รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
ในการปฏิบัตินั้น อย่าทำอะไรที่เป็นการสร้างตัณหา นอกจากการมีความรูุ้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย

ผมเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อเป็นการทบทวนการปฏิบัติของท่านที่อ่าน blog นี้อยู่ ขอให้ท่านอ่านให้ละเอียดและตรวจสอบการปฏิบัติของท่านด้วยครับ

ผมได้แนะนำถึงกฏ 3 ข้อให้แก่ท่านไปแล้ว กล่าวคือ
1.รู้สึกตัว
2.ผ่อนคลาย สบาย ๆ อย่าเครียด
3.อย่าอยากรู้อะไร แต่ให้รู้ได้เอง

ในการฝึกฝนนั้น ท่านเพียงดำรงค์อยู่ในกฏ 3 ข้อนี้เสมอๆ แล้วปล่อยให้กลไกการทำงานของจิตเขาดำเนินไปเอง

เรื่องที่ 1...การเผลอ

อาการหนึ่งที่.ต้อง.พบเสมอในนักภาวนาใหม่ๆ ก็คือ อาการเผลอ เมื่อท่านมาภาวนาใหม่ๆ ด้วยกฏ 3 ข้อ ท่านจะเผลอแบบมหาศาล เผลอได้เผลอดี เผลอบ่อย ๆ เผลอนาน ๆ เสียด้วย เมื่อท่่านเกิดเผลอ และ พยายามทำให้ไม่เผลอโดยทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เช่นการเพ่งอะไรสักอย่างเพื่อไม่ให้เผลอ ถ้าท่านทำอย่างนี้ ท่านกำลังเดินผิดทางแล้วครับ

กลไกเรื่องการเผลอนั้น ท่านจะลดการเผลอลงได้ โดยการเผลอที่ลดลงนั้น จะเป็นลักษณะของเวลาที่เผลอสั้นลงไปเรื่อย ๆ เช่น เมื่อก่อนเคยเผลอนานเป็นชั่วโมง ๆ แล้วจึงรู้สึกตัวได้อีกครั้ง แล้วก็เผลอนาน ๆ อีก เมื่อฝึกไป (อ่านต่อไปครับว่า การฝึกลดลงแห่งการเผลอเป็นไปได้อย่างไร ) ก็จะลดลง เช่น เหลือ 1 ชั่วโมง แล้วก็กลับมารู้สึกตัว เมื่อมีการพัฒนาการดีขึ้น ก็จะลดลงอีก เช่นเหลือสัก 30 นาที แล้วก็กลับมารู้สึกตัว มันจะสั้นลงอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ 20 นาที...10 นาที..5 นาที... 1 นาที...30 วินาที...5 วินาที ....1 วินาที...สั้นกว่า 1 วินาที

มันจะหดสั้นแบบนี้ แต่ท่านยังมีเผลอได้อยู่แต่เพียงสั้น ๆ ที่สั้นมาก ๆ เมื่อภาวนาได้ผลดีมาก ๆ แล้ว

กลไกการทำงานของจิตนั้น การลดลงแห่งการเผลอได้นั้น จะมาจากที่จิตได้สัมผัสการเผลอและไม่เผลอที่สลับไปมาแบบนี้ได้บ่อย ๆ ครับ แต่ถ้าท่านไปทำอะไรเพื่อกันไว้ไม่ให้เผลอตั้งแต่แรกแล้ว กลไกนี้จะทำงานไม่สมบูรณ์ดีพอนะครับ

ในการฝึกฝนเพื่อให้จิตสัมผัสการเผลอและไม่เผลอสลับไปมาได้บ่อย ๆ นี้ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมพบมา ก็คือการฝึกให้มีจังหวะ เช่น ในขณะหมุนกลับตัวเมื่อเดินจงกรม หรือ การฝึกการเคลือนมือแบบหลวงพ่อเทียน (อ่านเรื่อง เจาะให้เข้าถึงการปฏิบัติแบบ.หลวงพ่อเทียน. ที่ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2011&date=19&group=15&gblog=37 ) เมื่อท่านอ่านถึงตรงนี้ ผมแนะนำให้ท่านได้ลองของจริงดูเลยครับ เช่น ขอให้ท่านลองเดินจงกรมด้วยกฏ 3 ข้อ ขณะที่กำลังหมุนตัวกลับนั้น ท่านจะรู้ได้ว่ามีเผลอแว๊บหนึ่งสั้น ๆ ขึ้นมาได้ การรู้แว๊บเผลอแบบนี้แหละครับ จะทำให้กลไกจิตทำงานแล้วมีผลในการพัฒนาการเพื่อการลดลงแห่งการเผลอได้ ซึ่งหมายความว่า ท่านต้องใช้เวลาฝึกด้วยครับ ไม่ใช่รู้เผลอแว๊บแบบนี้เพียงครั้ง หรือ 2 ครั้งแล้วจะได้ผลเลย

