"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
ปรารภบุญ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

(ที่มา:มติชนรายวัน 29 ก.ค.2556)



ในสมัยนี้ พูดอะไรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา กลายเป็นเครื่องประกาศความเป็นคนดีของตัวเอง ผมจึงขอบอกไว้ก่อนว่า ที่จะพูดต่อไปนี้เป็นคำพูดของปุถุชนคนบาปครับ

ทีวีช่องหนึ่ง ตั้งปัญหาในรายการข่าวว่า การไปทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา แล้วถ่ายรูปส่งข่าวให้เพื่อนๆ ออนไลน์รู้ว่าตัวไปทำบุญ เพื่อนๆ ก็กดไลค์กลับมาเพื่ออนุโมทนา ถามว่าการอนุโมทนาเช่นนี้ได้บุญหรือไม่ อย่างน้อยในบุญกิริยาวัตถุก็มีเรื่อง "ปัตติทานมัย" ซึ่งท่านแปลว่าเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น และ "ปัตตานุโมทนามัย" ซึ่งท่านแปลว่ายินดีในความดีของผู้อื่น

ผมคิดว่าเป็นคำถามที่สะท้อนให้เห็นความสับสนในเรื่อง "บุญ" ของชาวพุทธในปัจจุบันได้ดี เพราะหากเข้าใจแล้ว คำถามนี้ก็ไม่ต้องถามแต่แรก

หนึ่ง ในคำแปลของคำว่า "บุญ" ก็คือ การกระทำที่ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ถามว่าสะอาดบริสุทธิ์จากอะไร ตอบอย่างสรุปก็คือสะอาดบริสุทธิ์จากความเห็นแก่ตัว หรือยึดมั่นถือมั่นในตัว (เพราะนี่คือความไม่สะอาดที่จรมาจับใจที่เป็นประภัสสรของเรา)

ฉะนั้น หากกดไลค์ด้วยใจที่ยินดีกับการทำดีของผู้อื่น หรือด้วยใจที่ยินดีว่าสิ่งดีๆ ในโลก (คือพระศาสนา) จะดำรงอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น คือไม่ได้คิดถึงตนเอง แต่คิดถึง "ผู้อื่น" อย่างแคบๆ เฉพาะบุคคล หรืออย่างกว้างคือมวลสรรพสัตว์ทั้งหมดก็ตาม ย่อมเป็นบุญอย่างไม่ต้องสงสัย

ตรง กันข้าม หากกดไลค์เพื่อเอาใจเพื่อน เพราะกลัวเขาจะโกรธเรา หรือกดเพื่อทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตัวเป็นคนดีมีธรรมะ จะได้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น ก็ไม่ได้บุญ แต่อาจได้เพื่อน

สรุปก็คือ ทำอะไรแล้วจะได้บุญหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่การกระทำ แต่อยู่ที่ใจของผู้ทำว่าทำด้วยทัศนคติอย่างไร ตรงกับความเห็นของผู้ทำบุญท่านหนึ่งซึ่งทีวีไปสัมภาษณ์ แล้วตอบว่า กดไลค์ด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเล่า หากเป็นกุศลย่อมได้บุญเป็นธรรมดา (ผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง เคยบอกผมว่า ทั้งหมดของพุทธศาสนาคือเรื่องทัศนคติหรือท่าทีต่อชีวิต)

แล้วทีวีก็ ไปถามพระภิกษุรูปหนึ่ง ท่านก็ตอบว่าได้บุญเพราะตรงกับคำบาลีว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ได้บุญไม่เท่ากับการไปทำบุญเอง (ที่วัดกระมัง เพราะคำถามเริ่มต้นจากการไปทำบุญที่วัด) แต่ท่านไม่ได้พูดเรื่องใจเลย

อัน ที่จริงเราสามารถทำบุญตามคติพระพุทธศาสนาได้ทุกวัน และทุกเวลานาทีด้วยซ้ำ โดยไม่ต้องไปวัดเลยก็ได้ ขับรถด้วยความสำนึกถึงประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้พร้อม จะจอดรถให้คนอื่นออกจากซอยได้ ก็ต้องดูหลังว่าคันหลังเขาจะจอดทันไหม ดูหน้าว่าเป็นจังหวะให้รถวิ่ง หรือถึงแล่นไปก็ติดข้างหน้าเห็นๆ อยู่

เพราะสิทธิบนถนนไม่ใช่ของเราคนเดียว ที่จะเที่ยวยกให้ใครได้ตามใจชอบ ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะลดความเห็นแก่ตัวลงได้ ซ้ำยังต้องทำบุญโดยใช้สติและปัญญาด้วย ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า

อะไร เกิดขึ้นกับตัวไม่ว่าดีหรือร้าย ย่อมตั้งสติรำลึกพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไว้ให้มั่น จนมองเห็นว่าโลกก็เป็นเช่นนี้เอง นับเป็นการทำบุญยิ่งใหญ่ เพราะความยึดมั่นถือมั่นย่อมลดลงเป็นธรรมดา และฝึกให้รู้เท่าทันความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตไปพร้อมกัน (นี่ก็เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่มาก โดยไม่ต้องไปวัดเลย)

