Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
ทัศนคติดีมีชัยไปกว่าครึ่ง




ผมได้อ่านรายงานสรุปผลการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างสมรรถนะข้าราชการ
เพื่อเป็นคลังสมองของกรมการปกครอง (Think Tank) ครั้งที่ ๔ หมวดพัฒนาทักษะและ
วัฒนธรรมองค์กร ที่น้อง ๆ ผู้รับผิดชอบโครงการเสนอมาแล้ว รู้สึกชอบใจกับเรื่อง ๆ หนึ่ง ที่วิทยากรสอดแทรก
ในเนื้อหาเรื่องการสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยถามว่าอะไรคือสิ่งที่มีแล้วจะทำให้ชีวิตสมบูรณ์ ๑๐๐ %
ถ้าให้แทนค่า A= ๑ % B = ๒ % ไปจนถึง Z = ๒๖ %
มาลองดูกันว่าอะไรที่จะทำให้ชีวิตของคนเราเต็มร้อย

W + O + R + K + H + A + R + D = ๙๘ %

K + N + O + W + L + E + D + G + E = ๙๖ %

L + O + V + E = ๕๖ %

L + U + C + K = ๔๗ %

ทั้งสี่คำนี้ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ชีวิตเราเต็มร้อย ถ้าเช่นนั้นท่านคิดว่าอะไรที่ถ้าหากเรามีแล้วจะทำให้ชีวิตเราสุขสมบูรณ์
คิดออกมั้ยครับ ที่แท้จริงก็คือคำ ๆ นี้ A + T + T + I + T + U + D + E
ซึ่งรวมกันแล้ว = ๑๐๐ % พอดี นั่นก็คือ ทัศนคติของเรานั่นเอง
ทัศนคติในที่นี้เป็นทัศนคติที่ดีที่เรามีต่อการดำเนินชีวิตในเรื่องต่าง ๆ
ผมมองว่านี่เป็นกลยุทธ์ในการสอนให้เรารู้จักการสร้างทัศนคติที่ดี
โดยอาศัยเทคนิคการแทนค่าของตัวอักษรภาษาอังกฤษ ทำให้เห็นว่าการทำงานหนักเป็นสิ่งที่ดี
แต่ก็อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่สุด หรือการมีความรู้มาก ๆ ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป
เพราะอาจจะกลายเป็นประเภทมีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอดก็ได้
แต่การมีทัศนคติที่ดีต่างหากที่จะทำให้เราเกิดความพยายามไม่ย่อท้อต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับตนเองในการฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ นานา
และนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


ทัศนคติคืออะไร? ทัศนคติ เป็นคำสนธิระหว่าง ทัศน,ทัศน์ หรือ ทัสสนะ ซึ่งหมายความว่า
ความเห็น ความเห็นด้วยปัญญา ส่วนคติ หมายความว่า แนวทาง ดังนั้นคำว่า ทัศนคติ จึงน่าจะรวมความได้ว่า
คือ แนวความคิดเห็นที่ประกอบด้วยปัญญาเป็นที่ตั้ง เป็นความคิดเห็นซึ่งมีพื้นมาจากปัญญา ทั้งนี้

มนุษย์ทุกคนล้วนต้องมีทัศนคติตลอดเวลา และทัศนคติที่จะกล่าวถึงต่อไปในที่นี้ หมายถึง
กระบวนการคิดโดยไม่พิจารณาว่าสิ่งที่คิดนั้นจะได้แสดงออกมาภายนอกหรือมีผู้ใดรับรู้ถึงความเห็นดังกล่าวหรือไม่

ประเภทของทัศนคตินั้นอาจแบ่งแยกโดยเอาตัวเราเป็นที่ตั้งได้เป็น ๒ ประการหลัก ๆ คือ ทัศนคติต่อตนเอง และ
ทัศนคติต่อคนอื่น สิ่งอื่นรอบข้าง ซึ่งทัศนคติทั้ง ๒ ประการดังกล่าวจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดกระบวนการคิด
การกระทำต่างๆ ตามมา ทั้งด้านที่ดีและไม่ดี
ดังนั้นการที่เราจะสามารถดำเนินกิจกรรมใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น
ส่วนสำคัญประการหนึ่งก็คือ ทัศนคติของตัวเรานั่นเอง ที่เป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญประการหนึ่ง
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า การมีทัศนคติที่ดี ก็เป็นปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความสำเร็จในทางที่ดีเช่นกัน

