"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 
15 มกราคม 2557
 
All Blogs
 
แผนที่ชีวิต (18) พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


นี้เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อจะได้เห็นฐานะของนรก-สวรรค์ในพระพุทธศาสนา ในแง่นี้ ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับศาสนาที่ถือเรื่องนรก-สวรรค์เป็นนิรันดร เป็นสิ่งสุดท้ายที่มนุษย์จะประสบ ซึ่งไม่มีทางแก้ไขได้อีกเลย ก็จะมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

ผู้หลุดพ้นจากนรก-สวรรค์

ภาษิตบอกไว้แล้วว่า ปลูกพืชเช่นไร ได้ผลเช่นนั้น ปลูกเม็ดมะปราง ได้ต้นมะปราง แต่เราจะไปเอาตรงปลูกมะปรางได้กำไรหรือเปล่า ปลูกเม็ดมะปรางได้ธนบัตรหรือเปล่า มันผิดขั้นตอนไป

สำหรับมนุษย์โลกียปุถุชนนี้ พอปลูกมะปรางก็ไม่คิดแต่เพียงให้ได้มะปราง แต่ไปคิดว่าให้ได้เงินกำไรมา ก็เลยกลายเป็นว่ามนุษย์ทำอะไรหวังผลตอบแทนมาก เมื่อทำความดีก็หวังผลตอบแทน แต่ไม่ทำเหตุปัจจัยให้พอแก่ผลที่หวังจะได้ตอบแทนนั้น ตัวเองปัญญาไม่ถึงและทำไม่ถูกก็ไปโทษกฎธรรมชาติ ที่จริงตัวหลงผิดไปเอง

แต่ถ้าได้ก้าวหน้าไปสู่ขั้นเป็นอริยสาวกแล้ว ก็เป็นอันว่าไม่ห่วงเรื่องผลตอบแทนอันนี้ แต่จะรักคุณภาพชีวิต รู้คุณค่าของชีวิตที่ประณีตขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น รักความบริสุทธิ์ของชีวิต รักธรรม รักความดีงาม ต้องการให้ธรรมคือความดีงามเกิดมีแก่ชีวิต และเกิดมีขึ้นในโลก

ถ้าคนมีความรักความต้องการอย่างนี้ สังคมนี้จะดีด้วยมีความดีทุกสิ่งจะดีและมนุษย์จะมีความสุข จะไม่ถือเรื่องผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นสำคัญนัก

ถ้าจิตใจมาถึงขั้นนี้แล้ว การทำความดีก็จะไปถึงตัวธรรม ไม่มาติดอยู่ที่ขั้นหวังนรก-สวรรค์แล้ว แต่นรก-สวรรค์นั้นก็เป็นไปตามกฎธรรมดา เป็นหลักแห่งเหตุและผล เราไม่ต้องไปอ้อนวอนมันก็อยู่มันก็เป็นไปของมันอย่างนั้น เมื่อทำเหตุดี ผลดีก็เกิดขึ้นเอง เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ หลักเหตุและผลดำเนินไปเอง ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาอ้อนวอน ถึงเราไม่ต้องการผล มันก็ได้ผล


หมวด 4

ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร
เมื่อถึงธรรมก็สุขแท้

มนุษย์ทุกคนต้องการชีวิตที่ดีและมีความสุขที่แท้จริง และเราก็ดำเนินชีวิต เพียรพยายามทำทุกอย่างเพื่อหาสิ่งนี้ แต่แล้วมนุษย์ก็ประสบปัญหากันอยู่อย่างนี้แหละ เพราะเพียรพยายามไปโดยไม่รู้ไม่เข้าใจว่าชีวิตที่ดีและความสุขที่แท้จริงนั้นคืออะไร

ขอรวบรัดว่า หลักในการสร้างชีวิตที่ดีและมีความสุขนี้ไม่มีอะไรมาก ก็คือ "การเข้าถึงธรรม" นั่นเอง เป็นอันเดียวกัน เมื่อใดเราเข้าถึงชีวิตที่ดี มีความสุขที่แท้จริง ก็คือเข้าถึงธรรม พูดสั้นๆ ว่า "เมื่อสุขแท้ก็ถึงธรรม" เมื่อพูดอย่างนี้แล้วทุกท่านจะได้ไม่หนักใจ คือ จะได้เห็นการก้าวเข้าไปหาธรรมเป็นเรื่องที่ตรงกับจุดหมายของชีวิตของเราอยู่แล้ว

ถ้าหากท่านใดยืนยันกับตัวเองได้ว่า ฉันเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขแท้จริงแล้ว ถ้าท่านยืนยันได้อย่างนั้น ท่านก็บอกกับตนเองได้เลยว่า ข้าพเจ้าเข้าถึงธรรมแล้ว แต่ท่านจะยืนยันได้หรือเปล่า ถ้าท่านยืนยันไม่ได้ก็ต้องบอกว่า ฉันยังต้องพยายามเข้าถึงชีวิต ที่ดีมีความสุขต่อไป นั่นก็คือ ฉันจะต้องเข้าถึงธรรมต่อไป

สองอย่างนี้เป็นอันเดียวกัน คือเมื่อสุขแท้ก็ถึงธรรม และเมื่อถึงธรรมก็สุขแท้

จิตประณีตคู่ควรแก่สิ่งประเสริฐ

มนุษย์เราทุกคนนั้น ถ้าว่าด้วยใจจริงแล้วย่อมมีเยื่อใยต่อชีวิตของตน ทุกคนรักชีวิตของตน เราต้องการให้ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่ดีงาม เราต้องการให้ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ ถ้าเราได้พัฒนาจิตใจของเราให้สูงขึ้นจนลักษณะนี้เด่นชัดขึ้น เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงผลตอบแทนข้างหน้ามากมาย

ถ้าเรารักความดีงามบริสุทธิ์ของชีวิต รักความประณีตบริสุทธิ์ของจิตใจ ก็กลายเป็นว่าเรารักธรรม รักความดีงาม เราก็อยากถนอมชีวิตของเราให้เป็นชีวิตที่ดีงาม ให้เป็นชีวิตที่ประณีต ให้เป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ เราก็อยากจะทำความดีด้วยใจตัวเอง ไม่ต้องไปหวังผลเป็น ลาภ ยศ สุข สรรเสริญอะไร

เรารักชีวิต รักความดีงาม รักตัวธรรมที่แท้จริงไม่ดีกว่าหรือ

เมื่อชีวิตของเราประณีตขึ้น สิ่งที่ทำให้เป็นความดีความชั่วจะยิ่งมีผลชัดมากขึ้น เพราะว่าจิตใจของเราประณีต การที่เราจะก้าวหน้าในคุณความดี บรรลุอะไรที่สูงขึ้นไป จิตใจของเราจะต้องประณีตขึ้นไปด้วย เมื่อเราทำจิตของเราให้ประณีตขึ้น

พอมันละเอียดอ่อนขึ้น สิ่งที่กระทำไว้แม้เป็นเรื่องเล็กน้อยก็ปรากฏผลได้ง่าย รับรู้ง่าย มีความไวขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำไว้ก็ปรากฏผลมากขึ้น

หน้า 31

ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




Create Date : 15 มกราคม 2557
Last Update : 16 มกราคม 2557 10:12:50 น. 0 comments
Counter : 411 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.