหอ หนิน เตอ เจีย เหยิน ซิ่ง ฝู หยู อี้
ขออวยพรให้ท่านและครอบครัวของท่านมีความสุขสมปรารถนา
A beautiful wish to you and your family --- live a happy life and everything goes well.
ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 2 : 恭贺新年。

gōng hè xīn nián.
กงเฮ้อ ซินเหนียน
สวัสดีปีใหม่ /ขออำนวยพรในวันปีใหม่
A happy New Year to you.
ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 3 : 恭贺新禧,祝身体健康、事业发达。

gōnghè xīn xĭ, zhù shēn tĭ jiàn kāng,shìyè fādá.
กงเฮ้อ ซิน สี่ จู้ เซิน ถี่ เจี้ยน คัง ซื่อ เย่ ฟา ต๋า
สวัสดีปีใหม่ ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง งานการ(หรือกิจการ)เจริญรุ่งเรือง
Allow me to congratulate you on the arrival of the New Year and to extend to you all my best wishes for your perfect health and lasting prosperity.
คำอวยพรวันตรุษจีน

ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 4 : 恭贺新禧,万事如意。

gōng hè xīn xĭ,wàn shì rú yì.
กง เฮ้อ ซิน สี่ ว่านซื่อ หยู่ อี้
สวัสดีปีใหม่ ขอให้หมื่นเรื่องสมปรารถนา (ขอให้สมปรารถนาในทุก ๆ เรื่อง)
At such a wonderful moment, I send you a gentle and warm care and wish: May every day be brilliant for you!


ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 5 : 恭祝健康、幸运,新年快乐。

gōng zhù jiàn kāng.xìng yùn,xīn nián kuài lè.
กง จู้ เจี้ยน คัง ซิ่งอวิ้น ซินเหนียน ไคว้ เล่อ
ขอให้แข็งแรง  โชคดี  มีความสุขในวันปีใหม่
Good health, good luck and much happiness throughout the year.


ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 6 : 祝来年好运,并取得更大的成就。

zhù lái nián hăo yùn,bìng qŭ dé gèng dà de chéng jiù.
จู้ หลาย เหนียน ฮ่าว อวิ้น ปิ้ง ฉวี่ เต๋อ เกิ้ง ต้า เตอ เฉิงจิ้ว
ขอให้โชคดีและได้รับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในปีหน้าที่จะมาถึงนี้
Good luck and great success in the coming New Year.
คำศัพท์

大吉大利      dà jí dà lì      สวัสดิมงคล
ประโยคอวยพรวันตรุษจีนที่ 7 : 谨祝新年快乐幸福,大吉大利。

jĭn zhù xīn nián kuài lè xìng fú,dà jí dà lì.
จิ่น จู้ ซิน เหนียน ไคว้ เล่อ ซิ่งฝู ต้า จี๋ ต้า ลี่
ขอให้ปีใหม่นี้ประสบความสุขสวัสดิมงคล
I hope you have a most happy and prosperous New Year.




 

Create Date : 29 มกราคม 2557    
Last Update : 29 มกราคม 2557 17:19:34 น.
Counter : 2856 Pageviews.  

หายสงสัย : ถาม-ตอบ มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร

ถาม-ตอบ มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร

ถาม-ตอบ มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร โดย พระมหาสมเกียรติ วรยโส ป.ธ.9 อภิธรรมมหาบัณฑิต, พระมหาวีรวัฒน์ วีรวฑฺฒโก ป.ธ.9, พระมหา ดร.สุธรรม สุรตโน ป.ธ.9, พระ ดร.สมศักดิ์ จนฺทสีโล

ถาม-ตอบ มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย
เส้นทางพระผู้ปราบมาร


โดย พระมหาสมเกียรติ วรยโส ป.ธ.9 อภิธรรมมหาบัณฑิต, พระมหาวีรวัฒน์  วีรวฑฺฒโก ป.ธ.9,

พระมหา ดร.สุธรรม  สุรตโน ป.ธ.9, พระ ดร.สมศักดิ์ จนฺทสีโล


มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัยคืออะไร

      มหาธรรมยาตรา คือ การเดินไปเป็นหมู่ใหญ่ของพระภิกษุเพื่อเผยแผ่ธรรมและปฏิบัติธุดงควัตรอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งไปด้วย เพื่อชนะกิเลสด้วยธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธุดงค์คืออะไร

    ธุดงค์ คือ วิธีปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสตนเองอย่างเข้มข้น และเป็นวิธีที่จะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อปราบทุกข์ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น

