"แจ๊ส....ฉัน"
Group Blog
 
 
มกราคม 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 มกราคม 2559
 
All Blogs
 
จอห์น โคลเทรน และความหมายแห่งชีวิต (ตอนแรก)

ห่างหายไปนานจากบล็อก เพราะหน้าที่การงาน ความขี้เกียจ และเรื่องราวต่างๆ ที่ทำให้ไม่มีเวลาทำบล็อกต่อ แต่วันนี้นำเรื่องของจอห์น โคลเทรนมาแปลให้อ่านกัน :D


คงจะมีศิลปินแจ๊สไม่กี่คนที่จะได้รับความสนใจและความเคารพนับถือมากไปกว่าจอห์นโคลเทรน เอลวิน โจนส์ มือกลองจากอัลบัม TheClassic Quartet (1961-65) ของจอห์นเคยกล่าวไว้ว่าคนที่ฟังเพลงของจอห์นอย่างจริงจังได้นั้น จะต้องมีผลงานของเขาให้ครบทุกชุดคนที่ต้องการฟังตัวตนของจอห์น ก็ต้องการฟังทุกสิ่งที่ทำขึ้นมาผมก็เป็นหนึ่งในพวกที่ชอบฟังอะไรครบๆ แบบนั้น ตาก็มองหาร้านขายแผ่นแล้วก็ค้นหาผลงานใหม่ๆ ทางออนไลน์ ผู้ชายคนนี้คือเบื้องหลังความรักในเสียงเพลงของผมเช่นเดียวกันผมสะสมหนังสือเกี่ยวกับจอห์น โคลเทรน ไม่ว่าจะเป็น John Coltrane: His Lifeand Music ชีวประวัติเขียนโดยลิวอิส พอร์เตอร์และหนังสือที่เกี่ยวกับผลงานดนตรีของจอห์น อย่าง Coltrane: The Story of aSound เขียนโดยเบน แร็ตลิฟฟ์ ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนไม่ค่อยพูดแต่บางอย่างก็สะท้อนออกมาจาก Coltrane on Coltrane หนังสือเรื่องราวต่างๆยังคงพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ผมก็คอยตามซื้อตามอ่าน เหมือนๆกับแฟนเพลงพันธุ์แท้คนอื่นๆ

นักแซ็กโซโฟนคนนี้เป็นคนน่าสนใจ แทบไม่มีสำเนียงที่ไร้รสชาติและลังเลมาจากซาวด์ของจอห์นเลยแม้แต่น้อยผมได้ยินหลายคนพูดว่า “ไม่เห็นเข้าใจเลย” มีอยู่ครั้งหนึ่งผมเปิดเพลง Transition งานจากยุคคลาสสิกควอร์เต็ตของจอห์นให้กับนักศึกษาภาควิชาปรัชญาฟังในบ้านของผม ผมบอกให้พวกเขาเงียบ พอเล่นจบนักศึกษาสาวสมองใสคนหนึ่งก็พูดขึ้นมาว่า “หนูไม่แน่ใจว่าพวกเขาเล่นเป็นหรือเปล่า?”ผมก็บอกเธอว่าเล่นเป็นสิ คุณแน่ใจได้เลยว่าเพลงพวกนี้ต้องใช้รสนิยมในการฟังดนตรีนี้ด้วยเหมือนกันนะอย่างที่ที.เอส.อีเลียตเรียกว่า“รสนิยมที่ได้รับการอบรม” หรือไม่คุณก็อยู่ห่างๆ ซะ นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่ได้มีความสนใจเลยหรือไม่ก็เพราะคุณไม่ชอบ นักวิจารณ์บางคนรู้จักจอห์น โคลเทรนและแจ๊สดีอยู่แล้วแต่ก็ไม่ชอบสิ่งที่ได้ฟัง ใน Cultural Amnesia ไคลฟ์ เจมส์นักวิจารณ์ชาวอังกฤษเขียนถึงจอห์นอย่างขนลุกขนพอง เมื่อเปรียบเทียบแนวทางการเล่นที่กระชับและมีขอบเขตอย่างของเบนเว็บสเตอร์ แต่ไคลฟ์เป็นข้อยกเว้น คนส่วนมากที่ใส่ใจในการฟังเพลงของจอห์นจริงจังจะค้นพบหนทางของตัวเองเปิดเข้าสู่โลกของแจ๊สพวกเขาก็จะถูกมัดใจไว้ด้วยดนตรีที่สมบูรณ์แบบของชายผู้เงียบขรึมคนนี้และความลุ่มลึกแห่งความเป็นจริง

สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความหมายของชีวิตบางคนเลี่ยงที่จะไม่สนใจ หลบเลี่ยงคำถามและเลือกที่จะสนใจสิ่งที่ไม่อยู่ตรงหน้าบางคนก็ตะโกน “ไม่!”“ตอนไหนก็ตามที่มีคนตั้งคำถามถึงความหมายและคุณค่าของชีวิต คนคนนั้นคือคนป่วยทั้งสองสิ่งนั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง” ซิกมันด์ ฟรอยด์เป็นผู้เขียนเอาไว้ คาร์ล จุงสานุศิษย์ของซิกมันด์ซึ่งภายหลังกลายเป็นผู้ที่ฟุ้งเฟ้อได้ตั้งคำถามต่อการปฏิเสธของซิกมันด์เพราะฉะนั้นเขาจึงโต้ตอบกลับว่า “คำถามที่เด็ดเดี่ยวสำหรับมนุษย์คือเขาเกี่ยวข้องกับอนันตกาลหรือไม่? นั่นคือคำถามแห่งชีวิต” ไม่มีความจำเป็นในการค้นหาว่าสิ่งใดสำคัญที่สุดหากว่าไม่มีอะไรสำคัญเลย วิกเตอร์ แฟรงเคิลจิตแพทย์และผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ ได้เขียนเอาไว้ใน Man’s Search forMeaning ว่า “สิ่งที่มนุษย์ต้องการไม่ใช่ความผ่อนคลายแต่เป็นการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป้าหมายอันมีค่าต่อคนคนนั้นสิ่งที่เขาต้องการไม่ใช่การปลดเปลื้องความกดดัน แต่คือการเรียกร้องสิทธิแห่งการเติมเต็มด้วยตัวเอง”

จอห์นโคลเทรนรู้สึกถึงภาวะตึงเครียดระหว่างการดิ้นรนและอุดมคติ หากแต่ก็รับรู้อย่างชัดเจนว่ามันมีอะไรมากกว่าสิ่งที่เห็นอยู่ สิ่งที่สามารถวัดค่าออกมาได้หรืออะไรที่ถูกเทคโนโลยีชี้นำได้ ด้วยดนตรีที่เปรียบเสมือนยานพาหนะของเขา เขาจริงจังในการเดินทางมุ่งหน้าสู่ปลายทางอันทรงเสน่ห์ของดินแดนที่ไร้คนรู้จักแน็ต เฮนทอฟฟ์ นักวิจารณ์ดนตรีแจ๊สผู้ซึ่งรู้จักจอห์นเป็นการส่วนตัวกล่าวไว้ว่า“เขาเป็นคนที่ชอบค้นหาอยู่เสมอ ทั้งยังมีพัฒนาการตลอด นั่นคือเหตุผลว่าทำไมงานแสดงสดของเขาที่ได้มีการบันทึกเสียงเอาไว้บางส่วนเขาสามารถเล่นเพลงเพลงเดียวได้ยาวถึงชั่วโมงครึ่ง เพราะว่าเขามักมองไปไกลและลึกพยายามค้นหาสิ่งอื่นๆ ที่เอามาเล่าได้” คุณสมบัติชั้นดีที่มีอยู่ในตัวจอห์นมาเสมอก็คือความเข้มข้นเอาจริงเอาจังเขาถามตัวเองอย่างหนักว่าจะสามารถนำเสนอสิ่งดีๆให้กับคนฟังที่ยินดีจะเดินทางข้ามแดนไปกับเขา ชาวแจ๊สผู้ช่ำชองมักจะเป็นที่รู้จักด้วยสไตล์การเล่น,การประพันธ์เพลง และการอะเรนจ์เพลง ไม่เกี่ยวกับความคิด ความเชื่อหรือปรัชญาที่เลื่อมใสไมล์ส เดวิสเป็นคนหนึ่งที่มีครบทุกประการ แต่น้อยมากที่จะรู้โลกทัศน์ของเขาชื่อของไมล์สคือดนตรี ไม่ใช่อภิปรัชญาหรือเวทย์มนตร์ใดๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านักดนตรีแจ๊สหลายคนก็มีความเชื่อและศรัทธาในศาสนาแต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะผลอมรวมเอาความเชื่อและศรัทธาเหล่านี้เข้ามาเป็นเนื้อเดียวกับผลงานเพลงแต่นั่นไม่ใช่จอห์น โคลเทรน ในไลเนอร์โน้ตของอัลบัม GiantSteps ครั้งที่ผลิตออกมาเมื่อปี 1997 แน็ตกลั่นกรองเอาความหลงใหลของเขาออกมา“ผลงานของนักดนตรีควรค่าแก่การฟังทั้งสิ้นไม่ว่าจะอยู่หรือจากไปแล้วมันเติบโตขึ้นเพราะดนตรีของพวกเขาลงรากลึกสู่คนฟัง แต่จอห์นผูกพันธะตัวตนในการค้นหาดนตรีใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งค้นหาตัวตนของเขาเองด้วย ครั้งหนึ่งเขาเคยบอกผมว่า“ดนตรีก็คือคำถามทั้งหมดของชีวิตนั่นเอง””