และที่หยิบยกเรื่องทัศนคติมากล่าวในครั้งนี้ก็เพราะอยากให้ทุกคนสร้างทัศนคติที่ดีหรือที่เรียกว่า
การคิดในเชิงบวก (Positive Thinking) กันมากขึ้นจนติดเป็นนิสัย
โดยเฉพาะการนำมาใช้กับการทำงาน บางครั้งเราอาจรู้สึกไม่อยากทำงาน เพราะงานนั้นเป็นงานใหม่ที่ไม่เคยทำ
มาก่อนหรือเป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความอดทนในการทำงานมาก ๆ
จนรู้สึกท้อแท้เบื่อหน่าย ไม่อยากจะคิดหรือทำอะไรทั้งนั้น แถมยังพาลคิดว่า
ทำไมหัวหน้าต้องมอบหมายให้เราทำงานนี้ด้วย แต่ถ้าหากเรามีทัศนคติที่ดีลองมองในมุมกลับที่เป็นเชิงบวก
โดยมองว่าเป็นความท้าทายและเป็นโอกาสที่เราจะได้แสดงความรู้ความสามารถฝึกฝนงานใหม่ ๆ
ก็จะทำให้เกิดความกระตือรือร้นและมีแรงผลักดันที่จะพยายามทำให้งานสำเร็จลงได้

ดังนั้น มาร่วมกันสร้างทัศนคติที่ดีกันมาก ๆ เถอะครับ ใครที่ชอบคิดชอบมองอะไรในแง่ร้าย ๆ ก็ลองคิดใหม่
ด้วยการมองทุกสิ่งในทางบวกมากขึ้น อย่างน้อยจะทำให้มีแรงและพลังที่จะคิด จะทำในเชิงสร้างสรรค์
และเมื่อเราตั้งใจดีและพยายามอย่างเต็มที่แล้ว ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นตามมาได้อย่างแน่นอน

นอกจากการสร้างทัศนคติที่ดีแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่น่าสนใจที่อยากนำเสนอให้ทุกคนได้รับรู้ร่วมกัน นั่นก็คือ
The 7 Habits of Highly Effective People
เจ็ดอุปนิสัยสำหรับผู้มีประสิทธิผลสูง ซึ่งเรื่องนี้คงมีบางท่านได้ยินได้ฟังและรับรู้มาบ้างแล้ว
เพราะเป็นหนังสือที่ค่อนข้างขายดีเล่มหนึ่ง เขียนโดย Stephen R. Covey
มีการแปลเป็นภาษาไทยและตีพิมพ์หลายครั้งแล้ว แต่เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้มีความเข้าใจมากขึ้น
และเป็นการเชื่อมโยงกับการสร้างทัศนคติที่ดี จึงขอหยิบยกเรื่องนี้มากล่าวถึงด้วย เริ่มกันที่…

อุปนิสัยที่ ๑ Be Proactive คำนี้ไม่สามารถระบุคำจำกัดความได้อย่างเฉพาะเจาะจง
แต่เป็นการสื่อความในแง่ของอุปนิสัยที่เป็นการเสริมสร้างให้มีการกล้าเผชิญสิ่งใหม่ ๆ
กล้ารับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองเลือกที่จะทำ และปรับปรุงการยอมรับในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อที่จะได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ บุคคลที่มีลักษณะโปรแอคทีฟ จะสามารถใช้ความอิสระในการเลือกตัดสินใจ
ตามค่านิยมของตนเอง เพราะแต่ละคนมีอำนาจเป็นของตัวเองในการที่จะตัดสินใจ
สามารถลดความกังวลในสิ่งที่ตนเองควบคุมไม่ได้
ในขณะที่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในความควบคุมให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย

อุปนิสัยที่ ๒ Begin With the End in Mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
เราจะเป็นบุคคลผู้ที่มีประสิทธิผลสูง หากสามารถกำหนดทิศทางอนาคตด้วยตนเอง
จากการเริ่มต้นด้วยการตั้งจุดมุ่งหมายในใจเกี่ยวกับชีวิตของเราแทนที่จะปล่อยให้คนอื่นหรือ
ปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวกำหนดผลที่จะเกิดแก่เรา
ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างกลมกลืนกับเป้าหมายที่ได้มีการกำหนดไว้ด้วยตัวของเอง

อุปนิสัยที่ ๓ Put First Things First ทำสิ่งที่สำคัญก่อน มุ่งเน้นทำสิ่งที่สำคัญก่อน
อะไรก็ตามถ้าเราคิดว่ามีคุณค่า จะส่งผลดีกับเรา จะช่วยให้เราดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูก
สามารถนำเราไปสู่เป้าหมายแห่งชีวิตได้ จะมีความสำคัญมากและมักจะมาพร้อมกับความเร่งด่วนอื่น ๆ
ดังนั้น เราจะต้องจัดลำดับความสำคัญในเรื่องที่มีความสำคัญมากก่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เราได้วางไว้

