Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
29 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 

สารพัดวิธีการเก็บรักษาอาหาร



อาหารบางอย่าเก็บไว้ได้ไม่นานจะเสียเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น
อาหารจะเหี่ยว เน่า เสียเร็ว เช่น เนื้อสัตว์ ผักรับประทานใบ หรือผลไม้สุก การเน่าเสียของอาหาร
เนื่องมาจาก เนื้อเยื้อในอาหารนั้นถูกกระทำจากสภาพแวดล้อม เช่น น้ำในผักระเหยออกไป
จึงทำให้ผักเหี่ยว จุลินทรีย์ในอากาศ เป็นตัวทำให้เนื้อสัตว์บูดเน่า การรับประทานอาหารที่เน่าเสีย จะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้อาหารที่ซื้อมาจากตลาด ควรเก็บไว้บนชั้น
ตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง แต่ไม่ว่าจะเก็บอาหารไว้ที่ใดก็ตาม ที่นั้นจะต้องแห้ง ไม่ร้อน และต้องสะอาด
ก่อนจะนำมาทำอาหาร ต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นอยู่ในสภาพดี ไม่เน่าเสีย รับประทานได้
อาหารต่างชนิดกันจะมีวิธีการเก็บรักษาต่างกันดังต่อไปนี้


การเก็บรักษาอาหารประเภทเนื้อสัตว์
ถ้าที่บ้านมีตู้เย็นการซื้อเนื้อสัตว์ทีละมาก ๆ ควรล้างให้สะอาดทั้งก้อน แล้วนำมาหั่นเป็นก้อน
หรือแล่เป็นชิ้นเล็ก ๆ เก็บใส่ถุงพลาสติกหรือห่อด้วยกระดาษไข นำไปใส่กระบะใต้ชั้นทำน้ำแข็ง เวลาจะรับประทานจึงนำออกมาตามปริมาณที่ใช้แต่ถ้าที่บ้านไม่มีตู้เย็นก็ให้แกะเอาเนื้อสัตว์ออก
จากถุงแล้วนำไปแขวนไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือหั้นเป็นชิ้นรวมกันไว้เพื่อประกอบอาหาร
ในมื้อต่อ ๆ ไปได้


การเก็บรักษาอาหารประเภทผักและผลไม้



ผักสด เป็นของสดที่ช้ำ เน่าเสียและเหี่ยวง่าย ถ้าต้องการเก็บผักไว้รับประทานนาน ๆ
ควรปฏิบัติดังนี้การเก็บด้วยวิธีธรรมชาติ ให้เลือกผักส่วนที่เน่าและมีตำหนิทิ้งไปแล้วล้างผักให้สะอาด
สำหรับผักที่มีราก เช่น ผักบุ้งและผักชี แช่รากผักไว้ในน้ำเย็น ส่วนผักที่ไม่มีรากเก็บไว้ในกะละมัง
วางเรียงกันโดยเอาโคนผักแช่น้ำ แล้วใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดพอหมาดคลุมยอดผักไว้ พรมน้ำให้เปียก
เป็นครั้งคราววางไว้ที่ร่มและไม่มีลมโกรกแรงมากนักเก็บไว้ในตู้เย็น ให้เลือกผัก
ส่วนที่เน่าและเป็นโรคทิ้งไป แช่ผักในน้ำสะอาดที่ผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
จากนั้นทิ้งผักให้เสด็จน้ำในกระชอน เก็บผักลงในถุงพลาสติกใสที่เจาะรูให้อากาศถ่ายเทได้ และนำถุงผัก
ไปเก็บไว้ในชั้นล่างสุดของตู้เย็นไม่ควรเก็บผักไว้ในที่เย็นจัด เพราะความเย็นจะทำให้
ผักช้ำและเน่าเสียง่ายผลไม้ ผลไม้ที่รับประทานทั้งเปลือก เช่นชมพู่ พุทรา ฝรั่ง ถ้าเก็บไม่ดีจะเป็นรอย
ขีดข่วนช้ำได้ง่าย และมีการเน่าเสียเกิดขึ้นมาก จึงต้องแยกเก็บต่างหากจากผลไม้ที่ต้องปอกเปลือก
ก่อนรับประทาน เช่นกล้วย ส้ม มะม่วง เป็นต้น การเก็บ ควรเก็บในที่เย็น มีความชื้น
มีการระบายเช่นเดียวกับการเก็บผัก


