"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 
3 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
สุรพศ ทวีศักดิ์ : "พุทธชยันตี" คือการปลดปล่อยสู่เสรีภาพ

 

 

 

 

เห็นเรื่องราวการฉลองพุทธชยันตี อ่านความคิด ความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนาในบ้านเราเวลานี้แล้ว ผมไม่อาจรู้สึกปลื้มปีติ "อิ่มบุญ" กับการสวดมนต์ข้าม 26 ศตวรรษเป็นต้น ดังที่โฆษณากันได้เลย หรือว่าผมกลายเป็นผู้สิ้นไร้ศรัทธาเสียแล้ว ขณะที่ยังไม่มีคำตอบกับตัวเอง พลันบทกวีเก่าแก่ในความทรงจำก็ผุดขึ้นในใจ 

งอกยอดอ่อนออก
ขึ้นไปบรรจบกับฟากฟ้า
ปลดปล่อยออก
เพื่อให้พบกับเสรีภาพ

เป็นบทกวีเซนในหนังสือ "คืนฟ้าฉ่ำฝน" ของ "เรียวกัน พระโง่ผู้ยิ่งใหญ่" แปลและเรียบเรียงโดย พระมหาสมภาร พรมทา ผมซื้อหนังสือนี้ไว้ตั้งแต่เป็นสามเณร ปี 2527 

เบื้องหลังของบทกวีนี้มีว่า เรียวกันพระเซนชาวญี่ปุ่นผู้อาศัยอยู่อย่างสันโดษในกระท่อมเล็กๆ บนภูเขา วันหนึ่งเขาสังเกตเห็นต้นไผ่เล็กๆ ต้นหนึ่งงอกขึ้นมาภายในกระท่อม เรียวกันรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่ตนได้พบมาก เขาเฝ้าดูแลจนต้นไผ่นั้นงอกงามเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนยอดไผ่ระอยู่กับหลังคา ในที่สุดแทนที่เขาจะตัดต้นไผ่ทิ้ง กลับตัดหลังคาออกเป็นช่อง เพื่อให้ต้นไผ่ซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนรักของเขาได้งอกยอดอ่อนออก...

เรื่องราวของเรียวกันชวนให้เราคิดว่า "ความเป็นพุทธะ" ที่เดินทางมายาวนานกว่าสองพันปีนั้นล้วนผ่านการปะทะสังสรรค์กับบริบทแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป ทว่าความหมายอันแจ่มชัดของ "ความเป็นพุทธะ" นั้น คือ "ความเป็นมนุษย์" ที่มีเสรีภาพ อ่อนโยน รู้ร้อนรู้หนาวกับความทุกข์ของเพื่อนร่วมโลก ดังสะท้อนผ่านบทกวีอีกบทหนึ่งของเรียวกัน ว่า

หากเสื้อคลุมของฉัน
กว้างพอที่จะโอบคลุมผืนหล้า
ฉันจะเอาคนยากไร้ทั้งโลก
มาซุกไว้รับไออุ่น
จากมันอย่างแน่นอน

"พุทชยันตี" นั้น แปลว่า "ชัยชนะของพุทธะ" ซึ่งหมายถึง ชัยชนะที่เกิดจากการปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการทางสังคมและพันธนาการของกิเลส ชัยชนะของพุทธะเกิดขึ้นในบริบทของสังคมการเมืองยุคราชาธิปไตยแบบโบราณ และเป็นยุคของการแสวงหาเสรีภาพทางจิตวิญญาณด้วยในเวลาเดียวกัน

ในยุคสมัยเช่นนั้น จะหาเสรีภาพทางสังคมการเมืองแบบปัจจุบันไม่ได้เลย ใครที่ต้องการเสรีภาพจึงเลือกที่จะออกไปอยู่ป่าเสพเสรีภาพที่โล่งกว้างไร้ขอบเขตท่ามกลางธรรมชาติ วิถีชีวิตแห่งเสรีภาพท่ามกลางธรรมชาติเช่นนั้นดูเหมือนจะเป็นทางออกของผู้คนจำนวนหนึ่งในยุคสมัยที่พวกเขารู้สึกอึดอัด ผิดหวังกับระบบสังคมการเมืองที่กดขี่เหลวไหลภายใต้ระบบวรรณะ (ชนชั้น) 

พวกที่นิยมออกบวชไปอยู่ป่าเป็นนักพรต สมณะ ฤๅษีชีไพรจึงมีคนทุกประเภท ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และคนนอกวรรณะ สัจธรรมที่คนเหล่านั้นออกแสวงหาคือความจริงตามกฎธรรมชาติ หรือไม่ก็คือความจริงที่อยู่เบื้องหลังของกฎธรรมชาติ (เช่น พรหมัน หรือปรมาตมัน) พวกเขาเชื่อว่า วิถีชีวิตที่เรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุด คือวิถีชีวิตที่เข้าใกล้หรือมีเสรีภาพที่แท้

