Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
14 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

ถอดรหัสอัจฉริยะผ่านสายน้ำ


ผศ.ดร.บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล

ถอดรหัสอัจฉริยะผ่านสายน้ำ
แม้อัลเบิร์ตไอนสไตน์จะเคยกล่าวไว้ว่า 'จินตนาการอยู่เหนือความรู้'
แต่ ผศ.ดร.บุณยฤทธิ์ ปัญญาภิญโญผล ขอยกมือเสริมอีกนิดว่า
'จินตนาการอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ต้องลงมือทำด้วย ทุกอย่างจึงจะประสบความสำเร็จ'

ด๊อกเตอร์หนุ่มพิสูจน์ความคิดนี้ ด้วยการใช้เวลาเทียบเท่ากับที่โลกเดินทาง รอบดวงอาทิตย์เพียง 28 รอบ
ก็สามารถคว้าปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม แขนงวิชาการจัดการของเสียอันตราย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์สุขาภิบาล
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แถมพกพาผลงานวิจัยชิ้นเก่งเกี่ยวกับ 'สารก่อมะเร็งในน้ำประปา'
มาพร้อมความหวังจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น

เหตุเกิดจากเครื่องกรอกน้ำ
"ที่ตัดสินใจเอนทรานซ์เข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเลือกเรียนภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะครอบครัวของผม ทำธุรกิจเครื่องกรองน้ำดื่มในชีวิตประจำวันของเรานี่แหละครับ
ผมเห็นคุณพ่อทำมาตั้งแต่เด็กๆ ก็คิดว่าสาขานี้น่าจะสามารถส่งเสริมกิจการของครอบครัวได้
"ผมเรียนจนกระทั้งจบปริญญาโทแล้วบังเอิญว่า ผมได้รับทุนให้ศึกษาต่อในระดับ ปริญญาเอก
บังเอิญช่วงนั้นรุ่นพี่ที่เป็นอาจารย์อยู่มหาวิทยาลัยมหิดล ชักชวนให้ไปสอน
ตอนนั้นผมเหลือแค่ทำงานวิจัยก็จะจบการศึกษา อยากจะลองหาความท้าทายใหม่ๆ
ก็เลยตัดสินใจบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ชีวิตช่วงนั้นจึงค่อนข้างหนัก เพราะกลางวันต้องทำงาน
ส่วนกลางคืนก็ต้องทำงานวิจัยเพื่อเตรียมจบปริญญาเอกควบคู่ไปด้วย

"สำหรับคนที่เรียนอย่างเดียว ไม่เคยสอนใครมาก่อน กว่าผมจะปรับตัวให้เข้าที่เข้าทางได้ก็ประมาณ 2 ปีเห็นจะได้
แรกๆ กะเวลาสอนไม่ถูกว่า ต้องเตรียมการสอนมาเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับเวลาที่มี
สมมติผมเตรียมข้อมูลมา 100 สไลด์ คิดว่ายังไงวันนี้ต้องสอนรอด 3 ชั่วโมงแน่นอน
แต่เอาเข้าจริงๆ ผ่านไปแค่ชั่วโมงเดียวสไลด์ก็หมดแล้ว ไม่เพราะผมเตรียมข้อมูลมาน้อยก็คงเพราะพูดเร็วเกินไป
แต่พอสอนปีที่สองเริ่มมีประสบการณ์มาแล้ว ทุกอย่างก็ง่ายขึ้น"


ผู้ช่วยศาสตราจารย์หนุ่ม
"ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ก็คือตำแหน่งหนึ่งในสายวิชาการ เปรียบไปก็เหมือนทหารที่มียศนายร้อย-นายพัน-นายพล
'ศาสตราจารย์' เป็นยศใหญ่ที่สุด ไล่ลงมาก็คือรองศาสตราจารย์ และผู้ช่วย

"หลังบรรจุเป็นอาจารย์ได้ไม่นาน ผมก็ยื่นขอเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพราะเกณฑ์กำหนดไว้ว่า
บุคคลต้องผ่านการจบปริญญาเอกและมีประสบการณ์การทำงาน นานกว่า 2 ปี จึงจะขอเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้

