*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

An Introduction to American Administrative Law

American Administrative Law has been long developed from common law heritage of England. In broad sense, administrative law might be defined as legal control of government. More specifically, it consitsts of the legal principles that defines the authority and structure of administrative agencies, specifies the procedural formalities that agencies use, detemines the validity of administrative decisions and outlines the role of reviewing courts, and other organs of goverment in their relations to administrative agencies.




Those principles include three basic bodies of law: (1) constitutional law; (2) statutory law which includes the Administrative Procedure Act (APA); (3) a form of federal common law, embodied in judicial decisions.

In the democracy system, the citizens elect their representatives to protect their general will, so-called, public interest. They act as legislator who enact the law to govern the citizen's activities in the day-to-day life. However, bureaucracy is the principal mechanic to run the system, so-called administrative agencies. Legislative function will delegate their powers to administrative agencies to enact the regulation to control, support, or prevent some people's activities.

There are several arguments if the regulation should be set up. Most lawyers consider that the regulatory system is necessary in the democracy administration although the administrative agencies are not the direct representatives of the citizen. The economists consider the regulations are indispensable but only when the market has completely failed for the citizens to bargain one another. In short, when the market defects fall within one of following categories, the administrative agencies can justify the regulation formation:

(1) The need to control monopoly power. Under this situation, regulation is required to achieve the allocation of resource efficiently, that is, the regulation is indispensable to achieve the fairness of income distribution;

(2) The need to compensate for inadequate information. Basically, the people will be considered as the "risk optimists;"they tend to believe that they have below-average susceptibility to risks because they lack the complete information. The regulation will play the role to compensate for inadequate information, or to lower the costs ot consumers or workes of obtaining adequate information.

For this reason, the government action may be justified when (1) suppliers mislead consumers whose available legal remedies such as private litigation are expensive; (2) consumers cannot readily evaluate the information available such as the potential effectiveness of a drug; (3) the market on the supply side fails to furnish the information needed or demanded;

(3) Collective action problem. The clearest cases involve public or collective goods, which are characterized by two features: (1) nonrivalous consumption (consumption by one person does not create more scarcity for other consumptions); (2) nonexcludability (every can access public goods). The government can set the standard for the public goods.

(4) The need to correct for "externalities" or for the existence of "transactions costs" that make bargain difficulty and costly. If the transactions costs is not high, the government should not intervene in such activities.

Government regulaltion might be able to justify some other reasons. The government might need to control the windfall profit of some commodity which the price might increase suddenly.

Sometimes, the government might need to control the excessive competition that lead the small rivals of big companies defunct from the business, and finally the price will go up substantially. The regulation to control the "unfair competition" might be easily issued. Another reason, the government might need to alleviate scarcity especially an item in short supply. Finally, the regulation might need to be enacted to control the administrative agency problems because the agencies might distort the market mechanism by themselves.

However, those reasons are not based on the economic basis because those are justified as a means to enhance the efficiency and reduce the social cost. In stead, those are the method to redistribute the resources from one group to another. As a result, the regulation will cause some people better off while making other people worse off.

There still be numerous reasons to justify the administrative regulation. For example, the regulation can be used as the plan to develop the facility, industries, etc. Sometimes, some regulation might be issued to facilitate or assist the poor under the paternalism idea.

History of American Administrative Law

(1) English Antecedents.


The court had developed the writ of mandamus, writ of prohibition, or the writ to certioria as te mean to control the administraive agency decision after the court built up the doctrines of official privilege based on the exercise of discretionary authority. During the sixteenth and seventeenth centuries, in England, the Tudor and Stuart monarchs had developed powerful administrative tribunals that were used to control the subordinate officials in their relation to the citizenry, as the present French Conseil d'Etat. However, it was cut short by the Glorious Revolution of 1688.

(2) The American Experience to 1875.

The writ and the Chancellor's injunctive power were used as the mechanisms for the control of administrive officials around the first 100 years of the states. The main idea to administrate the country shifted from the state rule, which state had responsibility to allocate the resource, to the marketplace mechanism. The state had very limited power to intrude the private's activities.

(3) 1875-1930: The Rise of Administrative Regulation and the Traditional Model of Administrative Law.

The state attempted to set up the regulatory agency such as Interstate Commerce Commission (ICC) to champion the fairness of the small business. In this period, the regulated firms used the court to block the regulation. Then, the state enacted the statutory provision to supplant the court decision and provided for a trial-type hearing before the regulatory agency to develop a factual record that would serve as the besis for agency action. Thereafter, whenever the statury is not clear about the hearing process, court applied the same a trial-type hearing as the due process requirement. Under this traditional model of administrative law, there are four essential elements as following:

(3.1) The legislature must authorize administrative sactions on priviate persons through rules or standards that limit agency discretion;
(3.2) The procedures used by the agency must tend to ensure agency compliance with legislative directives;
(3.3) Judicial review must be available to ensure that agencies use accurate and impartial decisionmsking procedure and comply with legislative directives;
(3.4) Agency processes must facilitate the exercise of judicial review.


(4) The New Deal and Beyond: 1932-1945.

Franklin D. Roosevelt's New Deal was a watershed for the development of American administrative law. During the condition of the Great Depression, the common law was considered both too much and too little in different situations. It was too much because it protected the property and liberty from governmental revision; it is too little because it did not included basic rights to individual "security." The New Deal sought the broad range of social and economi gaurantees. During this period, two movement occured that is: (1) president posessed the broad power of lawmaking and adjudication; (2) the size and independent regulatory commissions had been founded substantially. However, most of New Deal Plans relating to the economic area were struck down as unconstitutional by the supreme court. Court-packing plan to expand the number of supreme court had been proposed by the president; this fact caused the swing vote and acept the deal as constitutional.

(5) 1945-1962: The Administrative Procedure Act (APA) and the Maturation of the Traditional Model of Administrative Law.

In 1940, the congress proposed the Walter-Logan bill, which would have imposed imposed standardized procedural requirements on federal agencies and mandated a broad availability and scope of judicial review of agency decisions. The president voted against this bill, but he actually in 1939 set up the Committed on Administrative Procedure, which finally in 1946 the Federal Administrative Procedure Act had been adopted in U.S.C. section 551 et seq. Some outlines about APA can be deliniated as following:


Section 551 definitions;

Section 552 requirements for publication of certain rules and regulations, and requires agencies to make other important decision and documents available to the public on request;


Section 553-558 the procedural formalities that agencies must observe in decisionmaking;

for example, section 553 will deal with the rule-making process which requires the involved interest persons can participate in the process and everything must be concluded in the record;

section 556-557 is the modifying of trial-type hearing procedures in rulemaking. In addition, the independent administrative judge and the procecutorial official must be separated under section 554, and 556-557.


Section 701-706 deal with the timing, form, and scope of judicial review.


(6) 1962-1980: The Rights Revolution, Critique of Administrative Process and Administrative Substance, and "Public Interest" Administrative Law.

Many scholars considered that the APA was too stiff or rigid. Under the civil right movent in 1960s, there were requirment of fairness for some group of American increased. Many independent regulatory commissions such as Equal Employment Opportunity Commission (EEOC), have been set up. Congress enacted the statutory deadline or hammer that required the administrative to do in timely limit. The court deal with "welfare" which basically was not the property rights as the new property right and required the trial-type hearing or other procedural formalitie and thorough judicial review.

(7) 1980 to now: Presidential Administration and the Cost-Benefit State?

