รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
เคร็ดลับการฝึกกรรมฐานเคลื่อนไหว - มุมมือใหม่

กรรมฐานเคลื่อนไหว เป็นกรรมฐานที่ผมมักแนะนำให้คนใหม่ฝึกในแนวนี้ เพราะ กรรมฐานเคลื่อนไหว จะสอดคล้องกับการมีชิวิตอยู่ของคนปรกติทั่ว ๆไปนั้นเอง

แต่ผมไม่ได้ปฏิเสธ กรรมฐานนั่งนิ่ง แบบพิมพ์นิยมที่เขาสอนกันอย่างแพร่หลายในสำนักต่าง ๆ แต่จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมา ผมพบว่า คนใหม่ถ้าเริ่มจากกรรมฐานนั่งนิ่ง เขาจะปฏิบัติผิดได้ง่าย มากๆ แต่ถ้าคนใหม่ที่ได้เริ่มกรรมฐานเคลื่อนไหวแล้วสักระยะหนึ่ง เช่นสัก 1 ปีขึนไป กำลังของสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จะดีขึ้นมากจากคนทั่ว ๆ ตอนนี้ ถ้าเขาจะฝึกกรรมฐานนั่งนิ่ง ก็ย่อมได้ แต่ว่า... ให้ศึกษาให้ดีก่อนครับ ว่า กรรมฐานนั่งนิ่งนี่ ฝึกอย่างไรจึงจะถูก มิฉะนั้น ก็จะผิดอยู่ดีเหมือนกัน
เนื่องจากผมไม่สันทัดกรรมฐานนั่งนิ่ง ผมจึงแนะนำอะไรท่านไม่ได้ในเรื่องนี้

แต่ถ้าท่านจะมาแนวกรรมฐานเคลื่อนไหว ก็ตามผมมาได้เลย...

กรรมฐานเคลื่อนไหวที่นิยมกันจะมี 2 อย่างคือ การเดินจงกรม และ การเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน ไม่ว่าแบบใด ก็มีเคร็ดลับเหมือนกัน

เคร็ดลับการฝึกกรรมฐานเคลื่อนไหว ก็คือ การเป็นธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ... ฝึกด้วยความรู้สึตัว + เฉยๆ + สบาย ๆ + ไม่ต้องอยากรู้อะไร ทั้งสิ้น

อันดับแรก ท่านต้องสังเกตก่อนว่า ธรรมชาติของท่านเป็นอย่างไร
ง่าย ๆ ก็คือ ให้ท่านทำงานอะไรก็ได้ที่ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น
ให้ลองพับผ้าห่มดู พับแล้วก็คลี่ออก แล้วพับใหม่ ให้ทำอย่างนี้สัก 10 ครั้ง แล้วขอให้ท่านสังเกตอาการของความเป็นธรรมชาติในขณะพับผ้าห่มของท่าน จิตใจเป็นอย่างไร สบายดีไหม เฉยๆ ไหม ไม่ต้องการรู้อะไรใช่ใหม
เมื่อท่านจำสภาพอาการของจิตใจนี้ได้แล้ว ทีนี้ก็ให้ลองเดินจงกรม โดยเดินในห้องนอนก็ได้ เดินไปเดินมา ด้วยจิตใจแบบเดียวกับที่พับผ้าห่มนั่นแหละ
ถ้าท่านทำได้ ก็ให้ทำบ่อย ๆ ถ้าท่านเดินแล้วรู้สึกว่าจำอาการจิตใจตอนพับผ้าห่มไม่ได้ ก็ขอให้ท่านไปพับผ้าห่มใหม่อีกสัก 10 ครั้ง แล้วก็มาเดินใหม่อีก ให้ฝึกอย่างนี้ จนเกิดความเคยชิน แล้วก็ฝึกบ่อย ๆ ให้จิตใจนี้เป็นนิสัยติดตัวไปให้ได้

สำหรับท่านที่ฝึกแนวหลวงพ่อเทียน ก็เหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากเดินจงกรมมาเป็นท่านั่งที่เคลื่อนมือ แต่เทคนิคของหลวงพ่อเทียนนั้น ท่านต้องมีหยุดเป็นจังหวะ ๆ ด้วย ไม่ใช่เคลื่อนติดต่อกันไปไม่ยอมหยุด ดังที่ผมเห็นหลาย ๆ คนทีฝึกกัน ซึ่งวิธีของหลวงพ่อเทียน นั้นต้องหยุดเป็นจังหวะ
ในขณะที่หยุด ถ้าท่านสังเกตดู จิตใจท่านจะเงียบสนิทวังเวงจริงๆ เป็นสภาพที่ไม่มีอะไร แต่พอท่านเคลือนมือเท่านั้น ก็จะมีความรู้สึกเคลื่อนปรากฏขี้นมาแทนที่ทันที