ท่านอย่าได้กลัวการเผลอ ในเส้นทางแห่งการฝึกฝน ท่านต้องเผลอ ถ้าไม่เผลอเลย แสดงว่ามีอะไรผิดไปแล้ว ท่านจะเผลอและมีการพัฒนาการที่ลดลงแห่งเวลาการเผลอ สั้นลงไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ท่านชำนาญมาก ๆ มีการพัฒนาการทางจิตที่สำคัญขึ้น แล้วทีนี้ท่านจะไม่เผลออีกเลย แต่กว่าจะถึงจุดนี้ได้ ไม่ใช่ของง่าย แต่ก็เป็นไปได้ครับ

ขอให้ท่านทำความเข้าใจในเรื่องเผลอนี้ ท่านจะปฏิบัติไม่ผิด แล้วจะได้ผลดีในการลดลงแห่งทุกข์

เรื่องที่ 2...นี่คืออะไรนะ

เมื่อท่านฝึกฝนไป ท่านจะพบกับสภาวะธรรมหลาย ๆ อย่าง บางอย่างท่านก็จะรู้จักได้ บางอย่างท่านจะไม่รู้จักว่านี่คืออะไร

เมื่อท่านฝึกฝน ท่านรู้อะไรไม่สำคัญเลยครับ แต่ที่สำคัญก็คือ เมื่อรู้แล้วท่านต้องละมัน ต้องทิ้งมันไป อย่าไปใส่ใจมัน มันจะมาอีก ก็ช่างมัน มันจะหายไปแล้วก็ช่างมัน ขอให้ดำเนินด้วยกฏ 3 ข้อไปเรื่อยๆ เท่านั้น

สภาวะธรรมที่มาปรากฏให้ท่านสัมผัสได้นั้น บางอย่างก็เพียงแต่เป็นประสบการณ์ทางจิตที่ไม่มีอะไรสำคัญเลยในทางความหมายว่านี่คืออะไร แต่ที่สำคัญคือผลของมันครับ เมื่อท่านสัมผัสสภาวะธรรมได้นั้น จิตจะรับรู้ไว้แล้ว โดยทีท่านจะไม่ทราบเลยว่า จิตได้รับรู้เรื่องไว้แล้ว การรับรู้เรื่องไว้แล้วของจิตนั้นเป็นปัญญาแก่จิต โดยทีท่านไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวอะไรได้เลย

เมื่อปัญญาที่จิตรับรู้ได้บ่มเพาะถึงขีด จิตจะมีการปฏิวัติตัวเองให้มีคุณภาพในการปล่อยวางได้มากขึ้นเอง ซึ่งท่านก็ทำอะไรไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะจิตเขาจะทำตัวของเขาเอง ท่านจะรู้ได้เพียงแต่ว่า อ๋อ ตอนนี้ จิตตัดได้เร็วขึ้นกว่าเดิมในสภาวะธรรมแบบนี้ ซี่งแต่ก่อน ท่านตัดมันไม่ได้หรือตัดได้ช้า ท่านรู้เพียงเท่านี้ ท่านจะเป็นโสดาบันหรือไม่ ท่านไม่ทราบหรอกครับ เพราะจิตไม่รู้เรื่องด้วยหรอกว่าโสดาบันคืออะไร แต่ถ้าจิตมีการปฏิวัติถึงขึดสุด จิตเป็นอิสระนั้นแหละครับ ท่านจะทราบตรงนั้นได้ว่า จิตนี้อิสระแล้ว ตัณหาไม่สามารถมีผลแก่จิตได้อีกต่อไป ท่านจะรู้ได้เพียงแบบนี้เท่านั้น

