Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 

วิธีเลือกใช้น้ำมันและเคล็ดลับการทอดอาหาร



การเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร

น้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ มีความแตกต่างกัน คือ น้ำมันพืช(ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันเมล็ดปาล์ม)
จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าน้ำมันสัตว์
ไขมันไม่อิ่มตัวนี้จะไม่ค่อยเป็นไข แม้จะอยู่ในตู้เย็น เช่น แช่ตู้เย็น แต่จะทำปฎิกิริยากับความร้อนและออกซิเจนได้ง่าย
และมักทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว

น้ำมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติเปนไขได้ง่าย
เมื่ออากาศเย็นชื้น ไขมันสตว์มีกลิ่นเหม็นหืนได้่ง่ายเมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิธรรมดา
ไขมันจากสัตว์นอกจากมีไขมันอิ่มตัวแล้วยังมีโคเลสเตอรอลอีกด้วย
การกินไขมันสัตว์มากอาจจะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันสัตว์ น้ำมันเมล็ดปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เนื่องจากมีกรดไขมันอิ่มตัวปริมาณมาก

วิธีเลือกใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร
การใช้น้ำมันปรุงอาหารจะต้องคำนึงถึงความร้อนที่ใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก
เพราะนอกจากจะทำให้อาหารเหล่านั้นมีรสชาติที่เท่ากันแล้ว การเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสมกับชนิดและ
ประเภทของการปรุงอาหารจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น
การผัด ซึ่งใช้น้ำมันเพียงเล็กน้อยหรือขลุกขลิกจะใช้น้ำมันชนิดใดก็ได้ เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน
น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันปาล์มโเลอีน

การทอดอาหารที่ใช้น้ำมันมาก และใช้ความร้อนสูงในการประกอบอาหาร เช่น ทอดไก่ ทอดปลา ทอดกล้วยแขก
ทอดปาท่องโก๋ หรือทอดโดนัท ไม่ควรใช้้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เพราะจะทำให้เกิดควันได้ง่าย
น้ำมันเหม็นหืน และทำให้เกิดความหนืด เนื่องจากมีสาร "โพลีเมอร์" เกิดขึ้น
น้ำมันที่เหมาะสำหรับการทอดอาหารในลักษณะนี้ คือน้ำมันชนิดที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันหมู
เพราะนอกจากจะปลอดภัยจากสารพิษที่จะเกิดขึ้นจากการใช้น้ำมันผิดประเภทแล้ว
ก็ยังได้อาหารที่มีรสชาติดี กรอบ อร่อย ทำน้ำสลัด

การทำน้ำสลัดประเภทต่างๆต้องใช้น้ำมันพืชที่ไม่แข็งตัวในอุณหภูมิต่ำ เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น
น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำมันปรุงอาหาร

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำมันปรุงอาหาร

ควรเก็บน้ำมันพืชไว้ในที่เย็นและพ้นจากแสง เพื่อถนอมรักษาวิตามินอี น้ำมันพืชที่มีวิตามินอีมากเป็นพิเศษ ได้แก่
น้ำมันทานตะวัน น้ำมันจมูกข้าวสาลี ซึ่งวิตามินอีจะมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันไม่ให้เยื่อบุเซลถูกทำลาย

การใช้น้ำมันปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทไขมันระหว่างเนื้อสัตว์กับน้ำมันที่ใช้ปรุง
ทำให้ไขมันอิ่มตัวในเนื้อสัตว์ลดลง และแม้ว่าเื้นื้อสัตว์มักจะไม่ดูดซับไขมันเข้าไปง่ายๆ
แต่ถ้าประกอบอาหารโดยการชุบแป้งหรือขนมปังป่น จะทำให้อาหารนั้นอมน้ำมันมากขั้น

อุณหภูมิของน้ำมัน และขนาดชิ้นอาหารที่นำลงทอดล้วนมีผลทำให้เกิดการอมน้ำมันมากน้อยแตกต่างกัน
อาหารชิ้นใหญ่อมน้ำมันน้อยกว่าอาหารชิ้นเล็ก

น้ำ้ำมันที่ตั้งไฟร้อนจัด (ประมาณ 180 องศาเซลเซียส) จะช่วยให้อาหารที่ทอดนั้นดูดซึมไขมันน้อยที่สุด
การใช้กระดาษซับน้ำมันหลังจากการทอด จะช่วยลดไขมันส่วนเกินได้

เพื่อลดความเสี่ยงในการสะสมสารเคมีในร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำมันพืชสลับยี่ห้อ
สลับชนิดกันบ้าง ไม่ควรใช้น้ำมันพืชชนิดใดชนิดหนึ่งประจำอย่างเดียว

หลืกเลี่ยงไม่ใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำมากเกินไป หากน้ำมันทอดอาหารมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีดำ
เป็นควันง่าย และเหม็นไหม้ไม่ควรใช้ครั้งต่อไป

ถ้าทอดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมองเกลือหรือเครื่องปรุงรสปริมาณมาก ควรเปลี่ยนน้ำมันทอดอาหารบ่อยขึ้น

