รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
สติรู้อารมณ์นั้นเป็นอย่างไร

ท่านเคยหิวน้ำไหมครับ เคยปวดปัสสวะไหมครับ เคยรู้สึกจักกะจี้ไหมครับ

การที่ท่านสามารถรับรู้อาการเหล่านี้ ที่ผมยกตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่า นี่คือสิ่งธรรมดานี่เอง
ที่คนทุก ๆ สามารถรับรู้ความรู้สึกเหล่านี้ได้ ซึ่งก็คือ จิตรับรู้ความรู้สึก จะเรียกว่าสติ หรือ จะเรียกว่า อะไร ก็แล้วแต่ มันเพียงเป็นแค่ชื่อที่เขาตั้งขึ้นมาเรียกกัน ถ้าผมบอกว่า นี่คือสติ ก็อาจมีคนค้านว่า นี่ไม่ใช่สติ ซึ่งผมจะขอหลีกเลี่ยงชื่อเรียกที่คนตั้งขึ้นมา แต่ผมจะบอกว่า นี่คืออาการที่จิตสามารถรับรู้อารมณ์ได้เองโดยที่นักภาวนาไม่ต้องทำอะไรเลยก็รู้ถึงได้ (หมายเหตุ คำว่า อารมณ์ เป็นภาษาพระ จะหมายถึง สิ่งที่จิตไปรับรู้เข้า)


จิตรับรู้อารมณ์ดังตัวอย่างข้างบนนี้ที่เป็นอาการทางกาย แต่ยังมีอาการทางใจอีกอย่างหนึ่ง เช่น อาการหวุดหงิด โกรธ รัก ชอบ หรือ อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งอาการทางใจนี้ก็เป็นธรรมชาติอีกเช่นกัน ที่คนทั่ว ๆ ก็สามารถรับรู้ได้ แต่มันมีพิษที่ร้ายกาจถ้าไปกินมันเข้าไป และเมื่อกินมันเข้าไปแล้ว อารมณ์บางอย่างก็หยุดได้ง่าย บางอย่างก็หยุดได้ยาก การที่หยุดได้ยาก ทุกข์ก็จะค้างอยู่นาน

มีทางไหม ที่จะไม่กินอาการทางใจแล้วทำให้ทุกข์

คำตอบก็คือ มีครับ ในอริยสัจจ์ 4 นั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้ทุกข์ซึ่งก็คือในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 แล้วพระองค์ก็สอนต่อว่า ให้ละเสียซึ่งตัณหา ซึ่งเป็นอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 2 การละเสียซึ่งตัณหา ก็คือ การไม่กินอาการทางใจน้้นเข้าไปนั้นเอง แล้วพระองค์ยังบอกต่อว่า เมื่อไม่กินอาการทางใจ ก็จะพบกับนิโรธ หรือ ความไม่ทุกข์ อันเป็นอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 3 แล้วพระองค์ก็สอนถึงวิธีการที่จะเข้าถึงทางที่เรียกว่า มรรคซึ่งก็คือ อริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 4

สรุปก็คือ การไม่กินอาการทางใจแล้วทำให้ทุกข์ ก็คือ การปฏิบัติตามอริยสัจจ์ 4 นั้นเอง
ซึ่งสามารถสรุปย่อ ๆ แบบสติปัฏฐาน 4 ได้ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา
ที่นี้ก็อยู่ที่ท่าน ๆ แล้วว่า จะสามารถถอดรหัสวิชาของพระพุทธองค์ได้ถูก ได้ตรงหรือไม่ ถ้าถอดได้ถูก ได้ตรง ก็เป็นการสร้างเหตุที่ตรงทางแห่งการไม่ทุกข์ แต่ถ้าถอดผิดทาง ก็เป็นการย้อนศร

ในผลแห่งการปฏิบัติตามพระพุุทธองค์ที่ทรงสอนว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา ผลแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ตรงทางนั้น จะทำให้นักปฏิบัติมีกำลังจิตเพิ่มมากขึ้น ผลก็คือ เกิดจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ และเกิดความว่องไวในการที่จิตไปรับรู้อาการต่าง ๆ ทั้งทางกายและทางจิตใจ

ความว่องไวในการที่จิตไปรับรู้อาการต่าง ๆ นั้น นี่คือการรู้ทุกข์ที่ไวขึ้น เร็วขึ้นกว่าตอนไม่ได้ฝึกฝน และ เมื่อจิตตั้งมั่น จิตจะมีพลังที่มีอำนาจเหนือตัณหา ทำให้จิตไม่หลงไปกินอาการต่าง ๆ ทางใจที่เกิดขึ้นมา นี่คือผลแห่งการฝึกทีถูกและได้ผลขึ้นมาแล้ว

