รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
24 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
จะรู้ได้อย่างไรว่าภาวนาที่กำลังทำอยู่ถูกทางแล้ว

ถ้าท่านต้องการทราบว่า วิธีการภาวนาของท่านนั้นถูกทางหรือไม่ เพราะที่ท่านกำลังทำอยู่ก็ฟังมา-อ่านมา จากคำสอนก็มาจากพระที่มีชื่อเสียงในวงการปฏิบัติและกระดูกก็เป็นพระธาตุให้ปรากฏให้เห็นด้วย

ซึ่งท่านก็คิดว่าน่าจะถูกต้องดีแล้ว

ในสมัยพุทธกาล สมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ท่านคิดว่า เหล่าภิกษุหรือฆราวาสที่ฟังพระธรรมหรือวิธีการปฏิบัติธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์โดยตรง ทุกคนจะเข้าใจได้ถูกต้องแล้วนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องจนทำลายสังโยชน์ได้ทุกคนหรือไม่ครับ ท่านคงตอบเองได้..

ในการตรวจสอบว่า สิ่งที่ท่านนักภาวนากำลังปฏิบัติอยู่นั้นถูกทางหรือไม่ ท่านสมควรตรวจสอบได้โดยตรงโดยใช้หลักการของอริยสัจจ์ 4 ครับ

ในอริยสัจจ์ 4 นั้น ข้อปฏิบัติก็คือ ข้อ 1 / 2 / 4
ส่วนผลการปฏิบัตินั้นคือ ข้อ 3

เมื่อท่านใช้อุบายของอาจารย์ท่านใดก็ตาม ถ้าท่านปฏิบัติแล้วสามารถเข้าได้กับข้อ 1/2/4 ได้อย่างดี นั่นคือท่านปฏิบัติได้ตรงแล้ว ขอให้ดำเนินต่อไป แล้วผลคือ ข้อ 3 จะปรากฏให้แก่นักภาวนา

ในการปฏิบัตินั้น คนไทยมักไม่ศึกษาหลักการของพระพุทธองค์ให้ดี พออาจารย์สอนให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้อันเป็นอุบายของท่าน ก็กระโดดเข้ากระทำทันที แต่ไม่ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์คือ มักปฏิบัติไปพร้อมด้วย.ตัณหา.ในจิตใจ (ซึ่งไปย้อนศรกับเป็นข้อ 2 ในอริยสัจจ์ 4 )

การภาวนาที่ไปพร้อมกับ.ตัณหา. ก็เช่นว่า
>>> การอยากรู้อาการทางกายให้ชัด ๆ เช่นอยากรู้ลมชัด ๆ ก็ไปจับลม อยากรู้กระทบชัด ๆ ก็ไปจับจุดกระทบสัมผัส หรือ อื่น ๆ
>>> การอยากรู้อาการทางจิต การกดจิตให้นิ่ง ๆ การทำจิตให้เบลอ ๆ เพื่อจะได้ไม่รับรู้อะไรเลย หรือ อื่น ๆ


อีกประการหนึ่งที่เป็นกันมากในคนที่ไม่ได้ศึกษาหลักการที่ดี ก็คือ การรู้ทุกข์ อันเป็นข้อ 1 ในอริยสัจจ์ 4 เมื่อรู้ทุกข์ที่ไม่ตรง ที่ไม่ตรงก็คือ การไม่รู้ทุกข์ที่เป็นปรมัตถ์ เพียงแต่รู้ทุกข์ที่เป็นสมมุติ ก็ยากที่จะมีพัฒนาการที่ดีได้ของกำลังจิตที่เพิ่มขึ้นของกำลังแห่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ (แนะนำอ่าน //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=04-2011&date=24&group=13&gblog=93 )

ท่านลองตรวจสอบด้วยตนเองว่า ท่านกำลังเดินไปตามทางที่พระพุทธองค์สอนไว้หรือไม่

ถ้าท่านภาวนาพุทโธ ท่านก็ต้องเดินไปทางนี้
ถ้าท่านทำอาณาปานสติ ท่านก็ต้องเดินไปทางนี้
ถ้าท่านเดินจงกรม ท่านก็ต้องเดินไปทางนี้

ถ้าท่านทำถูก เพราะนี่คือ เอกายมรรค อันเป็นทางเดียวที่ประเสริฐที่เข้าสู่การพ้นทุกข์ครับ



Create Date : 24 พฤษภาคม 2554
Last Update : 29 มกราคม 2555 14:47:32 น. 12 comments
Counter : 981 Pageviews.

