"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 
20 มกราคม 2557
 
All Blogs
 
แผนที่ชีวิต (21) - พระพรหมคุณาภรณ์

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


อิสรภาพที่แท้จริง

เราอาจแบ่งประเภทของคนออกได้เป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่หนึ่ง คือบุคคลประเภทที่พูดว่า เขาไม่สามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโน่น ปราศจากนี่

กลุ่มที่สอง ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่ากลุ่มแรก ที่พูดว่า การมีโน่นมีนี่ก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็ได้

กลุ่มที่สาม เป็นผู้มีอิสรภาพ แม้ว่าไม่มีหรือไม่ได้ ไม่พบสิ่งกระตุ้นเร้าจากภายนอกก็กลับยิ่งดี เพราะเขารู้สึกโล่งสบาย ไม่รู้สึกทุกข์ กลุ่มนี้จะรู้สึกว่าทำไมความสุขของเราต้องไปขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะไม่มีเป็นอิสระ ถึงแม้เราไม่มีหรือไม่ได้สิ่งเหล่านั้น เราก็สามารถมีความสุขได้ บางทีการมีอะไรมากเกินไปทำให้เราทุกข์ และมีความสุขน้อยลงด้วยซ้ำไป ดังนั้น การไม่ต้องอาศัยวัตถุธรรมมาเป็นเครื่องล่อเครื่องเร้าให้เกิดความสุขที่สูงกว่า เพราะประกอบด้วยอิสรภาพอันบุคคลควรพัฒนาให้เกิดมีความสุขชนิดนี้ขึ้นในตน

นิรามิสสุข หรือสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก ที่ละเอียดขึ้นไปอีกอย่างหนึ่งคือ ความเป็นอิสระจากความอยากหรือตัณหา เราอาจเป็นอิสระจากวัตถุธรรม แต่ในใจของเรายังคงมีตัณหา เราอยากได้แม้แต่บางสิ่งข้างในภายในใจของเรา เช่น อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากประสบความสำเร็จในสังคม

ถ้าเราสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง จนกระทั่งเข้าถึงปัญญาบริสุทธิ์ที่ทำให้มองเห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริงแล้ว เราจะมีความเป็นอิสระจากโลกซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเป็นได้ เพราะว่าเขาไม่รู้จักสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง เมื่อเขารู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริงจิตใจเขาก็เป็นอิสระ รู้สึกเบาสบาย ไม่มีความเครียด และเขาก็จะเข้าถึงความสุขจากความเข้าใจนั้น เป็นอิสระจากตัณหา

รสแห่งความหลุดพ้น

พระพุทธศาสนามีวิมุตติหรือความมีอิสรภาพเป็นจุดหมายสำคัญและไม่ใช่เป็นเพียงจุดหมายเท่านั้น แต่มีอิสรภาพเป็นหลักการสำคัญทั่วไปทีเดียว

ในทางธรรมท่านใช้คำว่า "วิมุตติรส" กับ "วิมุตติสาระ"

สำหรับวิมุตติรสนั้น พระพุทธเจ้าตรัสเป็นคำอุปมาว่า มหาสมุทรแม้จะกว้างใหญ่เพียงใดก็ตาม แต่น้ำในมหาสมุทรที่มากมายทั้งหมดนั้นมีรสเดียวคือรสเค็มฉันใด ธรรมวินัยของพระองค์ที่สอนไว้มากมายทั้งหมดก็มีรสเดียวคือวิมุตติรส ได้แก่ความหลุดพ้นจากทุกข์และปวงก็กิเลสฉันนั้น

ภาษาสมัยใหม่เรียกความหลุดพ้นว่าอิสรภาพ เดี๋ยวนี้เราไม่ใช่คำว่า วิมุตติ เราติดคำว่าอิสรภาพ แต่ที่จริงเราใช้คำว่าอิสรภาพในความหมายของวิมุตตินั่นเอง

พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เรามีอิสรภาพ โดยฝึกตนให้รู้จักที่จะไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย จนกระทั่งเมื่อรู้ความจริง รู้เท่าทันชัดแจ้งทั่วตลอดแล้วก็จะมีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระ

"สัจจะ" คือรสที่เลิศที่สุด

พระพุทธศาสนานั้นท่านสอนให้เผชิญหน้ากับความจริง ให้ยอมรับความจริง ในที่สุดแล้วคนเราต้องอยู่กับความจริง หนีความจริงไม่พ้น ถ้าเราทำจิตใจของเราให้อยู่กับความจริงได้ตลอดเวลาแล้ว ความจริงที่เกิดขึ้นนั้นก็จะไม่กระทบกระเทือนจิตใจของเรา แต่ถ้าเราไม่ยอมรับมัน ความจริงก็ต้องเกิดอยู่ดี

และเพราะเราไม่ยอมรับมัน มันก็เลยกระทบกระเทือนตัวเรามาก ความทุกข์ก็เกิดขึ้นมามาก เรียกว่าเป็นความทุกข์สองชั้น คือ ทุกข์เพราะความดับที่ต้องเจอะต้องเจอ เป็นความจริงตามธรรมดาเมื่อถึงเวลานั้น แล้วยังทุกข์ด้วยหวาดผวาไหวหวั่นตลอดเวลา ก่อนที่ความจริงนั้นจะมาถึงอีกด้วย

เพราะฉะนั้นทางพระท่านจึงชี้นำให้รู้เข้าใจความจริง เมื่อรู้เข้าใจความจริงแล้ว ในที่สุดความรู้ความจริงนั้นแหละจะทำให้เรามีจิตใจที่สบาย มีจิตใจที่เบิกบานผ่องใส แม้กระทั่งตลอดเวลาเลยทีเดียว เพราะความจริงก็คือ "สัจจะ"

ท่านบอกว่า ในที่สุดแล้วไม่มีรสอะไรเลิศกว่ารสสัจจะ ดังบาลีว่า สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสนํ (สัจจะแล เลิศรสกว่าประดารส) หรือว่าความจริงนี้แหละเป็นรสเลิศกว่ารสทั้งหลาย

ขอเปรียบเทียบเหมือนอย่างน้ำที่มีรสต่างๆ น้ำหวาน น้ำเปรี้ยว น้ำรสต่างๆ มากมาย ในที่สุดรสดีที่สุดคือรสอะไร คือรสน้ำบริสุทธิ์ รสน้ำที่จืดสนิท ไปๆ มาๆ ไม่ว่ารสอะไรก็สู้รสน้ำบริสุทธิ์ที่จืดสนิทนี้ไม่ได้ บางครั้งเราอาจจะต้องการรสหวาน บางครั้งก็ต้องการรสเปรี้ยว บางครั้งก็ต้องการรสเปรี้ยวปนหวาน บางทีก็อยากได้รสเค็มบ้าง ต้องการไปต่างๆ นานา แต่ในที่สุดแล้วรสที่ดีที่สุดก็คือรสที่จืดสนิทของน้ำที่บริสุทธิ์นั่นเอง

หน้า 31

ขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์

กราบนมัสการขอบพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์

สิริสวัสดิ์จันทรวารค่ะ




Create Date : 20 มกราคม 2557
Last Update : 20 มกราคม 2557 11:30:43 น. 0 comments
Counter : 673 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.