ผมขอย้อนกลับไปที่เรื่องการเผลออีกนิด ท่านจะเห็นว่า เป้าหมายการพัฒนาของจิตคือจิตอิสระ ตัณหาไม่มีผลแก่จิตได้อีก ถ้าท่านไปทำอะไรเพื่อไม่ให้เผลอ นี่คือตัณหากำลังมีผลแก่จิตแล้ว ท่านเห็นไหมครับว่า การทำอะไรเพื่อไม่ให้เผอล มันจะสร้างตัณหา อันเป็นการย้อนศรแห่งจิตอิสระ

การภาวนานั้น อย่าได้คิดทำอะไรเลยที่เป็นการสร้างตัณหา
หมั่นรู้สภาวะบ่อย ๆ ด้วยกฏ 3 ข้อเท่านั้น แล้วจิตเขาจะพัฒนาตัวเขาเอง แต่ก็ต้องอาศัยการฝึกฝนด้วยครับ ไม่ว่าจะในรูปแบบ หรือ ในชีวิตประจำวัน

เรื่องที่ 3.. อาณาปานสติ

ท่านที่ติดตามอ่าน blog นี้จะเห็นว่า ผมไม่ได้กล่าวถึงอาณาปานสติบ่อยนัก หรือ แทบไม่พูดถึงเลย จากประสบการณ์ที่ผมพบ อาณาปานสติ นั้นดีมาก สำหรับผู้ที่ฝึกฝนได้ผลพอสมควรแล้ว ถ้ามือใหม่เพิ่งมาฝึก อาณาปานสติ จะเป็นกรรมฐานที่ยากที่สุด เพราะลมนั้นเบา ละเอียดมาก เมื่อเบา ละเอียด มือใหม่ก็จะรู้สึกไม่ได้ พอรู้สึกไม่ได้ ก็พยายามจะไปรู้สึกให้ได้ เช่นพยายามไปจับที่ปลายจมูก ถ้าเป็นแบบนี้ ก็เสร็จตัณหากันเลยครับ

แต่ถ้าท่านภาวนามาแล้วได้ผลดีพอสมควร รับรู้อาการสั่นไหวอันเนื่องมาจากการหายใจได้ ท่านจึงจะทำอาณาปานสติได้ผลอย่างแท้จริง

การฝึกอาณาปานสติ ต้องมีการหายใจอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีการกดข่มบังคับลมหายใจ ถ้าท่านฝึกถึงจุดที่แยกจิตรู้ออกจากกายได้แล้ว ท่านจะสามารถฝึกอาณาปานสติได้อย่างดีเลิศ โดยท่านจะเห็นได้เลยว่า กายส่วนหนึ่ง จิตส่วนหนึ่ง ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นอิสระต่อกัน ไม่เนื่องกันเลย

อีกเรื่องหนึ่่ง ที่ผมเห็นในกระทู้ห้องศาสนาบ่อย ๆ ก็คือ มีคนมาเล่าว่า ฝึกอาณาปานสติแล้วลมหายใจหายไปแล้ว ทำอย่างไรต่อไป ซึ่งในความเห็นของผมนั้น (ขออภัย ท่านท่านไม่เห็นด้วย )
ลมหายใจที่หายไปนั้น จะมี 2 ลักษณะคือ
1.ลมหายใจหาย เพราะกำลังสติหดหายไปแล้ว ทำให้จับลมไม่ได้ต่างหาก อย่างนี้สติอ่อนมากเกินไปแล้ว
2.ลมหายใจหาย เพราะเข้าสู่ฌานที่ 4 ไปแล้ว ซึ่ง ฌานที่ 4 ไม่ใช่เรื่องที่่นำมาเล่ากันสนุกปาก มันเป็นสภาวะที่เข้าถึงยากมากและยากที่สุด น้อยคนนักในยุคนี้ จะไปถึงได้

ในความเห็นของผมนั้น ในการฝึกอาณาปานสตินั้น อย่าฝึกให้ลมหายครับ แต่ฝึกให้มีลมปรากฏเสมอ แต่ให้เห็นกองลมและจิตเป็นอิสระต่อกัน ฝึกอย่างนี้บ่อย ๆ จิตจะยิ่งมีกำลังตั้งมั่นครับ




Create Date : 23 สิงหาคม 2554
Last Update : 27 มกราคม 2555 20:19:13 น. 18 comments
Counter : 1115 Pageviews.

 
อนุโมทนาและขอบพระคุณมากคะ


โดย: ์Nim IP: 110.168.58.241 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:20:02:54 น.  