ธรรมชัยคืออะไร


    ธรรมชัย คือ การชนะมารคือกิเลสเป็นต้นด้วยธรรมของพระพุทธองค์


ทำไมต้องเดินในเมือง  ปฏิบัติอยู่กับที่ หรือเดินอยู่ในป่าไม่ได้หรือ


    1. ความทุกข์อยู่ในใจของคน จะแก้ทุกข์ได้ก็ต้องทำให้ใจชุ่มชื่น เบิกบาน ผ่องใส และคนส่วนมากก็รวมกันอยู่ในเมืองมากกว่าที่อยู่ในป่า การที่คนในเมืองได้เห็นมหาธรรมยาตราของพระภิกษุที่ฝึกฝนตนเองมาอย่างดีเป็นระเบียบเรียบร้อย จิตย่อมเบิกบานผ่องใส เมื่อจิตผ่องใส สว่าง ความทุกข์ความมืดมนต่างๆที่มีอยู่ในใจขณะนั้นก็เป็นอันถูกขจัดไป เหมือนพระอาทิตย์ขึ้น ก็ย่อมกำจัดความมืดไป ทำให้โลกนี้สว่างได้ฉะนั้น

    2. คนส่วนมากอยู่ในเมือง คนเมืองเมื่ออยู่ร่วมกันจำนวนมากก็มีทุกข์มากอันเกิดจากการไม่สำรวมกาย  วาจา  จึงเกิดการกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกัน เมื่อมาเห็นพระธุดงค์ผู้มีความสงบสำรวม ยาตรามาอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย สง่างาม จำนวนมากถึง 1,129 รูป จิตก็จะเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา เกิดสติได้คิดว่า พระท่านแม้มีจำนวนมากก็ไม่เกิดทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน เพราะท่านฝึกฝนสติมาอย่างดี เราก็ควรฝึกตนเองให้มีสติจะได้สงบ สำรวมเช่นท่าน ทุกข์อันเกิดจากใจที่เร่าร้อนเพราะการกระทบกระทั่งกันก็จะได้สงบลงเหมือนอย่างพระท่าน

    3. คนในเมืองได้เห็นพระธุดงค์ต้นแบบในการฝึกฝนตนเองจำนวนมาก ซึ่งได้ฝึกฝนตนเองตามวิธีปฏิบัติของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ผู้ค้นพบวิธีปราบมารกำจัดทุกข์ตามแบบอย่างพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระผู้ปราบมารองค์แรก ก็จะทำให้เกิดกำลังใจอาจหาญร่าเริงที่จะปฏิบัติตามท่าน
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลà¸งปู่à¸ัดปากน้ำ à¸<!--{cke_protected}{C}%3C!%2D%2D%20WP_SPACEHOLDER%20%2D%2D%3E-->าษีเจริญ
พระมงคลเทพมุนี (สด  จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
พระผู้ปราบมาร

พระผู้ปราบมารคือใคร


    พระผู้ปราบมาร คือ พระผู้กำจัดทุกข์อันเกิดจากกิเลสมารเป็นต้นให้หมดสิ้นไป และสอนวิธีกำจัดทุกข์ให้แก่ชาวโลก โดยมีพระพุทธองค์เป็นพระผู้ปราบมารองค์แรก และพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่สดวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระผู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันจนค้นพบวิธีปฏิบัติในการกำจัดทุกข์อย่างง่ายๆ ตามวิธีการปฏิบัติของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระผู้ปราบมารองค์แรก เพราะเส้นทางนี้ได้เลือนรางไปหลังพุทธปรินิพพานแล้วประมาณ 500 ปี

มารคือใคร


    มาร คือ สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ และขัดขวางการทำความดีทั้งปวง ได้แก่ กิเลส, กรรม, ผลของกรรม, ความตาย และคนเลว

เส้นทางพระผู้ปราบมารคืออะไร


    เส้นทางพระผู้ปราบมาร คือ วิธีปฏิบัติในการปราบทุกข์อันเป็นเส้นทางภายในตัวของทุกคน และเส้นทางเดินไปสู่สถานที่ให้ระลึกถึงพระผู้ปราบมารในยุคปัจจุบันคือพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่สดวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระผู้ค้นพบเส้นทางปราบมารของพระพุทธองค์ผู้เป็นพระปราบมารองค์แรก ซึ่งเลือนรางไปให้ย้อนกลับมาในยุคนี้

