รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
จิตมีหน้าที่เพียงรู้ การปฏิบัติจึงไม่ต้องคิดอะไร

เมื่อนักภาวนาได้ลงมือภาวนาปฏิบัติตามคำสอนในสติปัฏฐานสูตรที่มีแก่นคือ
อาตาปี สัมปชาโน สติมา แล้ว เมื่อสัมมาสติเริ่มก่อตัวตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ
สิ่งที่นักภาวนาจะได้พบคือ จิตรู้ แยกตัวออกมาจากสิ่งที่ถูกรู้

ใหม่ ๆ การแยกตัวออกมาของจิตรู้ออกจากสิ่งที่ถูกรู้นี้ จะยังไม่มั่นคงพอ
เปรียบได้ดังเด็กน้อยที่กำลังหัดเดิน ซี้งจะย่อมล้มบ้าง เดินได้บ้างเป็นธรรมดา
การแยกตัวก็เช่นกัน จิตรู้จะแยกตัวออกบ้าง วิ่งกลับไปรวมกับสิ่งที่ถูกรู้บ้าง สลับไปมา
อยู่เสมอ

แต่ถ้ายิ่งภาวนาชำนาญ กำลังสัมมาสมาธิตั้งมั่นมากชึ้น ก็จะเหมือนเด็กเริ่มเดินได้เก่งขึ้น
การล้มก็น้อยลง เช่นเดียวกับจิตรู้ที่มีกำลังสัมมาสมาธิตั้งมั่นมากขึ้น การเข้ารวมตัวของจิตกับสิ่งที่ถูกรู้ก็ยิ่งน้อยลง น้อยลง น้อยลง......

เมื่อนักภาวนาได้พบกับสภาวะของการแยกตัวดังกล่าวแล้ว สิ่งที่เป็นจริงที่นักภาวนาจะได้พบก็คือ
จิตรู้อยู่ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ถูกรู้อยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะแยกจากกันอย่างชัดเจนจนนักภาวนาเห็นได้จริงตามนี้

เมื่อเกิดจิตปรุงแต่งขึ้น เช่นอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ หรืออารมณ์อื่น ๆ หรือ ความคิดต่างๆ

นักภาวนาจะพบว่า จิตรูุ้ไปเห็นจิตปรุงแต่งขึ้น ที่เห็นเพราะเกิดการแยกตัวออกมาจากกัน
เปรียบได้ดัง น้ำและน้ำมัน ที่แยกตัวออกมาจากกัน แยกได้เลยว่า นี่คือน้ำ นี่คือน้ำมัน

แต่ในสภาวะของปุถุชน ที่จิตไม่แยกตัวออกมา จะเปรียบเหมือน น้ำเชื่อม ที่น้ำตาลละลายรวมกับน้ำเป็นเนื้อเดียวกัน แยกไม่ออกว่า ส่วนไหนน้ำ ส่วนไหนน้ำตาล

สิ่งที่ผมจะชี้ให้ท่านเห็นก็คือ จิตรู้ที่แยกตัวออกมานี้ *** มันจะมีเพียงการรู้เพียงอย่างเดียว***
ไม่มีหน้าที่อื่น แต่สิ่งที่เป็นความคิดจะเป็นสิ่งที่ถูกรู้นี่คือการรู้อีกแบบหนึ่งอันเป็นจิตปรุงแต่ง

การที่ท่านรู้ว่า นี่คือขันธ์ 5 นี่คือความเป็นทุกข์ นี่น่ารัก นี่น่าเกลียด และอื่นๆ
ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งทั้งสิ้น ซึ่งก็คือ การทำงานร่วมกันของขันธ์ 5

ผมจะชี้ให้ท่านเห็นว่า ขันธ์5 ไม่ใช่ จิตรู้ จิตรู้ไม่ใช่ขันธ์ 5

ในการภาวนานั้น ขอเพียงจิตรู้แยกตัวออกมาก็พอแล้ว นักภาวนาไม่ต้องไปใส่ใจเลยว่า สิ่งทีถูกรู้นี่คืออะไร ท่านไม่ต้องไปคิดเลยว่า นีไง มันคือไตรลักษณ์ นี่ไงมันไม่เที่ยง นี่ไงมันคือรูป..นี่ไงมันคือเวทนา..นี่ไงมันคือสัญญา นี่ไงมันคือสังขาร นี่ไงมันคือวิญญาณ นี่ไง...นี่ไง..
และสารพัดนี่ไง..ทีท่านไปอ่านมาจากตำรา