 
ขอบคุณครับ
ทบทวนตัวเองอีกครั้ง คงเป็นเพราะตัณหาจึงทำให้ปฏิบัติแบบเพ่งตึง คงต้องผ่อนคลายและละทิ้งความอยากลงถือแนวกฏ 3 ข้อเป็นหลัก


โดย: หนุ่ม IP: 113.53.60.175 วันที่: 23 สิงหาคม 2554 เวลา:20:15:37 น.  

 
กราบขอบพระคุณอาจารย์สำหรับบทความที่มีประโยชน์ยิ่งเพื่อการตรวจสอบและเทคนิคในการปฏิบัติค่ะ
หลังจากหยุดฝึกอานาปานสติแบบเพ่งจุดกระทบ. แล้วมาเจริญสติด้วยกฎ3ข้อตามที่อาจารย์ได้แนะนำแล้ว. แต่เดี๋ยวนี้เขามักจะไปรู้ลมเอง. แต่รู้ที่การรู้การกระเพื่อมการสั่นไหวเนื่องด้วยลมหายใจค่ะ. ไม่ได้ไปรู้ที่จุดลมกระทบ. ก็ทำตามที่อาจารย์สอนไว้ จิตอยากรู้อะไรก็ให้เขารู้ไป. เราดูเฉยๆไม่ต้องอยากรู้
แต่สังเกตว่าเขาจะไปรู้การกระเพื่อมบ่อยมากค่ะอาจารย์


โดย: จิตติ IP: 110.169.185.213 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:2:10:13 น.  

 
ตอบ คุณจิตติ

เมื่อจิตมีกำลังมากขึ้น นักภาวนาจะรู้สึกได้ว่า มีการสัมผัสกับสภาวะต่าง ๆ ได้มากขึ้นด้วย โดยการสัมผัสนั้นรู้ได้เอง อย่างที่เล่ามาว่า รับรู้การกระเพื่อมได้บ่อยมากขึ้นโดยเป็นการรู้ได้เอง อย่างนี้แสดงว่า จิตมีกำลังมากขึ้นแล้ว
ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ดีสำหรับนักภาวนา

ขอให้ฝึกต่อไปครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:6:11:10 น.  

 
สาธุ. ขอบพระคุณค่ะ. อาจารย์


โดย: จิตติ IP: 110.168.27.204 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:8:42:48 น.  

 

บทความดีมากๆเลยคะ

ขอบคุณมากเลยที่เขียนสิ่งดีๆเหล่านี้ให้พวกเราได้มาอ่านกัน

ฉันพึ่งตระหนักถึงสิ่งที่คุณนมสิการบอก เมื่อวันสองวันก่อนนี้เอง
คล้ายๆกับที่เคยฟังในคลิปของดังตฤณเลยคะ
เรื่องที่จิตสร้างตัวก๊อปปี้ขึ้นมา
คือ เหมือนกับว่าเวลาเรารู้สภาวะนึงขึ้นมาแว๊บนึง
แล้วจิตเราจำสภาวะนั้นได้ แล้วเราเองคงด้วยตัญหา อยากจะรู้สภาวะนั้นให้ชัดๆ
หรืออยากจะเกิดความรู้สึกตัวแบบนั้นอีก
พอเราพยามจะดูลงไป ผลก็คือ เหมือนกับเกิดการสร้างอะไรบางอย่างปลอมๆขึ้นมาอีกที
(เขาเรียกว่าการปรุงแต่งละมั้ง)
แล้วเราก็พยามดูลงไปที่ตัวนั้น คือเราไม่ได้เกิดความรู้สึกตัวแล้ว
แต่เรากำลังดูอะไรบางอย่างที่กำลังถูกสร้างขึ้นมาแทน

(ไม่รู้อธิบายถูกหรือเปล่า แต่ส่วนตัวรู้สึกแบบนั้นอะคะ ~_~! )

แนบ: อันนี้คลิปของดังตฤณที่บอกละคะ
//www.youtube.com/watch?v=zAEoF2y7JkE

^____^



โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:10:03:23 น.  

 
ท่านนมสิการครับ การมีความรู้สึกตัวรู้อารมณ์ควรเป็นอย่างไรหรอครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.206.83.22 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:18:59:14 น.  

