"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 
22 มกราคม 2557
 
All Blogs
 

แผนที่ชีวิต (23) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


พระโพธิสัตว์เป็นยอดของคนที่ยังอยู่ด้วยความหวัง แต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นบุคคลเยี่ยมยอดที่ไม่ต้องอยู่ด้วยความหวัง พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ต้องหวังแล้วและไม่อยู่ด้วยความหวังอีกต่อไป เพราะมีทุกสิ่งสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว

เช่น มีจิตใจที่สมบูรณ์ มีความสุขที่สมบูรณ์ ซึ่งอยู่กับตัวเองตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะมากระทบกระเทือน เพราะไม่มีอะไรที่ต้องทำเพื่อตนเองอีก ก็ไม่มีตัวที่จะรับกระทบอะไรทั้งสิ้น

สิ่งใดที่จะทำไปตามที่ได้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง เป็นประโยชน์ และทำด้วยกรุณาที่เห็นว่าผู้อื่นยังมีความทุกข์ ยังมีปัญหาที่ เราจะต้องช่วยแก้ไข เราทำเพื่อเขา ไม่ได้ทำเพื่อเรา เพราะฉะนั้นเราจะไปคำนึงอะไรให้เกิดอารมณ์กระทบกระแทกเราไม่ได้ทำเพื่อเรา เราทำเพื่อเขา ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่ต้องมารับกระทบคือหมดเรื่องตัวตนแล้ว

พระอรหันต์ไม่มีตัวตนที่จะรับกระทบอะไรทั้งสิ้น


ความเชื่อที่มนุษย์พึงมี

ตถาคตโพธิสัทธานั้น ท่านแปลกันว่า ความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หมายความว่าอย่างไร

พระพุทธเจ้าเคยเป็นมนุษย์ธรรมดา ต่อมาพระองค์ ได้ตรัสรู้ค้นพบสัจธรรมก็กลายเป็นพระพุทธเจ้า ก็หมายความว่ามีปัญญาที่ทำให้คนกลายเป็นพระพุทธ เจ้าได้ หรือมนุษย์สามารถพัฒนาปัญญาของตัวเอง ให้เป็นพุทธได้ เพราะฉะนั้นเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือเชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นพระพุทธเจ้า

มนุษย์จะต้องมีปัญญาตัวนี้ และมนุษย์ก็สามารถพัฒนาให้ปัญญานี้เกิดขึ้นได้ ตรงกับภาษาสมัยใหม่เรียกว่า เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่พัฒนาได้ ถ้าไม่มีความเชื่ออันนี้ก็ไปไม่รอดหรือก้าวไปไม่ได้

ฉะนั้น คนที่จะเริ่มต้นปฏิบัติธรรมจะต้องมีความเชื่ออันนี้ คือ มีตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคต คือเชื่อในปัญญาที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นพุทธ เชื่อว่ามนุษย์นี้สามารถพัฒนาตนเองจนกระทั่งมีปัญญาสูงสุด ตรัสรู้เป็นพุทธได้ เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้


รุ่งอรุณแห่งชีวิต

พระพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมที่เป็นบุพนิมิตหรือรุ่งอรุณของการดำเนินตามอริยมงคล ว่ามี 7 ประการนี้ทรงเน้น 2 อย่างที่สำคัญมาก ซึ่งเป็นปัจจัยภายในอย่างหนึ่ง ปัจจัยภายนอกอย่างหนึ่ง

ปัจจัยภายนอกก็คือ การมี ปรโตโฆสะ ที่ดี ได้แก่ การมีกัลยาณมิตร มีมิตรที่ดี มีครูอาจารย์ที่ดี มีพ่อแม่ที่ดี ซึ่งให้ความรู้ที่ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดี มีแหล่งความรู้ มีสื่อมวลชนที่ให้สติปัญญาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนในการเจริญสมาธิก็ มีครูอาจารย์สอนกรรมฐาน ซึ่งเป็นผู้รู้หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็น ผู้รู้จักนิสัยใจคอของผู้ปฏิบัติ มีอุบายในการที่จะแนะนำ นี้เรียกว่ามีปัจจัยภายนอกที่ดี

นอกจากปัจจัยภายนอกแล้วก็ต้องมีปัจจัยภายในด้วย คือในส่วนของตัวเองก็ต้องมี โยนิโสมนสิการ รู้จักคิด คิดเป็น ถ้าคิดไม่เป็น ไม่รู้จักคิด ก็ไม่สามารถเอาสิ่งที่กัลยาณมิตรแนะนำไปใช้ประโยชน์ถึงจะได้รับฟังคำแนะนำสั่งสอนก็ไม่รู้จักนำไปใช้ประโยชน์ เพราะไม่มีโยนิโสมนสิการ

อีกประการหนึ่ง ว่าโดยความสัมพันธ์กับหลักที่ได้เน้นมา แล้ว วินัยเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เรามีกัลยาณมิตร คือว่าโดยวัตถุประสงค์ในแง่นี้ วินัยนั้นต้องการสร้างสภาพแวดล้อม ให้มีกัลยาณมิตรที่จะมาช่วยเป็นผู้ชักจูงเราให้เข้าหาธรรมได้ ส่วนโยนิโสมนสิการนั้นเป็นตัวเจาะให้เข้าถึงเนื้อแท้คือธรรมเลย ทีเดียว

เป็นอันว่า วินัยจัดสภาพแวดล้อมให้มีกัลยาณมิตร และเมื่อมีโยนิโสมนสิการก็เข้าถึงธรรมได้เลย


การพัฒนาตนตามหลัก "ไตรสิกขา"

การฝึกฝนและพัฒนามนุษย์นั้น ทางพระพุทธศาสนาจัดวางเป็นหลักเรียกว่า "ไตรสิกขา" คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นระบบการศึกษาที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการ และให้มนุษย์เป็นองค์รวมที่พัฒนาอย่างมีดุลยภาพ

1. ศีล เป็นเรื่องของการฝึกในด้านพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมเคยชิน เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกศีลก็คือวินัย วินัยเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ เพราะว่าวินัยเป็นตัวการจัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา โดยจัดระเบียบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้เหมาะกับการพัฒนาและให้เอื้อโอกาสในการที่จะพัฒนา

หน้า 31

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ





 

Create Date : 22 มกราคม 2557
0 comments
Last Update : 22 มกราคม 2557 7:37:13 น.
Counter : 570 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.