บางท่านไปเข้าสำนักมา เวลาเดินจงกรม เขาบังคับให้เดินช้ามาก ๆ และให้จิตจับลงไปที่เท้า ซึ่งเรืองนี้ ในความเห็นของผม ผมไม่เห็นด้วย เพราะการกระทำดังกล่าว ถ้าท่านได้ฝึกแล้ว ท่านคงจะเข้าใจได้ดีว่า มันไม่เป็นธรรมชาติของตัวท่านเอง สิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ก็จะยิ่งห่างไกลธรรมออกไป แต่ผมอยากให้ท่านพิจารณาเอาเองว่าจะฝึกอย่างไร
ผมเขียนมากไม่ได้เรื่องอย่างนี้ ทางใครทางมัน พูดมากไปก็แต่จะมีเรื่องมีราวขึ้นมาครับ

การเข้าถึงธรรม จะง่ายมากทีสุด ถ้าเดินไปกับธรรมชาติของท่านเอง

ถ้าท่านจะถามผมว่า
1 สิ่งที่ผมเขียนนี้เป็นสติปัฏฐาน 4 หรือไม่
>> ใช่ครับ เป็นสติปัฏฐาน 4 ในหมวด กายานุปัสสนา สัมปชัญญะบรรพ ซึ่งบรรพนี้ ดีมากสำหรับการใช้ฝึก เมื่อท่านฝึกจนชิน มันจะเป็นนิสัยของท่านในชีวิตประจำวัน เมื่อมันเป็นนิสัยในชีวิตประจำวันได้ ทีนี้ ท่านก็จะเหมือนฝึกโดยไม่ต้องฝึกในชีวิตประจำวันไปโดยอัตโนมัติ

2 การฝึกแบบนี้ จิตรู้ จะแยกตัวออกมาได้ไหม
>> ได้ครับ

3 การฝึกแบบนี้ จะเห็นธรรมได้ใหม
>> ได้ครับ

4 การฝึกแบบนี้ เป็นอันตราย เป็นบ้าได้ไหม
>> ไม่เป็นแน่นอนครับ เพราะการฝึกแบบนี้คือธรรมชาติของท่านเอง
ท่านจะไม่เครียด แล้วก็ไม่เป็นบ้าครับ

5 ถ้าฝึกไม่เหมือนอย่างนี้ ผิดทางใช่ไหมครับ
>> ไม่แน่นอนครับ อาจผิดก็ได้ ไม่ผิดก็ได้ ซึ่งผมจะไม่พูดถึง
เพราะจะไปกระทบกับสำนักอื่น ๆ การฝึกแบบอื่น ๆ

6 การฝึกท่านั่งแบบหลวงพ่อเทียน ต้องนั่งขัดสมาธิใหมครับ
>> ไม่จำเป็น จะนั่งท่าไหนก็ได้ เอาทีมันสบาย ๆ นั่งเก้าอี้ นั่งกับพื่น นั่งขัดสมาธิ นั่งห้อยขา อะไรก้ได้ทั้งสิ้น การนั่งไม่ใช่สาระสำคัญ ที่สำคัญคือภาวะจิตใจแบบเดียวกับตอนพับผ้าห่ม อันเป็นธรรมชาติของท่านเอง

7 การฝึกแบบนั่ง ให้หลับตาได้ไหม
>> ได้ครับ แต่ผมแนะนำให้ลืมตา เพราะการลืมตาจะเหมือนกับชีวิตประจำวันของท่านเอง เราฝึกอะไรก็ตามให้พยายามจำลองชีวิตประจำวันให่ใกล้เคียงที่สุด