 
อนุโมทนาสาธุครับ


โดย: ลุง 'บุรีราช' IP: 125.27.182.198 วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:8:42:48 น.  

 


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:8:43:41 น.  

 
สวัสดีค่ะ..

แวะมาอ่านธรรมะและการปฎิบัติที่ถูกต้องด้วยค่ะ

มีความสุขมากๆในทุกๆวันนะค่ะ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:10:25:38 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ ขออนุญาติคัดลอกเพื่อไปแบ่งปันต่อในเฟชบุ๊คนะคะ สาธุค่ะ


โดย: แม่ออมบุญ วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:48:18 น.  

 
แวะเอาลิงค์มาฝากค่ะ อิอิ

//www.facebook.com/photo.php?fbid=132312106845599&set=a.129398587136951.31090.100002004312918&type=1&theater

(ลิงค์ที่น้ำนำบทความของคุณ มนสิการ ไปลงรวบรวมไว้ใน เฟชบุ๊คค่ะ)

ขอบคุณมากนะคะ


โดย: แม่ออมบุญ วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:29:59 น.  

 
ได้ลองทำตามคำแนะนำของอ.ชวยง ผู้ล่วงลับ ท่านให้ถอยออกมาเป็นผู้ดูการเคลื่อนไหวของกาย ปรากฎว่าได้ผลดีค่ะ (มีเผลอมาก) แต่ก็ชัดดี ตามดูว่าจิตเขาสั่งให้กายทำอะไร ๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็ยังคิดโน่นนี่อยู่ ไม่เข้าใจว่าจิตที่สั่งกายกับจิตที่คิดคนละอันกันหรือคะ


โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 110.168.65.17 วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:52:17 น.  

 
ผมไม่ขอวิจารณ์สิ่งที่ อ.ชวยง สอนนะครับ เพราะผมก็เคารพท่านเช่นกัน

ที่ถามมาที่ว่า จิตที่สั่งกาย และ จิตที่คิด อันเดียวกันหรือไม่
เรื่องนี้ ผมบอกตรง ๆ ว่า มันเกินปัญญาของผมครับ เพราะ

ผมพบว่า จิตที่คิด มันออกมาจากตัวจิตแน่ ๆ

แต่จิตที่สั่งกายนั้น บางครั้ง ความคิด มันสั่งกายให้กระทำ เช่น ถ้าเราจะทำอะไร จะมีความคิดขึ้นมาก่อน แล้วความคิดนี้แหละ สังกายให้กระทำตามใจเราที่เราต้องการ

แต่ในบางอย่างที่กายทำอะไรอยู่ ผมไม่เห็นจิตที่มันคิดครับ แต่กายก็ทำอะไรได้เช่นกัน

ผมจึงตอบไม่ได้ว่า จิตมันเป็นตัวเดียวกันหรือไม่


โดย: นมสิการ วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:22:12 น.  

 
ขอบพระคุณมากค่ะ คงต้องปฏิบัติไปเรื่อย ๆ นะคะ


โดย: คนแก่ใฝ่ธรรม IP: 124.120.133.96 วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:45:20 น.  