ถ้าท่านจะถามผมว่า เมื่อจิตรู้อารมณ์แล้วไม่ปรุงต่อนี้ถูกใช่ไหม
คำถามนี้ต้องให้ระวังในคำตอบ ถ้าไม่ระวังให้ดี ก็จะบอกว่า ถูก แต่จริง ๆ มีเงื่อนไขอยู่ครับ

แบบที่1...เมื่อจิตไปรู้อารมณ์แล้ว ถ้าไม่ปรุงต่อไปอีก โดยที่นักภาวนาไม่ได้มีการกระทำใด ๆ ที่เป็นการกดข่มจิตไว้ อย่างนี้ถูกครับ การที่จิตไม่ปรุงต่อนั้น เกิดจากสิ่งที่เข้ากระทบจิตไม่รุนแรงพอให้จิตเกิดการปรุงต่อนั่้นเอง ซึงการทนทานต่อความรุนแรงที่เข้ากระทบจิต มันจะเปลี่ยนระดับไปเรื่อย ๆ ยิ่งภาวนาได้ตรงทางมากและมีชำนาญมาก จิตก็ยิ่งมีพลังที่ทนทานต่อสิ่งทีเข้ากระทบจิตได้สูงขึ้น

แบบที่2..เมื่่อจิตไปรู้อารมณ์แล้ว เกิดปรุงต่อไปอีก แต่นักภาวนามีกำลังจิตทีตั้งมั่นมากขึ้น นักภาวนาจะเห็นการปรุุงต่อนั้นเป็นไตรลักษณ์ แล้วการปรุงนั้นจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแบบนี้เป็นวิปัสสนาปัญญาที่เกิดแก่นักภาวนา

อย่างแบบนี้ก็ถูกและได้ภาวนามยปัญญาอีกด้วย

แบบที่3..เมื่อจิตไปรู้อารมณ์แล้ว เกิดปรุงต่อไป แต่นักภาวนามีกำลังจิตต่ำ จิตแพ้แรงตัณหาไปกินอาการปรุงเข้าไปแล้วเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที

อย่างนี้ก็ถูกเช่นกัน แต่ไม่มีปัญญา แต่มีทุกข์เกิดขึ้นมา เพราะกำลังจิตต่ำไป อาการอย่างนี้ จะสอนให้นักภาวนารู้ว่า ตัวเองยังภาวนายังไม่พอนะ ต้องมีความเพียรมากขึ้นอีก จะทำให้นักภาวนาลดความยิ่งยะโสโอหังในตนเองลงไป
(นักภาวนาบางคน พอเริ่มภาวนาได้ผลบ้าง มักมีความยะโสโอหัง ลำพองใจว่า ฉันนี่แน่กว่าคนอื่น คนอื่นสู้ฉันไม่ได้ รู้น้อยกว่าฉัน ฉันภาวนาถูก คนอื่นภาวนาผิดทั้งนั้น)

แบบที่4..เมื่อจิตไปรู้อารมณ์แล้ว นักภาวนาพยายามหยุดไม่ให้เกิดการปรุุงขึ้น เช่นหัวหน้างานกำลังด่าว่า ในใจก็ท่องพุทโธเสียถี่ยิบเพื่อไม่ให้โกรธ อย่างนี้เป็นสมถะภาวนา ไม่ก่อให้เกิดปัญญา แต่ก็ดีกว่าที่จิตไปกินอารมณ์แย่ ๆ แล้วเป็นทุกข์ แต่ถ้านักภาวนาใช้แต่แบบที่ 4 ตลอด นักภาวนาจะไม่มีการพัฒนาการภาวนาของตนเอง ยิ่งถ้าตนเองเข้าใจว่า การทำอย่างนี้ ดีมากเลย ไม่มีปัญหาเลยแล้วคิดว่าตัวเองสุดเจ๋งแล้วละก็ อย่างนี้ก็หลงไปแล้วครับ (ประเภทนี้มีมากเสียด้วยซิ)




Create Date : 27 สิงหาคม 2554
Last Update : 27 มกราคม 2555 20:18:52 น. 13 comments
Counter : 1255 Pageviews.

 
อนุโมทนามากๆครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.140.206 วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:17:11:03 น.  

 
ขอถามอีกเรื่องนึงครับ
คือการหลงโลก เช่น ตั้งใจจะปฏิบัติแต่พอไปเจอเพื่อนชวนคุยเยอะๆหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เราเผลอไปนานๆควรทำอย่างไรครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.140.206 วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:17:36:20 น.  