8 การฝึกต้องบริกรรมอะไรหรือไม่
>> อันนี้แล้วแต่ท่าน จะบริกรรมก็ได้ ไม่ก็ได้ ขอให้ท่านดูดังนี้ว่า ในชีวิตประจำวันของท่านต้องพูดอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เช่น ถ้าท่านเป็นพนักงานรับโทรศัพท์ ที่ต้องพูดคำว่า สวัสดีค่ะ ก่อนเสมอ ท่านจะนำคำว่า สวัสดีค่ะ มาเป็นคำบริกรรมก็ได้ หรือ ถ้าท่านเป็นกระเป๋ารถเมล์ ท่านพูดบ่อย ๆ ว่า ชิดในหน่อยครับ ท่านจะนำคำว่า ชิดในหน่อนครับ มาใช้บริกรรมก็ได้
การที่เราใช้คำที่เราใช้บ่อย ๆ มาบริกรรมในการฝึก พอในชิวิตจริง พอเราพูดคำๆ นี้ออกมา มันจะกระตุกให้เรามีความรู้สึกตัวได้ดีครับ

แต่ถ้าท่านฝึกแนวหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อเทียนไม่ให้บริกรรม ซึ่งท่านควรยึดหลักของหลวงพ่อเทียนไว้ที่ว่า ไม่บริกรรมครับ


แนะนำอ่านเพิ่มเติม
เพียงรู้สึกตัว ก็พอแล้วหรือในการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=10-2009&date=26&group=5&gblog=9





Create Date : 27 ตุลาคม 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 18:33:38 น. 13 comments
Counter : 1750 Pageviews.

 
เคยเห็นลพ.เทียน เดินจงกรม ซึ่งมีในวีดีโอ หรือใน youtube
ท่านก็ไม่ได้เดินช้าเลยค่ะ
ท่านจะเดินเหมือนกับเดินปกติ
ท่านไม่ได้เอามือทั้งสองกุมไว้ข้างหน้า บางทีท่านก็ไขว้มือไว้ข้างหลัง
ท่านไม่ได้เดินไปสุดทาง แล้วต้องหมุนตัวกลับทางขวาเสมอไป
และ ...ท่านใส่รองเท้าเดินด้วยซ้ำ


โดย: kaoim วันที่: 27 ตุลาคม 2552 เวลา:20:23:05 น.  

 
การเก็บมือไว้หน้า ไว้หลัง ใส่รองเท้าหรือไม่ ต้องหมุนซ้าบ หรือ หมุนขวา ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการเดินจงกรม ยกเว้นแต่ว่า จะเดินโชว์เพื่อความสวยงามให้เป็นระเบียบเวลาเดินเป็นหมูใหญ่

การวางใจให้รู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งทีสำคัญที่สุด


โดย: นมสิการ วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:1:02:29 น.  

 
_/\\\\_/\\__/\\_
ดีครับ..


โดย: ล้อลม IP: 115.67.59.83 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:9:18:55 น.  

 
ช่วงที่ผมเคลื่อนแล้วหยุด ไม่รู้เป็นอะไร รู้สึกหนักและมึนหัวขึ้นมาทันที แต่ถ้าเคลืื่อนเป็นจังหวะแต่ไม่หยุดนิ่งก็จะไม่มึนหัว


โดย: virut IP: 172.16.21.104, 119.46.99.100 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:10:54:55 น.  

 
ถ้าเคลื่อนแล้วหยุดแล้วมึนหัว ในช่วงแรก ๆ นี้
ก็เคลื่อนไปแบบไม่หยุดก่อนก็ได้ครับ
ฝึกไปสัก 1 ปีก่อน แล้วมาลองหยุดอีกทีว่าเป็นอีกหรือไม่

ส่วนสาเหตุทีมึนหัว คุณต้องหาสาเหตุเอง เช่น
อาจเพ่งโดยไม่รู้ตัว
เกร็งมากเกินไป จนไม่เป็นธรรมชาติ


โดย: นมสิการ วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:12:23:54 น.  

 
การสร้างจังหวะหรือการเดินจงกรม เป็นการทำจิตให้ออกมาอยู่กับปัจจุบัน ให้จิตมาระลึกรู้อยู่กับกาย ออกจากความคิดฟุ้งซ่าน

ฝึกแนวหลวงพ่อเทียน ทำให้หลับสบาย ไม่เครียด อาจจะเป็นเพราะตรงกับจริตของตนเอง


โดย: faisai วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:15:20:18 น.  

 
^
^
โดยตำรา การฝึกแบบหลวงพ่อเทียนคือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แต่โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมไม่นิยมเรียกว่า การฝึกแบบนี้คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะว่า...

