"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
21 ธันวาคม 2556
 
All Blogs
 
แผนที่ชีวิต (4) - พระพรหมคุณาภรณ์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


มีข้อที่พึงย้ำเป็นพิเศษเพื่อสะดวกแก่การศึกษาต่อไปว่า คำว่า ทวาร (ในทวาร 6) นั้น เมื่อนำไปกล่าวในระบบการทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า อายตนะ ซึ่งแปลว่า แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือทางรับรู้

หน้าที่ของอายตนะ 6

ทวารชุดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่า อินทรีย์ หรืออายตนะ 6 นั้น เราใช้มันเพื่ออะไร มันทำหน้าที่อะไร

ถ้าเราไม่รู้หน้าที่หรือการทำงานของมัน เราก็ใช้มัน สะเปะสะปะเรื่อยเปื่อย คือใช้ไม่เป็น ไม่มีประสิทธิภาพ เราก็ไม่พัฒนา แต่ถ้าเรารู้ เข้าใจ และใช้มันให้ถูกต้อง เราก็จะพัฒนาได้อย่างดี

ว่าโดยสรุป หน้าที่ของอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แยกได้ 2 อย่าง คือ

1.หน้าที่รู้ คือ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น ตาดูรู้ว่าเป็นอะไร ว่าเป็นนาฬิกา เป็นกล้องถ่ายรูป เป็นดอกไม้ ใบไม้สีเขียว สีแดง สีเหลือง รูปร่างยาว สั้น ใหญ่ เล็ก หูได้ยินเสียงว่าดัง เบา เป็นถ้อยคำสื่อสารว่าอย่างไร เป็นต้น ทำให้ได้ data และ information

2.หน้าที่รู้สึก หรือรับความรู้สึก พร้อมกับรับรู้ข้อมูลเราก็มีความรู้สึกด้วย บางทีตัวเด่นกลับเป็นความรู้สึก เช่น เห็นแล้วรู้สึกสบายหรือไม่สบาย ถูกตา ไม่ถูกตา สวยหรือน่าเกลียด ถูกหู ไม่ถูกหู เสียงนุ่มนวลไพเราะหรือ ดังแสบแก้วหู รำคาญ เป็นต้น

จะเห็นว่าอินทรีย์ หรืออายตนะ หรือทวาร 6 นี้ทำหน้าที่สองอย่างพร้อมกัน ทั้งรับรู้ข้อมูลด้วยและรับความรู้สึกด้วยพร้อมกัน

การรับด้านรู้ข้อมูลเรียกว่า "ด้านศึกษา"
การรับด้านความรู้สึกเรียกว่า "ด้านเสพ"
เป็นอันว่าอายตนะทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ศึกษากับเสพ
ต้นตอพฤติกรรมมนุษย์

เมื่อเรารับรู้ ไม่ใช่เพียงได้ข้อมูลหรือประสบการณ์เท่านั้น แต่จะมีความรู้สึกสบาย-ไม่สบายเกิดขึ้นพร้อมกันด้วย เช่น เมื่อตารับรู้ คือ เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะมีความรู้สึกสบายตาหรือไม่สบายตาเกิดขึ้นด้วย เมื่อหูได้ยินเสียงก็จะมีความรู้สึกสบายหูหรือ ไม่สบายหูเกิดขึ้นด้วย

ความรู้สึกสบายหรือเอร็ดอร่อย เรียกว่า "สุขเวทนา"
ความรู้สึกไม่สบาย ไม่อร่อย เรียกว่า "ทุกขเวทนา"

การรับรู้ด้านที่เป็นความรู้สึกนี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง เพราะมันจะมาเป็นตัวนำพฤติกรรมในขณะที่คนยังมีความไม่รู้หรือไม่มีปัญญา กล่าวคือ พอมีความรู้สึกสบาย (ได้สุขเวทนา) มนุษย์ก็จะมีปฏิกิริยาในแง่ที่ชอบหรือจะเอา แต่ถ้ารับรู้แล้วไม่สบาย (เกิดทุกขเวทนา) ก็จะไม่ชอบ จะไม่เอา จะหนีหรือทำลาย ปฏิกิริยานี้ เรียกว่า "ตัณหา"

ความยินดีและยินร้ายนี้จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทำให้ตัดสินใจเลือกว่าจะเอาหรือไม่เอา จะเอาอันไหนและอย่างไร ตรงนี้เองเป็นจุดที่มี "เจตนา" เข้ามาเกี่ยวข้อง คือตรงที่มีปฏิกิริยาชอบ หรือไม่ชอบนั่นเอง

หมายความว่า การชอบหรือไม่ชอบและจะเอาอย่างไรนั้น มีเจตนาเป็นตัวตัดสินใจเลือก และเจตนาที่ตัดสินใจเลือกนั้นก็จะเลือกไปตามแรงผลักดันของตัณหา ตอนนี้จะเห็นได้ว่ากระบวนการของกรรมได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

เป็นอันว่า เมื่อไม่มีความรู้หรือไม่ใช้ความรู้ (ปัญญา) ตัณหาก็จะมาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม คือทำไปตามความปรารถนาที่จะได้รับสุขเวทนาและหลีกเลี่ยงทุกขเวทนา การที่ต้องใช้ตัณหาเป็นตัวนำทางพฤติกรรมอย่างนี้ ก็เพราะมนุษย์ยังไม่พัฒนา ยังไม่มีความรู้ ยังไม่มีปัญญา เขาจึงอยู่ด้วย อวิชชา และตัณหาไปก่อน

ใช้งานอายตนะให้ถูกต้อง

อายตนะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของ ทางแยกระหว่างกุศลกับอกุศล ทางสายหนึ่งนำไปสู่ ความประมาทมัวเมา ความชั่วและการหมกติดอยู่ในโลก อีกสายหนึ่งนำไปสู่ความรู้เท่าทัน การประกอบกรรมดี และความหลุดพ้นเป็นอิสระ

ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า หากไม่มีการฝึกฝนอบรมให้เข้าใจและปฏิบัติในเรื่องอายตนะอย่างถูกต้องแล้ว ตามปกติมนุษย์ทั่วไปจะถูกชักจูง ล่อให้ดำเนินชีวิตในทาง ที่มุ่งเพื่อเสพเสวยโลก เที่ยวทำการต่างๆ เพียงเพื่อแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

และความสนุกสนานบันเทิงต่างๆ มาปรนเปรอตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และใจอยากของตน พอกพูนความโลภ โกรธ หลง แล้วก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น

หน้า 31

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ

พระพรหมคุณาภรณ์

โสรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ




Create Date : 21 ธันวาคม 2556
Last Update : 21 ธันวาคม 2556 14:45:47 น. 0 comments
Counter : 538 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.