คำตอบของพระภิกษุเกี่ยวกับเรื่องบุญในทีวีที่กล่าวข้างต้น จึงสะท้อนอะไรสองอย่างที่น่าวิตกในพุทธศาสนาไทยปัจจุบัน

ประการ แรก เรื่องของจิตใจหรือทัศนคติดูเหมือนจะหายไปจากองค์กรที่เป็นทางการของพุทธ ศาสนาเสียแล้ว และนี่คือส่วนหนึ่งของคำอธิบายการทำบุญทางวัตถุกันอย่าง "บ้าคลั่ง" ที่เป็นปรากฏการณ์ทางศาสนาในปัจจุบัน

งานวิจัยของอาจารย์ที่นิด้าชิ้นหนึ่งบอกว่า ในบรรดาวัดกว่าสามหมื่นของไทยนั้น มีรายได้จากการทำบุญถึงปีละประมาณ 120 ล้านบาท (รวมกันกว่า 360,000 ล้านบาท) วัดจึงมักใหญ่และแพงกว่าโรงเรียน, โรงพยาบาล, ระบบชลประทาน, ระบบขจัดขยะ ฯลฯ ท้องถิ่น

จะแปลกใจทำไมว่า มีภิกษุบางรูปฉ้อฉลคดโกงเงินบริจาคเหล่านี้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และจะแปลกใจทำไมที่วัดต่างๆ พากันสร้างสิ่งก่อสร้างนานาชนิดเพื่อ "บอกบุญ" ชาวบ้านอยู่เป็นประจำ

มีคำอธิบายที่มองการ "ทำบุญ" กันอย่างมโหฬารเช่นนี้ในฝ่ายทายกทายิกาว่า ความสัมพันธ์หลักในระบบทุนนิยม คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งต้องผ่านเงิน ความสัมพันธ์กับศาสนาก็หนีไม่พ้นรูปแบบดังกล่าว ผู้คนเลือกรูปแบบความสัมพันธ์ ในระบบทุนนิยมซึ่งเขาเคยชินไปใช้กับศาสนา

ข้อ นี้จะจริงเท็จอย่างไรก็ตาม แต่ผมคิดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หรือเกิดในอาณาบริเวณกว้างขวางเท่านี้ไม่ได้ หากทางฝ่ายสงฆ์เองไม่ละเลยมิติด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา จะออกเงินสร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม ถ้าไม่ทำให้ความเห็นแก่ตัวของผู้บริจาคลดลง (จนถึงที่สุดจะสร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม)

ประการที่สอง คำสอนของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยขาดมิติทางสังคม (ยกเว้นเรื่องเดียวคือเพื่อยกย่องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์) มิติทางสังคมของการทำบุญจึงไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "คนอื่น" ในความหมายถึงสังคมในวงกว้าง หรือมวลมนุษยชาติ

อันที่จริงมิติทางสังคมนั้นเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้า ("ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงามทั้งคืนทั้งวัน...") ส่วนนี้ในศาสนาแบบไทยแต่ก่อน ฝากไว้กับความเชื่อเรื่องผีเป็นส่วนใหญ่

ครั้นรัฐกล่อมให้เราเลิกนับถือผี พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้เข้ามาแทนที่ หรือแทนที่อย่างฉลาด คือต้องปรับให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย (ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ใน ร.5 วัดไม่เคยผูกขาดความเป็นศูนย์กลางของชีวิตทางศาสนาของคนไทยมาก่อน)

ผม คิดว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่กว่าพระนั่งเจ็ตส่วนตัว หรือสวมแว่นกันแดดราคาแพง หรือนอนกับผู้หญิง และฉ้อโกง แต่มันใหญ่เสียจนไม่มีใครรับผิดชอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาเห็นว่าอยู่พ้นอำนาจหน้าที่ของตน เพราะตัวมีหน้าที่เพียงเป็นไวยาวัจกรของคณะสงฆ์เท่านั้น มหาเถรสมาคมก็ไม่คิดว่าตนมีอำนาจหน้าที่เหมือนกัน ก็ไม่มีอะไรผิดวินัยนี่ครับ ผิดเมื่อไรค่อยว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป

แต่ เรื่องมันใหญ่กว่าพระรูปนั้นรูปนี้ประพฤติล่วงพระวินัย หากเป็นเรื่องของคุณค่าและความหมายของพระพุทธศาสนาในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งนั่งท่องแต่คุณสมบัติของพุทธธรรมว่า "อกาลิโก" อย่างเดียว ไม่แก้ปัญหาอะไร