การเก็บรักษาอาหารประเภทไขมัน
ควรเก็บน้ำมันไว้ในภาชนะทิ่ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการเหม็นหืน น้ำมันที่ใช้แล้วจะเก็บไว้ใช้อีก
ควรกรองเอาเศษอาหารออกก่อนน้ำมันที่มีลักษณะเหนียว เนื่องจากผ่านการใช้หลายครั้งแล้วไม่ควร
นำมาบริโภคเพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เนยเหลวและเนยแข็ง ใส่กล่องพลาสติก
เก็บไว้ในตู้เย็น ในบริเวณที่มีความเย็นปานกลาง ถ้าเย็นจัดเนยจะแข็งเกินไป
ทำให้เสียเวลาในการรอให้เนยอ่อนตัวเมื่อต้องการใช้


การเก็บรักษาอาหารประเภทข้าวและแป้ง
วิธีทำให้ข้าวเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสียและป้องกันไม่ให้มีกลิ่นเหม็น คือ หมั่นนำข้าวที่บรรจุ
อยู่ในภาชนะตากแดด แล้วเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทป้องกันฝุ่นละอองและแมลง แป้งก็เช่นเดียวกับข้าว
หมั่นนำออกผึ่งแดดไล่ความชื้นแล้วเก็บใส่ขวดปิดฝาสนิท


การเก็บรักษาของแห้ง
อาหารแห้ง เช่น ปลาแป้ง ปลาสลิด ปลาเค็ม กุนเชียง หัวผักกาดเค็มควรเก็บไว้ในที่โปร่งเพื่อไม่ให้
้เกิดเชื้อรา หรือถ้ามีที่เก็บในช่องแช่แข็ง จะเก็บได้นานกว่าเก็บด้วยวิธีอื่น แต่ควรใส่ถุงพลาสติก
รัดให้แน่น หรือใส่กล่องมิดชิดอาหารแห้งชนิดอื่น เช่น พริกไทย ลูกผักชี ยี่หร่า พริกแห้ง กุ้งแห้งควรเก็บไว้ในขวดที่แห้ง สะอาด และมีฝาปิดมิดชิด ส่วนหอมและกระเทียม
ให้เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นและอากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าของแห้งชนิดใดเก็บไว้นาน
ก็ควรนำออกมาตากแดด เพื่อไล่ความชื้นบางครั้งบางคราว


การเก็บรักษาอาหารประเภทเครื่องปรุงรส แต่งสี และแต่งกลิ่นอาหาร



เกลือ น้ำตาล และผงชูรส เก็บในภาชนะที่แห้ง และมีฝาปิดสนิท น้ำส้ม น้ำปลา และซ้อสต่าง ๆ
เมื่อใช้แล้วต้องปิดฝาให้สนิท เพื่อป้องกัน การระเหยของกลิ่น และป้องกันแมลงหรือเชื้อจุลินทรีย์
เก็บไว้ในที่แห้ง ยกเว้นซ้อสพริกและซ้อสมะเขือเทศให้เก็บไว้ในตู้เย็นหรือบรรจุในขวดทึบแสง เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนสีซึ่งจะดูไม่น่ารับประทานสีผสมอาหารและสารให้กลิ่นอาหาร
ถ้าเป็นสีผสมอาหารที่เป็นซองให้เก็บไว้ในขวดที่แห้ง สะอาด และมีฝาปิดสนิท ถ้าเป็นสีผสมอาหารชนิดน้ำ
ให้เก็บไว้ในที่แห้งและทึบแสง ส่วนสารให้กลิ่นอาหารก็เก็บไว้ในที่แห้งและทึบแสงหรือในตู้เย็นก็ได้


การเก็บรักษาอาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋องทุกชนิด ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ร้อน ไม่ถูกแสงแดด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
และอยู่ห่างไกลจากสารเคมีจำพวกกรดและด่างไม่ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้นานเป็นปีหรือนานกว่ากำหนด
วันหมดอายุของอาหารกระป๋องนั้น นอกจากนี้ ถ้าพบว่าอาหารกระป๋องที่เก็บไว้มีรอยรั่ว แตก มีสนิมเกาะ
มีน้ำไหลเยิ้มออกมา มีรอยบุ๋มหรือกระป๋องบวม แสดงว่าอาหารข้างในกระป๋อง อาจเน่าเสีย ควรนำไปทิ้ง
สำหรับอาหารกระป๋องที่เปิดรับประทานแล้ว ถ้ารับประทานไม่หมดให้นำอาหารที่เหลือเทใส่ภาชนะอื่น แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นการถนอมอาหารจัดเป็นวิธีหนึ่งของการใช้อาหารที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด
ช่วยลดการทิ้งอาหารจากที่เหลือรับประทาน ทำให้อาหารดูสดใหม่ คงสภาพเป็นอาหารชนิดใหม่
ที่ยังสามารถรับประทานต่อไปได้ หรือนำไปจำหน่ายเพื่อให้เกิดการงอกเงยของกำไรได้อีกด้วย