Since the Reagan administration, the economic analysis about the unit cost for the regulatory formation was applied. Administrative agency must prove that the regulation was complete enought to pass the requirement of cost-benefit balancing test and the agency selected the least-cost solutions from several choices. Since 1980, three developments have been of special importance that is the government has shown an increasing interest in engaging in "Quantitative analysis;"in assessing "Tradeoffs;" and in "Smarter tools." Particularly, the government replaced the command and control regulation with the information disclosure and economic incentives or deregulations.

Another factor that facilitate the administrative law in the United Stated is the United States Supreme Court. The Court has played the significant role to develop not only the constitutional issue, but build up the administrative Law as well. First of all, the Court ruled that the agencies have the conderable freedom from judicial review when they decide not to take certain kinds of action. Secondly, the court limits the extent to which the courts can impose new procedural requirements on agencies.

Lastly, the Court requires the lower courts to pay particular attention to agency interpretations of statutes. For instance, if the statutory provisions are unclear, the court will look into the Congress' intention and other background, and reserve the right to interpret the magic words in the statute.

In contrast, if the terms in the statute are defined and clear, the court will not intervene an agency interpretation unless it is obviously unreasonable.




 

Create Date : 24 มกราคม 2549    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:35:41 น.
Counter : 729 Pageviews.  

สภา Congress สหรัฐฯ และ Cyberspace crime

หัวข้อเรื่องวันนี้ (๒๐ มกราคม ๔๙) ความจริง ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันมากนัก เพียงแต่อยากจะบันทึกเรื่องที่ฟัง อ่าน และพบมา ไว้เท่านั้นครับ

เรื่องแรก คือ เมื่อคืนก่อน (๑๙ มกราคม ๔๙) ผมไม่ได้ฝันบ้า ๆ บอ ๆ อีกหรอกครับ .... (เขาว่ากันว่า คนเราฝันทุกคืน ๆ ละหลายเรื่อง แต่เราจำไม่ได้) แต่ผมดูรายการโทรทัศน์ C-SPAN2 <ท่านที่สนใจ ลองเข้าชมที่เวปไซต์ c-span.org ได้ครับ> ซึ่งเป็นรายการที่ถ่ายทอดการดำเนินการของสมาชิกรัฐสภาสหรัฐ หรือ สภา Congress จึงมีเรื่องมาเขียนเล่าให้ฟังกัน

สำหรับรายการดังกล่าวนี้ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา ที่ศึกษาเกี่ยวกับการปกป้องเด็กและเยาวชน ได้เชิญ ผู้แทนสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง หรือ F.B.I. และ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด (Attorney General) รวมทั้งผู้แทนของบริษัทเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต เช่น บริษัทอเมริกันออนไลน์ (A.O.L.) ไปร่วมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เรื่องที่ผมดู เป็นเรื่อง การดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อการป้องกันเด็กและเยาวชน จากการถูกแสวงประโยชน์ทางเพศ ไม่ว่าเป็นเรื่อง การเผยเผยแพร่ภาพโป๊ของเด็ก หรือสื่ออื่นๆ ที่มีกิจกรรมทางเพศมาเกี่ยวข้องกับเด็ก ทั้งบนโลกอินเตอร์เน็ต หนังสือปลุกใจเสือป่า ภาพ หรือ สิ่งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

ตามกฎหมายสหรัฐฯ การเผยแพร่ภาพเด็ก ในทำนองจะสื่อไปในทางเพศ เป็นเรื่องต้องห้าม และมีความผิดร้ายแรง การต้องห้ามนี้ รวมไปถึง ภาพการ์ตูนที่เป็นเด็กด้วย ผู้กระทำการผลิต ตัดต่อ เผยแพร่ ภาพดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นภาพเด็กจริง ๆ หรือ ภาพโป๊ของเด็กที่เป็นภาพการ์ตูน หรือภาพจินตนาการ รวมไปถึงผู้ช่วยเหลือ และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่มีส่วนเผยแพร่สิ่งลามกดังกล่าว ล้วนมีความผิดตามกฎหมายอย่างร้ายแรงทั้งสิ้น

หลังจากมีการรายงานผลการดำเนินการโดยผู้แทนฝ่ายรัฐฯ แล้ว คณะกรรมาธิการ เพื่อเด็กและเยาวชนของสหรัฐฯ ได้ไต่ถาม ความต้องการของอัยการ (ซึ่งในสหรัฐ อัยการสูงสุดสหรัฐฯ เป็นฝ่ายการเมือง ต่างจากอัยการสูงสุดในไทย ที่เป็นข้าราชการประจำ) และเจ้าหน้าที่ F.B.I. ว่า มีความต้องการให้รัฐสภา ออกกฎหมายใดเป็นการเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินการหรือไม่ มีอุปสรรคใด ในการดำเนินการตามกฎหมายหรือไม่ ฯลฯ

กระบวนการออกกฎหมายของสหรัฐฯ นี้ นับว่าแตกต่างจากประเทศไทยอย่างมาก เพราะรัฐสภาของไทย โดยคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าปัจจุบัน มีจำนวนเท่าใด (น่าจะเกือบ ๓๐ คณะ) แทบจะไม่เคยแสดงบทบาทใด ๆ ในการบัญญัติกฎหมาย เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นฝ่ายบังคับใช้กฎหมาย ได้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเลย ประเทศไทย จะรอให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ เสนอกฎหมายเข้าไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา จากนั้น คณะรัฐมนตรี อาจจะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอมา หลังจากตัวแทนจากหน่วยงานที่เสนอกฎหมาย ก็ไปชี้แจงต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่ากฎหมายมีความจำเป็นอย่างไร ฯลฯ กว่าจะผ่านออกมาได้ ก็ใช้เวลาค่อนข้างนานมาก ๆ บางทีหมดวาระไปก่อน หากรัฐบาลใหม่เข้ามา แล้วไม่เล่นด้วยละก็ ผลก็คือ ร่างกฎหมายเก่านั้นก็ตกไป แม้จะผ่านการรับรองของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วนกระบวนความตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

ตรงกันข้ามกับรัฐสภา หรือ หน่วยงานระดับมลรัฐ ของสหรัฐฯ มาก สภา congress หรือ สภาของมลรัฐ จะมีหน่วยงานผู้ชำนาญการในการร่างกฎหมาย และตอบสนองความต้องการของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอให้หน่วยงานใด เสนอมาแบบไทย ๆ ซึ่งหน่วยงานราชการไทย ส่วนใหญ่เอง ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนักกฎหมายเท่าไหร่ เพราะเป็นงานที่ไม่มีหน้าไม่มีตา เช่นหน่วยงานตำรวจ งานกฎหมาย เสมือนงานปิดทองหลังพระ ไม่สร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นแบบงานป้องกันปราบปราม งานสืบสวน จับกุมร้าย นายตำรวจใหญ่บางท่าน ถึงกับขนาดกล่าวว่า ไม่ต้องสนใจงานหนังสือ หรืองานกฎหมาย ใส่ใจงานจับผู้ร้าย รายสำคัญ ๆ ก็พอ ....