Pursuanceเป็นชื่อมูฟเมนต์ที่ 2 จากอัลบัมสร้างชื่อของเขาA Love Supreme (1965) ได้รวมเอาองค์ประกอบในชีวิตของจอห์นและสถาปนาขึ้นมาเป็นพรวรรค์สุดวิเศษอันถ่อมตนของเขาเส้นทางอาชีพของจอห์นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่เหมือนกับซันนี รอลลินส์เพื่อนของเขา เขาไม่ได้ยิ่งใหญ่ในโลกแจ๊สตั้งแต่ยังหนุ่ม เขาเล่นกับวงดนตรีหลายวงวงที่เป็นที่นับหน้าถือตามากที่สุดก็คือ วงบิ๊กแบนด์ของดิซซี กิลเลสปี เขาไม่ได้โดดเด่นฉายแววแต่เป็นคนธรรมดาที่เล่นอยู่ในภาคเครื่องเป่าก็เท่านั้น โอกาสสำคัญได้มาถึงเมื่อไมล์สเดวิสว่าจ้างให้เข้าไปเล่นในวงควินเต็ต ตลอดช่วงเวลาการทำงานในฐานะผู้นำวงไมล์สมีสายตาเฉียบคมของการเป็นแมวมอง เขาเสนอโอกาสงามๆในการโบยบินให้กับนักดนตรีที่ตนเองได้เป็นผู้เลือกเอาไว้โซโลที่เข้มข้นและดุดันของจอห์นคือ แนวทำนองสอดประสานที่เฉียบคมที่เข้ากันได้ดีกับสไตล์เล่นน้อยแต่ได้มากและน่าฟังแบบของไมล์สในหนังสือ The World According to John Coltrane จิมมีค็อบบ์ มือกลองรายงานว่า บางครั้งไมล์สเองก็ยังงงกับโซโลที่ยาวเหยียดของจอห์น แล้วก็มีการพูดคุยถกกันในเรื่องนี้ด้วยเขาตอบไมล์สว่า เขามีไอเดียเยอะแยะมากมายเต็มไปหมด ซึ่งไม่รู้ว่าจะหยุดเล่นยังไงไมล์สก็เลยบอกไปว่า “ก็เอาแซ็กออกจากปากสิ” หากแต่ความปรารถนาในการทำงานที่สมบูรณ์แบบทำให้เขาไม่นิยมการตัดต่อแก้ไขเขาบอกไมล์สว่าเขามีปัญหาในการ “เก็บเกี่ยวทุกอย่างเข้ามารวมกัน”และรวมให้ได้อย่างมีระเบียบ

สำหรับประเด็นนี้จอห์นลงทุนลงแรงทั้งหมดเข้าไปในงานศิลปะของเขา และก็ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่เขาจะฝึกฝนและเล่นดนตรีเท่านั้นเขายังคิดวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นรูปแบบของมันด้วยการศึกษาทฤษฎีดนตรีให้เฉียบคมยิ่งขึ้นค้นหาเสียงที่เป็นของตัวเอง การเส้นทางไม่ได้โรยกลีบกุหลาบและคาดไม่ถึงในตอนแรกแน็ตไม่ได้สนใจวิธีการเล่นแซ็กโซโฟนของจอห์น(ซึ่งภายหลังเขายกย่องตอกย้ำสรรเสริญจอห์นอย่างอเนกอนันต์จวบจนกระทั่งทุกวันนี้แน็ตเขียนไว้ว่า “ด้วยการเติบโตมากับเสียงดนตรีแบบของเลสเตอร์ ยังก์, โคลแมนฮอว์กินส์, บัดดี เทตและดอน ไบแอส ทำให้ผมใช้เวลาอยู่สักพักหนึ่งในดึงตัวเองเข้าสู่พิภพของจอห์นโคลเทรน ช่วงแรกในนิตยสารดาวน์บีตผมก็เคยเขียนถึงซาวด์อันไม่น่าดึงดูดของจอห์นส่วนเวลาฟังเพลงของเขาในคลับ ผมก็มึนงงหลงทางกับโซโลเข้มๆ อันยาวเหยียดของเขาอย่างไรก็ตาม แน็ตและนักวิจารณ์ส่วนมากก็ได้ค้นพบกับวิธีการที่จะเข้าถึงภาษาดนตรีของ“แซ็กฯ เพลิง” ของจอห์นเวลาที่มีคนถามว่าเขาโกรธกริ้วใครอยู่หรือเปล่าตอนที่กำลังเล่นจอห์นบอกว่าคนที่เขาจะโกรธได้คงมีแค่คนเดียวคือตัวเขาเองเพราะว่าไม่สามารถจะเล่นให้บรรลุถึงระดับที่วาดหวังเอาไว้