"ส่วนการจะก้าวขึ้นไปถึงตำแหน่งศาสตราจารย์เป็นเรื่องที่ยากมากๆ
เพราะต้องมีทั้งผลงานการสอน และผลงานวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ
แถมงานในคณะก็ต้องทำอีก เรียกว่าใครที่จะขึ้นไปถึงตำแหน่งนั้นได้ต้องทุ่มเทจริงๆ"


งานวิจัยน้ำประปา VS สารก่อมะเร็ง
"ในแวดวงวิชาการจะเป็นที่รู้กันว่า อาจารย์ที่สอนหนังสือระดับอุดมศึกษา ใน 1 ปี
จะต้องมีผลงานวิจัยออกมาอย่างน้อย 1 เรื่อง ไม่อย่างนั้นความรู้ของอาจารย์ก็จะเท่าเดิม
เหมือนไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ซึ่งในบ้านเรายังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
ที่ปีๆ หนึ่งอาจารย์แต่ละคนอาจทำผลงานวิจัยออกมาถึง 2-3 เรื่อง

"ผลงานวิจัยหลักที่ผมตั้งใจทำอยู่ตอนนี้ก็คือ หาวิธีลดการเกิดสารก่อมะเร็งในน้ำประปาให้ได้มากที่สุด
เพราะในน้ำประปาที่เราใช้กันอยู่ที่วันนี้มีสารอินทรีย์ปนอยู่ เราต้องฆ่าเชื้อโรคด้วยการเติ่มคลอรีนลงไป
แต่จะมีช่องว่างบางส่วนในกระบวนการ ที่สารเคมีไปทำปฎิกิริยากันจนกลายเป็นสาร ก่อมะเร็ง
แต่ถามว่าดื่มแล้วจะตายไหม ไม่ตายครับ น้ำประปายังดื่มได้
แต่เราก็ต้องวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการ เพื่อลดสารก่อมะเร็งตัวนี้ออกไปให้ได้ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้"


เส้นทางอัจฉริยะข้ามคืน
"หลังจากไปแข่งรายการอัจฉริยะข้ามคืน มีคนพูดถึงผมเยอะมาก โดยเฉพาะตามเว็บไซต์ต่างๆ
คิดเอาเองว่าอาจจะเป็นเพราะผมทำผลงานได้ดีมาตลอดทุกช่วง แต่สุดท้ายไปตายตอนจบในรอบชิง
ล่าสุดผมเพิ่งเข้าไปแข่งขันอีกครั้งในรอบแก้มือ ก็ยังงงๆ อยู่เลยเพราะทางรายรายการโปรโมตว่า
ผมเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีผู้ชมชื่นชอบ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อะไรจะขนาดนั้น (หัวเราะ)

"ตอนที่ได้รับการติดต่อมาก็กดดันพอสมควร เครียดอยู่หลายวันว่าถ้าไปแข่งแล้วตกรอบแรกจะเป็นยังไง
กลับมาคงไม่กล้ามองหน้าใคร แอบกดดันเพราะลูกศิษย์เยอะแยะ ก่อนไปแข่งก็เลยไม่กล้าบอกใคร
ต้องรอจนแข่งเสร็จกลับมาก่อนแล้วค่อยบอกเพื่อนๆ ว่าช่วยดูด้วย เพราะเข้าไปถึงรอบชิงล้าน

"ถึงแม้จะไม่ได้เป็นแชมป์ แต่ก็ประทับใจทีมงานนะ โดยเฉพาะภารกิจต่างๆ ผมทึ่งมาก ว่าเขาคิดกันได้ยังไง
ยิ่งช่วงภารกิจนักประดิษฐ์นี่ท้าทายสุดๆ มันคือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ทุกคนไม่มีทางรู้ว่า
อุปกรณ์ที่เพิ่งเลือกจะ นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
ต้องใช้ไหวพริบเพื่อประยุกต์อุปกรณ์ ที่มีให้เข้ากับสถานการณ์ตรงหน้า
โชคดีที่ผมทำงานช่างกับที่บ้านมาตั้งแต่เด็กๆ ซ่อมโน่นซ่อมนี่ ก็เลยไม่ค่อยกลัว
มีแต่ความรู้สึกสนุก ที่จะได้ลงมือแก้ไขปัญหาตรงหน้าให้ออกมาดีที่สุดครับ"


ที่มา : //www.sudsapda.com




 

Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 3 เมษายน 2553 0:32:09 น.
Counter : 2712 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.