ผมเห็นแตกต่างอย่างมาก เพราะ หากจับได้ แต่ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย หลักฐานไม่เพียงพอที่จะลงโทษผู้ร้ายได้แล้ว การลงทุน ติดตามจับกุมผู้ร้าย ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่รัฐบาลไทยในอดีตไม่เคยตั้งงบประมาณแผ่นดินให้ตำรวจไปติดตามจับกุมผู้ร้าย ที่อาจจะหลบหนี ไปต่างจังหวัด ซ่อนตัว อยู่ตามที่ต่าง ๆ แรมเดือน แรมปี ... ตำรวจที่มุ่งมั่น ก็อาจจะลงทุน ใช้เงินส่วนตัว ติดตามจนสามารถจับกุมผู้ร้ายนั้นได้ แต่การลงทุนนั้น จะสูญเปล่าทันที หากสุดท้าย ไม่มีพยานหลักฐานในการลงโทษจำเลยนั้น

ผมฝันของผมว่า อยากเห็นรัฐสภาไทย มีคุณภาพ มีความกระตือรือร้นในการออกกฎหมายดี ๆ เพื่อบ้านเมือง กฎหมายบางเรื่อง เช่น ภาษีมรดก หรือ ภาษีบ้านเรือนของคนรวย ๆ ที่มีเนื้อที่ดินเยอะ ๆ เช่นว่า ใครมีที่ดินเยอะ ก็ควรจะเสียภาษีเยอะ โดยเฉพาะคนที่มีที่ดิน เพื่อเก็งกำไร ไม่ได้ทำประโยชน์ให้เกิดความงอกงามทางเศรษฐกิจใด ๆ ก็ควรจะเสียภาษีเยอะ คณะกรรมาธิการ สมาชิกรัฐสภา และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องของไทย ก็ควรเร่งดำเนินการให้เป็นจริงเป็นจังให้ได้ ไม่อยากเห็นการตั้งคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ของรัฐสภาไทย ทำเพื่อเป็นเกียรติ หรือ จับผิดฝ่ายบริหารเท่านั้น

ขอย้อนกลับมาเรื่องที่สอง ตามหัวเรื่อง คือเรื่อง Cyberspace crime หรือ อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในโลกของอินเตอร์เน็ต หากจะพูดกันจริง ๆ แล้ว กฎหมายที่ครอบคลุมในประเด็นนี้ ในสหรัฐเอง ก็เพิ่งจะมีการศึกษาอย่างจริงจัง ในช่วงปี ค.ศ.๑๙๙๐ ที่ผ่านมานี่เอง และหลายเรื่อง ก็ยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินไว้เป็นคดีบรรทัดฐาน และไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย หากคดีประเภทนี้เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ก็คงจะต้องสู้กันมันส์หยดแน่ ๆ ระหว่างผู้ถูกฟ้องกับผู้ฟ้องคดี

ตัวอย่างของการกระทำบนโลกอินเตอร์เน็ต เช่น สมมุติว่าเราเล่นเกมส์ออนไลน์ เราเล่นเก่ง สามารถสะสมอาวุธได้อย่างมากมาย ในขณะที่คนอื่นเล่นไม่เก่ง แต่อยากได้อาวุธจากเรา อาวุธ ในเกมส์ออนไลน์ ก็เป็นเพียงข้อมูลที่มีการบันทึกโดยระบบคอมพิวเตอร์ ปัญหาคือ วันดีคืนดี มีมือดี เก่งกาจทางคอมพิวเตอร์ เข้ามาขโมยอาวุธของเราไป โดยไม่ยอมซื้อหาจากเราโดยดี การกระทำดังกล่าวจะมีผิดทางอาญาหรือไม่ หรือ อย่างน้อย เราจะเรียกร้องในทางแพ่งได้หรือไม่ อันนี้ คือ ปัญหาที่น่าสนใจสำหรับสังคมของเรา ที่นับวันอินเตอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของเรามากขึ้นทุกวัน

เรื่องในทำนองที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เคยเกิดขึ้นในประเทศจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๕ นาย Qui Chengwei ได้จ้วงแทงนาย Zhu Caoyuan ที่หน้าอก เพราะนาย Zhu ได้ขอยืมอาวุธเสมือนจริงที่เล่นได้จากเกมส์ออนไลน์ จากนาย Qui โดยอ้างว่า จะนำไปใช้ในการต่อสู้ในเกมส์นั้น แต่ปรากฎว่า นาย Zhu ได้แอบเอาอาวุธนั้นไปขาย ได้เงินมาถึง ๗,๐๐๐ หยวน หรือ ประมาณ ๔๗๓ ปอนด์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย Qui แถมยังไม่ยอมแบ่งให้นาย Qui อีกด้วย (มันน่าเจ็บใจไหมละครับ)

เมื่อนาย Qui ล่วงรู้ จึงได้ไปแจ้งความกับตำรวจในข้อหา "ยักยอก" โดยนาย Zhu ได้ครอบครองข้อมูลที่เสมือนเป็นอาวุธดาบ (virtual sword) ของตน แล้วเบียดบังเป็นของตนเอง พร้อมนำไปขาย โดยที่ไม่ได้รับอนุมัติจากนาย Qui เลย ตำรวจจีน ท่านไม่รับแจ้งความ โดยบอกว่า ยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำดังกล่าวของนาย Zhu เป็นความผิดทางอาญา เป็นเหตุให้นาย Qui เดือดดาลเป็นยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนาย Zhu ที่แต่แรกเริ่มเดิมที ยังทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อนด้วยแล้ว นาย Qui จึงเลิกพูดถึงดาบเสมือนจริง (virtual sword) ที่ตนเอง นั่งหลังขดหลังแข็งต่อสู้จนได้มาอีกต่อไปแล้ว แต่นาย Qui คิดถึงแต่ดาบจริง ๆ แล้วเขาก็เอาดาบจริง ๆ ฝากไว้บนอกของนาย Zhu เข้าให้ ปัจจุบัน นาย Qui จึงถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตเพราะการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แต่ให้ชะลอการประหารชีวิตไปก่อน (หากท่านผู้ใดสนใจจะอ่านรายละเอียดโปรด คลิ๊กที่นี่ ได้เลยครับ)

ในทางตรงกันข้าม เรื่องทำนองนี้ หากเกิดขึ้นในเกาหลีใต้แล้ว ย่อมไม่รอดเป็นแน่แท้ ตำรวจเกาหลี ได้ตั้งหน่วยสืบสวนสอบสวนคดีทาง Technology ลักษณะนี้โดยตรง มาหลายปีแล้ว เช่น ในปี ค.ศ. ๒๐๐๓ มีการรายงานคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดในโลกของอินเตอร์เน็ตนี้ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ คดี ในรอบ ๖ เดือน โดยครึ่งหนึ่ง เป็นคดีที่เกิดขึ้นและเกี่ยวกับเกมส์ออนไลน์ เนื่องจากเกาหลีใต้ตระหนักว่า การซื้อขายสิ่งของต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง โดยเปรียบเทียบกับเงินในบัญชีของเราที่ฝากธนาคารไว้ แท้จริง ก็คือ ข้อมูลที่บันทึกไว้เท่านั้น หาใช่ตัวเงินจริง ๆ ที่ธนาคารได้รวบรวมไว้เสียที่ไหนเล่า ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลบนเกมส์ออนไลน์ ก็ควรได้รับการคุ้มครองด้วย (หากผู้ใดสนใจ โปรด คลิ๊กที่นี่ ได้เลยครับ)

หากเราจะพิจารณาปัญหาในเรื่องนี้ คงจะต้องมองกลับไปถึงปัญหาพื้นฐานในทางกฎหมาย ที่จะต้องพิจารณาก่อนว่าข้อมูลเหล่านี้ เป็นทรัพย์ หรือเป็นเพียงแค่ข้อมูลในโลกไซเบอร์ ที่ไม่ใช่ "ทรัพย์" ตามกฎหมาย หากเป็น "ทรัพย์" ตามนิยามกฎหมายแล้ว ก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอาญา หากมีผู้ใดมาล่วงละเมิดสิทธิของเจ้าของทรัพย์นั้น แต่หากมองเป็นเพียงข้อมูลที่บันทึกในโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอาญา

ในทางกฎหมายนั้น "ทรัพย์" จะต้องมีรูปร่าง จับต้อง และถือเอาได้ อาวุธเสมือนจริง (Virtual sword) นั้น ไม่อาจจับต้องได้ ไม่มีรูปร่าง จึงไม่เข้านิยามของคำว่า "ทรัพย์" ที่ได้กล่าวไปแล้ว ครั้นจะเหลียวมองไปยังกฎหมายอื่น ๆ โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลที่เป็นอาวุธเสมือนจริง (Virtual sword) หรือ ทรัพย์สินเสมือนจริงในโลกไซเบอร์ ก็ไม่อยู่ขอบข่ายกฎหมายดังกล่าวอีก จึงไม่ได้รับการคุ้มครองใด ๆ ตามกฎหมายอาญา

ไม่ทราบว่าเมืองไทยเรา ได้คิดไปถึงไหนแล้ว โดยเฉพาะองค์กร อย่างเนคเทค ที่มีหน้าที่โดยตรงในการเสนอกฎหมายนี้ ได้เสนอกฎหมายที่ครอบคลุมประเด็นดังกล่าวไปครบถ้วนหรือไม่ เพราะไม่อยากให้ประชาชนรู้สึกว่า พึ่งพากฎหมายไม่ได้ แล้วหันไปช่วยตัวเอง โดยใช้หลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน ดีกว่า ....

เอาละครับ วันนี้เอาเรื่องวุ่น ๆ มาถ่ายทอดให้ฟังเพียงเท่านี้ หากใครมีเวลาว่าง ขอเสนอให้อ่านบทความเรื่อง A Rape in Cyberspace ได้ที่นี่ครับ .... คลิ๊กเลยครับ




ปล.๑ ความเห็นผมนะครับ ... ผมว่าบทความเรื่อง A Rape in Cyberspace นี้ ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ยากมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ครับ (ขอสารภาพ)

ปล.๒ ขอถามความเห็นเพื่อน ๆ ว่า ถ้าเราสมัครใจเล่นเกมส์ออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมเกมส์ ไล่ติดตาม จะข่มขืนเรา โดยใช้วาจา เสียง ฯลฯ ที่น่ากลัว จนในที่สุด ข่มขืนเราได้ในโลกอินเตอร์เน็ต การกระทำนั้น ควรจะมีการบัญญัติให้เป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่ ครับ (ข้อเท็จจริง มาจากบทความเรื่อง A Rape in Cyberspace นั่นแหละครับ)

ปล. ๓ เกมส์ออนไลน์ เป็นเพียงตัวอย่างในปัญหาทางกฎหมายของโลกอินเตอร์เน็ต แต่จริง ๆ ยังมีปัญหาอื่น ๆ มากมาย เช่น การทำสัญญาค้าขายโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การฉ้อโกงทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เป็นต้นครับ ปัญหานี้ ในเมืองไทยเรา อาจจะดูยังไม่ยิ่งใหญ่นัก เพราะ เมืองไทยเรายังมีกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตในลักษณะดังกล่าวน้อย แต่ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญครับ




 

Create Date : 21 มกราคม 2549    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:35:22 น.
Counter : 786 Pageviews.  

Parks: หญิง African-American ธรรมดา แต่ยิ่งใหญ่

Parks honored for her defiance 50 years ago. The 50th anniversary of the Montgomery bus boycott




ข่าวดังกล่าวปรากฎในเวปไซต์ของ สำนักข่าว CNN ซึ่งเขามีคำขวัญของเขาว่าเป็นข่าวที่มีความน่าเชื่อถือที่สุดในสหรัฐ โดยโพสต์ไว้ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ค.ศ. ๒๐๐๕ นี้เอง

ที่จริงผมตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับประวัติและการต่อสู้ของ Rosa Parks มานานแล้ว แต่มีเหตุที่ทำให้ต้องเลื่อนเรื่อยมา มาวันนี้ (๑ ธ.ค.๒๕๔๘) ในขณะที่นั่งรอติดต่อกับบริษัท Dell ให้มาซ่อมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อกับเขามาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งบัดนี้ ที่ปิดล๊อกหน้าจอของเครื่องโน้ตบุ้ค ได้แตกลง จึงพยายามติดต่อกับเขามา ๓ เดือนแล้ว แต่ก็คลาดกันไปทุกที โดยเขาอ้างว่าติดต่อผมไม่ได้ มาแล้วไม่เจอ เลยไม่ได้ซ่อมกันสักที ผมจึงเริ่มตะหนักว่า การไม่มีโทรศัพท์มือถือนี่มันยุ่งยากจริงหนอ แต่มีก็แพง เพราะเดือนหนึ่งก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ ๔๐ เหรียญ ที่ผมไม่มีโทรศัพท์ เพราะผมรู้สึกว่า ผมถูก Double charges ที่นี่ ไม่ว่าจะรับสายหรือโทรศัพท์ออกไป ก็ล้วนแต่เสียจำนวน minutes ที่เรามีอยู่ทั้งสิ้น เรียกว่าโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าใครโตหน่อย คงจะพอจำได้ สมัยก่อนประมาณปี ๒๕๓๗ (มั๊ง) ระบบมือถือเมืองไทยเรา ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน เลยตัดสินใจไม่ซื้อมันมาสองปีกว่าแล้ว ....



ภาพนาง Rosa Parks


กลับมาพูดถึงเรื่องของ Rosa Parks นะครับ ถ้าอ่านแต่ชื่อของท่าน ก็จะนึกว่า Parks เป็นชาวเกาหลี แต่ไม่ใช่ครับ เธอเป็นหญิงแอฟริกันอเมริกัน ที่เกิดและอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ มาตั้งแต่เมื่อ ๙๒ ปีที่ผ่านมาแล้ว เธอได้ลาจากโลกไป ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ผ่านมา ปรากฎว่า ข่าวการเสียชีวิตของเธอ เป็นข่าวใหญ่ในรอบเดือนนั้นเลยทีเดียว ศพของเธอยังได้ถูกนำไปกระทำพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ใน Capitol Rotunda ของสหรัฐที่กรุงวอชิงตันดีซี อีกต่างหาก ซึ่งวิหารแห่งนี้ โดยปกติใช้เพื่อกระทำพิธีศพเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ไปไว้อาลัยต่อหน้าศพฯ สำหรับเฉพาะบุคคลในระดับประธานาธิบดี เท่านั้น แต่เธอก็ได้รับเกียรตินั้นด้วย เฉกเช่นเดียวกับ ประธานาธิบดี Abraham Lincoln, John F. Kennedy และบุคคลสำคัญ ๆ อื่น ๆ ของชาติสหรัฐฯ

วันนี้ถือโอกาสเขียนเรื่องนี้ เพราะมีเหตุการณ์สำคัญ สองประการเกิดขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของเธอ เหตุการณ์แรก คือ การเดินขบวนเพื่อแสดงความเคารพแด่เธอ โดยเด็ก ๆ ทั้งผิวขาวและผิวดำ ที่เมือง MONTGOMERY รัฐ Alabama ในโอกาสครบ ๕๐ ปีของการต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติระหว่างผิวขาวและดำในสหรัฐฯ

ปัญหาการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐนั้นนับว่าร้ายแรงและเลวร้ายมาก โดยจะมีการเลือกปฏิบัติระหว่างคนผิวสี กับคนขาว ในทุก ๆ ด้าน ตามหลักการที่ว่า "Separate but Equal" ที่ผมได้กล่าวถึงบ่อยครั้งนั้นแหละครับ รัฐทางใต้จะจัดสาธารณูปโภคทุกอย่าง รวมถึงเขตที่ตั้งบ้านเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล แม้กระทั่งรถโดยสารประจำก็จะแบ่งแยกระหว่างของคนผิวขาวและผิวดำออกจากกันโดยเด็ดขาด คนดำจะไปใช้สิ่งต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้คนขาวไม่ได้ เป็นต้น



Mrs. Rosa Parks ขณะถูกจับกุม เพราะนั่งรถเมล์คนผิวขาวเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว


วันนี้ เมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว (๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๕๕) Rosa Parks ได้ฝ่าฝืนหลักการเลือกปฏิบัติดังกล่า โดยเธอได้ปฏิเสธที่ลงจากรถโดยสารของชาวผิวขาว เป็นเหตุให้เธอต้องถูกจับตัวดำเนินคดี เธอได้เข้าร่วมสมาคม Montgomery Improvement Association ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนการต่อต้านการเลือกปฏิบัติในรัฐ Alabama นั้น สมาคมนี้ ได้กล่าวสรรเสริญในความกล้าหาญของเธอ ทำให้การต่อต้านการเลือกปฏิบัติได้ขยายไปอย่างกว้างขวางยาวนานนับปี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเพื่อสิทธิมนุษยชน (the civil rights movement) เลยทีเดียว

วันนี้อีกเช่นกัน ก็มีได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่ถือว่า Rosa Parks เป็นผู้จุดประกายเลยก็ว่าได้ฯ ได้แก่ พิธีลงนามกฎหมาย เพื่อยกเลิกการขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขหรือคุณสมบัติของชาวผิวดำให้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ต่อเมื่อได้ผ่านการทดสอบความรู้ การอ่านออกเขียนได้ และเงื่อนไขอื่น ๆ แล้วเท่านั้น กล่าวคือ ประธานาธิบดี บุช ได้ลงนามกฎหมายที่กำหนดให้การขยายเวลากฎหมาย Voting Rights Act of 1965 ไม่ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป นับแต่ปี ค.ศ.๒๐๐๗



ประธานาธิบดี ลงนามยกเลิกการขยายเวลา การกำหนดเงื่อนไขในการได้มาซึ่งสิทธิของชนผิวดำในการลงคะแนนเสียงในปัจจุบัน


ประธานาธิบดี บุช ได้กล่าวยกย่อง Rosa Parks ในการกระทำพิธีลงนามกฎหมายดังกล่าวว่า เธอคือ ผู้จุดประกายกระบวนการเพื่อความเท่าเทียมกันและเสรีภาพของชาวอเมริกัน (a national movement for equality and freedom) ผลจากวีรกรรมของเธอและกระบวนการ Civil Rights Movement นั้น ทำให้ สภา Congress จึงได้ออกกฎหมายเพื่อแก้ไขการเลือกปฏิบัติระหว่างผิวสีนั้น ซึ่งรวมถึงสิทธิในการเลือกตั้งของคนผิวสีด้วย



รูปปั้นของเธอ นั่งบนเก้าอี้รถโดยสาร คณะกรรมการจัดทำเพื่อนำมาจำหน่าย หารายได้เข้ากองทุน เพื่อสร้างเป็น ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปตั้งแต่ ค.ศ ๒๐๐๐


สภาคองเกรซ ได้พยายามแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติระหว่างผิวสี โดยได้บัญญัติรับรองสิทธิชาวอเมริกันทุกคนให้มีสิทธิเลือกตั้ง ( เรียกว่า The 15th Amendment ) ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๗๐ อย่างไรก็ตาม สภา Congress ได้บัญญัติกฎหมายเพื่อเติมเกี่ยวกับ Voting Right ในปี ค.ศ. ๑๙๖๕ ซึ่งผลักดันโดย ประธานาธิบดี Lyndon Johnson เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของมลรัฐทางใต้ ที่ต้องการให้ชาวผิวดำจะต้องสอบผ่านคุณสมบัติบางประการ ก่อนที่จะได้รับสิทธิเลือกตั้งนั้น เช่น จะต้องอ่านออกเขียนได้ เป็นต้น (ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐได้พิพากษาไว้ว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐมีความจำเป็นบางประการฯ ซึ่งวิธีการกำหนดคุณสมบัติดังกล่าว เป็นวิธีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ฯ )

การกระทำของ Rosa Parks ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขาง เช่น ที่รัฐ มิชิแกน อันเป็นถิ่นพำนักของเธอชั่วระยะเวลายาวนานหลังจากต่อต้านการเลือกปฏิบัติฯ จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่ออายุ ๙๒ ปีนั้น อาคารที่ทำการของหน่วยงานกลางรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ Detroit, Michigan ยังได้มีกฎหมายให้ชื่อของเธอ เป็นชื่ออาคารดังกล่าว ชื่อของเธอยังได้รับการนำเอาตั้งเป็นชื่อถนน ฯลฯ อีกหลายประการ นอกจากนี้ Rosa Parks ยังจะกลายเป็นหญิงชาวผิวดำคนแรกที่ได้รับการจารึกนามไว้ใน Statuary Hall ซึ่งหลาย ๆ มลรัฐจะกระทำการจารึกรายชื่อบุคคลที่เป็นน่ายกย่องและกระทำคุณความงามดีให้แก่ชาติไว้ในหอเกียรติยศนี้เช่นกัน

นี่คือ สิ่งที่คนธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ตัวเล็ก ไม่มีอำนาจวาสนา ไม่มีตำแหน่งทางการเมือง หรือหน้าที่ในการบริหารประเทศได้ลงมือกระทำ โดยเริ่มที่ตนเองและกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ชาติสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว นับเป็นสิ่งที่น่ายกย่องอย่างมาก หากเมืองไทยมีวัฒนธรรมยกย่องคนทำงานความดีแก่แผ่นดินแบบนี้บ้าง ก็คงจะดีไม่น้อย คน ๆ นั้น อาจจะไม่เป็นผู้สูงศักดิ์ ไม่ต้องเป็นเจ้าขุนมูลนาย ไม่ต้องมีตำแหน่งหน้าที่ราชการใหญ่โต ไม่ต้องเป็นคุณหญิง หรือ คุณชาย แต่อาจเป็นคนธรรมดา ๆ คนหนหึ่ง ที่ได้สร้างคุณงามความดีให้แก่แผ่นดิน ในด้านใดด้านหนึ่ง ผู้หญิง มักจะสร้างโลกด้วยมือน้อย ๆ เสมอนะครับ เสมือน "หัตถาครองพิภพ" ผมขอยกย่องความดีของเธอ ด้วยการนำเสนอเรื่องของเธอ เป็นอุทาหรณ์แก่มวลมนุษยชาติต่อไปครับ




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:34:56 น.
Counter : 3538 Pageviews.  