 
ความรู้สึกตัว นี่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีใครอธิบายได้ว่าเป็นอย่างไร แต่คนทุกคนก็รู้จักมันดีว่าในขณะนี้กำลังรู้สึกตัวอยู่หรือไม่

เมื่อรู้สึกตัวอยู่ กลไกของจิตเขาจะทำงานเองโดยที่จิตไปรู้อะไรก็ได้ สิ่งที่จิตรู้ เขาเรียกกันวา อารมณ์ของจิต หรือ บางทีก็เรียกว่า อารมณ์

ไม่ทราบว่า ตอบตรงคำถามหรือไม่ครับ เพราะผมอ่านคำถามก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่ถามสักเท่าใด


โดย: นมสิการ วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:19:44:04 น.  

 
ตอบคุณอาณาจักรสีเขียว

ที่เล่ามานั้นคือ ตัณหา ครับ เป็นความอยากรู้ อยากเป็น ล้วนเป็นสิ่งที่นักภาวนาต้องเข้าใจมันว่า ต้องละทิ้งเสีย รู้แล้วละทิ้ง อย่าได้ไปตาม อย่าได้ใส่ใจในสิ่งที่รู้


โดย: นมสิการ วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:19:45:25 น.  

 
(-/\\-) ขอบคุณมากคะ

ในจิตใจเรามีตัณหา อย่างละเอียดแบบนี้อยู่นี่เอง


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:21:25:34 น.  

 
สวัสดีครับ คุณนมสิการ
ขอรบกวนสอบถามอีกครั้งน่ะครับ หลังจากกลับมาปฏิบัติทางกฏ 3 ข้อ ความเครียดเพ่งก็หายไปแต่ใจกลับเวิ้งว้างพิกลครับ เหมือนว่าใจกำลังมองอยู่ลอย ๆ ที่ระหว่างคิ้วและมีความรู้สึกตุ๊บ ๆ แถวลิ้นปี่เป็นจังหวะเดียวกัน พยายามทอดสายตาไปมาช้า ๆ ก้มเงยหน้า(ลองสลัดความรู้สึกเวิ้งว้างระหว่างคิ้วออกไป) แต่กลับรู้สึกแบบนี้เสมอตราบที่ยังไม่เผลอ เจ้าความเครียดเกร็งแถวหลังศรีษะหายไปพร้อมกับความคิดที่เคยไปๆ มาๆ บ่อยตอนแรก เหมือนกับว่าใจจับความรู้สึกทางกายได้ชัดกว่าความคิด
คำถามครับ ใช่ความรู้สึกตัวเป็นธรรมชาติหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ถูกกรุณาชี้แนะด้วยครับ
ตอนนี้ถ้าผมเผลอเมื่อไหร่ ผมจะกลับมารู้สึกตัวแบบข้างบนได้ไหม มันจะเข้าข่ายว่าไปเพ่งหาความรู้สึกตัวหรือไม่อย่างไรครับ
วิธีจัดการความเครียดด้วยการเปิดเพลงดัง ๆ ควบคู่กับการรู้สึกตัวไปด้วยนี่ใช่ได้ไหมครับ ตอนนี้ในเวลาที่ผมขับรถผมจะเปิดเพลงฟัง หรืออ่านเว็บบอร์ดก็ฟังเพลงไปด้วยแต่ยังคงความรู้สึกตัวไว้

ขอบคุณครับ


โดย: Num IP: 125.27.34.243 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:22:17:14 น.  

 
ออขอโทดครับ ถามใหม่ การมีสติรู้อารมณ์นั้นเป็นอย่างไร
การรู้อารมณ์แล้วไม่ปรุงต่อถือว่าโอเคในทางปฏิบัติแล้วใช่หรือไม่ครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.206.83.125 วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:3:37:11 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณมนสิการ ตั้งแต่ได้ปฎิบัติตามที่คุณแนะนำแล้ว การฝึกให้มีความรู้สึกตัวโดยไม่เคร่งเครียดและไม่อยากรู้ ในกิจวัตรประจำวัน ดิฉันอาจไม่ได้ประสบสภาวะธรรมแบบแปลกๆ แต่สิ่งที่ได้จากการปฎิบัติ คือการมีสติ มีความเมตตา ให้อภัย โกรธ น้อยลง ชอบไม่ชอบ น้อยลง มักจะเฉย แบบว่ามันก็เป็นของมันเช่นนั้นเองตามเหตุปัจจัย หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเองก็จะพยายามหาทางแก้ไขให้ดีขึ้น ละอายมากขึ้นแม้แต่ความคิดก็ยังระวัง การปรุงแต่งน้อยลงเพราะได้สติเร็ว เห็นความไม่เที่ยงสักอย่าง และเข้าใจถึงคำพูดที่ว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นย่อมดับ โดยธรรมชาติในขณะที่ลืมตามีสติ อันนี้เป็นผลจากการปฎิบัติ


โดย: cakecode วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:12:30:26 น.  