ในขณะที่จอห์นค้นหาซาวด์, ภาษาและอารมณ์ในฐานะของนักดนตรีแจ๊ส ชีวิตของเขาก็ประสบปัญหาติดเฮโรอีนอย่างหนักซึ่งนักดนตรีแจ๊สยุคนั้นเป็นกันมาก ด้วยนิสัยที่ไม่ค่อยจะมั่นคงนักไมล์สก็เลยไล่เขาออกจากวงหลังจากการแสดงสดในปี 1957 จบลงหลังจากนั้นไม่นานจอห์นก็หักดิบเลิกยาโดยไม่ต้องมีใครช่วย คำปรารภในผลงาน ALove Supreme เขาเขียนไว้ว่า “ในปี 1957 ผมได้พบกับประการณ์ที่มาจากพระเมตตาของพระเป็นเจ้าการปลุกจิตวิญญาณ ซึ่งนำพาให้ผมได้มีชีวิตที่มีผลิตภาพมากขึ้นชีวิตที่เติมเต็มและสมบูรณ์มากขึ้น” อย่างไรก็ตามจอห์นดำรงชีวิตที่เสพติดดนตรีจวบจนกระทั่งวันจบชีวิตซึ่งเป็นชีวิตที่แสนสั้น หลังจากห้วงเวลานั้น จอห์นใช้เวลา 6เดือนเล่นกับนักเปียโน เธลอเนียส มังก์ที่คลับเดอะ ไฟว์ สป็อตในนิวยอร์ก ซิตี เธลอเนียสทำเช่นเดียวกับที่ไมล์สทำคือให้พื้นที่ในการพัฒนาการเล่นที่ไร้กรอบเกณฑ์แต่ยังยึดเหนี่ยวอยู่ด้วยรากฐานดั้งเดิม จอห์นบรรยายว่าดนตรีอันซับซ้อนของเธลอเนียสเรียกร้องการฝึกฝนอันเป็นการลับคมให้กับเขาอย่างลึกซึ้งการโซโลของนักเปียโนหนุ่มใช้การได้เป็นอย่างดีกับเมโลดีของเพลงซึ่งนี่เองที่แตกต่างจากวิธีการของจอห์นที่มีฮาร์โมนิกมากกว่าหลังจากที่จอห์นได้อยู่กับเธอลอเนียสเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่มีคุณภาพเขาก็เอ่ยปากชื่นชมนักเปียโนหนุ่มว่าเป็น“สถาปัตยกรรมทางดนตรีที่มีระดับสูงที่สุด”ผลงานความร่วมมือกันของทั้งสองคนมีอยู่ไม่มากนักแต่งานที่ออกภายใต้สังกัดบลูโน้ตในปี 2005 The Thelonious Monk with JohnColtrane ช่วยบันทึกถึงการทำงานร่วมกันอย่างสั้นๆที่น่ายินดีเป็นที่ยิ่ง ในปี 2013 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดให้ข่าวประชาสัมพันธ์งานเธลอเนียสมังก์ ควอร์เต็ตและจอห์น โคลเทรน แสดงสดที่คาร์เนกี ฮอล โดยเกเบรียลโซลิสเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดจอห์นยังคงมุ่งมั่นผลักดันตัวเองให้เจริญเติบโตทางดนตรีขึ้นไปอีกและเขาก็ประสบความสำเร็จตามที่หวัง