Sense of Belonging v. เรื่องฉาว ๆ ของสหรัฐ

- เกริ่นนำ –


เมื่อวาน (๑๗ พ.ย.๔๘) เพื่อนผมคนหนึ่ง ที่ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนอาชีพไปเป็นผู้พิพากษาได้ถามผมว่า ระบบการดำเนินคดีของประเทศสหรัฐฯ ใครมีหน้าที่นำพยานไปศาลเพื่อเบิกความ ฯลฯ และอีกหลายคำถาม ผมเข้าใจว่า ประชาชนในสหรัฐมีความเป็นตำรวจในตัวตนสูง ทุกคนมีหน้าที่รักษากฎหมาย ปฏิบัติตามกฎหมายและให้ความร่วมมือและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด ดังนั้น เมื่อมีหมายเรียกมา พยานจะเดินทางไปศาลด้วยความสำนึกในหน้าที่ของตนเอง (จะเต็มใจหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) Professor Ross อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยของผม ก่อนนี้หน้านี้ ท่านเคยเป็นอัยการที่ชิคาโก้ ได้ยืนยันหลักการที่กล่าวข้างต้นไว้ ประชาชนมีหน้าที่ต้องไปศาลและประสบการณ์ชีวิตของเธอระหว่างเป็นอัยการ พยานก็ไม่เคยบิดพริ้ว บ่ายเบี่ยง ไม่ไปศาลเลย

ผมนั่งรำลึกถึงเหตุการณ์สมัยเป็นพนักงานสอบสวน กว่าจะติดตามพยานมาสอบสวนปากคำ และไปศาลได้ มันช่างลำบากยากเย็นจริง ๆ พยานไม่มา เราก็ต้องตามไปสอบสวน พูดคุยกับเขาที่บ้าน ไม่ไปศาล ก็ต้องพากันไป ชนิดที่เรียกว่า แอบจะกราบเท้าและอุ้มกันไป ว่างั้นก็ได้ ความมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม โดยสำนึกว่าทุกคนมีหน้าที่ช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ในลักษณะ Sense of Belonging ของประชาชนในสังคมเราค่อนข้างน้อยครับ

- ความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม: Obstruct of Justice –


เหตุผลประการหนึ่ง ที่ทำให้ประชาชนชาวไทย ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการไปเป็นพยานศาล นอกจากจะเห็นว่า ธุระไม่ใช่แล้ว ก็อาจจะเป็นเพราะ ระบบกฎหมายเราไม่ได้คุ้มครองพยานอย่างเต็มที่ ในสหรัฐฯ มีการบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่า “การกระทำผิดฐาน ขัดขวางกระบวนการยุติธรรม หรือ Obstruct of Justice” การข่มขู่พยาน หรือ การกระทำการใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อพยานและสมาชิกในครอบครัวของพยาน ย่อมมีความผิดร้ายแรง ไม่ว่าการกระทำผิดนั้น จะเกิดก่อนจะมาเป็นพยานหรือหลังจากเป็นพยานแล้วก็ตาม แต่กฎหมายไทย เรายังก้าวไปไม่ถึง ไม่ทราบว่าด้วยสาเหตุใด เราไม่มีความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ที่กล้าวข้างต้น ทำให้พยานไม่มั่นใจที่จะมาเป็นพยาน รวมถึง ความปลอดภัยของเขาภายหลังจากเป็นพยานแล้วด้วย ที่จริงเรื่องนี้ ผมได้ยินมานานแล้ว แต่ก็ไม่มีใครริเริ่มกันเป็นจริงเป็นจังเสียที

นอกจากนี้ ระบบการเรียนการสอนกฎหมายของสหรัฐ ยังแตกต่างจากประเทศอื่นอย่างมาก กฎหมาย เป็นบรรทัดฐานของสังคม และพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย ไม่ได้มีอะไรแน่นอนตายตัวที่แก้ไขไม่ได้ คนที่จะเรียนกฎหมาย จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ เพียงพอแล้ว หลักสูตรจึงกำหนดให้ผู้ที่จะเรียนกฎหมาย จะต้องจบปริญญาสาขาอื่นมาก่อนแล้ว เพื่อให้เข้าใจโลกของความเป็นจริง ไม่ใช่วาดฝันวิมานในอากาศ ทราบมาว่า ทุกโรงเรียนกฎหมายของสหรัฐฯ จะต้องให้นักเรียนในสาขากฎหมายสาบานตน (Take Oath) ก่อนเริ่มเรียนว่า ตนจะต้องเป็นผู้ซื่อสัตย์ในวิชาชีพ (Legal Professional) ไม่กระทำผิดกฎหมาย หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ยังหลักการในการควบคุมจริยธรรมนักกฎหมายว่า ทนายความฝ่ายจำเลย จะต้องไม่สร้างพยานหลักฐานเท็จ ไม่กระทำผิดหรือสนับสนุนให้จำเลยกระทำผิด และหากได้รับพยานหลักฐานที่เป็นสาระสำคัญทางคดี ก็จะต้องนำส่งพยานหลักฐานนั้นต่อศาล จะเก็บเงียบอมไต๋ไว้ เพื่อทำ Surprise ให้กับฝ่ายพนักงานอัยการไม่ได้ หากทนายพบการกระทำผิดของทนายความอื่น ก็เป็นหน้าที่จะต้องรายงานการกระทำผิดของทนายความอื่นต่อศาลหรือองค์กรที่ควบคุมวิชาชีพด้วย เป็นต้น หากจะกล่าวไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ ทางโรงเรียนกฎหมายไทย และระบบกฎหมายไทย แทบจะไม่เคยมีอยู่ในความคิดแม้แต่น้อย แต่ในสหรัฐฯ เขาย้ำหนักย้ำหนาในหน้าที่ทางจริยธรรมของทั้งทนายความ และอัยการ จะต้องปฏิบัติตาม รัฐธรรมนูญ, กฎหมาย และหลักจริยธรรม ตาม Model of Profession Responsibility ของสมาคมเนติบัณฑิตอเมริกัน (ABA) รวมถึงคำสั่งศาลอย่างเคร่งครัด

- เหตุผลทางประวัติศาสตร์ : การเกลียดชังระบบศักดินาและอภิสิทธิ –


หากศึกษากันให้ลึกถึงประวัติศาสตร์ของสหรัฐแล้ว ก็จะไม่รู้สึกน่าแปลกใจมากที่สหรัฐฯ สามารถทำให้ประชาชนทุกคนรักษาสิทธิ์และมีแนวคิดในเชิงการเป็นตำรวจ คือ ปกป้องสิทธิ และรักษาหน้าที่ของตนเอง ต่อสังคม อย่างเคร่งครัด หากประชาชนเขาพบสิ่งใดที่ผิดปกติ สิ่งหนึ่งที่เขาจะทำ ก็คือ การเป็นหูเป็นตาให้แก่ตำรวจและแจ้งเหตุการณ์ไม่ปกตินั้นแก่ตำรวจ เมื่อต้องเป็นคดีความ ก็จะพร้อมไปเป็นพยานในชั้นศาล แม้ประเทศนี้ จะมีประวัติศาสตร์ที่แสนจะสั้นเพียง ๒๐๐ ปี เศษของการพัฒนาประเทศมา แต่หากมองให้ลึก ๆ ประเทศนี้ มีพื้นฐานอันยาวนานมาจากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ อิสระ และความเสมอภาค ที่สืบต่อมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง


รองประธานาธิบดี Dick Cheney


การต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เกิดขึ้นจาก ความขัดแย้งเรื่องภาษี ที่รัฐบาลอังกฤษ เรียกร้องจากอาณานิคม คือ สหรัฐฯ ในช่วงแรก ซึ่งประชาชนในอาณานิคม เองก็คิดว่า มันไม่เสมอภาค เพราะโดยหลักการที่สืบต่อเนื่องมาจาก มหากฎบัตร และ Bill of Rights ที่ชาวอังกฤษและชาวอาณานิคมยึดถือกันมาตั้งแต่คริสศตวรรษ ที่ ๑๑ เป็นต้นมา ยืนยันหลักการแน่นหนักว่า “ไม่มีภาษี โดยไม่มีผู้แทน” และ “ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย” กล่าวง่าย ๆ คือ พระมหากษัตรยิ์ จะมาเก็บภาษี โดยที่พวกเขาไม่มีผู้แทนไปร่วมพิจารณาความเหมาะสม ไม่ได้โดยเด็ดขาด การต่อสู้เรื่องอำนาจของพระมหากษัตรยิ์ และรัฐสภาอังกฤษ ได้เป็นที่รับรู้ของชาวโลกกันมาอย่างยาวนาน ขณะที่ประเทศอังกฤษมีระบบประชาธิปไตย อย่างยาวนาน โดยยึดถือว่า อำนาจเป็นของปวงชน ในภาคพื้นยุโรปส่วนใหญ่ กลับมีการมีปกครองในระบอบเผด็จการมาอย่างยาวและต่อเนื่อง หลักการปกครองในระบบประชาธิไตย จึงสืบทอดมายังสหรัฐอเมริกา พร้อมกับความเกลียดชังระบบอภิสิทธิ์ เช่นที่เคยยึดถือในประเทศอังกฤษดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Feudalism หรือ ระบบศักดินาที่ถือว่าแผ่นดินเป็นของกษัตริย์ แต่มอบให้ขุนนางไปดูแล กษัตริย์สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ โดยมีเครื่องมือ คือ Excommunication ตามแบบศาสนาคริสต์มาเป็นเครื่องมือบังคับ หากผู้ใดถูกตัดขาดจากระบบ ผู้ที่อยู่ใต้ปกครองเดิม ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังกันอีกต่อไป เรียกว่า ตายทั้งเป็น

- ระบบสาธารณรัฐ และแนวคิดในการส่งเสริมการเคารพกฎหมาย -


ระบบสาธารณรัฐ (Republic) จึงได้สถาปนาขึ้น โดยนำรูปแบบของอาณาจักรโรมัน มาเป็นตัวแบบ แทนที่จะเป็นระบบกษัตริย์แบบอังกฤษ การสร้างตัวแบบของสหรัฐ เริ่มจากการไม่ไว้วางใจอำนาจรัฐบาลกลาง และให้รัฐบาลมลรัฐมีอำนาจเต็มฯ ซึ่งก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะการรวมตัวแบบ Confederation มันเป็นการรวมตัวที่หลวมเกินไป ในที่สุด จึงได้รวบอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางมากขึ้น ภายใต้รูปแบบ Federation ที่รัฐบาลกลางมีอำนาจเก็บภาษี มีการจัดตั้งกองกำลังทหาร และหน่วยบังคับใช้กฎหมาย ฯลฯ หากจะพิจารณาลึก ๆ แล้ว เราจะพบสิ่งที่น่าแปลกใจมาก คือ ทั้งชื่อเรียกตำแหน่งต่าง ๆ รูปแบบที่เขาตั้งขึ้นนั้น เช่น วุฒิสมาชิก ซึ่งเรียกว่า Senator ฯลฯ รวมถึงขนาดพื้นที่ของสหรัฐฯ ปัจจุบัน มีขนาดเท่า ๆ กับอาณาจักรโรมันในอดีต อย่างไม่มีผิดเพี้ยน

ปัญหาที่ร้ายแรงประการหนึ่งของสหรัฐ คือ ปัญหาเรื่องการค้าทาสในอดีต การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) อย่างรุนแรง จนกระทั่งรัฐบาลสหรัฐจะต้องประกาศกฎหมายว่าด้วย Civil Rights และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติ พร้อมกับมีระบบการส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอย่างจริงจัง หากมีการกระทำอันเป็นการละเมิดกฎหมาย ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกะทำที่เป็นการเลือกปฏิบัติ รวมถึงคำพูดที่ทำให้เจ็บใจอย่างร้ายแรงด้วย เรียกได้ว่า มาตรการต่าง ๆ ส่งเสริมให้คนไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมให้ใครมารังแก ไม่ว่าจะประชาชนด้วยกันหรือจะเป็นอำนาจของรัฐก็ตาม (แต่ทุกเรื่องมีขอบเขตของมันนะครับ เพราะคนเราไม่มีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงคนอื่น เหมือนที่ผมได้กล่าวไปแล้วในเรื่องจริยธรรมของสื่อมวลชน )

- เหตุการณ์ปัจจุบัน: เรื่องฉาว ๆ ของสหรัฐ และ Bush Administration -


ปัจจุบัน ประเทศสหรัฐ อยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีบุชฯ ซึ่งมีเสียงข้างมากทั้งวุฒิสภา และสภาผู้แทน แต่คะแนนนิยมกลับลดต่ำลงเรื่อย ๆ ปัจจุบัน เหลือเพียง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ต้น ๆ เรียกว่า ต่ำอย่างน่าตกใจ นอกจากนี้ รัฐนาวา ยังเปือดแป้นไปด้วยข่าวคราวความเลวร้ายของการบริหารงานของ Bush Administration ตั้งแต่ การถูกกล่าวหา รัฐบาลจงใจบิดเบือดข้อมูลของการครอบครองอาวุธที่มีอานุภาพทำร้ายร้ายแรง เพื่อทำให้วุฒิสภา อนุมัติรัฐบาลสหรัฐฯ โจมตีและบุกยึดอำนาจจากซัดดำ ความล่าช้าซึ่งอาจเรียกได้ว่าความล้มเหลวในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยธรรมชาติที่พัดกระหน่ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าในรอบปีนี้ การเสนอแต่งตั้งผู้จะเป็นพิพากษาศาลสูงที่ไม่มีคุณสมบัติต้องตาต้องใจพวก Conservative ที่ต้องการจะยกเลิกคำพิพากษาศาลสูงเดิมที่อนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างเสรี โดยเฉพาะพวกขวาจัดในพรรค Republican พรรคเดียวกับประธานาธิบดีเอง


Lewis "Scooter" Libby has been a quiet yet powerful force in the White House.


