รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
อย่างนี้คือใช่การรู้ทุกข์ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 ไหม

อย่างนี้คือใช่การรู้ทุกข์ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 ไหม

จิตตั้งมั่น ก็คือ จิตที่กำลังจดจ่ออยู่กัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่สนใจสิ่งอื่น อย่าง
เช่น เวลาเราตั้งใจฟังครูสอน เราก็จะมีสมาธิหรือมีจิตที่ตั้งมั่นแล้ว

จิตมีกำลัง ก็คือ เมื่อจิตกำลังจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งอื่นก็จะไม่สามารถเข้ามารบกวนได้ อย่างเช่น ขณะเมื่อตั้งใจฟังครูสอน ก็จะไม่ได้ยินเสียงอื่น

****

คำถามนี้ดีครับ ทีนักภาวนาไทยสมควรทำความเข้าใจให้ดีก่อน จึงจะไปได้ดีต่อไป

ที่เขียนมานั้น ผมจะชี้ให้ดู มีประเด็นอยู่ 2 ประเด็น คือ

1...จิตมีกำลังที่จดจ่อสิ่งใด สิ่งอื่นไม่สามารถเข้ามารบกวนได้
2.. การยกตัวอย่างเรื่องฟังครูสอน ถ้าจิตมีกำลัง จะไม่ได้ยินเสียงอื่น

****
ประเด็นที่ 1 ถ้าเขียนลอย ๆ แบบนี้ ตอบยากว่าใช่อริยสัจจ์ข้อที่ 1 หรือไม่ เพราะในอริยสัจจ์ข้อที่ 1 นั้นต้องประกอบไปด้วยสิ่งที่ถูกรู้ด้วย ดังเช่นข้อ 2 ที่กล่าวถึงสิ่งที่ถูกรู้ แต่ข้อ 1 น่าจะเข้าข่ายเรื่องของสมาธิครับ อาการของสมาธิจะเป็นแบบข้อ 1

ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าสมาธิเป็นแบบข้อ 1 นี่จริง ส่วนจะเป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ ก็แล้วแต่ว่า สิ่งที่ถูกรูุ้นั้นคืออะไร

ถ้าสิ่งที่ถูกรู้คือ ข้อ 2 ดังที่เขียนมา อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิครับ ไม่ใช่สมาธิเพื่อการพ้นทุกข์ตามอริยมรรค

แต่ถ้าสิ่งที่ถูกรู้ คือ มโน การเพ่งเข้าไปใน มโน หรือ จะเรียกว่า การรู้สึกเข้าไปใน มโน หรือ การจดจ่อเข้าไปใน มโน อย่างนี้ถูกครับ

การรับรู้ทุกข์แบบอริยสัจจ์ข้อที่ 1 จะให้เข้าไปรู้ใน มโน ไม่ใช่การรู้แบบจดจ่อที่นอก มโน
คนส่วนมาก จะเข้าใจผิดในเรื่องของสมาธิที่จุดนี้กันเสมอ ทำให้ปฏิบัติอย่างไร ก็ไม่ถึงธรรมสักที

ภายใน มโน นั้น จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

ส่วนที่เป็นความว่างเปล่า และ ส่วนที่เป็นรูปนามต่าง ๆ ที่เป็นไตรลักษณ์
การเพ่งเข้าไปใน มโน จึงจะเห็นส่วนทั้ง 2 นี้ คือ ส่วนที่ว่างเปล่า และส่วนที่เป็นไตรลักษณ์
ถ้าเห็นได้ทั้ง 2 ส่วนของ มโน ก็คือการเข้าถึงธรรมในระดับหนึ่งแล้ว
แต่ถ้าคนที่ไม่รู้จัก มโน ก็จะไม่เห็นทั้ง 2 ส่วนนี้เลย ทำให้เขาไม่เข้าใจธรรม

การปฏิบัติที่ผมเขียนไว้ในเรื่อง //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=12-2011&date=02&group=15&gblog=70 ที่วา ให้ปฏิบัติแบบ 1+2+4 ของอริยสัจจ์ คือ การเพ่งหรือการเข้าไปรู้สึกใน มโน

ในแง่การปฏิบัติแล้ว เพียงรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ ปล่อยให้จิตเขารับรู้การกระทบสัมผัสตามระบบประสาทเอง ควบคุมจิตอย่าให้จิตไหลออกไปตามการกระทบ เพียงแค่นี้ก็รูุ้สึกถึง มโน แล้ว และสิ่งที่รับรู้จะเป็นว่า ตามองเห็นได้อยู่ หูได้ยินได้อยู่ จมูกได้กลิ่นได้อยูุ่ กายรู้สัมผัสได้อยุ่ จิตใจนึกคิดก็รู้สึกได้อยู่ ซึ่งทั้งหมดจะเกิดได้เอง โดยที่นักภาวนาไม่ต้องไปทำอะไรเลย แต่ถ้าไปเพ่งฟังเสียครูสอนดังตัวอย่างทียกมานี่ซิ มันเลยออกไปนอก มโน แล้วครับ ซึ่งไม่ใช่การรู้ทุกข์อริยสัจจ์

ขอให้ทำความเข้าใจให้ดีครับ เรื่องแบบนี้ ทีทำให้นักภาวนาไทยไม่เข้าถึงอริยสัจจ์กันสียที ทั้ง ๆ ที่มีครูบาอาจารย์ต่างๆ มากมายกว่าคนชาติอื่น เพราะคำว่า สมาธิ ที่มีทั้งแบบ สัมมาสมาธิ (ที่รู้เข้าไปใน มโน ) และ มิจฉาสมาธิ (ที่รู้นอก มโน ) แต่ถ้าแยกแยะความต่างไม่ออก ก็น่าเสียดายมากครับ