อุปนิสัยที่ ๔ Think Win Win คิดแบบชนะ-ชนะ
เป็นการส่งเสริมให้มีการแก้ปัญหาและความขัดแย้งร่วมกัน แสวงหาหนทางที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
บุคคลที่คิดแบบชนะ ชนะ จะประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ ประการ กล่าวคือ ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
จะมีความซื่อสัตย์ในความรู้สึก ค่านิยมและข้อผูกมัดที่ตนเองมีต่อผู้อื่นและตนเอง
วุฒิภาวะ จะเป็นการแสดงความคิดและความรู้สึกของตนเองด้วยความกล้าแสดงออกถึงความใส่ใจต่อผู้อื่น
ทั้งในด้านความคิดและความรู้สึก และความใจกว้าง จะมีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีมากเกินพอสำหรับทุกๆ คน

อุปนิสัยที่ ๕
Seek First to Understand,Then to be Understood
เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา พูดง่าย ๆ ตามแบบของไทยก็คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา
เป็นอุปนิสัยแห่งการติดต่อสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจ สร้างความชัดเจนในการติดต่อสื่อสารให้มากขึ้น
โดยใช้ทักษะในการฟัง เมื่อเราฟังเพื่อที่จะเข้าใจผู้อื่น การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
เพราะเราจะเปิดใจและไม่ยึดติดกับกรอบความคิดของเราที่จะคอยตัดสินว่าสิ่งใดถูก
สิ่งใดผิดบนพื้นฐานของประสบการณ์ของเราเอง

อุปนิสัยที่ ๖ Synergy ผนึกพลังประสานความต่าง เป็นอุปนิสัยแห่งการร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์
เมื่อบุคคลสองคน ร่วมมือกันและพึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์
จะช่วยให้เกิดผลสำเร็จมากกว่าผลบวกของแต่ละฝ่ายมาร่วมกัน เมื่อแต่ละฝ่ายให้คุณค่ากับความต่างของอีกฝ่ายหนึ่ง
ก็จะทำให้ แต่ละฝ่ายมีใจที่เปิดกว้างเพื่อที่จะหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ช่วยให้แต่ละฝ่ายคิดแบบชนะ ชนะ
และสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้มีการส่งเสริมซึ่งกันและกัน

อุปนิสัยที่ ๗ Sharpen the Saw ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ เป็นอุปนิสัยแห่งการเติมพลัง
เราทุกคนจำเป็นจะต้องได้รับการลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานกล่าวคือ
ทุกคนจะต้องรักษาและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หมั่นทำเป็นกิจวัตร หมั่นฝึกฝน
เพื่อพัฒนาทั้ง ๖ อุปนิสัยให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้น การสร้างอุปนิสัยทั้ง ๗ นี้จะช่วยพัฒนาตนเองทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

โดยเฉพาะในการทำงานทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นไปอย่างราบรื่น ใคร ๆ ก็อยากรู้จัก อยากทำงานด้วย
และที่สำคัญที่สุดจะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อทุก ๆ สิ่งมากขึ้น
มาลองฝึกให้มีอุปนิสัยเหล่านี้กันดู เชื่อเถอะว่า ผู้ที่มีทัศนคติดีเหมือนมีชัยในการทำงานไปแล้วกว่าครึ่งจริง ๆ

“หว่านความคิด แล้วจะได้เก็บเกี่ยวการกระทำ
หว่านการกระทำ แล้วจะได้เก็บเกี่ยวนิสัย
หว่านนิสัย แล้วจะได้เก็บเกี่ยวอุปนิสัย
หว่านอุปนิสัย แล้วจะได้เก็บเกี่ยวโชคชะตา”
- Stephen R. Covey

โดย ภัครธรณ์ เทียนไชย


Create Date : 05 มีนาคม 2552
Last Update : 5 มีนาคม 2552 20:31:14 น. 1 comments
Counter : 1126 Pageviews.

 
อ่านแล้วดีจัง ขออนุญาตนำบล้อกไปแปะในกระทู้นี้นะคะ เนื้อหาเข้ากันพอดีเลย
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7590769/Y7590769.html



โดย: รัตนมาลี วันที่: 7 มีนาคม 2552 เวลา:11:16:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.