ที่มา //yum111pooh.212cafe.com/archive/2008-09-09/172644


เก็บรักษาอาหารอย่างไรให้ปลอดโรค

คุณทราบหรือไม่ว่า การเก็บรักษาอาหารไม่ถูกวิธี
จะทำให้แบคทีเรียเพียงตัวเดียวขยายจำนวนได้ถึง 2,097,152 ตัวภายใน 7 ชั่วโมง
ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
นอกจากการเลือกซื้อและกินอาหารให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว การเก็บรักษาคุณภาพของอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เพราะจะช่วยลดการเจ็บป่วย เช่น ท้องเสีย ไวรัสลงกระเพาะ อาหารเป็นพิษ
ซึ่งส่วนใหญ่คุณแม่บ้านพ่อบ้านมักจะเลือกอุปกรณ์พิเศษอย่างตู้เย็น
เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยเก็บรักษาอาหาร
แต่ความเย็นของตู้เย็นจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียได้
ก็ต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธี ตามวิธีดังต่อไปนี้

• ตั้งอุณหภูมิตู้เย็นต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส (40 องศาฟาเรนไฮต์)
และช่องแข็งต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส (0 องศาฟาเรนไฮต์)
ควรมีเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในตู้เย็นด้วยเพื่อตรวจอุณหภูมิ

• ตรวจดูวันที่บนห่ออาหารที่ซื้อมา เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลาทะเล ถ้าแช่แข็งจะเก็บได้นานกว่าวันหมดอายุที่ระบุไว้ แต่ถ้าเปิดห่อเมื่อไรควรใช้ให้หมดคราวเดียวหรือเก็บแช่แข็งส่วนที่เหลือทันที กรณีเนื้อสดที่ซื้อไม่ได้บรรจุห่อและระบุวันที่ ควรแบ่งเป็นห่อเล็กตามปริมาณที่จะใช้แต่ละครั้งและเขียนวันที่ๆ ซื้อก่อนเก็บเข้าตู้เย็น

• อย่าอัดอาหารไว้ในตู้เย็นจนแน่นเกินไป ควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้ความเย็นได้หมุนเวียน

• อาหารที่เสียง่าย อาหารปรุงแล้ว หรืออาหารเหลือ ควรเก็บในตู้เย็นทันทีก่อนที่อุณหภูมิอาหารจะลดลงเท่ากับอุณหภูมิห้องเพื่อป้องกันแบคทีเรียแบ่งตัว อาหารที่เหลือมากควรแบ่งใส่ภาชนะก้นตื้นๆ ก่อนเก็บเข้าตู้เย็น
จะช่วยให้อาหารเย็นเร็วขึ้น และหากเก็บไว้นานเกิน 3-4 วันไม่ควรบริโภค

• เก็บอาหารดิบและสุกแยกกัน ไม่เก็บเนื้อสุกร่วมกับผักสลัดเพราะแบคทีเรียในผักอาจปนเปื้อนเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ที่หั่นแล้วควรเก็บเข้าตู้เย็นภายใน 2 ชั่วโมง มิฉะนั้นเชื้อโรคจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ทราบเช่นนี้แล้วลองกลับไปสำรวจตู้เย็นที่บ้านของคุณว่ามีการเก็บรักษาอาหารอย่างถูกวิธีแล้วหรือยัง เพราะแทนที่ตู้เย็นจะเป็นตัวช่วยจะกลับกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคก่อนเข้าสู่ร่างกาย
และอาจจะทำให้เราต้องตายผ่อนส่งอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นหากคุณต้องการเป็นผู้ที่มีอายุยืนปลอดโรค
ก็ต้องใส่ใจรายละเอียดในเรื่องของอาหารที่รับประทานเข้าไปด้วย

ข้อมูลจาก :นิตยสาร Health & Cuisine




การเก็บรักษาผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์

เคล็ดลับ เรื่องปลา ปลา 1 : ล้างปลา เก็บปลา อย่างมือโปร

เวลาซื้อปลามาแล้ว ถ้ายังไม่ได้ทำความสะอาด คุณแม่บ้าน อย่าเพิ่งใส่กล่อง โยนเข้าตู้เย็นนะคะ
วิธีที่ถูกต้อง เราจะต้องขอดเกล็ด (ในกรณีที่ปลามีเกล็ด) ควักไส้ และล้างทำความสะอาด ก่อนค่ะ
จากนั้นจึงเก็บทั้งตัว แต่ถ้าจะใช้แต่เนื้อ ก็ให้แล่เป็นชิ้นๆ
ถ้าจะใช้ทำอาหาร ในวันนั้นก็แช่เย็นธรรมดา แต่ถ้าจะเก็บไว้ทานวันอื่นๆ ก็ให้แช่แข็งไปเลยค่ะ
เวลาล้างปลา ให้ใช้น้ำเกลือล้างจะช่วยให้ปลามีรสดีขึ้น ยิ่งถ้าปลามีเมือกมาก
การใช้เกลือป่นทามือและ ทาที่ตัวปลา จะทำให้จับถนัดมือขึ้นค่ะ
เวลาควักไส้ปลาตัวกลม เช่ ปลาดุก ปลาช่อน ให้ใช้มีดปลายแหลม กรีดที่ท้องปลา
แต่ต้องระวังไม่ให้ดีแตก เพราะจะทำให้เนื้อปลาขม ได้นะคะ