*****
หมายเหตุ

1.. ในการภาวนานั้น การเพ่งเข้าไปใน มโน นี่ไม่ผิดทางอันเป็นการรู้ทุกข์อริยสัจจ์ แต่ทว่า ในการมีชีวิตอยู่ คนต้องรู้สิ่งที่อยู่นอก มโน ด้วย มิฉะนั้นจะดำรงชีพไม่ได้ ดังนั้น เวลาจริง ๆ ที่นักภาวนาดำรงชีพในชิวิตประจำวัน เขาจะรู้ทั้ง 2 คือ รู้ในมโน และ รู้นอก มโน

แต่ในการภาวนาฝึกฝน จะรู้เพียงใน มโน ก็พอครับ เพราะการรู้นอก มโน ในคนทียังไม่ชำนาญการภาวนา จะทำให้เข้าใจในธรรมได้ลำบากขึ้น แต่ถ้าเข้าใจในธรรมแล้ว การรู้ทั้งนอก มโน และ ใน มโน ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด

2..ในระหว่างการฝึกฝน ให้ฝีกรู้ใน มโน ให้ชำนาญ แต่ในชีวิตจริง พอท่านฝึกรู้ใน มโน บ่อย ๆ จิตเขาจะวิ่งไปมา ระหว่าง รู้ในมโน และ รู้นอกมโน ที่จิตวิ่งไปมาก็เพราะจิตยังไม่ตั้งมั่นพอ การที่จิตวิ่งไปวิ่งมาแบบนี้ระหว่างใน มโน และนอก มโน บ่อย ๆ ถ้าเกิดจังหวะดี ๆ นักภาวนาจะเห็นทันจิตวิ่งไปและวิ่งกลับ การเห็นทันจิตแบบนี้ จะทำให้เกิดปัญญาอันยิ่งที่ทำให้การภาวนาเจริญก้าวหน้าและเกิดความเข้าใจในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

การเห็นทันจิตวิ่งกลับเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นักภาวนาก็จะรู้แจ้งในธรรมทันที
หมายเหตุ บางอาจารย์เรียก อาการจิตวิ่งกลับว่า จิตหดกลับ(ฐาน) ก็มีครับ

การคิดโน่นคิดนี่ พิจารณาโน่นนี่แบบโลก ๆ ด้วยสมอง เป็นการรู้นอก มโน ทั้งสิ้น
การคิดแบบนี้จะไม่ใช่การเข้าใจในธรรมอย่างแท้จริง เพราะสิ่งที่ทำแบบนี้ไม่ใช่การเข้าไปรู้ธรรมจริงที่เกิดใน มโน

3..คำว่า มโน ก็คือ จิต
ในสภาวะของผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งในธรรม จะแบ่งจิตเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นจิตรู้ หรือ จิตผู้รู้ และ ส่วนที่เป็น มโน แต่ถ้าได้ภาวนาไปจนเข้าใจในธรรม การแบ่งส่วนเป็น 2 อย่างนี้จะเปลี่ยนไป ทั้งจิตและมโน จะกลายเป็นความว่างที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว เปรียบดัง แก๊สในลูกโป่งที่แตกออกได้รวมเข้ากับอากาศนอกลูกโป่งเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถแยกได้ว่า นี่คืออากาศหรือนีคือแก๊สในลูกโป่ง การรวมตัวเป็นหนึงเดียวแบบนี้ ในตำราพระไตรปิฏกมีเขียนไว้นิดเดียวเรียกว่า ความเป็นหนึ่ง หรือในตำราฮวงโปเว่ยหล่าง เรียกว่า จิตหนึ่ง หรือบางอาจารย์เรียกว่า การทำลายจิต หรือ บางอาจารย์เรียกว่า การไม่มีจิต

ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่ทำลายจิต แต่เพราะจิตเข้าใจในธรรม ไม่มีอวิชชาแล้ว จิตจะเป็นอย่างนั้นเองตามธรรมชาติของเขา

ซึ่งแต่เดิมที่จิตยังมีอวิชชาอยูุ่ จิตจะถูกแบ่งเป็น 2 ระหว่าง จิตรูุ้ และ มโน ทั้งนี้เพราะผลของอวิชชา ในตำราพระไตรปิฏก เปรียบจิตดังฟองไข่ คือ มีเปลือกอวิชชาหุ้มไว้ แต่เมื่อเปลือกไข่แตกออกเพราอวิชชาถูกทำลาย จิตก็ไม่เป็นฟองอีก

อย่าไปคิดหาวิธีทำลายจิต แต่ให้ฝึกให้จิตตั้งมั่นเข้าไว้ เพราะจิตตั้งมั่นเมื่อไร นักภาวนาจะเห็นธรรมได้จริง ๆ เมื่อเข้าใจธรรมได้จริง ๆ อย่างท่องแท้ อวิชชาจะเปลี่ยนไปเป็นวิชชา แล้วเกิดจิตหนึ่งขึ้นเอง





Create Date : 04 ธันวาคม 2554
Last Update : 25 มกราคม 2555 20:26:21 น. 4 comments
Counter : 948 Pageviews.

 
เจริญในธรรมครับ
................................................


โดย: bk123 วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:4:49:25 น.  

 
สาธุ


โดย: devilmanb วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:9:51:34 น.  

 


ขอบพระคุณคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:10:11:25 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:20:26:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.