 
ค่อยเป็นค่อยไปครับ ใหม่ๆ ก็แบบนี้กันทุกคน เมื่อภาวนาไปเรื่อย ๆ ก็จะดีขึ้นเองทีละนิดอย่างช้า ๆ ต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกฝนครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:18:14:12 น.  

 
ออ ครับผม ^^


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.141.44 วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:18:36:53 น.  

 
คุณฝึกอย่างไร เช่น ดูลมหายใจ หรือ เดินจงกรม หรือ บริกรรม หรือ อย่างไร บอกมาครับ ผมอาจมีอะไรแนะนำเพิ่มเติมเรื่องนี้ให้


โดย: นมสิการ วันที่: 27 สิงหาคม 2554 เวลา:18:56:59 น.  

 
ออ ผมฝึกไปไม่ค่อยจำกัดรูปแบบอะครับ ผมทั้งดูลมหายใจ เดินจงกรม รู้อารมณ์ขณะที่เกิดขึ้นแรงๆ คอยรู้ว่าเผลอไป รู้ว่าเพ่งไป ถ้าจะเป็นการฝึกของผมที่น่าจะดูจริงจังหน่อยคือเป็นการฝึกรู้ในรถตอนขณะที่เดินทางไปโรงเรียนทุกวัน ผมจะรู้สึกถึงลมที่พัด รู้สึกว่าเผลออีกแล้วนะ แล้วก็กลับมารู้ปัจจุบันหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นครับ พอได้มั้ยครับ
แต่พอไปถึงโรงเรียนปุ๊บการภาวนาของผมจะชะงักเพราะมีสิ่งแวดล้อมมากมาย พอเสาร์อาทิตย์ผมเล่นคอมเป็นส่วนมากแต่พอมีอารมณ์แรงๆผมคอยรู้ได้รึป่าวครับ ขอบคุณมากครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.91.92 วันที่: 28 สิงหาคม 2554 เวลา:7:48:11 น.  

 
อยากถามว่าการฝึกควรทำเยอะขนาดไหนครับ หรือเท่าที่จะนึกได้ครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.91.92 วันที่: 28 สิงหาคม 2554 เวลา:7:48:47 น.  

 
คุณมีกิจกรรมมาก ต้องเคลื่อนไหว พูดคุย ทำโน่นทำนี่ตามโรงเรียน กรรมฐานที่เหมาะสำหรับคุณคือกรรมฐานเคลื่อนไหวครับ จะเดินจงกรม หรือ ขยับมือแบบหลวงพ่อเทียน หรือ ทำกรรมฐานรับรู้การเคลื่อนไหวในขณะเล่นกีฬาก็ได้เช่นกัน

ข้อดีของกรรมฐานเคลื่อนไหว พอเราฝึกให้รู้สึกตัวบ่อย ๆ ด้วยกรรมฐานเคลื่อนไหว เราจะเริ่มชินกับการเคลื่อนไหวพร้อมด้วยความรู้สึกตัว ทีนี้ พอทำกิจกรรม เช่นอยู่โรงเรียน เล่นกับเพื่อนบ้าง ทำโน่นทำนี่บ้าง จะมีการเคลื่อนไหวเสมอ ๆ พอเราฝึกรู้ด้วยการเคลื่อนไหว ความเคยชินก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้พอเราเคลื่อนไหว เราก็จะหลุดออกจากการหลงได้ง่ายกว่า แต่ใหม่ๆ อาจจะช้าสักหน่อย แต่ถ้าเริมชิน ก็จะหลุดออกได้เร็วขึ้นเรื่อย ๆ ในขั้นนี้ เราไม่ต้องไปสนใจว่า รูุ้สภาวะธรรมอะไร ขอให้รู้สึกตัวแล้วหลุดออกจากการเผลอให้ได้บ่อย ๆ ก่อน เราเอาแค่นี้ก่อนนะครับ
คือ เผลอได้ครับ แต่พอเผลอแล้วหลุดออก แล้วก็เผลออีก แล้วก็หลุดออก ให้เป็นไปตามธรรมชาติแบบนี้ อย่าติหนิตนเองว่า ทำไม่ดีเลย เพราะการฝึกด้วยวิถีทางธรรมชาติเท่านั้น จิตจึงจะมีการเติบโตที่เป็นธรรมชาติได้ดีกว่าการที่ไปพยายามทำอะไรที่ผิดธรรมชาติไป

ขอให้ฝึกไปเรื่อยๆ อย่าหวังผลอะไร เพราะการฝึกแบบธรรมชาตินี้ ผุ้ฝึกมักจะไม่ทราบว่า ตัวเองเติบโตขึ้นมาแล้วหรือยัง แต่การเติบโตนั้นมีอยู่ เพียงแต่เราอาจไม่ทราบเท่านั้นเอง แต่พอถึงจุุดหนึ่ง มันจะมีอะไรแสดงออกมาว่า อ๋อ เรานี่โตขึ้นกว่าเดิมแล้วนะ แต่ก็ต้องใช้เวลาครับ

