"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
การให้ผลของกรรม (37)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ไม่ว่าจะพูดตามสภาวะอย่างนี้ หรือพูดตามสมมติอย่างข้างต้น เนื้อหาของสภาพที่เป็นจริงก็มีเท่ากัน ไม่ขาดไม่เกินกว่ากัน เพียงแต่ว่าการพูดตามสภาวะเป็นการพูดถึงแต่ตัวความจริงล้วนๆ โดยไม่พอกเพิ่มถ้อยคำหรือภาพสมมติซ้อนขึ้นมาบนตัวความจริงนั้น

อย่างไรก็ตาม แม้จะอธิบายถึงเพียงนี้แล้ว บางคนก็ยังไม่อาจเข้าใจ จึงคงจะต้องเล่าเป็นนิทานว่า

ทิดผ่องไปคุยธรรมะกับท่านพระครูที่วัด ตอนหนึ่งทิดผ่องถามว่า

"เอ! หลวงพ่อครับ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่เป็นของใครๆ ไม่มีตัวผู้ทำกรรม ไม่มีตัวผู้รับผลของกรรม ถ้าอย่างนั้น ผมจะไปฆ่าใคร ตีหัวใคร หรือทำอะไรๆ ใครก็ได้สิครับ เพราะไม่มีใครทำกรรม แล้วผมก็ไม่ต้องได้รับผลกรรม"

พอทิดผ่องพูดขาดคำ ไม้เท้าในมือของท่านพระครู ซึ่งท่านฉวยขึ้นมาจากข้างที่นั่งเมื่อไรทิดผ่องไม่ทันสังเกตเห็น ก็ฟาดลงมาอย่างรวดเร็ว จนเขายกแขนขึ้นรับแทบไม่ทัน ปลายไม้เท้าถูกกลางต้นแขนพอหนุ่ยๆ แดงๆ ทิดผ่องคลำแขนป้อย

"หลวงพ่อ! ทำไมทำกับผมอย่างนี้ล่ะ?" ทิดผ่องพูดเสียงกร้าว แสดงอาการว่ากำลังข่มความโกรธ

"อ้าว! เป็นไงล่ะ?" ท่านพระครูถามลอยๆ

"ก็หลวงพ่อตีผม ผมเจ็บนี่" ทิดผ่องตอบเสียงเครียด หน้านิ่ว

"กรรมมีอยู่ ผู้ทำกรรมไม่มี ผลกรรมมีอยู่ ผู้รับผลของกรรมไม่มี เวทนามีอยู่ ผู้เสวยเวทนาไม่มี ความเจ็บมีอยู่ ผู้เจ็บไม่มี"

ท่านพระครูพูดเปรยๆ ปรับเสียงช้าๆ อย่างทำนองเทศน์ และว่าต่อไปอีก "ผู้ใดแสวงหาประโยชน์ ในทางเห็นแก่ตัวจากอนัตตา ผู้นั้นไม่พ้นจากอัตตา; ผู้ใดยึดมั่นอนัตตา ผู้นั้นแลคือผู้ยึดมั่นอัตตา เขาหารู้จักอนัตตาไม่; ผู้ใดยึดถือว่าผู้ทำกรรมไม่มี ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจากความยึดมั่นว่าผู้เจ็บมี เขาหารู้แจ้งไม่ว่า ผู้ทำกรรมก็ไม่มี และผู้เจ็บก็ไม่มี"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ถ้ารักจะพูดว่าไม่มีผู้ทำกรรม ก็ต้องเลิกพูดด้วยว่าผมเจ็บ



คุณค่าทางจริยธรรม

กล่าวโดยสรุป คุณค่าที่ต้องการในทางจริยธรรมของหลักกรรม มีดังนี้

1) ให้เป็นผู้หนักแน่นในเหตุผล รู้จักมองเห็นการกระทำ และผลการกระทำ ตามแนวทางของเหตุปัจจัย ไม่เชื่อสิ่งงมงาย ตื่นข่าว เช่น เรื่องแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

2) ให้เห็นว่าผลสำเร็จที่ตนต้องการ จุดหมายที่ปรารถนาจะเข้าถึง จะสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำ

- จึงต้องพึ่งตน และทำความเพียรพยายาม

- ไม่รอคอยโชคชะตา หรือหวังผลด้วยการอ้อนวอนเซ่นสรวงต่อปัจจัยภายนอก

3) ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองที่จะงดเว้นจากกรรมชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่น ด้วยการกระทำความดีต่อเขา

4) ให้ถือว่าบุคคลมีสิทธิโดยธรรมชาติที่จะทำการต่างๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุง สร้างเสริมตนเองให้ดีขึ้นไปโดยเท่าเทียมกัน สามารถทำตนให้เลวลงหรือให้ดีขึ้น ให้ประเสริฐจนถึงยิ่งกว่าเทวดาและพรหมได้ทุกๆ คน

5) ให้ถือว่าคุณธรรม ความสามารถ ความประพฤติปฏิบัติ เป็นเครื่องวัดความทรามหรือประเสริฐของมนุษย์ ไม่ให้มีการแบ่งแยกโดยชาติชั้นวรรณะ

6) ในแง่กรรมเก่า ให้ถือเป็นบทเรียน และรู้จักพิจารณาเข้าใจตนเองตามเหตุผล ไม่คอยเพ่งโทษแต่ผู้อื่น มองเห็นพื้นฐานของตนเองที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุง และวางแผนสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ถูกต้อง

7) ให้ความหวังในอนาคตสำหรับสามัญชนทั่วไป


คุณค่าเหล่านี้พึงพิจารณาตามพุทธพจน์ดังต่อไปนี้

ความหมายทั่วไป เช่น:

"ภิกษุทั้งหลาย เจตนา เรากล่าวว่าคือกรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ"

"สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามและประณีต"

"บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำดี ย่อมได้ดี ผู้ทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว"

"บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมเสพผลของกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นแล ทำไว้เป็นดี"

"คนพาลมีปัญญาทราม ทำกับตนเองเหมือนเป็นศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วอันให้ผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดีเลย"

หน้า 31


ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์
กราบนมัสการขอบพระคุณ
พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ




Create Date : 08 ตุลาคม 2556
Last Update : 8 ตุลาคม 2556 8:44:39 น. 0 comments
Counter : 642 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.