หลีกเลี่ยงการเก็บน้ำมันที่ทอดแล้วในภาชนะที่ทำจากเหล็ก ทองแดง ทองเหลือง เพราะจะไปเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมัน

ที่มา
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนน ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000



เคล็ดลับการทอดอาหาร

1. อุณหภูมิของน้ำมันที่เหมาะสมในการทอดอาหารจะอยู่ที่ประมาณ 325-375 อาศาฟาห์เรนไฮต์
แต่ถ้าไม่มีหม้อทอดไฟฟ้าอาจเช็คว่าน้ำมันร้อนได้ที่หรือยัง โดยใช้ตะเกียบไม้จุ่มลงในน้ำมัน
ถ้ามีฟองปุดๆ รอบตะเกียบแสดงว่าน้ำมันร้อนได้ที่แล้ว หรือถ้าใช้วิธีทดสอบแบบฝรั่ง ให้เอาชิ้นขนมปังขนาด 1 นิ้วลงทอด
ถ้าขนมปังเป็นสีน้ำตาลแสดงว่าอุณหภูมิน้ำมันจะอยู่ประมาณ 365 องศาฟาห์เรนไฮต์ อย่างไรก็ตาม เวลาใส่ชิ้นอาหารลงไป
อุณหภูมิของน้ำมันจะลดลง ต้องปรับไฟเพิ่มเพื่อให้น้ำมันร้อนขึ้น มิฉะนั้นอาหารจะอมน้ำมัน

2. น้ำมันที่เหมาะสมจะใช้ในการทอดควรเป็นน้ำมันที่มีจุดเกิดควัน (Smoking Point) สูงๆ เช่น
น้ำมันถั่วลิสงน้ำมันคาโนลา น้ำมันข้าวโพด ส่วนน้ำมันงา น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่จุดเกิดควันต่ำ
และมีราคาแพง ไม่ควรนำมาใช้ในการทอดอาหาร

3. อาหารที่จะนำลงทอดต้องวางทิ้งไว้ให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้องก่อน เพื่อป้องกันอุณหภูมิของน้ำมันทอลดลงเร็ว
และลดการกระเด็นของน้ำมันได้ และถ้าชิ้นอาหารเปียกก็ให้ใช้กระดาษทิชชูซับให้แห้งก่อนลงทอด
ถ้าเป็นอาหารที่หมักซอสก็ให้สะเด็ดซอสออกก่อน หรือถ้าชุบแป้งขนมปังควรตบเบาๆ ให้ขนมปังส่วนเศษๆ หลุดออกไปก่อนลงทอด

4. ปริมาณน้ำมันที่เทในช่วงแรกต้องเพียงพอกับการทอด ไม่ใช่ต้องมาเติมระหว่างทอด
เพราะจะทำให้ อุณหภูมิลดลง และมีผลให้ชิ้นอาหารอมน้ำมันทันที

5. น้ำมันที่ใช้ทอดสามารถนำกลับมาใช้อีกได้แต่ถ้าถูกความร้อนแล้วเกิดเป็นควันโขมง
หรือสีเข้มมากๆ หรือกลิ่นหืนมากแล้ว ควรเททิ้งไป

6. การทอดไม่ให้ชิ้นอาหารอมน้ำมัน คือต้องพยายามทอดไฟแรง และไม่ใส่ชิ้นอาหารปริมาณมากเกินไป
เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำมันลดลง อย่างไรก็ตามต้องควบคุมอุณหภูมิให้ดี
เพราะถ้าไฟแรงเกินไปจะทำให้ผิวอาหารด้านนอกสุกเร็ว ในขณะที่ข้างในยังดิบอยู่ อาหารที่นำมาลงทอดต้องมีขนาดชิ้นเท่าๆ กัน

7. อย่าปรุงรสชาติอาหารในขณะที่ทำการทอด ควรจะหมักไว้ก่อน หรือทอดให้เสร็จจึงโรยเครื่องปรุง

8. อย่าใช้ส้อมจิ้มอาหารขณะทอด เพราะความชื้นภายในเนื้ออาหารจะออกมา
ทำให้เนื้อข้างในแข็งกระด้าง และน้ำมันจะแทรกเข้าไปในเนื้ออาหาร

9. เมื่อทอดอาหารเสร็จแล้วให้วางไว้บนกระดาษซับน้ำมัน อย่าวางทับกัน พอซับด้านหนึ่งแล้วก็ให้ซับอีกด้านหนึ่ง

ที่มา เว็บโหระพา




 

Create Date : 16 ธันวาคม 2551
2 comments
Last Update : 16 ธันวาคม 2551 6:46:28 น.
Counter : 13339 Pageviews.

 

ขอบคุณค่า

 

โดย: twins 16 ธันวาคม 2551 10:15:45 น.  

 

คอบคุณอย่างมากครับ

 

โดย: คนขายไก่ทอด IP: 27.55.197.114 8 มิถุนายน 2557 21:50:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.