"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
6 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
ถึงเวลามารื้อปรับ ระบบพัฒนาคนกันใหม่ (9)

 

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ณ จุดนี้ ขอให้สังเกตไว้ด้วยถึงความสำคัญของความสุขต่อการพัฒนาจริยธรรม (พระพุทธเจ้าตรัสไว้บ่อยๆ ถึงสภาพจิต 5 ประการ ของผู้เจริญงอกงามในจริยธรรม คือ ปราโมทย์/ ความร่าเริงเบิกบานใจ ปีติ/ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ/ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ สุข/ความมีใจคล่องแคล่วชื่นมื่น และ สมาธิ/ความตั้งมั่นอยู่ตัวของจิตใจ)

นอกจากนั้นพฤติกรรมทำให้เกิดสภาพจิต เมื่อเราเคยชินอย่างไรจิตใจเราจะยึด และเกิดความพอใจ ตลอดจนหาเหตุผลเข้าข้าง และสำทับความพอใจติดใจนั้น กลายเป็นความยึดติด แล้วทำให้พฤติกรรมนั้นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แล้วแก้ยาก

ฉะนั้นต้องระวังเรื่องพฤติกรรมเคยชิน ที่ส่งผลต่อความพอใจ พอกลายเป็นความเคยชินขึ้นมาแล้ว คนก็จะติด พฤติกรรมจึงมีผลต่อจิตใจ

ปัญญาก็อาศัยพฤติกรรม คนจะพัฒนาปัญญาได้จะต้องมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการแสวงหาความรู้ พฤติกรรมที่เอื้อก็ช่วยให้คนได้ปัญญา ถ้าไม่มีพฤติกรรมที่ดีปัญญาก็จะไม่เกิด เช่น ไม่รู้จักแสวงหาข้อมูล เป็นต้น

การจะได้ปัญญาหรือไม่เพียงไรขึ้นต่อการที่ว่าจะไปหาข้อมูลความรู้ที่ไหน ไปหาข้อมูลอย่างไร เช่น ถ้ารู้จักไปปรึกษารู้จักพูดจาไถ่ถามคนอื่น มีพฤติกรรมในการอยู่ร่วมและสัมพันธ์กับผู้อื่นดี รู้จักใช้ตาดูหูฟังใช้มือเท้าจับต้องคุ้ยค้น ฯลฯ

ก็ทำให้ตัวเองมีทางได้ปัญญา เวลาเขาพูดเขาแนะนำอะไร ตัวเองมีปฏิกิริยาแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร ก็จะมีผลต่อการได้ความรู้ของตัวเอง

จิตใจก็มีผลต่อปัญญา ถ้าจิตใจเกียจคร้าน อ่อนแอ ขี้เกียจคิด ปัญญาก็ไม่เกิด แต่คนขยัน อดทน ใจสู้ พยายามคิด เจอปัญหาก็พยายามหาทางแก้ไข ไม่ยอมหยุดคิด ปัญญาก็เกิดก็พัฒนา ตลอดจนจิตใจมีสมาธิ แน่วแน่ สงบ

ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง ไม่วุ่นวาย สดชื่นผ่องใส ก็คิดได้ผลดีขึ้น มีกำลังในการคิด และความคิดก็ชัดเจน ความใฝ่รู้ (ฉันทะ) ความขยัน ความอดทน ความเพียรพยายาม ไม่ยอมหยุด เป็นต้น ที่เป็นสภาพหรือคุณสมบัติของจิตใจ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พัฒนาปัญญาได้

นี่คือระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน สัมพันธ์ส่งผลต่อกัน แต่ในที่นี้เป็นระบบการดำเนินชีวิตที่ดี ที่เรียกว่า จริยธรรม? (โดยสาระหมายถึงพรหมจริยะ) คือระบบการดำเนินชีวิตที่ดี ที่องค์ประกอบทั้ง 3 ด้านนั้น สัมพันธ์เป็นปัจจัยต่อกัน โดยมีการเรียนรู้ ฝึกหัด พัฒนา คืบเคลื่อนไปข้างหน้าในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา

องค์ประกอบ 3 ด้านนั้น ไม่สามารถแยกจากกันได้ เพราะชีวิตเป็นองค์รวมที่ไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ เด็ดขาดจากกัน แต่จะต้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

เป็นอันว่าเมื่อมองในแง่ของพุทธศาสนา จริยธรรมคือระบบการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ ซึ่งมีองค์ประกอบที่ต้องครบทั้งสาม แยกเป็นส่วนๆ ต่างหากจากกันไม่ได้ แต่ถ้ามองในความหมายของตะวันตกจริยธรรมก็เป็นเพียงพฤติกรรมดีงาม

ตรงกับที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า ศีล ซึ่งเป็นเพียงด้านหนึ่งของชีวิตมนุษย์ เป็นเรื่องของจริยธรรมแยกส่วนตามระบบความคิดของฝรั่ง ที่ชอบแยกอะไรๆ ออกมาเป็นเรื่องๆ และศึกษาเป็นอย่างๆ ซึ่งดีในแง่เจาะลึก แต่ลืมไปว่ามันต้องโยงกันอีกทีหนึ่ง

จริยธรรมตามแนวคิดแบบตะวันตกนั้นเมื่อแยกออกมา เป็นส่วนๆ แล้วก็จะเกิดความขัดแย้งอย่างที่ว่ามาแล้ว เพราะมันไม่ลงไปถึงจิตใจและปัญญา เช่น จะมีพฤติกรรมจริยธรรม แต่เกิดการฝืนทางด้านจิตใจ และเมื่อไม่มีปัญญามาช่วยจริยธรรมก็ไม่สัมฤทธิผล

อนึ่งจริยธรรมตะวันตกที่เป็นแบบแยกส่วนนั้น มักจะมาในแบบที่เป็นบัญญัติทางสังคม หรือมีแหล่งมาจากเทวบัญชา ซึ่งเป็นของตายตัว และในที่สุดก็มาลงท้ายที่ฝืนใจอีกนั่นแหละ เพราะถูกบังคับ หรือแม้มีศรัทธาก็ไม่มีการพัฒนาจิตใจและปัญญาให้ครบทั้งระบบ

พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปด้วยดีอย่างประสานกลมกลืน ก็เพราะสอดคล้องไปด้วยกันกับการพัฒนาทางด้านจิตใจและปัญญา ฉะนั้นจริยธรรมแบบตะวันตกที่แยกส่วนจึงด้วน และไปสิ้นสุดที่ความจำใจฝืนใจ

ดังจะเห็นว่าบางทีตะวันตกเขาให้ความหมายของจริยธรรม (คือ ethics) ว่าเป็น obligation ซึ่งหมายถึงข้อกำหนดในเชิงผูกมัด ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องทางสังคม ที่ทำให้คนต้องจำใจยอม ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ขาดจากระบบการพัฒนาคน และเสียผลในด้านการศึกษา ทำให้เกิดความขัดแย้งวกวนและติดตัน

หน้า 31


ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
กราบนมัสการขอบพระคุณ
พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ  




Create Date : 06 เมษายน 2555
Last Update : 6 เมษายน 2555 15:28:51 น. 0 comments
Counter : 505 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.