รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
19 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
อย่างไรคือ เก็บกด อย่างไรคือ ปล่อยวาง

ท่านนักภาวนาที่สงสัยว่า สิ่งที่ตนกำลังภาวนาอยู่นั้น ได้ผลแล้วคือเกิดการปล่อยวางแล้ว ขอให้ลองอ่านบทความนี้ แล้วไตร่ตรองดูก่อนครับว่า ท่านกำลังเข้าใจได้ตรงดีแล้วหรือไม่

การทีใจสงบสุขจากสิ่งที่เข้ากระทบ อันเป็นผลจากการภาวนาน้้นจะมี 2 ลักษณะคือ
1..สงบสุขเพราะการเก็บกดเอาไว้
2..สงบสุขเพราะการปล่อยวางของจิต

***********************

ผมจะขยายความให้ท่านพิจารณา

1..สงบสุขเพราะการเก็บกดเอาไว้
ลักษณะการเก็บกด ก็คือ พยายามกดมันไว้ ดันมันไว้ ไม่ให้มันโผล่หัวขึ้นมา เช่น ท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่ สุนัขข้างบ้านเกิดเห่าหนวกหูท่าน ท่านก็รู้สึกไม่พอใจในเสียงนั้น แล้วท่านก็พยายามบริกรรมเร็ว ๆ เพื่อจะได้ไม่ให้ความรู้สึกไม่พอใจมันโผล่ขึ้นมา หรือ เพื่อจะไม่ให้ไปฟังเสียงสุนัขเห่า ขอให้ท่านดูลักษณะการเก็บกดไว้

..การเก็บกดมีการพยายามจะหนีมัน มีการพยายามทำอะไรสักอย่างเพื่อหนีมัน เพื่อไม่ให้มันปรากฏขึ้นมา จิตร้อนรุ่มกระสับกระส่าย

2..สงบสุขเพราะการปล่อยวาง
อาการปล่อยวางของจิตนั้น จะมีลักษณะที่ว่า อาการที่มาจากการกระทบนั้นเกิดได้ ไม่มีความอยากให้อาการนั้นเกิดอยู่หรือไม่เกิด แต่อาการนั้นถ้ากำลังเกิดอยู่แล้ว ก็รู้ได้ว่า อาการมีอยู่ แต่ใจไม่ดิ้นรนกระสับกระส่ายไปกับอาการที่กำลังเกิดอยู่นั้นเลย เช่น ตัวอย่างข้างบน ท่านกำลังนั่งสมาธิแล้วสุนัขข้างบ้านเห่าเสียงดัง หนวกหู ท่านก็ได้ยินเสียงได้อยู่ แต่ใจไม่มีอะไร คงเฉยๆ อยู่ หูก็ได้ยินเสียงนั้นอยู่ ไม่มีความคิดใด ๆ เลยที่จะป้องกันเพื่อจะหยุดการได้ยินเสียงนั้น เสียงเกิดก็ช่างนั้น ท่านก็๋ได้ยินไป ทำกิจของท่านไปก็เท่านั้น

ลักษณะการปล่อยวางของจิต

..ไม่มีการกระทำใด ๆ เพื่อหลีกหนีจากมัน คงสัมผัสได้จากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดอยู่ แต่จิตไม่ดิ้นรนกระสับกระส่ายไปตามมันเลย


ท่านเห็นความแตกต่างไหมครับ ระหว่างการเก็บกดและการปล่อยวางของจิต

ถ้าท่านมีคำถามว่า แล้วในการฝึกฝน ถ้าเกิดเหตุดังกล่าว ควรปล่อยวางหรือเก็บกด

ในความเห็นของผม ในการภาวนานั้น ท่านควรเริ่มจากการฝึกหัดปล่อยวางก่อน แต่ถ้าเมื่อได้หัดปล่อยวางแล้ว รู้สึกว่าสู้ไม่ไหวแน่ ถึงตอนนั้น ก็ขอให้เลิกภาวนาไว้ก่อนครับ โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยกับการเก็บกด เพราะการเก็บกดไม่เกิดผลดีแต่จิตเลย ถ้าลองปล่อยวางแล้วไม่ไหว ผมเห็นว่า ก็เลิกฝึกไปก่อนดีกว่า พอใจสงบลงไปบ้าง ค่อยมาเริ่มใหม่ก็ได้ครับ

การปล่อยวางของจิตน้ัน ไม่ใช่จะได้กันง่าย ๆ ซึ่งการปล่อยวางในการภาวนาน้้นจะมี 2 ลักษณะ คือ ปล่อยวางด้วยสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น และ การปล่อยวางที่เป็นปัญญาญาณ

การฝึกฝนแบบหัดปล่อยวางไว้ก่อน นี่จะเป็นการเสริมการฝึกฝนเพื่อให้สัมมาสมาธิตั้งมั่น เมื่อนักภาวนาได้ฝึกฝนจนเกิดสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นแล้ว ผลจึงจะเกิดขึ้นมาได้เองจากความตั้งมั่นนั้น

ส่วนการปล่อยวางด้วยปัญญาญาณนั้น เป็นการปล่อยวางอีกระดับในระดับที่สูงกว่าการปล่อยวางด้วยสัมมาสมาธิ แต่เป็นการปล่อยวางด้วยจิตที่มีปัญญาญาณ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เร้าที่เข้ามาประทะด้วย แต่กว่าการปล่อยวางแบบนี้จะเกิดได้ นักภาวนาก็ต้องผ่านการปล่อยวางแบบสัมมาสมาธิมาก่อน

ส่วนการปล่อยวางที่ว่า เวลาผ่านไปนาน ๆ แล้วเกิดอาการไม่ยึดมั่น นี่เป็นเพราะท่านไม่ได้คิดถึงมันอีก หรือ ลืมมันไปแล้ว นี่ยังไม่ใช่การปล่อยวางทีแท้จริง เพียงแต่ท่านได้มีเรื่องอื่นเข้ามายุ่งด้วย ทำให้ลืมเรื่องนี้ไปเสียต่างหาก การเกิดอาการอย่างนี้ เมื่อไรท่านนึกถึงมันอีกครั้ง ท่านก็จะเดือนปุด ๆ เพราะมันได้อย่างแน่นอนครับ

*********
กิจกรรมครั้งที่ 3 กำหนดวันแล้ว เป็นวันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน 2554 ท่านที่จะเข้าร่วมกิจกรรม กรุณาลงชื่อได้ที่ห้องกิจกรรม ที่ Link นี้
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2011&date=18&group=14&gblog=6




Create Date : 19 กันยายน 2554
Last Update : 27 มกราคม 2555 9:43:21 น. 6 comments
Counter : 1434 Pageviews.

 
ดีมากๆค่ะ ขอแชร์ต่อนะค่ะ


โดย: phawaran IP: 27.55.25.226 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:18:13:48 น.  

 
อนุโมทนาคะอาจารย์


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.240.178 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:20:35:34 น.  

 



ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันค่ะ


โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:21:34:36 น.  

 
สวัสดีค่ะ คนผ่านมาเยี่ยม ขอให้เจริญในธรรม สาธุค่ะ


โดย: AnnaBanana วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:9:23:09 น.  

 
โมทนาสาธุค่ะ


โดย: chaosy วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:21:09:16 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 27 มกราคม 2555 เวลา:9:43:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.