Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
25 พฤษภาคม 2553

ทักษะการไกล่เกลี่ย ... พระไพศาล วิสาโล






ทักษะการไกล่เกลี่ย


พระไพศาล วิสาโล



//www.visalo.org/article/P_Taksa.htm



ทำความ เข้าใจเรื่องความขัดแย้ง

ความขัดแย้งแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ

๑. ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ เช่น เรียกร้องค่าแรง ประท้วงเพิ่มราคามัน คัด ค้านการสร้างเขื่อนเพราะทำให้สูญเสียที่ทำกิน

๒. ความขัดแย้งทางด้านความสัมพันธ์ เช่น ความขัดแย้งในครอบครัว ลูกจ้างไม่พอใจนายจ้างที่ไม่ให้เกียรติหรือพูดจาไม่สุภาพ

๓. ความขัดแย้งทางด้านข้อมูล เช่น ผิดใจกันเนื่องจากได้ข้อมูลไม่ตรงกัน หรือไปเชื่อข่าวลือ ขัดแย้งเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะมองเห็นคุณและโทษต่างกัน

๔. ความขัดแย้งด้านคุณค่า คือ มองเห็นความสำคัญต่างกัน เช่น เอ็นจีโอต้องการอนุรักษ์ป่า แต่รัฐบาลต้องการไฟฟ้าหรือมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรม

๕. ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เช่น ขัดแย้งเกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ


วัตถุประสงค์ของ การไกล่เกลี่ย

คือเพื่อระงับความขัดแย้งที่มีบุคคลหลายฝ่ายมาเกี่ยวข้อง

ผู้ไกล่เกลี่ยจึงจำต้องเข้าใจว่า เป็นความขัดแย้งประเภทไหน มีสาเหตุจากอะไร จึงจะสามารถระงับความขัดแย้งได้


หน้าที่ผู้ไกล่ เกลี่ย

คือสร้างเงื่อนไข บรรยากาศ ที่เอื้ออำนวยให้คู่ขัดแย้งมาเจรจาและแสวงหาทางออกร่วมกัน ที่พอใจของทุกฝ่าย


วิธีการของผู้ไกล่เกลี่ย

ก.ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

-แยกคู่ขัดแย้งออกห่างจากกันในกรณีที่มีการเผชิญหน้ากัน

-ระงับอารมณ์ของคู่ขัดแย้งไม่ให้เกิดโทสะต่อกันและกัน

-ดำเนินการให้ทุกฝ่ายส่งตัวแทนมาเจรจา หรือประสานให้มีการเจรจากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

-แบ่งกำลังคุมสถานการณ์ให้เพียงพอในขณะที่มีการเจรจากัน


ข.บนโต๊ะเจรจา

-จัดหาสถานที่ที่เป็นกลางและสะดวกต่อการเจรจา ในเวลาที่เหมาะสม

-เป็นผู้เริ่มต้นการเจรจา ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มก่อน (เพราะอาจ ทำให้เสียบรรยากาศหรือความรู้สึกได้)

-สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เอื้อต่อการเจรจา

-สร้างความเป็นมิตรในหมู่ผู้ร่วมเจรจา

-ให้เกียรติผู้ร่วมเจรจา

-ต้องควบคุมอารมณ์ของตนได้ และระวังอคติ ๔ ในใจตน

-วางตัวเป็นกลาง แต่ไม่ใช่ไร้ความรู้สึก ควรมีเมตตาและความเห็นอกเห็นใจทุกฝ่าย

-ช่วยให้คู่ขัดแย้งตระหนักถึงปัญหาและความต้องการของอีกฝ่าย รวมทั้งเห็นใจซึ่งกันและกัน

-กระตุ้นหรือช่วยให้คู่ขัดแย้งค้นพบทางเลือกของตัวเอง

-ดำเนินการให้ทุกฝ่ายได้พูดอย่างเท่าเทียมกัน เช่น สลับกันพูด

-ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครอบงำการประชุม หรือพูดจายั่วยุคนอื่น ดูแลไม่ให้มีการโจมตีกล่าวร้ายซึ่งกันและกัน

-ไม่ครอบงำการประชุมเสียเอง เช่น พูดคนเดียวเป็นส่วนใหญ่ หรือเอาความเห็นของตัวเป็นหลัก ยัดเยียดข้อเสนอของตัวให้คู่ขัดแย้ง หรือทำตัวเป็นศาล ตัดสินชี้ขาดว่าใครถูกใครผิด

-ไม่ใช้วิธีลงคะแนนเสียงเพื่อหาข้อสรุป

-ไม่ทิ้งเสียงส่วนน้อย

-ทบทวนข้อสรุปให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ก่อนจะเลิกประชุม






ปล. ไม่ใช่เฉพาะ เรื่องการเมืองเท่านั้น เรื่องอื่น ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เช่นกัน ..





Create Date : 25 พฤษภาคม 2553
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 14:52:15 น. 1 comments
Counter : 1876 Pageviews.  

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:22:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]