รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
วิปัสสนา เกิดหลังจาก Bird Eye View ได้อย่างไร

ผมได้เขียนเรื่อง จิตส่งออก ฐานของจิต ไว้ที่ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=04-07-2011&group=15&gblog=30 ผมแนะนำให้อ่านเรื่องนี้อีกครั้ง ก่อนอ่านบทความในเรื่องนี้

ในบทที่แล้ว ผมได้เขียนถึงการฝึกฝนด้วยการรู้ที่.มโน. ซึ่งนักภาวนาจะรู้ที่.มโน.ได้นั้น นักภาวนาจะรู้แบบรู้ทั่ว ๆ กล่าวคือ ตาก็มองเห็นได้อยู่ หูก็ได้ยินได้อยู่ จมูกก็ได้กลิ่นได้อยู่ รู้สัมผัสถึงอาการทางกายได้อยู่ ซึ่งจะคล้าย ๆ กับนกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า แล้วนกก็ได้มองลงไปด้านล่างที่เป็นพื้นดิน โดยนกได้เห็นสิ่งต่างๆ บนพื้นดิน แต่นกไม่บินลงไปยังพื้นดินเลย

นี่คือการฝึกฝนครับ ฝึกแบบ Bird Eye View คือรู้ทั่ว ๆ

ในพระไตรปิฏกได้กล่าวไว้ถึงเรื่องการเกิดขึ้นของ สมถะ/วิปัสสนา ไว้ 3 แบบ กล่าวคือ
แบบที่ 1..สมถะเกิดก่อน แล้ววิปัสสนาเกิดตามหลัง
แบบที 2..สมถะและวิปัสสนาเกิดพร้อมกันไปเลยทีเดียว
แบบที่ 3..วิปัสสนาเกิดก่อน แล้วสมถะจะเกิดตามหลังมา

ถ้าจะถามต่อว่า การฝึกแบบ Bird Eye View นี้เป็นสมถะหรือวิปัสสนา
ซึ่งถ้าในคนทั่ว ๆ ไป จะเป็นสมถะ ครับ
(ยกเว้นพระอนาคามี และ พระอรหันต์ จะเป็นแบบที่ 2 ครับ )

ผมเขียนบทนี้มาทำไมกัน...
ก็เพื่อให้นักภาวนาได้เห็นภาพการปฏิบัติครับ เพื่อจะได้เข้าใจว่า วิปัสสนาเกิดได้อย่างไรกันในการฝึกแบบ Bird Eye View

เมื่อนักภาวนากำลังฝึกฝนแบบ Bird Eye View อยู่ด้วยกฏ 3 ข้อที่ผมได้เขียนถึงบ่อยๆ
ในขณะที่กำลังฝึกฝนอยู่นั้น จะเป็นสมถะครับ แต่จะเป็นสมถะที่คล้าย ๆ กับการ Charge Battery เอาไว้ นักภาวนาเคยสังเกตไหมครับ ในขณะที่กำลังฝึกอยู่นั้น บางครั้งเกิดเผลอขึ้นมา บางครั้งมีอะไรคิดแว๊บขึ้นมา (อาการเผลอ อาการคิดแว๊บ เหล่านี้ ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งทั้งสิ้น)

ถ้าท่านนักภาวนา charge battery ไว้ดีพอ ซึ่งหมายความว่าในขณะทีฝึกอยู่นั้น กำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิกำลังอยู่ในสภาพทีค่อนข้างดี ถ้านักภาวนา.เห็น.อาการเผลอ หรือ .เห็น.ความคิดแว๊บขึ้นมาได้ ในขณะนั้นจะเป็นวิปัสสนาครับ ซึ่งจะตรงกับแบบที่ 1 ที่ว่า สมถะเกิดก่อน แล้ว วิปัสสนาเกิดขึ้นภายหลัง

แต่ถ้านักภาวนายัง charge battery ไว้ไม่ดีพอ กล่าวคือ กำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ยังไม่ดีพอ เวลาเกิดเผลอ หรือ เวลาทีเกิดความคิดแว๊บขึ้น ท่านจะมอง.ไม่เห็น.มัน เพียงแต่รู้ว่าเกิดขึ้น ซึ่งถ้ามองไม่เห็น อย่างนี้ยังไม่ใช่วิปัสสนานะครับ ขอให้ charge battery ต่อไปก่อน

นักภาวนาที่ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจคลาดเคลื่อน พอเกิดอาการเผลอ หรือ เกิดอาการคิดแว๊บ ก็จะเข้าใจว่า แหม วันนี้ฝึกไม่ดีเลย จิตไม่นิ่งเลย เผลอบ่อยจัง คิดบ่อยจัง

ดีไม่ดี key point มันอยู่ตรงนี้ครับ ....

