"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 ธันวาคม 2556
 
All Blogs
 
วันสำคัญของชาวพุทธไทย (26)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ที่มัวมาขวนขวายช่วยหาผ้ากฐินเพื่อให้แก่พระองค์ที่จีวรขาดหรือเก่านั้น เลยไม่มีเวลาทำจีวรสำหรับตนเอง เมื่อช่วยกันแล้วก็ได้สิทธิพิเศษนี้ คือถ้ายังทำจีวรของตนเองไม่สำเร็จ ก็ยืดเวลาต่อได้อีกเรื่อยไปจนกว่าจะเสร็จ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกลางเดือน 4

นอกเหนือจากนี้ ยังได้อานิสงส์อื่นๆ อีก 5 อย่าง ซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของการผ่อนผันข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวินัยของพระสงฆ์ เพื่อไม่ต้องสับสนจึงจะไม่กล่าวในที่นี้

การกรานกฐิน มีสาระที่ควรทราบโดยย่อเท่านี้ ต่อจากนี้ควรทราบเรื่องการทอดกฐินต่อไป

"ทอดกฐิน" เกิดจากความคิดของชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ ที่จะช่วยเหลือสนับสนุนการกรานกฐินของพระสงฆ์

จุดสำคัญของเรื่องอยู่ตรงที่ว่า ทำอย่างไรจะช่วยให้พระสงฆ์ได้ผ้ากฐินผืนที่จะนำมาประชุมตกลงมอบกันนั้น โดยไม่ให้พระสงฆ์ต้องยุ่งยากลำบากมากนัก เมื่อคิดดังนี้จึงมีชาวบ้านบางท่านจัดหาผ้ามา แล้วนำไปมอบให้แก่สงฆ์ผู้จะกรานกฐิน การกระทำอย่างนี้เรียกว่า "ทอดกฐิน" เมื่อนิยมทำตามกันสืบมาก็กลายเป็นประเพณีทอดกฐิน

การที่นิยมทำกันมาก เพราะนอกจากเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนพระสงฆ์ในการกรานกฐินแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญบุญกุศลอย่างมากด้วย เพราะการถวายผ้ากฐินเป็นสังฆทาน คือการถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือส่วนกลาง ไม่จำเพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง แล้วแต่สงฆ์จะมอบให้แก่พระภิกษุรูปใดต่อไป และเป็นกาลทาน คือทานที่ถวายได้เฉพาะกาล ในเวลาจำกัดเพียง 1 เดือนที่กำหนดไว้ ในช่วงท้ายฝนเท่านั้น

กิริยาที่ให้ผ้ากฐินใช้คำว่า "ทอด" ซึ่งแปลกจากการถวายของอื่นๆ เพราะไม่ได้ประเคน ไม่ได้ถวายแก่พระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ถวายเป็นของกลางต่อหน้าสงฆ์ทั้งหมด หรือท่ามกลางสงฆ์ทั้งหมด โดยวางปล่อยไว้ จึงเรียกว่าทอดกฐิน

สาระสำคัญของการทอดกฐิน คือเป็นการขยายขอบเขตของความสามัคคีออกไปถึงชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ด้วย

การทอดกฐินเท่ากับเป็นหลักฐานแสดงความร่วมมือของชาวบ้านแก่พระสงฆ์ ว่าเขายังสนับสนุนพระสงฆ์หมู่นั้นอยู่ด้วยดี

อีกอย่างหนึ่ง เป็นสัญญาณบ่งบอกศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อพระสงฆ์ในวัดนั้นๆ

ศรัทธานี้มีความหมายลึกซึ้ง อาจหมายถึงปฏิปทาจริยาวัตรของพระสงฆ์ในวัดนั้นๆ ว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนหรือไม่ ถ้าพระสงฆ์ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ถ้าพระสงฆ์กับประชาชนพร้อมเพรียงสามัคคีกันดี ผ้ากฐินก็จะเกิดมีขึ้นแก่พระสงฆ์ ให้พร้อมที่จะกรานกฐินได้ทันที พระสงฆ์ไม่ต้องยุ่งยากลำบากหาอีก

ชาวบ้านรับภาระครึ่งแรก คือ จัดหาผ้ากฐินมาทอด พระสงฆ์รับภาระครึ่งหลัง คือ นำผ้ากฐินไปกราน

รวมแล้วก็เป็นสัญลักษณ์แห่งการช่วยกันสืบต่อพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัททั้งสองฝ่าย

ตอนแรกก็ถวายแต่ผ้ากฐิน ซึ่งเป็นหลักของพิธี ต่อมาคงรู้สึกว่าไม่เต็มอิ่มแห่งศรัทธา พุทธศาสนิกชนจึงถวายสิ่งอื่นๆ ด้วย นานเข้าของที่ถวายในการทอดกฐินก็มากขึ้นทุกที จนกระทั่งบางแห่งกลายเป็นโอกาสสำหรับรวบรวมทุนไว้ทำการใหญ่อื่นๆ เช่น สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นต้น

แต่จะถวายสิ่งของต่างๆ มากมายเท่าใดก็ตามตัวกฐินก็ยังคงเป็นผ้าผืนเดียวเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า "องค์กฐิน" ส่วนของนอกนั้น ไม่ว่าใหญ่น้อยเท่าใด เรียกว่าเป็นบริวารกฐินทั้งสิ้น

ระยะแรกก็เป็นงานเฉพาะพิธีโดยหมู่คนมีศรัทธา ต่อมาก็ขยายเป็นงานของหมู่ชน ของชุมชน งานร่วมระหว่างต่างชุมชน

จากงานเฉพาะพิธี ขยายเป็นมีงานสมโภชฉลอง มีการเดินทางสนุกสนาน บางแห่งขยายจนกลายเป็นโอกาสแห่งการท่องเที่ยว

จากพิธีที่เรียกว่าสังฆกรรมของพระสงฆ์ กลายเป็นงานบุญของพุทธศาสนิกชน จากงานพิธีทางพระศาสนา ขยายออกไปเป็นกิจกรรมที่มีความหมายกว้างขวางทางสังคม

สิ้นฤดูกฐิน เมื่อผ่านกลางเดือน 12 มีพิธีลอยกระทงแล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นเทศกาลท้ายฝน

ได้พูดถึงมหาปวารณา พูดถึงตักบาตรเทโว พูดถึงกฐิน มาแล้วพอสมควร สามอย่างนี้มีพื้นฐานทางพระพุทธศาสนามาก

ส่วนลอยกระทงหนักไปทางพิธีของชาวบ้าน ขอเอ่ยถึงไว้แต่เพียงชื่อ

ไปร่วมพิธีกรรม หรืองานพิธี มีจิตใจสงบเบิกบานผ่องใส ด้วยบรรยากาศแห่งงานนั้น นับว่าเป็นบุญกุศลชั้นต้น

เข้าใจความหมาย เนื้อหาสาระของพิธีกรรมและงานพิธีนั้นด้วย เป็นบุญกุศลชั้นกลาง

นำเอาความหมาย และเนื้อหาสาระนั้นไปปฏิบัติ หรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตด้วย เป็นบุญกุศลชั้นสูงสุด

หน้า 31

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ

พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ





Create Date : 17 ธันวาคม 2556
Last Update : 17 ธันวาคม 2556 8:51:04 น. 0 comments
Counter : 530 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.