รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
มือใหม่สงสัยในการปฏิบัติแนวหลวงพ่อเทียน

เพิ่งจะฝึกปฎิบัติธรรม ไม่นานเองค่ะ ไม่เคยฝึกแบบใดมาก่อน แต่มาเริ่มแนวหลวงพ่อเทียนค่ะ มีข้อสงสัยไม่เข้าใจในการปฎิบัติค่ะ จึงขอสอบถามค่ะ

ข้อ 1 การฝึกสร้างจังหวะ14 ท่า ควรทำแบบช้าๆ คือค่อยๆยกมือ จะทำให้เกิดความรู้สึกตัวดีกว่าหรือไม่คะ

ข้อ2 การเจริญสติในชีวิตประจำวัน ข้อนี้ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ เช่นถ้าล้างมือ ให้รู้สึกถึงอาการเย็นๆที่น้ำถูกมือ หรือว่า ให้รู้ว่ามือเรากำลังเคลื่อนไปมาคะ

ต้องขอรบกวนด้วยนะคะ ไม่เข้าใจจริงๆค่ะ

.....................................

ก่อนอื่น ผมขอบอกก่อนว่า ผมเองก็ใช้แนวทางของหลวงพ่อเทียนในการฝึกฝนมาก่อน และได้เคยสอบถามพระและผู้รู้ในสายหลวงพ่อเทียนหลาย ๆท่าน ถึงแนวทางการปฏิบัติ และผมพบว่า ในการสอบถามมานั้น ผมได้รับคำตอบที่หลากหลายจนสับสนไปหมด ไม่อาจสรุปได้ว่า การปฏิบัตินั้นควรเป็นแบบใด ดังนั้น ผมเองจึงได้ทดลองผิดทดลองถูกด้วยตนเองในการฝึกฝนแนวทางหลวงพ่อเทียนนี้ เสียเวลานานพอสมควร ผมจึงขอแสดงความเห็นให้คุณมือใหม่แนวทางหลวงพ่อเทียนพิจารณาดังนี้ ซึ่งถ้าคุณมือใหม่ไปถามผู้ที่ฝึกในแนวนี้มาเหมือนกัน อาจได้รับคำตอบที่ต่างออกไปจากผม เหมือนดังที่ผมได้รับคำตอบต่าง ๆ หลากหลายมาแล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสายหลวงพ่อเทียนเช่นเดียวกัน

มาดูความเห็นของผมได้เลยครับ

...........................
การฝึกตามแนวหลวงพ่อเทียนนั้น ผมจะแบ่งไว้เป็น 2 ระดับครับ
ระดับแรก คือ พวกมือใหม่ ที่ไม่เคยฝึกการเจริญสติสัมปชัญญะมาก่อน มือใหม่มักกำลังสัมมาสติอ่อนมาก ซึ่ง คุณมือใหม่ ก็จะอยู่ในพวกนี้
อีกพวกหนึ่ง คือ พวกมือเก่า ที่ผ่านการเจริญสัมมาสติในแนวหลวงพ่อเทียนมานานแล้วเป็นปี ๆ และมีกำลังสัมมาสติสัมมาสมาธิที่ค่อนข้างดีแล้ว
ซึ่งในบทความนี้ ผมจะเขียนให้แต่เฉพาะแบบแรกคือสำหรับพวกมือใหม่เท่านั้นครับ แต่ถ้าคุณมือใหม่ได้ฝึกฝนตามที่ผมเขียนไปแล้วเป็นเวลานาน เช่นตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป คุณมือใหม่อาจพลิกแพลงเองตามความถนัดของคุณเอง แต่ถ้ายังเป็นมือใหม่อยู่ ผมแนะนำว่าให้เดินตามที่ผมจะเขียนบอกต่อไปนี้ครับ

.......................
ตอบคำถามข้อ 1

การเจริญสติในแนวหลวงพ่อเทียนสำหรับมือใหม่
จุดประสงค์มี 2 อย่างครับ คือ
1. การฝึกให้มีความเคยชินกับการรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ
2. การฝึกกำลังการรับรู้แห่งสติ ให้มีความสามารถในการรับรู้การสัมผัสผ่านทางระบบประสาทได้ไวขึ้น