แต่การที่ท่านนี่ไง...นี่ก็ไม่ผิด เพียงแต่ไม่จำเป็นครับ

เวลาท่านรับประทานอาหารทีมีสารพัดเครื่องปรุงอยู่ในอาหารนั้น ท่านไม่ต้องไปพยายามแยกแยะเลยว่า ตอนนี้กำลังเคี้ยวปลา ตอนนี้กำลังเคี้ยวผัก ตอนนี้กำลังเคี้ยวกระเทียม ท่านสักแต่ว่าเคี้ยวๆ ไปก็พอ อะไรที่กำลังเคี้ยวอยู่ท่านก็ไม่ต้องไปใส่ใจ เพียงแต่ให้รู้ว่าสิ่งที่เคี้ยวนี้ รับประทานได้ก็พอ ไม่เป็นอันตรายก็พอแล้ว

ในการฝึกฝนนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การเป็นธรรมชาติของท่านเอง ท่านเพียงรู้ด้วยจิตรู้ ทุกอย่างจบแค่นั้นครับ ไม่ต้องต่ออะไร แต่ถ้าต่ออะไร ก็ไม่ผิด แต่ไม่จำเป็นเท่านั้น

การดำเนินไปด้วยการรู้ด้วยจิตรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องคิด จิตจะทำหน้าที่รู้อย่างเดียวและตั้งอยู่ในฐาน ถ้าทำฝึกไปอย่างนี้บ่อย ๆ จิตจะตั้งมั่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะจิตคุ้นกับการอยู่ในฐาน ไม่คุ้นกับการปรุงแต่ง นี่คือสิ่งที่เราต้องการ

การที่จิตตั้งมั่นอยู่ในฐานได้อยางมั่นคง นี่คือ จิตตั้งมั่น เพราะเมื่อจิตตั้งมั่น นักภาวนาจะพบกับธรรมตามความเป็นจริง นี่คือ คำสอนในพระไตรปิฏกที่เป็นจุดสำคัญ

ความต่างของมิจฉาสมาธิ หรือ สมาธิแบบฤาษี คือ จิตเข้าไปยึดในสิ่งที่ถูกรู้ ยิ่งยึดแน่นยิ่งดี
แต่มันคือการยึดติด ที่ไม่ใฃ่การหลุดพ้น

ส่วนสัมมาสมาธิ หรือ สมาธิแบบพุทธ นั้น คือ การที่จิตตั้งมั่นในฐานและเป็นอิสระจากสิ่งที่ถูกรู้ลอยเด่นเป็นอิสระจากสิ่งที่ถูกรู้ แต่ก็รู้ในสิ่งที่ถูกรู้

เมื่อจิตเป็นอิสระจากสิ่งทีถูกรู้ได้ตลอด จิตจะไม่จับยึดในสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งเป็นสภาวะที่จิตไม่มีทุกข์

จิตไม่จับยึดในสิ่งที่ถูกรู้ได้มากเท่าใด นักภาวนายิ่งไม่ทุกข์มากขึ้นเท่านั้น
จิตไม่จับยึดในสิ่งที่ถูกรู้เลย นักภาวนาก็จะไม่ทุกข์เลย

จิตมันเพียงแต่รู้แต่จิตมันไม่รู้อะไรเลย

ครูบาอาจารย์หลาย ๆ ท่านจึงมักสอนว่า ให้เพียงรู้ รู้ รู้ เท่านั้น ก็เพราะว่าในการภาวนานั้นจิตมีหน้าที่เพียงรู้อย่างเดียว

เมื่อมีเพียงรู้เสมอ ๆ จิตก็ตั้งมั่นของมันเอง

การภาวนาจึงง่ายมาก แต่ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝนอยู่นาน กว่าจะได้ผลออกมา

จิตนั้นเพียงรู้ ถ้าเกินการนี้ คือไม่ใช่จิตแต่เป็นจิตสังขาร หรือ จิตปรุงแต่ง

คำถามมีว่า จิตที่ปล่อยวางขันธ์นั้นเพราะจิตเห็นว่าขันธ์เป็นตัวทุกข์อย่างนั้นหรือ

คำถามอย่างนี้ ถ้าคนทั่ว ๆ ไปฟังหรืออ่าน ก็จะเข้าใจแบบโลก ๆ ว่า เพราะขันธ์เป็นตัวทุกข์ มันไม่ดี จิตจึงไม่เอากะมัน

ผมถามกลับว่า นักภาวนาส่วนมาก รู้ทั้งรู้ว่า ขันธ์มันไม่ดี มันเป็นทุกข์ แล้วทำไมจึงไมปล่อยวางขันธ์ละ