พุทธะเองก็อยู่ในกลุ่มคนที่เอือมระอาสังคมการเมืองในเวลานั้น ในพุทธประวัติฉบับเถรวาทระบุว่า สิทธัตถะออกบวชเพราะเบื่อหน่ายชีวิตในวัง ขณะที่พุทธประวัติฉบับมหายานระบุว่า สิทธัตถะออกบวชเพราะเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากสิทธัตถะคัดค้านการทำสงครามแย่งน้ำทำนาระหว่างพวกกษัตริย์โกลิยวงศ์กับศากยวงศ์ และแพ้โหวตในสภากษัตริย์และขุนนางศากยะ เป็นเหตุให้ต้องถูกลงโทษด้วยการเนรเทศออกจากเมือง สิทธัตถะจึงเลือกเนรเทศตัวเองด้วยการออกบวชถือเพศสมณะ

จะอย่างไรก็ตาม เส้นทางแห่งสมณะ หมายถึงทางเลือกที่จะมีเสรีภาพจากพันธนาการทางโลกโดยการสละฐานันดรศักดิ์สู่ความเป็นสามัญชน ทางเลือกเช่นนี้คือทางของผู้แสวงหาเสรีภาพทางจิตวิญญาณ จนในที่สุดสิทธัตถะก็บรรลุ "ความเป็นพุทธะ" จากการค้นพบสัจธรรมแห่งความทุกข์ สาเหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และทางดับทุกข์ ที่เรียกว่า "อริยสัจสี่"

พุทธเถรวาทเชื่อว่า "โพธิ" (ศักยภาพทางปัญญาที่สามารถรู้แจ้งสัจธรรม) เป็นธรรมชาติภายในของมนุษย์ทุกคนที่สามารถพัฒนาให้งอกงามได้ด้วยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 พุทธมหายานก็เชื่อว่า "พุทธภาวะ" หรือความเป็นพุทธะมีอยู่ในคนทุกคน อาจกล่าวอย่างกว้างๆ ว่า โพธิ หรือพุทธภาวะ คือ "ความเป็นมนุษย์" ในระดับ "ภาวะ" (existence) หรือ "แก่นสาร" (essence) ตามทัศนะของพุทธศาสนา

พุทธชยันตี หรือชัยชนะของพุทธะ เมื่อ 2600 ปีที่แล้ว ได้เปิดเผย "พุทธภาวะ" หรือความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพจากอิทธิพลของความโลภ โกรธ หลง (วิสุทธิคุณ) มีปัญญาเห็นโลกและชีวิตตามเป็นจริง (ปัญญาคุณ) มีความอ่อนโยน อาทรต่อทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ (กรุณาคุณ) 

เพราะมี "ความเป็นมนุษย์" ในตนเองเช่นนี้ ทำให้พุทธะเป็น "ครูที่ติดดิน" เป็น "เพื่อนที่ดี" (กัลยาณมิตร) ของเพื่อนมนุษย์ ใส่ใจความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์และทุกข์ทางสังคมอย่างลึกซึ้ง พุทธะใช้ชีวิตหลังค้นพบสัจธรรมเป็นเวลา 45 ปี เดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆ สนทนาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด ให้คำแนะนำแก่คนทุกชนชั้น ทุกเพศ ทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ มีคนจำนวนไม่น้อยที่เดินตามแนวทางของพุทธะ และค้นพบพุทธภาวะในตัวเอง ปลดปล่อยตัวเองสู่เสรีภาพทางจิตวิญญาณและทางสังคม

ในด้านหนึ่ง พุทธะปฏิเสธระบบชนชั้น เพราะเห็นว่าสังคมชนชั้นเป็นสังคมที่อยุติธรรม พุทธะถือว่าทุกคนมีความเป็นมนุษย์ (พุทธภาวะ) เท่าเทียมกัน คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด สถานะทางสังคม แต่อยู่ที่การกระทำ (กรรม) และทุกคนมีเสรีภาพอย่างเท่าเทียมที่จะเลือกการกระทำเพื่อสร้างตนเองให้สูงหรือต่ำในด้านปัญญาและศีลธรรม 

และเมื่อใครเลือกการกระทำที่ถูกหรือผิด เขาย่อมต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นอย่างเสมอภาคกัน ไม่มีใครอาจอ้างชาติกำเนิดหรือความเป็น "อภิสิทธิชน" เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการกระทำ (หรือกรรม) ของตนได้ (โดย "หลักคิด" นี้ ในสังคมพุทธแท้จึงไม่อาจมีกฎหมายที่ให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลหรือชนชั้นใดชั้นหนึ่งได้)