คุณมือใหม่ต้องจำจุดประสงค์นี้ให้แม่น ๆ ว่า มี 2 อย่างนะครับ
แล้วการฝึกเคลื่อนมือ จึงให้สอดคล้องกับการความต้องการทั้ง 2 อย่าง

สำหรับมือใหม่ แล้ว เพื่อให้เกิดความเคนชินกับความรู้สึกตัว การเคลื่อนมือ ให้กระทำอย่าง .ช้า. แต่ไม่ถึงกับช้ามากแบบ slow motion
และ เมื่อเคลื่อนมือ แล้ว ให้. หยุด. เป็นจังหวะสักครู่หนึ่ง แล้วเคลื่อนต่ออย่าง.ช้า. และ .หยุด. อย่างนี้สลับกันไปมา คือ เคลื่อนช้า - หยุด - เคลื่อนช้า - หยุด

ที่ว่า เคลื่อนช้า นั้น ก็คือ ให้ช้ากว่าความเป็นปรกติของตัวเองสักเล็กน้อย แต่ถ้าช้ามาก จะเกิดการเกร็งขึ้น ซึ่งไม่ดีครับถ้าเกิดการเกร็ง การเคลื่อน ควรช้าแต่ไม่ถึงกับเป็นการเกร็งเด็ดขาด การเคลื่อนมือต้องสบาย ๆ เพียงรู้สึกตัว แล้ว เคลื่อนมือช้า ๆ สบาย ๆ - แล้วหยุด แล้วเคลื่อนช้า ๆ สบาย ๆ แล้วหยุด
อย่าลืมนะครับ อย่าเกร็ง และต้องสบาย จึงจะใช้ได้ ไม่ต้องสนใจว่าจะต้องรู้อย่างโน้นอย่างนี้ เพราะเมือ่เราเคลื่อนมือด้วยความรู้สึกตัว เราจะรับรู้ได้เอง โดยไม่ต้องการที่จะรู้ เลย เพราะการทำงานอันเป็นธรรมชาติของจิตใจนั้นเองทีเป็นแบบนี้ เช่น ตาก็มองเห็น หูก็ได้ยิน ถ้ามาลมมากระทบกาย ก็รู้สึกได้ ในขณะทีมือเคลื่อนไปบนหน้าอก ก็รู้สึกถึงการสัมผัสของฝ่ามือกับเสื้อผ้าที่หน้าอกได้ แต่คุณมือใหม่ ถ้ากำลังสติอ่อนมาก อาจไม่รับรู้อาการเคลื่อนการไหวของมือในขณะที่กำลังเคลื่อน ซึ่งจุดนี้ ไม่ต้องกังวลใจว่ารับรู้การเคลื่อนไม่ได้ ต่อเมื่อฝึกไปเรื่อย ๆ กำลังการรับรู้ด้วยสติ จะดีขึ้นและจะรับรู้อาการเคลื่อน การไหวของมือในขณะที่เคลื่อนได้เอง
และก็ อย่าไปจ้องมือนะครับ ตาให้มองไปไกล ๆ แต่ไม่ต้องจ้องมองอะไรเป็นพิเศษ เพียงแต่มองไกล ๆ เหมือนเราชมวิวทิวทัศน์อย่างสบายอารมณ์

