รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
20 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 

นักปฏิบัติอย่าคิดมากกับคำว่า .ตัณหา. แล้วท่านจะยิ่งทุกข์

ในอริยสัจจ์ข้อที่ 2 มีกล่าวไว้ว่า เหตุที่เกิดทุกข์คือ สมุทัย อันได้แก่ .ตัณหา. ซึ่งภาษาชาวบ้านก็เรียกกันว่า .ความอยาก. นั้นเอง

ท่านนักปฏิบัติที่รัก ถ้าท่านมามัวแต่คิด .หยุมหยิม. กับคำว่า .ตัณหา. แล้ว ท่านจะยิ่งทุกข์หนักไปมากกว่าเก่า เพราะท่านจะตีความมั่วซั่วไปแบบคนที่ไม่เข้าใจว่า การต้องการกินอาหาร ก็คือ เกิดจากตัณหา การต้องการนอน ก็คือ ตัณหา เมื่อเจ็บป่วย ต้องการไปหาหมอ ก็คือ ตัณหา การต้องการไปปฏิบัติธรรม ก็เป็นตัณหา และอื่นๆ อีกมาก นี่ท่านคิดไปเอง ตีความหมายไปเองตามความคิดของท่าน ทั้งนั้นครับ

ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ต้องการพ้นทุกข์ จะตีความเรื่อง .ตัณหา . ท่านต้องตีความให้ครบทั้ง 4 องค์ธรรม ใน .อริยสัจจ์ 4. จึงจะสมควร

ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1 คำว่า ทุกข์ ให้รู้ นั้น หมายความว่า
เมื่อ จิตเกิดการไหวตัว เพราะมีการกระทบสัมผัสผ่านทางอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เสียแล้ว ให้รู้ ถึงอาการจิตที่ไหวตัวนั้น

ถ้าท่านยังไม่สามารถที่จะรับรู้อาการของจิตที่ไหวตัวดังที่ผมเขียนนี้ ท่านต้องลงมือฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เสียก่อน ฝึกให้มาก ๆ แล้ว ท่านจะรู้อาการของจิตที่ไหวตัวนี้ได้

ท่านอาจสงสัยว่า ทำไมจิตจึงไหวตัว นี่ไม่ใช่ตัณหาหรือ
เรื่องนี้ ผมก็จะตอบตามความเข้าใจของผมว่า ไม่ใช่ ที่จิตไหวตัว เพราะจิตมี อวิชชา ครับ ไม่ใช่ไหวตัวเพราะตัณหา

ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 2 คำว่า สมุทัย คือ ตัณหา อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นั้น
หมายความว่า เมื่อจิตเกิดไหวตัวแล้ว จิตอย่าเข้าไป .ยึดติด . การไหวตัวนั้นครับ นี่คือ ตัณหา จริง ๆ ครับ ถ้า จิตเข้าไปยึดติด การไหวตัว นั้น จะทำให้เกิดความเข้าใจในความเป็นตัวตนว่า จิตที่ไหวตัวนั้นเป็นเรา ขึ้นมา เราคือผู้ที่กำลังเป็นทุกข์นั้นอยู่ ทำให้ทุกข์ที่เกิดขึ้นในข้อ 1
ของอริยสัจจ์นั้น คงอยู่ ไม่เสื่อมสลายไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์ครับ

แต่ถ้า จิตไม่ยึดติดการไหวตัว นี่คือ การละตัณหา คือ การไม่ยึดติด เมื่อจิตไม่จับยึด การไหวตัวนั้นจะเสื่อมสลายไปเองอันเป็นธรรมชาติแห่งไตรลักษณ์
เมื่อการไหวตัวเสื่อมสลายไปเองตามธรรมชาติ จิตจะเห็นการเสื่อมสลายไปเองแห่งการไหวตัวนั้น ๆ นี่คือปัญญาให้แก่จิตได้รับรู้ ว่า อาการทุกข์ หรือ อาการไหวตัวแห่งจิตนั้น มันไม่ใช่เรา มันไม่มีตัวตน มันเกิดแล้วมันก็เสื่อมสลายไปเอง

ขอให้อ่านข้อ 1 และ 2 อีกสัก 2 ถึง 3 เที่ยวนะครับ เพื่อความเข้าใจของท่านเอง

ในอริยสัจจ์ข้อที่ 3 คำว่า นิโรธ ทำให้แจ้ง หมายความว่า เมื่อเกิดทุกข์ ในข้อ 1 แล้ว และไม่ยึดติดด้วยตัณหาในทุกข์ คือในข้อ 2 แล้ว จะเกิดข้อ 3 ขึ้นเอง อันเป็น นิโรธ คือ ความเป็นปรกติ ที่ไม่ทุกข์ครับ

ในอริยสัจจ์ข้อที่ 4 คำว่า มรรค คือวิธีปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ ก็คือ การฝึกฝนให้ จิตมีความตั้งมั่น เพื่อให้เห็นทุกข์ได้ในข้อ 1 และ จิตตั้งมั่น ไม่ให้เข้าไปจับยึดทุกข์ในข้อ 2 เพือให้เกิด ความไม่ทุกข์ ในข้อ 3 ครับ

ส่วนวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรค กล่าวโดยย่อก็คือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 อันเป็นการเจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธินั้นเอง

------------
ผมหวังว่า บทความนี้ คงทำให้ท่านที่กำลังงุนงงกับคำว่า ตัณหา และตีความผิด ๆ ได้เข้าใจ เพื่อการปฏิบัติในการพ้นทุกข์ได้จริงต่อไปครับ

ถ้าท่านเข้าใจ ตัณหา และเห็น ทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เข้าใจในมรรค ท่านก็จะเข้าใจหลักแห่งพุทธศาสนา อันเป็นหลักที่เข้าถึงการดับทุกข์ทางใจอย่างแท้จริง

นี่คือ การปฏิบัติบูชา ที่ถวายแด่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2552
1 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:29:54 น.
Counter : 902 Pageviews.

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 18:40:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.