ด้วยหลักการเช่นนี้ พุทธะจึงก่อตั้ง "สังฆะ" ขึ้นมาเป็นตัวอย่างของสังคมแห่งการปลดปล่อยสู่เสรีภาพจากการกดขี่ของระบบชนชั้นทางสังคม และเสรีภาพจากพันธนาการของกิเลส สังฆะจึงเป็นสังคมที่สลายความเป็นชนชั้น คนในชนชั้นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ทาส กรรมกรที่เข้ามาสู่สังฆะ สถานะเดิมของพวกเขาย่อมหมดสิ้นไป กลายเป็นสมาชิกแห่งสังฆะที่มีความเท่าเทียมในความเป็นคน เสมอภาคภายใต้หลักธรรมวินัย และทางเศรษฐกิจ 

แน่นอนว่า ภายในสังฆะอาจมีการยกย่องนับถือกันตามความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและแบ่งบทบาทรับผิดชอบตามความถนัด แต่ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์อันเป็น "สัญญะ" บ่งบอกความเป็นชนชั้น (เหมือนสงฆ์ไทยปัจจุบัน) แต่อย่างใด

ภายใต้ข้อจำกัดของบริบทสังคมการเมืองยุคราชาธิปไตยเมื่อกว่าสองพันปีที่แล้ว พุทธะอาจทำได้เพียงก่อตั้งสังฆะดังกล่าวเท่านั้น ไม่อาจต่อสู้เปลี่ยนแปลงระบบสังคมการเมืองทางโลกได้ แต่ "จิตวิญญาณ" ที่ตระหนักอย่างลึกซึ้งในคุณค่าของเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และจิตวิญญาณที่ใส่ใจอย่างลึกซึ้งต่อความทุกข์ในชีวิต ทุกข์ทางสังคมยังส่งทอดต่อๆ กันมา และถูกปรับใช้ในบริบททางสังคมการเมือง บริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป 

ดังจิตวิญญาณที่สะท้อนผ่านบทกวีของเรียวกัน พระโง่ผู้ยิ่งใหญ่ ก็คือตัวอย่างอันหนึ่งของการแสดงคุณลักษณะของ "ความเป็นพุทธะ" ที่รู้ร้อนรู้หนาวต่อความทุกข์ของเพื่อมนุษย์ ในบริบทของสังคมญี่ปุ่นยุคเก่า 

ทว่าทำไมผมถึงรู้สึกห่อเหี่ยวแห้งผากเมื่อเห็นปรากฏการณ์ "ความรุ่งเรือง" ของพุทธศาสนาในบ้านเรา เพราะผมไม่ได้เห็นการแสดงออกของ "ความเป็นพุทธะ" ที่รู้ร้อนรู้หนาวต่อความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ และทุกข์ของสังคม ผ่านความเจริญของพุทธศาสนาเชิงรูปแบบพิธีกรรมต่างๆ เหล่านั้นเลย

การฉลองพุทธชยันตีที่เน้นการสรรเสริญแซ่ซ้องพุทธะ และผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนความมั่นคงของพุทธศาสนานั้นจะมีประโยชน์อะไรเล่า หากในบทสนทนา บทอภิปรายถกเถียง ความคิด จิตสำนึก การแสดงออกในวิถีชีวิตและในทางสังคมการเมืองของชาวพุทธส่วนใหญ่ ล้วนไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อ "ความทุกข์" อันเกิดจากความขัดแย้งทางสังคมการเมืองร่วมสมัยที่เห็นอยู่ตำตา 

อันเป็นความทุกข์ที่ส่งผลให้เพื่อนร่วมสังคมจำนวนมากถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ถูก "ระบบยุติธรรม" กระทำให้พวกเขาสิ้นไร้ศักดิ์ศรีความเป็นคน ภายใต้โครงสร้างอุดมการณ์แห่งอำนาจที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก ที่รองรับความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่อรองทางการเมือง และเป็นที่มาของความรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าต่อประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อปกป้อง "ความเป็นคน" ของ "ทุกคน" ที่ต้องมีมีเสรีภาพและความเสมอภาค

หากสารัตถะของ "พุทธชยันตี" ไร้ความหมายต่อการสำนึกรู้ "ทุกข์ร่วม" ทางสังคมที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งเต็มตา การจัดงานฉลองพุทธชยันตีในประเทศนี้ก็มีค่าเสมือนการจัดงานฉลองที่ "นอกโลก"


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณสุรพศ ทวีศักดิ์

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ



Create Date : 03 มิถุนายน 2555
Last Update : 3 มิถุนายน 2555 13:23:33 น. 0 comments
Counter : 1184 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.