 
สวัสดีครับคุณนมสิการ รบกวนตรวจสอบการปฏิบัติด้วยครับ
การรู้สึกตัวเบา ๆ ตอนนี้บ่อยครั้งราวกับว่ารู้สึกว่ามันว่าง ๆ วิงค์ ๆ ซาบซ่านแถว ๆ ศรีษะ ลงไปถึงปลายมือปลายเท้า ซึ่งรู้สึกได้เด่นชัดกว่าการรู้สึกถึงอาการทางกายดิน ลม ไฟ มีความคิดมารบกวนบ้าง ซึ่งจะละได้บ้างไม่ได้บ้างทันบ้างเผลอบ้าง ถ้าละไม่ได้ก็ตามดูจนมันหยุดไปเอง
1 ถามว่ายังคงถูกทางไหมครับ
2 จากข้อ 1 อาการทางกายที่ยังจับ(รู้สึก)ไม่ได้ชัดนี้เพราะตัวสติยังไม่มั่งคงหรือเปล่า หรือว่าเป็นผิดปกติอื่น ๆ เพราะัรู้สึกได้แค่ว่าง ๆ เบากายเบาสมองวูบวาบตามหัวตามกายมากกว่ารู้ัสึกดินลมไฟ และใจคิดนึกครับ
3 เจ้าความคิดนี่ถ้าเรารู้สึกตัวได้ว่ามันเกิดมันมีมันดับ(รู้เท่าทันมัน) โดยไม่ต้องคิดไปดับ ใช่ทางเดินที่ถูกไหมครับ
4 การเผลอนี่ยังคงมีตลอดใช่ไหมครับ บางทีรู้สึกว่าง ๆ สักพักถ้าคุมสติไม่ตลอดก็มีอาการเหมือนวูบ ๆ ไม่รู้สึกตัวไป บางทีคล้ายหลับช่วงสั้น ๆ บางทีก็เผลอไปคิดไม่รู้ตัว

ขอบคุณครับ
หนุ่ม


โดย: หนุ่ม IP: 61.19.90.30 วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:16:00:11 น.  

 
1..
ที่รู้สึกได้อย่างนั้นดีแล้วครับ แต่จุดที่ว่า ความคิดมารบกวนแล้วละไม่ได้นั้น ผมแนะนำว่า .อย่าได้ตามดู.ครับ ขอให้หยุดมันโดยเร็ว ซึ่่งคุณจะใช้อะไรก็ได้ เช่น จะนึกพุทโธ จะไปรู้กาย เช่น การขยับมือแรง ๆ หรือ เอามือไปตีอะไรแรง ๆ ความคิดมันจะหยุดทันที

เรื่องความคิดที่รบกวนนี้ เป็นสิ่งดีนะครับ ถ้าเข้าใจมัน
มันควรจะมาบ่อย ๆ นี่แสดงว่า คุณไม่ได้เกร็ง ไม่ได้เพ่งอะไร ซึ่งดีมาก มันจะมาบ่อย ทีนี้ พอมันมาแล้ว ถ้าคุณละมันได้ คือ มันหยุดทันที อันนี้ดี แต่ถ้ามันไม่หยุด ขอให้หยุดมัน ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างบนนี้

นักภาวนาส่วนมากไม่เข้าใจในเรื่องการจัดการกับความคิด ก็เลยไปเพ่ง ไปเกร็งอะไรไว้ เพื่อไม่ให้ความคิดมันเกิด ถ้าทำอย่างนี้ ก็ไม่ก้าวหน้านะครับ

2..ทีเล่ามานั้นถูกแล้วครับ มันจะเบา ๆ อย่างนั้นเอง ถ้าชัดมาก แสดงว่าไปจ้องมันนะครับ

ที่ถูกมันจะเบา ใหม่ ๆ จะจับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เผลอบ้าง ก็ไม่เป็นไร ให้มันเป็นอย่างนี้ สลับไปมา ก็จะพัฒนามากขึ้นเอง

3.. ใช่ครับ

4.. เรื่องเผลอนี้ ขอให้ดูอย่างนี้ครับ
เผลอต้องมีนะครับ ถ้าคุณไม่มีเผลอ แสดงว่า ไปทำอะไรแล้ว เช่นไปเพ่งอะไรเข้าแล้ว ใหม่ ๆ การเผลอจะเผลอยาวนะครับ แต่ถ้าฝึกไปเรื่อย ๆ แล้ว อาการเผลอยังต้องมี แต่เวลาเผลอจะสั้นลงไปเรื่อย เช่น เคยเผลอ 5 นาที แล้วรู้สึกตัว พอฝึกไป ก็ลดลงเป็น 4 นาทีแล้วรู้สึกตัว ฝึกไปอีก ก็ลดลงอีก เป็น 3 นาที ... 2 นาที ... 1 นาที... 30 วินาที.. 5 วินาที..1 วินาที .. สั้นกว่า 1 วินาที
มันจะเป็นอย่างนี้ครับ

***
อย่าลืมกฏ 3 ข้อนะครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:18:43:16 น.  

 
ขอบคุณคะ


โดย: saaikaew (Green_Marble ) วันที่: 31 พฤษภาคม 2554 เวลา:9:14:56 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:14:55:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.