เข้าใจนะครับ อายุยังน้อย จะไปได้ดีกว่าผู้ใหญ่ครับ ยิ่งไม่ต้องมีภาระทางโลกมาเกี่ยวข้อง ยิ่งจะไปได้ดีกว่า

มีอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ ถ้าอยู่โรงเรียก พอมีเวลาว่างสัก 1 นาที 2 นาที ก็ฝึกไป 1 นาที 2 นาที ก็พอ การฝึกนั้น อย่าให้ใครสังเกตเราได้ว่า เราฝึกอะไรอยู่ เช่น อาจใช้วิธีลูบหลังมือไป หรือ กำมือ แบบมือ แต่เราควรค่อย ๆ ทำ อย่าทำเร็วๆ ทำเหมือนทำเล่นๆ การฝึกแบบสั้น ๆ นี้ จะช่วยให้จิตมีการปลุกขึ้นเป็นระยะ ๆ ถ้าทำเสมอ ๆ เพราะแต่ละครั้งไม่นานแค่ 1 นาที 2 นาทีก็พอ แต่ให้ทำถี่ ๆ ถ้ามีโอกาส เช่น ระหว่างเปลี่ยนชั้วโมงเรียนที่่รอครูอยู่ ก็ทำได้ หรือ ตอนเดินไปรับประทานอาหารกลางวัน ก็ฝึกเดินไปด้วยความรูุ้สึกตัวก็ได้

ลองอ่านเรื่องนี้ดูครับ
หลักการเบื้องต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแบบชาวบ้าน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2009&date=02&group=1&gblog=83


ตัวอย่างฝึกเพื่อการรู้กาย
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=05-2009&date=30&group=1&gblog=20

ส่วนลมหายใจ ผมแนะนำให้หยุดไว้ก่อนครับ เพราะการรู้ลมหายใจ ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ฝึกไปก็ผิดครับ เมื่อผิดก็ไม่ได้ผล



โดย: นมสิการ วันที่: 28 สิงหาคม 2554 เวลา:13:43:01 น.  

 
อยากถามว่าการฝึกควรทำเยอะขนาดไหนครับ หรือเท่าที่จะนึกได้ครับ

*****
อย่างที่แนะนำไว้ข้างบนนะครับ การฝึกนั้น ผมแนะนำให้ทำถี่ ๆ แต่ครั้งละไม่นาน ถ้ามีเวลาก็ครั้งละสัก 5 นาที 10 นาที ถ้าไม่มีเวลาก็ครั้งละ 1-2 นาที แล้วหยุดทำ ไปทำอะไรก็ได้ คุณจะสังเกตว่า เมื่อคุณฝึกแบบนี้ หลังจากหยุดฝึกไปใหม่ๆ คุณจะยังรู้สึกตัวได้ดีอยู่ แต่พอเวลาผ่านไป ก็จะเผลอได้ง่าย ดังนั้น การฝึกถี่ ๆ เช่น 1 ชั่วโมงฝึกทีหนึ่ง ก็จะช่วยให้คุณดีขึ้นในชีิวิตประจำวันที่เพิ่งเสร็จสิ้นการฝึกใหม่ๆ และไม่เบื่อหน่ายต่อการฝึกด้วย

****

การที่เราเผลอ แล้วหลุดเผลอ ได้บ่อย ๆ นี่จะเป็นกลไกที่จิตจะไปทำลายชั้นของโมหะได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้นักภาวนามีการพัฒนาการที่ดีขึ้นที่จะเผลอน้อยลงไปเรื่อย ๆ

แนะนำอ่าน

เจาะให้เข้าถึงการปฏิบัติแบบ.หลวงพ่อเทียน
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=07-2011&date=19&group=15&gblog=37


โดย: นมสิการ วันที่: 28 สิงหาคม 2554 เวลา:13:47:57 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.91.92 วันที่: 28 สิงหาคม 2554 เวลา:14:36:39 น.  

 
แล้วเมื่อไหร่จะดูจิตได้ล่ะครับ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.205.2.254 วันที่: 29 สิงหาคม 2554 เวลา:20:55:45 น.  

 
แล้วเมื่อไหร่จะดูจิตได้ล่ะครับ

อ่านเรื่องได้ที่นี่ครับ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=30-08-2011&group=15&gblog=48


โดย: นมสิการ วันที่: 30 สิงหาคม 2554 เวลา:10:40:21 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 27 มกราคม 2555 เวลา:20:21:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.