ถ้าท่านนักภาวนา.เห็น.อาการจิตปรุงแต่งได้ อย่างนี้ท่านฝึกได้ดีมากครับ ยิ่งจิตปรุงแต่งเกิดถี่มาก และท่าน.เห็น.ได้บ่อย ๆ มาก ๆ ด้วย ยิ่งดีมากครับ เพราะการที่จิตเห็นอาการจิตปรุงแต่งที่เกิดขึ้นได้นี้ จะเป็นปัญญาเบื้องต้นให้แก่จิต และ ที่สำคัญก็คือ การเห็นอาการเหล่านี้แต่ละครั้ง จะส่งผลให้จิตนั้น.ตื่น.ตัวมากขึ้นในแต่ละครั้งที่เห็น เมื่อจิตสะสมความรู้จากการเห็นและการตื่นตัวมากขึ้นไปเรื่อยๆ พอถึงจุดหนึ่ง จิตจะเกิดการปฏิวัติตัวเองขึ้นมาเอง หรือ พูดง่าย ๆ ภาษาชาวบ้านก็คือ จิตเลื่อนขั้นครับ (ผมเคยเขียนเรื่องจิตเลื่อนขั้นนี้ไว้แล้ว ลองหาอ่านดูจากบทก่อน ๆ ใน blog นี้ ครับ )

แต่ถ้าท่านยัง.ไม่เห็น.อาการเหล่านี้ ท่านยังต้องฝึกฝนอยูต่อไปครับ อย่าไปโทษตัวเองว่า ฝึกไม่ดีเลย จิตไม่นิ่ง การโทษตัวเอง ไม่ก่อให้เกิดผลดีเลย มีแต่ทำให้ท้อถอยในการฝึกฝน

ขบวนการเกิดวิปัสสนานั้น จะเกิดเพียงแว๊บช่วงสั้น ๆ เท่านั้นและจะเกิดเมื่อมีเหตุให้เกิดจิตปรุงแต่งขึ้นในขณะที่กำลังสัมมาสติ สัมมาสมาธิดีอยู่ในระดับหนึ่ง ขอให้ท่านนักภาวนาเข้าใจด้วยครับว่า กำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ นั้น ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นพระอนาคามี พระอรหันต์ มันจะผุด ๆ โผล่ ๆ ดีบ้าง แย่บ้าง สลับไปสลับมาอย่างนี้เองครับ มันจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน ๆ หรอกครับ ดังนั้นการที่ท่านฝึกฝน แล้วพอเลิกฝึก สมาธิกลับแย่ นั้่นมันเป็นธรรมชาติของจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นอย่างมั่นคง แต่ท่านไม่ต้องตกใจว่า จะเกิดวิปัสสนาไม่ได้ ถ้าท่านยังหมั่นฝึกฝนอยู่อย่างถูกต้อง

การเกิดวิปัสสนาแต่ละครั้ง ที่จิตเห็นสภาวะของจิตปรุงแต่งเองด้วยกำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จิตจะตื่นตัวขึ้นทีละนิด ทีละน้อย การที่จิตตื่นตัวอย่างนี้ทีละนิด ผลก็คือ แสงแห่งจิตก็จะมีพลังมากขึ้นทีละนิดเช่นกัน พอเกิดวิปัสสนาบ่อย ๆ จิตตื่นตัวมากเข้า แสงแห่งจิตเปล่งประกายมากเข้า พอถึงจุดหนึ่งเช่นกัน จิตเกิดวิปัสสนาครั้งสำคัญ จิตตื่นตัวถึงขึดสุด แสงแห่งจิตเปล่งประกายเจิตจ้า ทำลายอนุสัยสิ้น เมื่อถึงจุดนั้น กำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิจะอยู่ตัวและตั้งมั่นที่นาน ๆ ได้ต่อไป เมื่อสมาธิที่ตั้งมั่น ผลจะเป็นแบบที่ 2 ครับ คือ สมถะและวิปัสสนาเกิดพร้อมกันไป