การเดินในเมืองผิดพุทธประสงค์หรือไม่


      การเดินแต่ละครั้งเป็นการเดินตามพุทธประสงค์ คือ เดินไปเพื่อเผยแผ่วิธีกำจัดทุกข์ให้ชาวโลก และฝึกฝนการกำจัดทุกข์ของพระภิกษุ มิได้เดินเพื่อต้องการปัจจัยลาภหรือต้องการโอ้อวดแบบแฟชั่นโชว์  แต่ว่าจะเกิดประโยชน์แก่ผู้มีบุญบางพวกคือคนที่ยังไม่เลื่อมใสก็จักทำจิตให้เลื่อมใส คนที่เลื่อมใสแล้วก็จะเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป  ซึ่งคนบากพวกจะแสดงออกถึงความเลื่อมใสด้วยการบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น บางพวกจักถวายภัตตาหาร น้ำปานะ บางพวกก็จักละความเห็นผิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน

ทำไมต้องเดินทุกปี


    ความทุกข์เกิดขึ้นทุกวัน แม้ผู้ที่ฝึกกำจัดทุกข์อันเกิดจากกิเลสทุกวัน ก็ยังไม่รู้เลยว่ากิเลสตัวต้นเหตุให้เกิดทุกข์จะหมดสิ้นเมื่อไร พระท่านมาเดินเพื่อให้สติให้เป็นต้นแบบของการสำรวมระวังแก่คนจำนวนมากเพียงปีละครั้ง    ถือว่ายังน้อยมาก ไม่เพียงพอที่จะให้เกิดสติในการเตือนให้กำจัดทุกข์ได้

ทำไมต้องหล่อด้วยทองคำด้วยล่ะ


    ความจริงหากหาโคตรเพชรได้ใหญ่ขนาดรูปท่านได้ หรือได้รัตนชาติอื่นใดที่มีค่าที่สุดในโลกมนุษย์มาหล่อหลอมเป็นรูปของท่านได้ เหล่าศิษยานุศิษย์ผู้รู้ซึ้งถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของท่านก็คงจะหามาหล่อหลอมเป็นรูปของท่านแล้ว ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นทองคำหรอกนะ เพราะรัตนะใดๆในโลก ก็มีคุณค่าไม่เท่ากับพระรัตนตรัย โดยเฉพาะเฉกเช่นพระเดชพระคุณหลวงปู่พระผู้ปราบมารองค์ปัจจุบัน ซึ่งสละชีวิตเป็นเดิมพันในการค้นพบเส้นทางปราบมารกำจัดทุกข์ตามแบบอย่างพระผู้ปราบมารองค์แรกคือพระพุทธองค์ ซึ่งเส้นทางนี้ได้เลือนรางไปให้หวนกลับคืนมาใหม่ 

ทำไมต้องปูเสื่อและโปรยดอกไม้ด้วย


    เป็นการเชิดชูบูชาแด่พระรัตนตรัยอย่างสุดซึ้งทางกายกรรมที่จะทำให้ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยยิ่งๆขึ้นไป เพราะมาเห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสำรวมของพระภิกษุแม้มีจำนวนมากก็ตามที ซึ่งวิธีการนี้ก็มีผู้ทำมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเป็นการกระทำของผู้ที่มีจิตผ่องใสเต็มที่แล้ว

ทำไมต้องเอาดอกดาวเรืองด้วย ดอกไม้อย่างอื่นไม่ได้หรือ


    เพราะดอกดาวเรืองหาได้ ปลูกง่าย ไม่มียางกัดเท้า ไม่มีหนาม หรือความแข็งที่จะไปบาดเท้าพระภิกษุ และมีสีเหลืองสว่างใกล้เคียงกับผ้ากาสาวพัสตร์ของพระภิกษุ ทำให้จิตใจของผู้โปรยและของพระธุดงค์ผู้เดินรู้สึกสงบเย็นไปด้วย

หลวงปู่สดคือใคร มีความสำคัญอย่างไร ศักดิ์สิทธิ์อย่างไร    


    หลวงปู่สดคือพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรงทางพระนิพพานชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน จนค้นพบเส้นทางพระผู้ปราบมารด้วยพระธรรมกายให้ย้อนหวนคืนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเส้นทางนี้ลางเลือนไปแล้วตั้งแต่ครั้งหลังพุทธปรินิพพานได้ประมาณ 500 ปีหรือประมาณหลังสังคายนาครั้งที่ 4 (3 ครั้งแรกที่อินเดียและครั้งที่ 1 ในลังกา รวมเป็น 4 ครั้งซึ่งยังรุ่งเรืองด้วยพระอรหันต์และพระอริยสาวก) แล้ว