 
ตอบ คุณ Num

คำถามครับ ใช่ความรู้สึกตัวเป็นธรรมชาติหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ถูกกรุณาชี้แนะด้วยครับ
ตอนนี้ถ้าผมเผลอเมื่อไหร่ ผมจะกลับมารู้สึกตัวแบบข้างบนได้ไหม มันจะเข้าข่ายว่าไปเพ่งหาความรู้สึกตัวหรือไม่อย่างไรครับ
วิธีจัดการความเครียดด้วยการเปิดเพลงดัง ๆ ควบคู่กับการรู้สึกตัวไปด้วยนี่ใช่ได้ไหมครับ ตอนนี้ในเวลาที่ผมขับรถผมจะเปิดเพลงฟัง หรืออ่านเว็บบอร์ดก็ฟังเพลงไปด้วยแต่ยังคงความรู้สึกตัวไว้

**
ก่อนอื่น ให้ทำความเข้าใจว่า ความรู้สึกตัวที่เ็ป็นธรรมชาติก่อนครับ ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ ก็คือ กฏ 3 ข้อครับ รู้อะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่ความอยากที่จะรู้สิ่งนั้น

ผมจะยกตัวอย่าง การรู้ที่เป็นธรรมชาติโดยที่ไม่มีความอยากรู้่ เช่นในขณะที่คุณกำลังอ่านเรื่องนี้อยู่ คุณก็เอามือไปลูบขาเล่นดูซิครับ คุณอ่านไปด้วย ลูบขาเล่นไปด้วย ตาคุณอ่านอยู่ แต่คุณจะสามารถรับรู้ความรู้สึกที่เป็นการลูบขาได้ด้วย โดยที่คุณไม่ได้ใส่ใจมันเลย การรู้ได้เองแบบนี้ครับ คือ รู้เองโดยที่เรารู้สึกตัวอยู่

ที่เล่ามาว่า รู้สึกระหว่างคิ้ว รู้สึกตุ๊บ ๆ ที่ลิ้นปี่ ถ้าไม่ใช่ความอยากที่จะรู้ แต่เป็นรู้ได้เอง ก็ใช้ได้ครับ ถ้ามันจะรู้ไปนาน ๆ โดยที่รู้ได้เอง นี่ก็ไม่ใช่ปัญญาครับ แต่เป็นการรู้สภาวะธรรม ซึ่งเป็นการรู้ที่ดี ทำให้เกิดสติที่มีกำลังได้ต่อไป

การที่จิตไปรับรู้ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ และ รู้ที่จุดนั้นบ่อย ๆ สักพัก มันก็จะเปลี่ยนครับ มันไม่จำเจแบบนั้นไปตลอดครับ ยกเว้นแต่ว่า เราไปจ้องที่ตำแหน่งนั้้นเอง

เรื่องเปิดเพลงดังๆ แล้วรู้สึกไปด้วย นี่ได้ครับ
สมัยก่อน ที่ผมกำลังฝึกฝนอยู่ ผมก็อาศัยเสียงเพลงนี้แหละครับ เปิดเพลงไประหว่างฝึก ผมว่าดีนะครับ ไม่เครีัยดด้วย แต่ไม่น่าเบื่อเวลาฝึก


โดย: นมสิการ วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:16:32:29 น.  

 
ตอบ คุณ cakecode ดีแล้วครับ ขอให้ฝึกต่อไปครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:16:35:01 น.  

 
เพลงนี้ความหมายดีนะคะ //www.youtube.com/watch?v=YOeHJpwGzz0
เคยใช้เตือนตัวเอง


โดย: ออย IP: 180.180.186.209 วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:9:22:26 น.  

 
ถามใหม่ การมีสติรู้อารมณ์นั้นเป็นอย่างไร
การรู้อารมณ์แล้วไม่ปรุงต่อถือว่าโอเคในทางปฏิบัติแล้วใช่หรือไม่ครับ

โดย: คนไม่ธรรมดา

**********อ่านคำตอบที่นี่ครับ*****

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=27-08-2011&group=15&gblog=47



โดย: นมสิการ วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:11:36:39 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 27 มกราคม 2555 เวลา:20:22:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.