รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
ศีล สมาธิ ปัญญา บันได 3 ขั้นแห่งการหลุดพ้น

ศีล สมาธิ ปัญญา บันได 3 ขั้นแห่งการหลุดพ้น เรื่องทั้ง 3 นี้เป็นเรื่องที่ท่านไม่สามารถคิดเอาเองได้ว่า มันจะต้อง เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ นอกจากจะได้มาจากการได้สัมผัสของจริงเท่านั้น จึงจะเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นองค์ประกอบแห่งการหลุดพ้นอย่างแท้จริง

1..ศีล

นักภาวนาชาวไทยเกือบทั้งหมด จะเข้าใจว่า ศีล ที่เป็นตัวต้นของ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ ศีล5 ศีล8 ศีล10 ศีล227

เรื่องแบบนี้ พูดกันยากลำบาก ถ้าไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธากัน พูดให้ปากแห้ง คนฟังก็ไม่ยอมรับ
กันทีเดียว

ในภาษาพระ คำว่า ศีล แปลว่า ปรกติ
ซึ่งก็คือ การมีปรกติในคน ๆ หนึ่งตามแต่เพศที่ถือครองอยู่

ศีล 5/8/10/227 เป็น ศีลสมมุติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เพศของฆราวาส/นักบวช เป็นข้อกำหนดขึ้นเพื่อให้กลุ่มชนที่ปฏิบัติในศีลเหล่านั้นจะสามารถดำรงค์ชีวิตได้อย่างปรกติสุข ไม่เบียดเบียนกันจนเกินขอบเขต

สำหรับ ศีล ที่เป็นตัวแรกของ ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น กลับเป็นว่า คือ ความปรกติของจิตใจในยามที่กำลังมีสติสัมปชัญญะอยู่ ซึ่งศีลที่เป็นความปรกติของจิตใจนี้แหละ คือ ต้นทางการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น

หรือ จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า ศีล ในการปฏิบัติ คือ สภาวะจิตที่กำลังไม่มีนิวรณ์อยู่

เมื่อใดก็ตามทีท่านมีสติสัมปชัญญะ จิตไร้นิวรณ์ นั้นแหละ ท่านกำลังมีศีลปฏิบัติแล้ว
แต่เมื่อใด ก็ตามที่ท่านขาดสติสัมปชัญญะ จิตมีนิวรณ์ นั้นแหละ ท่านกำลังไม่มีศีลปฏิบัติแล้ว

ในกฏ 3 ข้อที่ผมได้บอกไว้ ผมกำลังบอกให้ท่านมีศีลอยู่นั้นเอง

2..สมาธิ

เรื่องสมาธินี่ก็อีกเช่นกัน สำหรับนักภาวนาชาวไทย ที่เกือบทั้งหมดเข้าใจว่า สมาธิที่พระพุทธเจ้าสอนคือการไปจดจ่อกับอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่น นั่งสมาธิ ก็ไปจดจ่อลมที่ปลายจมูก เดินจงกรมก็ไปจดจ่อการกระทบที่เท้า ซึ่งสมาธิจดจ่อแบบนี้ เป็นสมาธิที่เป็นในแบบให้จิตไปยึดติดที่ไม่ใช่ทางแห่งการหลุดพ้น

แต่สมาธิที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นสัมมาสมาธิอันเป็นสมาธิที่เป็นสมาธิเพื่อการปล่อยวางของจิต จิตเป็นอิสระ ไม่ใช่ไปยึดติดกับสิ่งใด ๆ

การทำสมาธิแบบไปบังคับให้จิตนิ่ง นี่ก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิอีกเช่นกัน

ในสภาวะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธินั้น จิตจะตั้งมั่นอยู่ในฐานของจิต จิตไม่วิ่งไปจับยึดกับสิ่งใด ๆ ที่จิตไปรับรู้เข้า จิตนิ่งอยู่ในฐานที่ไร้การบังคับ แต่เป็นจิตนิ่งที่เป็นอิสระ ท่านมองเห็นความต่างกันไหมครับระหว่างสมาธิทั้ง 2 แบบ

เมื่อนักภาวนามีความอยากที่จะบังคับให้จิตนิ่ง มีความอยากที่จะรู้ลมกระทบที่ปลายจมูก มีความอยากที่จะรู้การกระทบที่เท้าเวลาเดินจงกรม นั้นขณะจิตที่มีความอยากนั้น นั้นคือ กามฉ้นทะ ในนิวรณ์ 5 ซึ่งหมายความว่า ในตอนนั้น ศีลของนักภาวนาได้ขาดกระจุยไปแล้ว การภาวนาในขณะที่ศีลขาดกระจุย สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ฝึกไปอย่างไร จิตก็ไม่มีทางตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เลย

สำหรับรายละเอียดเรื่องของสมาธิ ผมมีเขียนเรื่องของสัมมาสมาธิไว้แล้วที่เรื่อง

เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=02-07-2010&group=8&gblog=53

พลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสมาธินั้น เมื่อนักภาวนาได้ภาวนาจนจิตตั้งมั่นได้ นักภาวนาจะเห็นด้วยจิตว่า บรรดาขันธ์ 5 ทั้งหลาย ล้วนเป็นไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ซึ่งเป็นวิปัสสนาปัญญาของจริงที่นักภาวนาจะสัมผัสได้จริง ๆ จากที่มีสมาธิที่ตั้งมั่นแบบสัมมาสมาธิ

ซึ่งนักภาวนาที่ยังภาวนาไม่ถึงความตั้งมั่นของจิตเป็นสัมมาสมาธิได้ มักจะเข้าใจกันเอาเองว่า ความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 นั้นคือการไปนั่งคิดพิจารณาเอาด้วยความคิดที่ได้อ่านมาจากตำรา หรือ ฟังมาจากทีอื่น ๆ ว่า ขันธ์ 5 มันไม่เที่ยง มันเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งการคิดพิจารณาแบบนี้ ยังไม่ใช่ปัญญาทีแท้จริงของจิต เพียงแต่เป็น จินตมยปัญญา ที่ใช้สมองคิดเอา ซึ่งยังไม่ใช่่ทางแห่งการหลุดพ้นทีแท้จริง

ข้อต่างอีกอย่างหนึ่ง ของการคิดเอาเองแบบ จินตมยปัญญา และ การเห็นไตรลักษณ์ของจริงด้วยจิตนั้น การเห็นของจริงด้วยจิต จะเกิดการ.ตัด.ให้หยุดในจิตปรุงแต่ง ซึ่งเป็นการดับทุกข์ด้วยสมาธิได้จริง แต่การคิดเอาเองแบบจินตมยปัญญานั้น ไม่สามารถดับทุกข์ได้จริง ๆ แต่อาจเพียงทุเลาอาการให้เบาลงได้ด้วยการพยายามทำใจของตนเอง

3..ปัญญา

เรื่องปัญญานี่ก็เช่นกัน นักภาวนาชาวไทย มักเข้าใจว่า การมีปัญญาคืออย่างนี้ อย่างนี้ ซึ่งเป็นปัญญาที่คิดเอาเองจากที่ได้อ่านตำรามา ยังไม่ใช่ปัญญาทีมาจากการภาวนาอย่างแท้จริง

การมีปัญญาในระดับภาวนามยปัญญานั้น จะเกิดมาจาก 2 ระดับ คือ
3.1 ปัญญาในระดับที่ได้จากที่จิตเห็นขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ จากที่นักภาวนามีสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น
3.2 ปัญญาในระดับ.ญาณ. ที่จิตรู้เห็นสภาวะแห่ง อนัตตาและสุญญตา จนจิตเกิดการปล่อยวางในทุกสรรพสิ่ง จิตเป็นอิสระ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไป

*********************
ผมจะชี้ให้ท่านนักภาวนาได้เข้าใจให้ตรงทาง สิ่งเริ่มแรกนั้น ต้องมาจาก ศีล คือ สภาวะแห่งจิตที่เป็นปรกติที่ไร้นิวรณ์ แล้วใช้จิตปรกติทีมีศีลนี้ ไปฝึกสัมมาสติ ให้เกิดสัมมาสมาธิที่มีจิตตั้งมั่น เมื่อ นักภาวนาฝึกจนจิตตั้งมั่น ญาณ ก็จะปรากฏตามมา แล้วปัญญาในระดับญาณ นี้แหละ จะช่วยให้เกิดปัญญาญาณขั้นสูงสุด ที่จิตเลิกยึดมั่นถือมั่นในทุกสรรพสิ่ง เป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง อันเป็นการหลุดพ้นออกจากกองทุกข์

เริ่มต้นให้ถูก ให้ตรงแต่ต้น ย่อมถึงปลายทางได้อย่างแน่นอน

คำสอนของพระพุทธองค์มีอยู่ เพียงรอให้ท่านมาพิสูจน์คำสอนนั้น

**************
บทความนี้ คงช่วยให้นักภาวนาเข้าใจได้มากขึ้น ถึงวิธีการภาวนาครับ



Create Date : 20 สิงหาคม 2554
Last Update : 27 มกราคม 2555 20:19:41 น. 4 comments
Counter : 2492 Pageviews.

 
อนุโมทนาสาธุครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.95.38 วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:7:30:16 น.  

 
อนุโมทนาสาธุคะ


โดย: Nim IP: 124.121.143.3 วันที่: 22 สิงหาคม 2554 เวลา:20:25:02 น.  

 
อนุโมทนาสาธุคะ


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.241.193 วันที่: 3 กันยายน 2554 เวลา:6:27:46 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 27 มกราคม 2555 เวลา:20:22:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.