เก็บใบแมงลัก ใบโหระพา ไว้ใช้ได้หลายๆวัน
ใบผักอย่างใบแมงลักหรือใบโหระพา เป็นผักที่ช้ำและเน่าเสียได้ง่าย ถ้าบังเอิญคุณซื้อมามากจนเกินไป
แล้วอยากจะเก็บไว้ให้ใช้ได้หลายๆวัน ให้เด็ดใบออกจากก้าน ผึ่งไว้พอแห้ง
(ไม่ต้องล้างน้ำนะคะ แต่ก็อย่าเผลอผึ่งไว้ซะจนแห้งกรอบล่ะ) นำใบที่เด็ดแล้วใส่ถุงพลาสติก
มัดปากถุงให้แน่น ให้มีลมอยู่ในถุงบ้าง จากนั้นนำไปแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา ก็จะเก็บไว้ใช้ได้หลายวันค่ะ



ทำอย่างไรผักแช่เย็นจะดูสดใหม่
การเก็บผักไว้ในตู้เย็น อาจทำให้ผักดูไม่สด ไม่น่ารับประทาน วิธีง่ายๆ ที่จะคืนความสดให้กับผัก
ทำได้โดยการเตรียมภาชนะใส่น้ำให้มีขนาดพอเหมาะที่จะแช่ผัก จากนั้นตัดก้านผักออกบางส่วน
โดยต้องตัดใต้ผิวน้ำทั้งนี้เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำ
จากนั้นแช่ผักทิ้งไว้ในน้ำเย็นสักพัก ผักจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง น่ารับประทาน


เก็บกุ้งแห้งไว้ให้ทานได้นานๆ
กุ้งแห้ง แม้ชื่อจะดูแห้งๆ แต่เชื่อว่าหลายๆคนคงชอบรับประทาน ด้วยรสชาติที่เอร็ดอร่อยของมันนั่นเอง
ด้วยราคาที่ข่อนข้างสูง เมื่อซื้อมาแล้ว เราก็ย่อมอยากเก็บไว้ให้รับประทานได้นานๆเป็นธรรมดา
วิธีการก็ง่ายมาก ถ้ากุ้งแห้งที่ซื้อมายังดูชื้นๆอยู่ ให้นำไปตากแดดอีกสักรอบให้แห้งจริงๆ
จากนั้นก็นำใส่ขวดเก็บไว้ในตู้เย็น เท่านี้กุ้งแห้งก็จะไม่เหม็นและไม่มีราขึ้นแน่นอนค่ะ


การเก็บเนื้อหมู
การเก็บเนื้อหมูไว้ให้ใช้ได้นาน ควรเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง แต่เนื้อหมูแข็งๆ ที่เป็นก้อนๆ นั้น
ตัดแบ่งได้ยากเหลือเกิน หรือไม่เช่นนั้น ก็ต้องรอกันนานกว่าจะหายแข็ง หรือต้องนำไปแช่น้ำให้หายแข็งเร็วขึ้น
สูญเสียคุณค่าทางอาหารไปอีก ดังนั้นเมื่อซื้อเนื้อหมูมาแล้ว ควรล้างให้สะอาด ตัดแบ่งเนื้อหมูเป็นชิ้นย่อยๆ ไว้
ตามประเภทอาหารที่จะปรุง หรือตามปริมาณต่อครั้งที่จะใช้
เช่นแบ่งเป็นชิ้นพอสับทำแกงจืดรับประทาน 1 ครั้ง หรือทำลาบหมูรับประทาน 1 ครั้ง
จากนั้นนำใส่ในถุงพลาสติก แยกเป็นชิ้นๆจึงนำเข้าแช่ในตู้เย็น เวลาจะใช้ก็นำออกมาทิ้งให้หายแข็งตัว
เพียงเท่าจำนวนที่จะใช้ หรือจะแช่น้ำก็แช่ได้ทั้งที่ยังใส่อยู่ในถุงพลาสติก สะดวกง่ายดายจริงๆ




 

Create Date : 29 พฤศจิกายน 2551
0 comments
Last Update : 1 ธันวาคม 2551 1:45:03 น.
Counter : 40098 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.