พระปรมัตถธรรมอาจเป็นอกาลิโก แม้กระนั้นก็ยังต้องมีการตีความให้เข้ากับยุคสมัยอยู่นั่นเอง เล่นหุ้นอย่างไรจึงจะไม่ลืมพระไตรลักษณ์ ทำบุญอย่างไรจึงจะได้ชำระล้างจิตใจให้สะอาด (จากตัวตน) เจตนาเลี่ยงภาษีให้ไม่ผิดกฎหมายเป็นอทินนาทานหรือไม่

ถือหุ้นในบริษัทชำแหละเนื้อสัตว์เป็นปาณาติบาตหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนต้องการการตีความจากผู้รู้ซึ่งส่วนหนึ่งคงเป็นนักบวชในพระศาสนา

คิด ดูก็แปลกดี มหาเถรสมาคมนั้นเพิ่งมีขึ้นครั้งแรกในสยามตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2445 ตั้งขึ้นเพื่อเป็นหัวหอกในการ "ปฏิรูป" ศาสนา และเป้าหมายของการ "ปฏิรูป" ก็คือ ผนวกเอาพระสงฆ์สยามทั้งหมดไว้ภายใต้การกำกับของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม

แม้กระนั้นก็มีผลกระทบต่อการตีความหลักธรรมคำสอนอย่างมาก เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปถึงบัดนี้ ศักยภาพในการนำเพื่อตีความของมหาเถรสมาคมได้เสื่อมสลายไปหมดแล้ว

เมื่อ องค์กรทางศาสนาไม่ทำงานที่สำคัญอย่างนี้ จึงเป็นธรรมดาที่ผู้คนพากันไปแสวงหาธรรมะจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะสำนักปฏิบัติธรรมของพระภิกษุและฆราวาส ความทุกข์ของโลกทุนนิยมมันเปลี่ยนไป ต่างคนต่างต้องการคำตอบให้แก่ความทุกข์เฉพาะหน้าของตน

จึงเป็นธรรมดาที่สำนักทั้งหลายย่อมเน้นการแก้ทุกข์ระดับปัจเจกเป็นสำคัญ และละเลยมิติด้านสังคมเหมือนเดิม

คนชั้นกลางระดับบนอาจไปสำนักที่สอน วิปัสสนากรรมฐาน คนชั้นกลางระดับกลางอาจเดินทางไปแสวงบุญในอินเดีย (ซึ่งถูกเรียกอย่างน่าอัศจรรย์ว่า "พุทธภูมิ") คนชั้นกลางระดับล่างอาจทำบุญเก้าวัด หรือนมัสการอัฐิหลวงพ่อหลวงปู่ต่างๆ ซึ่งได้รับการตัดสินจากฆราวาสว่าเป็นพระ "อรหันต์"

ทั้งหมดนี้คือการ "ปฏิบัติธรรม" ทั้งนั้น แตกต่างตามนิสัยปัจจัยของผู้ทำบุญ

การจัด องค์กรทางศาสนาเวลานี้ จัดการได้แต่ปัญหาเล็ก แต่จัดการกับปัญหาใหญ่ไม่ได้ ซ้ำยังจัดการปัญหาเล็กได้อย่างสายเกินไปทุกที จึงถึงเวลาแล้วที่ควรหันกลับมาทบทวนการจัดองค์กรพุทธศาสนากันใหม่ ไม่แต่เพียงการปกครองคณะสงฆ์เท่านั้น แต่คิดทบทวนตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐ และศาสนากับสังคม ให้เหมาะกับสภาพที่เป็นจริง

มีปัญหาสำคัญๆ ที่ควรถกเถียงอภิปรายกันหลายประเด็น นับตั้งแต่เราควรแยกศาสนาออกจากรัฐให้เด็ดขาดไปหรือไม่ แต่รัฐจะต้องปฏิบัติต่อศาสนาและองค์กรศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน จะคืนวัดให้กลับมาเป็นของประชาชนและอยู่ภายใต้การกำกับของประชาชนได้อย่างไร

การจัดองค์กรในพระพุทธศาสนาอาจมีได้หลายรูปแบบ และดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมได้เสมอ (อันที่จริงเวลานี้ก็เป็นอยู่แล้ว หากคิดถึงสันติอโศกและธรรมกาย แต่เป็นเสรีภาพที่ไม่ได้ประกันไว้แก่ "สำนัก" อื่นๆ ทั้งหมด ที่ไม่มีพลังทางการเมือง และ/หรือทรัพย์เท่าสองสำนักนี้)

ทำอย่างไรสังคมจึงมีพลังพอจะควบคุมองค์กรศาสนาได้จริง ความเป็นเถรวาทนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ และนักบวชในพระพุทธศาสนาไทยมีเสรีภาพที่จะไม่เป็นเถรวาทได้หรือไม่

จะเชื่อมโยงการศึกษาทางโลกและทางธรรมให้ได้ผลอย่างไร จะมีนักบวชหลายระดับที่ทำหน้าที่ต่อสังคมแตกต่างกันได้หรือไม่ และอย่างไร ฯลฯ



ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
มติชนรายวัน
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ


Create Date : 30 กรกฎาคม 2556
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 11:51:11 น. 0 comments
Counter : 679 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.