    หลังจากที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ค้นพบเส้นทางปราบมารด้วยพระธรรมกายแล้ว ก็มีมหากรุณาได้นำไปเผยแผ่ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจนเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว ทำให้ได้ประสบความสุขภายในและความสำเร็จประโยชน์ในปัจจุบันตามที่ปรารถนา เช่น รอดตาย หายป่วย ร่ำรวยขึ้นเป็นต้นอีกมากมาย ดังที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติของท่าน และสิ่งที่ปรากฏชัดให้เห็นชัดเป็นรูปธรรมในอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงปู่สำหรับผู้ที่ยังไม่ชอบการปฏิบัติก็คือพระของขวัญวัดปากน้ำซึ่งหลวงปู่ได้ประกอบวิชชาธรรมกายขณะทำ ทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ตลอดกาล ดังที่กล่าวขานในหนังสือพระเครื่องทั่วไป ทำให้หลวงปู่พระผู้ปราบมารเป็นที่เคารพเลื่อมใสยิ่งของเหล่าศิษยานุศิษย์ผู้รู้ซึ้งถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่นี้ตลอดกาล
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2
ภาพธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2 วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2556 จากที่ดินตลิ่งชันถึงร.ร.สุรศักดิ์มนตรี

ทำไมต้องมาเดินธุดงค์ในเมือง


    ที่ต้องเดินในเมืองก็ด้วยเหตุผล 2 ประการหลักๆ คือ

      1. เพราะเป็นเส้นทางผ่านไปสู่สถานที่ให้ระลึกถึงพระผู้ปราบมารในยุคปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การย้อนรอยถึงพระผู้ปราบมารในอดีตองค์แรกคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น    
      2. ประโยชน์ของการเดินในเมืองก็เพื่อเผยแผ่ธรรมะคือเส้นทางปราบกิเลสมารซึ่งอยู่ภายในใจของทุกคน ซึ่งคนส่วนมากก็อยู่ในเมือง และคนในเมืองส่วนมากก็มีบุญบารมีมากพอ (หากไม่มีกรรมมาบังเสียก่อน) ที่จะปฏิบัติตามเส้นทางปราบมารภายในได้





 

Create Date : 09 มกราคม 2557    
Last Update : 9 มกราคม 2557 8:51:05 น.
Counter : 1276 Pageviews.  

คัมภีร์แห่งกษัตริย์...สมบัติแห่งแผ่นดิน

คัมภีร์ใบลานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมถึงคัมภีร์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง หรือฉบับของหลวง ส่วนคัมภีร์ใบลานที่พระภิกษุสงฆ์หรือราษฎรสร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับราษฎร์ หรือ ฉบับเชลยศักดิ์


คัมภีร์ใบลาน

คัมภีร์แห่งกษัตริย์...สมบัติแห่งแผ่นดิน

คัมภีร์ใบลาน

        ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวหลอมรวมจิตใจของชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน สถาบันทั้ง 3 ต่างเกื้อหนุนค้ำจุนซึ่งกันและกัน จนทำให้ประเทศชาติอยู่รอดเป็นเอกราชมาได้จนปัจจุบันพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจวบจนกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนับถือและมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกเสมอมา และถือเป็นราชธรรมเนียมปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์จะทรงสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา ฝากฝังไว้ในพระพุทธศาสนาให้เป็นสมบัติของแผ่นดินสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก พระองค์และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงประกาศต่อคณะสงฆ์ว่า
คัมภีรืใบลาน

      คัมภีร์ใบลานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมถึงคัมภีร์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง หรือฉบับของหลวง ส่วนคัมภีร์ใบลานที่พระภิกษุสงฆ์หรือราษฎรสร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับราษฎร์ หรือ ฉบับเชลยศักดิ์
คัมภีร์ใบลาน

      แบบหน้าปกและลวดลายสีสันขอบลานคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงมีรูปแบบเฉพาะตัวและมีชื่อเรียกต่างกันไป ซึ่งสามารถใช้บอกยุคสมัยและรัชสมัยต่าง ๆ ได้

     นอกจากนี้คัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับหลวงจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะเขียนรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลให้ปรากฏอยู่ในใบรองปก ซึ่งสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ ถ้าเป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่สร้างสำหรับรัชกาลนั้น ๆ รูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลจะอยู่ที่ด้านขวาและซ้ายของใบลาน

      ถ้าเป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่สร้างซ่อมเพิ่มเติมฉบับของรัชกาลก่อนที่ขาดหรือสูญหายไป รูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลก่อนจะอยู่ด้านซ้ายของใบลาน ส่วนรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลในขณะนั้นที่สร้างขึ้นมาใหม่จะอยู่ด้านขวาของใบลาน เช่น พระไตรปิฎกฉบับรัชกาลที่ 4 สร้างซ่อมฉบับในรัชกาลที่ 3 จะมีรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 3 อยู่ทางด้านซ้ายและมีรูปสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 4 อยู่ทางด้านขวา
คัมภีร์ใบลาน

       พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงสร้างคัมภีร์ใบลานเพื่อบันทึกรักษาคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนถือปฏิบัติเป็นราชประเพณีอันดีงามสืบมา ประเทศไทยของเราในวันนี้จึงยังคงมีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ดำรงมั่นคงเป็นปิ่นแก้วของประเทศได้ด้วยพระบารมีแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และบูรพมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินสยามทุก ๆ พระองค์ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ดังพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า
คัมภีร์ใบลาน
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และวิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร. คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์.
กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๖.
ข้อมูลจาก : Tipitaka (DTP)




 

Create Date : 08 มกราคม 2557    
Last Update : 8 มกราคม 2557 8:30:12 น.
Counter : 2896 Pageviews.  

ประเพณีการล้างเท้าพระ

 

การล้างเท้าพระ เป็นพุทธประเพณีหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังเรื่องของสังขพราหมณชาดก ที่กล่าว ถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ในชาตินั้น สังขพราหมณ์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาด้วยเท้าเปล่าเหยียบย่ำทรายที่ร้อนดังถ่านเพลิง จึงเกิดกุศลศรัทธา รีบนิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ แล้วล้างเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด

พุทธประเพณีการล้างเท้าพระ


การล้างเท้าพระ เป็นพุทธประเพณีหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล


     การล้างเท้าพระ เป็นพุทธประเพณีหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังเรื่องของสังขพราหมณชาดก ที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ในชาตินั้น สังขพราหมณ์เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาด้วยเท้าเปล่าเหยียบย่ำทรายที่ร้อนดังถ่านเพลิง จึงเกิดกุศลศรัทธา รีบนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ แล้วล้างเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด ทาเท้าด้วยน้ำมันหอม จากนั้นยอมสละรองเท้าที่ตนสวม โดยนำมาเช็ดและทาด้วยน้ำมันหอม แล้วสวมใส่ให้พระปัจเจกพุทธเจ้า พร้อมกับถวายร่ม...


อานิสงส์ผลบุญที่สังขพราหมณ์ได้รับ

     ด้วยบุญนี้ ส่งผลให้ในชาตินั้นสังขพราหมณ์รอดพ้นจากความตายในขณะที่ประสบอุบัติเหตุเรือแตกท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเทพธิดาที่ชื่อมณิเมขลา เห็นถึงบุพกรรมที่สังขพราหมณ์ได้ประกอบกรรมดี โดยการล้างเท้าและถวายรองเท้าแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงช่วยชีวิตไว้ด้วยการเนรมิตเรือที่มีสมบัติมากมายให้เดินทางไปถึงฝั่งอย่างปลอดภัย และด้วยผลบุญที่สังขพราหมณ์ทำในชาตินั้นเอง หลังจากละโลกไปแล้ว สังขพราหมณ์ได้ไปเกิดในเทวโลก

พระราชาทรงล้างเท้าพระ

      พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชมพูทวีป และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ทรงถวายการล้างเท้าพระในครั้งที่พระองค์ทรงอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสสเถระ (ผู้เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งที่ 3) ไปสู่ราชอุทยานของพระองค์ ครั้นไปถึง พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงเป็นถึงพระราชา ก็ทรงล้างเท้าพระเถระและทาด้วยน้ำมันให้ ก่อนที่พระองค์จะทรงถามปัญหา และอาราธนาให้พระโมคคลีบุตรติสสเถระแสดงปาฏิหาริย์ทำแผ่นดินไหวให้ประจักษ์แก่พระเนตรของพระองค์

พระเจ้าพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสีทรงถวายการล้างเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า 5 พระองค์

       ในครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น พระเจ้าพรหมทัต แห่งกรุงพาราณสี พระองค์ทรงถวายการล้างเท้า แล้วทาด้วยน้ำมันหอมแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง 5 องค์ ในครั้งที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาที่พระราชวัง ซึ่งหลังจากที่พระองค์ทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ภายหลังทรงออกผนวชเป็นฤาษีตลอดชีวิต หลังจากละโลกแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปบังเกิดยังพรหมโลก




 

Create Date : 26 ธันวาคม 2556    
Last Update : 26 ธันวาคม 2556 18:05:36 น.
Counter : 1150 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

อุ่นอาวรณ์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add อุ่นอาวรณ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.