ถ้าเราฝึกแบบนี้แล้ว รู้สึกได้อย่างที่ผมบอก คือ สบาย ๆ ไม่เครียด ไม่เกร็ง ตามองเห็น หูได้ยิน กายรู้สึกถึงลมมากระทบ หรือ รู้สึกถึงมือที่มาสัมผัสที่บริเวณหน้าอก ก็แสดงว่าใช้ได้ครับ ทีนี้ก็ให้ขยันฝึกแบบนี้ไปเรือ่ย ๆ ไม่ต้องหวังอะไร ไม่ต้องไปคิดอะไร ฝึกไปเรื่อย ๆ
อีกอย่าง ให้ระวังคนอื่นที่มาแนะนำว่า ควรอย่างโน้น ควรอย่างนี้ ซิ
จะทำให้คุณไขว่เขวได้ (เพราะพวกแนะนำ อาจเป็นมือเก่า ที่เขาไม่เคลื่อนมือช้า ๆ แบบนี้ และ ถ้าเป็นมือใหม่ ก็พยายามจะบอกว่า ให้รู้อย่างโน้น รู้อย่างนี้ ถึงจะถูกต้อง ซึ่งผมเห็นว่าไม่ใช่แบบที่ว่าจะต้องรู้แน่นอนครับ แต่ควรเป็นว่า ให้รู้ได้เอง เพราะการมีความรู้สึกตัว และก็ระวัง พวกบอกว่า ให้รู้กายล้วน ๆ ซึ่งผมก็ไม่เชื่อครับว่า ต้องรู้กายล้วน ๆ เกร็ดปลีกย่อยมีมาก สรุปก็คือ ฟังมาก จะเขว และก็จะสับสน จนปฏิบัติไม่ถูกครับ)

คุณมือใหม่อ่านตรงไหน ไม่เข้าใจ ให้ถามมาเพิ่มได้
เพราะการฝึกเริ่มแรกนี่สำคัญมาก ถ้าไม่เข้าใจ ฝึกผิด จะเสียเวลาไปเปล่า ๆ ครับ

ตอบคำถามข้อ 2.
การมีสติในชีวิตประจำวัน ถ้าให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ก็คือ
การทำอะไร พร้อมดัวยความรู้สึกตัว ครับ
เช่น เมื่อเราล้างมือ เราล้างด้วยความรู้สึกตัว เพราะเมื่อรู้สึกตัว
เมื่อมีการกระทบสัมผัส ก็จะรู้ได้เอง เช่น น้ำมาถูกมือ ความเย็นของน้ำ การสัมผัสของมือ เมื่อถูไปมา เป็นต้น แต่ขอให้รู้สึกได้เองครับ รู้สึกได้แต่ไหน ก็แค่นั้น ไม่ต้องพยายามที่จะรู้สึกให้ได้มาก ๆ เพราะจะไม่เป็นธรรมชาติ
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของมือใหม่ เวลามีสติในชีวิตประจำวันก็คือ มักจะเผลอ และรู้สึกตัว สลับไปมา แต่จะเผลอมากกว่า รู้สึกตัว
ซึ่งไม่เป็นไร ครับ แต่ขอให้รู้สึกตัวอย่างเป็นธรรมชาติเข้าไว้
เมื่อเราฝึกตามรูปแบบในข้อ 1 มาก ๆเข้า เราจะเริ่มรู้สึกตัวได้นานขึ้น ได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะส่งผลเองในการมีสติในชีวิตประจำวัน
สำหรับการฝึกในชีวิตประจำวัน ผมแนะนำให้อ่านเรื่อง
คุณยายข้างบ้านฝึกวิปัสสนา-มุมมือใหม่

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=11-2009&date=01&group=5&gblog=12

...........................
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
สติ ในความเห็นของผม
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=06-2009&date=24&group=1&gblog=42

ลักษณะของสัมมาสมาธิฉบับชาวบ้านอ่าน
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2009&date=26&group=1&gblog=80

รู้สึกว่าขณะนี้หยุด รู้สึกว่าขณะนี้มีอะไรที่มันไหว - มุมมือใหม่
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=10-2009&date=13&group=5&gblog=1

เคร็ดลับการฝึกกรรมฐานเคลื่อนไหว - มุมมือใหม่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&month=27-10-2009&group=5&gblog=10




Create Date : 07 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:01:07 น. 2 comments
Counter : 1332 Pageviews.

 
ขออนุโมทนาค่ะ



โดย: benyapa IP: 68.183.49.153 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา:1:10:22 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:19:01:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.