น้กภาวนาอาจตอบว่า เพราะจิตยังไม่มีปัญญา จึงยังไม่ยอมปล่อยวางขันธ์

ผมถามต่อไปว่า แล้วทำไมจิตจึงยังไม่มีปัญญาที่จะปล่อยวางขันธ์ละ

นักภาวนาอาจตอบว่า เพราะจิตยังไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ

ถ้านักภาวนาตอบอย่างนี้ ผมจะไม่ถามต่อ แต่จะให้ท่านพิจารณาเองครับว่า

คำสอนเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นมีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิก็ไม่เกิดปัญญา ซึ่งก็คือ ปัญญามาจากสมาธิที่ตั้งมั่นนั่นเอง

ทุกอย่างตอบโจทย์ได้หมด ถ้ามีสมาธิตั้งมั่น ก็คือจะมีปัญญา การที่มีสมาธิตั้งมั่นก็คือ จิตรู้แยกตัวออกมาจากสิ่งที่ถูกรู้ การแยกตัวออกมานี้ คือ การที่จิตปล่อยวางสิ่งที่ถูกรู้นั้นเอง

ดังนั้น คำกล่าวที่ว่าจิตปล่อยวางขันธ์ ก็มีเหตุจากการที่จิตมีสมาธิที่ตั้งมั่นเป็นอิสระจากขันธ์นั้นเอง
ซึ่งอาการอย่างนี้ ท่านก็เรียกใหม่ว่า จิตมีปัญญา

ท่านจะเห็นว่า จิตมีปัญญานั้นคืออาการที่จิตมีสมาธิที่ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นจิตจะเป็นอิสระจากขันธ์เองตามธรรมชาติทีมันเป็นอย่างนี้เอง เมื่อจิตเป็นอิสระจากขันธ์ จิตจะเห็นขันธ์เป็นไตรลักษณ์เองเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติอีกนั่นแหละ ซึ่งจะต่างกับที่ว่า ไม่ใช่เพราะจิตมีปัญญาเพราะจิตไปคิดโน่นคิดนี่ว่าขันธ์เป็นตัวทุกข์แล้วจึงไม่ยึดขันธ์ <<<<< ประโยคนี้ท่านอ่านดีๆ นะครับ เพราะนี่คือขบวนการของปัญญา ที่ไม่ใช่เป็นความคิด อย่างที่ชาวโลกเข้าใจกัน

ผมเน้นอยู่เสมอว่า การเข้าทางแห่งอริยมรรคแล้ว นักภาวนาเพียงฝึกให้จิตตั้งมั่นให้ได้เท่านั้น
แล้วทุกข์อย่างมันจะเดินของมันเอง นักภาวนาไม่ต้องไปคิดอะไรเลย ไม่ต้องไปรู้อะไรเลย
นักภาวนาเพียงหมั่นฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิอย่างถูกทางด้วย อาตาปี สัมปชาโน สติมา ไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อจิตตั้งมั่นก็เรียบร้อยครับ

******************
หมายเหตุ บทความข้างบนนี้ เป็นสภาวะของผู้ที่กำลังเดินทางในอริยมรรค ส่วนผูุ้ที่เข้าถึงอริยมรรคแล้ว จะไม่จิตรู้และสิ่งที่ถูกรู้อันเป็นสภาวะของคู่ แต่จิตรูุ้และสิ่งทีถูกรู้ จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่สภาวะของคู่



Create Date : 06 ธันวาคม 2554
Last Update : 25 มกราคม 2555 20:25:03 น. 8 comments
Counter : 1454 Pageviews.

 
สาธุ กราบขอบคุณอาจารย์ค่ะ


โดย: จิตติ IP: 110.168.34.247 วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:17:32:18 น.  

 
อนุโมทนาสาธุคะ อาจารย์


โดย: Nim IP: 124.121.157.138 วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:17:56:56 น.  

 


โดย: เชิญจุติ วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:23:30:19 น.  

 
อาจารย์คะ

จิต กับจิตผู้รู้

คือสิ่งเดียวกันหรือเปล่า


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 7 ธันวาคม 2554 เวลา:0:02:45 น.  

 
ตอบคุณ อาณาจักรสีเขียว

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=07-12-2011&group=15&gblog=74


โดย: นมสิการ วันที่: 7 ธันวาคม 2554 เวลา:5:59:41 น.  

 
ขอบพระคุณมากคะ

เข้าไปอ่านแล้วคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 7 ธันวาคม 2554 เวลา:8:37:33 น.  

 
อนุโมทนา สาธุ คะ
กระจ่างมากๆคะ.....


โดย: sugasy IP: 49.129.51.149 วันที่: 26 ธันวาคม 2554 เวลา:20:49:18 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:20:25:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.