ในช่วงหลังที่จอห์นยังทำงานกับไมล์สเขาก็ออกผลงานส่วนตัวไปด้วยในฐานะผู้นำวง เขาเริ่มเล่นในสิ่งที่ ไอรา กิตเลอร์นักเขียนบทความแจ๊สเรียกว่า “แผ่นแห่งเสียง”นักแซ็กโซโฟนแจ๊สไม่เคยมีใครเล่นแบบนี้มาก่อนเลย วลีอ้างถึงกระแสอันเชี่ยวกรากของอาร์เพจโจที่จอห์นเล่นในระหว่างการโซโลในไลเนอร์โน้ตของอัลบัม Traning In ไอราเขียนว่าเป็นความเข้มข้นที่แสนจะเจ็บปวดแต่เบิกบานแห่งกระแสอันเร่งรีบเชี่ยวกรากพร้อมกับผลกระทบทางฮาร์โมนิกที่หลงเหลืออยู่” เมื่อคุยกับแน็ต เขาออกความเห็นว่า“ความคิดที่พรั่งพรูไม่หยุดหย่อนของจอห์นมันกระแทกใจผมจริงๆ มันเกือบจะเป็นเรื่องเหนือมนุษย์แล้วนะพลังที่เขาใช้ไปทั้งหมดนั่นน่าจะบังคับเรือเหาะได้ทั้งลำอยู่แล้ว” แน็ตเปรียบเทียบ“แผ่นแห่งเสียงเหล่านี้เป็นพายุลูกเห็บของตัวโน้ตหลากหลายในเท็กซ์เจอร์เข้มข้นฟังคล้ายกับสายน้ำตกที่หลั่งรินออกมาไม่ขาด”แต่สไตล์แผ่นแห่งเสียงไม่ใช่จุดมุ่งหมายของจอห์น อย่างที่แน็ตกล่าวไว้ว่า“จอห์นไม่เคยเลียบชายฝั่ง” มันเหมือนขั้นบันไดมากกว่าซึ่งเป็นบันไดที่จอห์นไม่เคยเห็นจุดหมายปลายทาง เมื่อเติบโตขึ้นและดนตรีมีพัฒนาการอย่างเต็มที่เขาก็กลับมาร่วมวงกับไมล์ส เดวิสเมื่อปี 1957 การกลับมาครั้งที่2 นี้ ทำให้จอห์นได้ทำงานเพลงบางชิ้นที่เรียกได้ว่าเป็นอมตะนิรันดร์กาลถือได้ว่าเป็นการหว่านเมล็ดให้กับชิ้นงานโมเดิร์นอมตะชุด Kind of Blue(1959) งานสไตล์โมดัลแจ๊สที่เยือกเย็นกว่าไร้ขอบเขตชิ้นนี้ทำให้จอห์นได้พัฒนาการโครงสร้างความคิดให้แน่นด้วยพื้นฐานน้อยด้วยความระห่ำแบบที่เคยได้ฟังกันในดนตรีบีบ็อพสุดฮ็อต บีบ็อพไม่เคยพลังตกหรือขาดแรงบันดาลใจพลังของมันเปี่ยมด้วยคอร์ดโปรเกรสชันเรียบง่ายที่ร้อยเรียงกันและช่วงเวลาที่แบ่งให้กับท่อนโซโลอย่างไม่เร่งรัด แพทริกสปิตเซอร์อธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจนมากขึ้นว่า “คำว่า “โมดัลแจ๊ส”อ้างอิงถึงดนตรีด้นสดที่ถูกจัดวางเรียบเรียงสเกล (แนวนอน)มากกว่าที่จะจัดวางในรูปแบบของคอร์ด (แนวตั้ง) ด้วยการลดทอนบทบาทของคอร์ดลงทำให้วิธีการของโมดัลผลักดันให้ผู้เล่นได้สร้างสรรค์วิถีที่น่าสนใจในแบบอื่นๆ อาทิเมโลดี, จังหวะ, โทน และอารมณ์ โดยส่วนมากแล้วเพลงโมดัลจะใช้คอร์ดแต่คอร์ดที่ใช้จะได้มาจากโหมดที่มีอยู่ทั่วไป”




Create Date : 24 มกราคม 2559
Last Update : 24 มกราคม 2559 10:15:35 น. 0 comments
Counter : 1585 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nunaggie
Location :
City of Angels, Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D

"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs

Follow my twitter @nunaggie :)

"มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
Creative Commons License
© Supada Luangsirimongkol 2015.
qrcode
Friends' blogs
[Add nunaggie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.