ผมอ่านในกระทู้ห้องศาสนา มักพบคนมาเขียนว่า ไปเข้าคอร์สอบรมหลายๆ วันแล้วจิตนิ่งดีจัง ฝึกได้ดีจริง ไม่อยากกลับบ้านเลย เพราะพอกลับบ้าน จิตไม่นิง จิตไม่ดีเหมือนอย่างเดิมอีก นี่แสดงว่า คนที่มาเขียนอย่างนี้ยังไม่เข้าใจขบวนการของการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์แนวพุทธ หลงยินดีไปกับอาการของสมถะทียังใช้งานดับทุกข์ไม่ได้จริงในยามที่ดำรงค์ชีวิตอยู่ในสังคม

ผมเขียนให้ท่านได้เข้าใจ ว่าการฝึกแบบที่ผมเขียนใน blog ขบวนการวิปัสสนาเกิดได้อย่างไร จิตจะไม่เผลอได้อย่างไร

*******************
หมายเหตุ โดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อในแบบที่ 3 ที่ว่า วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในแบบนี้ เพราะจิตที่ไม่มีกำลังความตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จะไม่มีทางเกิดวิปัสสนาได้เลยครับ



Create Date : 14 กรกฎาคม 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 14:45:16 น. 8 comments
Counter : 1180 Pageviews.

 
สาธุครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.94.173 วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:20:12 น.  

 
อย่างนี้ครับ ถ้าเรากำลังรู้อยู่ในกฎ 3 ข้อ แต่ตอนนั้นเราเกิดมีความรู้สึก รัก โกรธ ชอบ จะได้รึเปล่าครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.94.173 วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:25:13 น.  

 
ขอให้พิจารณาดังนี้ครับ
1.. รู้สึกได้ครับ แต่ถ้าว่า เห็นความรู้สึกนั้นหรือไม่ ถ้ายังไม่เห็น แต่รู้ว่าเกิดความรู้สึกขึ้น อาการนี้ยังไม่ใช่ระดับวิปัสสนาครับ

2.. รู้สึกแล้ว มันเกิดอยู่นานหรือไม่ ถ้าเกิดอยู่นาน ก็แสดงว่า อำนาจตัณหายังแรงอยู่ครับ ขอให้ทำสมถะตัดอาการเหล่านั้นให้มันหมดโดยเร็ว ทำอย่างไรก็ได้ ที่คุณถนัด ให้ใจทิ้งการยึดติดนั้นโดยเร็วที่สุด แล้วให้ใจกลับมาที่ยังเฉย ๆ ที่กฏ 3 ข้อโดยเร็ว


โดย: นมสิการ วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:18:04:51 น.  

 
สาธุ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.94.173 วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:19:03:13 น.  

 
ข้อสังเกต วิปัสสนา

วิปัสสนานั้น ถ้าตั้งใจแรงเกินไป อาการทางจิตใจจะไม่เกิดขึ้น จิตใจจะนิ่ง อย่างนี้เป็นสมถะ

การเกิดของวิปัสสนานั้น มันจะประจวบเหมาะ 2 เหตุการณ์ คือ
1..มีเหตุให้เกิดขึ้นพอดี
2..ในขณะที่เหตุเกิดนั้น จิตมีกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่ตั้งมั่นพอเพียง

ดังนั้น การฝึกฝนด้วยกฏ 3 ข้ออยูุ่เสมอนี้ จะเป็นการสร้างเหตุในข้อ 2 ขึ้น เพื่อรอเหตุในข้อ 1

เมื่อเหตุในข้อ 1 เกิดพอดีกับเหตุในข้อ 2 วิปัสสนาเกิดขึ้น จิตได้ปัญญา พร้อมกับแสงแห่งจิตที่ประกายขึ้นจากการเกิดวิปัสสนาปัญญานั้น

ในบางครั้ง ในขณะทีเกิดวิปัสสนา นักภาวนาอาจรู้สึกได้ถึงการวาบขึ้นของแสดงแห่งจิตได้ในบางครั้ง


โดย: นมสิการ วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:19:09:56 น.  

 
อนุโมทนาสาธุคะ
ยังคงต้องสะสมและเพียรต่อไปคะ ^__^


โดย: Nim IP: 124.121.78.73 วันที่: 14 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:35:21 น.  

 
อนุโมทนาครับ ผมมาอ่านธรรมครับ ท่านนมสิการ


โดย: เกิดเป็นคนช่างยากแท้ IP: 65.49.14.84 วันที่: 15 กรกฎาคม 2554 เวลา:8:11:42 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:14:51:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.