เมื่อเราฝึกและเข้าใจว่านี่คือกายานุปัสสนา เราจะรู้สึกว่ายังมีกายอยู่ ความรู้สึกอยู่ที่กาย แต่ถ้าใครได้ฝึกไปมาก ๆ จะเข้าใจได้ดีว่า การฝึกความรู้สึกตัว ( หลวงพ่อเทียน ก็เรียกว่า การทำความรู้สึกตัว ) จะมีเหลือแต่ความรู้สึกที่มีอยู่ ความรู้สึกก็ไม่ได้อยู่ที่กาย แถมไม่มีกายเสียด้วยซ้ำไป แต่ความรู้สึกจะปรากฏให้รู้อยู่แบบลอย ๆ ในความว่างเสียอย่างนั้น

เรื่องนี้คงไม่ใช่ประเด็นว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร เพราะเรียกอย่างไร มันก็คือชื่อสมมุติ แต่การเข้าใจว่า รู้อยู่ที่กาย นี่ ผมเข้าใจว่า ยังไม่ตรงทีเดียว และอาจไปจ้องกาย ไปยึดว่ายังมีกายอยู่ เลยไม่ไปถึงไหน ได้แค่สมถะ ติดนิ่ง สงบอยู่แค่นั้น

จะเห็นว่า ความเข้าใจเพียงนิดเดียว ก็จะเปลี่ยนพลิกไปได้ระหว่าง สมถะ และ วิปัสสนา ทีเดียว

ในหนังสือหลวงพ่อเทียน ก็มีกล่าวไว้เช่น กัน เมื่อฝึกจนเห็นความคิดได้แล้ว ให้ดูความคิด...


โดย: นมสิการ วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:15:53:41 น.  

 
คุณ virut
ถ้าคุณมีนหัว ให้ลองดังนี้

1 เปลี่ยนจากเคลื่อนมือเป็นเดินจงกรมก่อน ฝึกไปมาก ๆ ด้วยเดินจงกรมแทน คงไม่มีนหัวนะครับ

2 ถ้าจะเคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน ให้เคลื่อนมือเพียงข้างเดียว เช่น เคลื่อนด้วยมือซ้ายก่อน ทำแบบจังหวะก็ได้ ลองดู อาจไม่เวียนหัว
พอมือซ้ายเมื่อย ก็มาเคลื่อนมือเดียว ด้วยมือขวาแทน
ทำแบบจังหวะ เคลื่อน หยุด เช่นกัน

การฝึกทั้งหมด ต้องปล่อยวาง อย่าเครียด เน้นที่ความรุ้สึกตัว ที่เป็นธรรมชาติ เมือรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้อาการเคลื่อน การไหว การสัมผัส จะเบาเฉียบ เบามากจริง ๆ เบาเหมือนไม่รู้สึกถึง แต่ก็ยังรู้สีกถึงได้อยู่

ตอนนี้นึกออกแค่นี้ ลองดูครับ อาจช่วยได้


โดย: นมสิการ วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:15:59:55 น.  

 
จากที่สังเกตุ ผมเคลื่อนมือข้างเดียวโดยไม่สนใจจังหวะครับ จะหยุดก็ได้ ไม่หยุดก็ได้ มันทำให้ผ่อนคลายไม่มึนหัวได้มากทีเดียว แต่พอมายกมือ 2 ข้าง มันจะมึนหัวเอง

อาจะเป็นเพราะช่วงนี้ผมไม่ได้เดินจงกรมเลยก็ได้



โดย: viroot วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:9:54:53 น.  

 
ถ้าทีละข้าง แต่หยุดได้ แล้วไม่มึนหัว
ให้ฝึกทีละข้างไปก็ได้ครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 29 ตุลาคม 2552 เวลา:12:12:02 น.  

 
อ.คะ ที่อ.ตอบคุณ faisai

ประโยคสุดท้ายที่อ.เขียนว่า

ในหนังสือหลวงพ่อเทียน ก็มีกล่าวไว้เช่น กัน เมื่อฝึกจนเห็นความคิดได้แล้ว ให้ดูความคิด...

ให้ดูความคิดนี่ คือดูอย่างไรคะ


โดย: มังคุดม่วง IP: 124.120.204.173 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:17:11:31 น.  

 
คำว่า ดูความคิด ในการปฏิบัติจริงไม่มีการตั้งใจดู
หรือ ดูอย่างไร ถ้าจิตมีกำลังแห่งสัมมาสติ
เมื่อความคิดเกิดขึ้น จิตรู้มันจะเห็นความคิดที่เกิดขึ้นนั้นได้เอง


โดย: นมสิการ วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:16:14:29 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:18:54:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.