สืบเนื่อง การบิดเบือนข้อมูลที่ใช้เป็นเหตุผลในการโจมตีอีรักฯ ทำให้นาย Lewis Libby ที่ปรึกษาอันดับสอง ของนายดิกช์เชนนี่ รองประธานาธิบดี ยังถูกดำเนินคดี ในหลายข้อหา เช่น การเปิดข้อมูลของสายลับ CIA ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วย Intelligence Identities Protection Act ค.ศ. ๑๙๘๒ การให้การเท็จต่อคณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) การกระทำที่เป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruct of Justice) คดีนี้ มีสาเหตุมาจากปากแท้ ๆ ปากไม่ดีของนายลิบบี้ นี่แหละเป็นเหตุที่ทำให้เขาต้องถูกดำเนินคดี หลังจากที่สำนักงานสืบสวน FBI อัยการ และ คณะลูกขุนใหญ่ ได้ทำการสืบสวนมาประมาณ ๒ ปี ก่อนหน้านี้ แม้เขาจะจบจากโรงเรียนชันน้ำของสหรัฐ คือ จาก Yale และ Columbia Law School แต่ปลาหมอก็ตายเพราะปากแท้ ๆ ดันไปพูดกับ นักเขียนของ New York Time ในทำนองที่ว่า คณะกรรมการของฝ่าย Democrat นำโดยอดีตนักการทูต ชื่อ Wilson ที่ไปสืบเรื่องราวและสรุปในรายงานพิเศษว่า แท้จริงแล้ว อีรัค ไม่มีอาวุธทำร้ายแรง ตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง นั้น ไม่น่าเชื่อถือ เพราะหลายสาเหตุ รวมถึง Wilson ผู้สืบสวนฯ ยังมีภรรยาเป็น CIA ซึ่งเกิดความเสียหายต่อสหรัฐมาก เพราะ ผู้สืบสวนคนดังกล่าว เคยเป็นทูต โดยมีภรรยา เป็น CIA ไปสืบราชการลับของประเทศอื่น โดยแฝงตัวไปพร้อมคณะทูตสหรัฐฯ ปากเป็นเหตุนี้ สามารถทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ง่าย เพราะหากเปิดเผยความลับเกี่ยวกับสถานะบุคคลนั้นแล้ว เขาก็จะตกเป็นเป้าถูกทำร้ายฯ เป็นต้น (ผมตั้งใจจะนำรายละเอียดในเรื่องนี้โดยเฉพาะ มานำเสนอในคราวต่อไปครับ)


U.S. Attorney Patrick J. Fitzgerald ผู้สืบสวนและฟ้องร้อง นายลิบบี้ ที่ปรึกษาประธานาธิบดีบุช



นายลิบบี้ นี่ประธานาธิบดีบุช เชื่อใจและยกย่องเขานัก ลือกันว่า บุชชนะการเลือกตั้งมาได้ ก็เพราะเขาวางกลยุทธ์ ในการพูด รวมถึง การแถลงการณ์สำคัญ ๆ ของทั้งบุช และ โคลินพาวเวลล์ ล้วนแต่มาจากปลายปากกาของลิบบี้ ทั้งสิ้น น่าเสียหาย ที่เขามาตายน้ำตื้นเพราะปากไวนี่แหละ

- บทสรุป -


ตัวอย่างเหตุการณ์นี้ ทำให้เห็นเราเห็นได้ว่า ประชาชนสหรัฐฯ จะไม่ยอมให้มีผู้ใดอยู่เหนือกฎหมาย หากมีการกระทำผิดแล้ว แม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตขนาดไหน ระบบของเขาจะดำเนินการไปอย่างจริงจังเสมอ แต่ภายใต้หลักการ Justice & Fairness ของการคุ้มครองตามหลัก Due Process of Law นอกจากนี้ ยังมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐซึ่งย้ำถึงความจริงจังของระบบการดำเนินคดีตามกฎหมายได้เป็นอย่างดี เช่น อดีตผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ คือ นาย George Ryan ก็ถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และคอรัปชั่น เพราะระหว่างที่เป็นผู้ว่าการฯ เคยเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคพวกในการประมูลโครงการยักษ์ ๆ ของรัฐอิลลินอยส์ การรับเงินมาใช้ในการเลือกตั้งโดยไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง การรับสินบนจำนวนมหาศาล ฯลฯ แม้ท้ายที่สุดระหว่างการเป็นผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ เมื่อสัก ๒ ปีก่อนนั้น นายไรอัน จะพยายาม นำประเด็นร้อน คือ พยายามทำตัวเป็นทูตสันติ โดยจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบัน ยังคงใช้ประมาณ ๓๐ กว่ารัฐ พร้อมเสนอตัวเข้าชิงรางวังโนเบล ... แต่ความผิด ก็ส่วนความผิด หลังหมดอำนาจ ก็ถูกดำเนินคดีไปในที่สุด


Valerie Plame with her husband Joseph C. Wilson


กฎหมายสหรัฐในส่วนการสืบสวนเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และความผิดร้ายแรง (Felony) ตามกฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐ ( Federal Government ) นั้น จะดำเนินการโดยคณะลูกขุนใหญ่ (Grand Jury) ที่มีอำนาจกว้างขวางมาก บังคับให้พยานพูดได้ บังคับให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย (Target) ในการสืบสวนให้การได้ สำหรับพยาน หากไม่ให้การ ก็จะถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งอาจจะเป็น Civil Contempt หรือ Criminal Contempt แล้วแต่กรณี ส่วนเป้าหมายฯ หรือ ผู้ต้องหา ก็สามารถถูกบังคับให้การได้ แต่พนักงานอัยการ จะนำคำให้การส่วนนั้น ไปใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องไม่ได้ พนักงานอัยการจะต้องหาพยานหลักฐานที่เป็นอิสระแยกจากคำให้การนั้น มาสนับสนุนคำฟ้องเป็นต้น

ในปัจจุบัน ประธานาธิบดีบุช ซึ่งสามารถคุมเสียงได้ทั้งในสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ได้ประสบปัญหาความน่าเชื่อถือที่ลดต่ำที่สุดในรอบ ๒๐๐ ปีเศษของสหรัฐ โดยประชาชนมีความเชื่อถือศรัทธาฯ ประมาณ ๓๐% เท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ประธานาธิบดี ที่สามารถกลับมาดำรงตำแหน่งในวาระที่สองมักจะต้องประสบปัญหานี้ แต่ก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสสากรรจ์เท่านายบุช ที่จบมาจากโรงเรียนชั้นนำของสหรัฐฯ พร้อมกับที่ปรึกษาคู่ใจที่จบมาจากโรงเรียนชั้นนำ เรียกว่า TOP 5 ของสหรัฐ ได้ประสบอยู่เช่นนี้ สำหรับตัวอย่างประธานาธิบดีที่ประสบปัญหาในวาระที่สองของการดำรงตำแหน่ง ก็มีให้เห็น เช่น ประธานาธิบดี Roosevelt ที่ชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทนายในยุคเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๓๐ ที่พยายามจะเปลี่ยนองคณะศาลสูงสุดจาก ๙ เป็น ๑๕ คน เพื่อแต่งตั้งคนตัวเองเข้าไปเพิ่มเติม ประธานาธิบดี เรแกนด์ ในคดีอิหร่านคอนทร่า ประธานาธิบดี บิลล์คลินตัน กับคดี อมของหลวงกับรูวินสกี้ ฯ แต่ภาวะความเชื่อมั่นก็ไม่ได้ลดต่ำลงเท่ากับสมัยนี้ นายบุช จึงต้องหอบหิ้วเอาเมียไปสร้างภาพลักษณ์ตามที่ต่าง ๆ ให้พวกที่ยัง Conservative เห็นถึงความดีที่เขามีต่อสถาบันครอบครัว ไปเสนอแนวคิด เขตการค้าเสรีที่อเมริกาใต้ ซึ่งก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าอีก ปัจจุบัน บุช อยู่ที่ เกาหลีใต้ กำลังเจราจาปัญหาของเกาหลีเหนือฯ เรียกได้ว่า หลบลี้ภัยจากประเทศไปชั่วคราว แต่ปัญหาไม่ได้หมดไป ต้องคอยจับตาดูกันต่อไปว่า ท้ายที่สุด จะลงเอยอย่างไร เพราะตอนนี้สมาชิกพรรค Republican เอง ก็ขอลงมติให้สหรัฐถอนกำลังจากอีรักแล้ว หลังจากมีทหารตายไปเกิน ๒๐๐๐ นายแล้ว


ภาพสุดท้าย คือ George Ryan อดีตผู้ว่าการรัฐ อายุ ๖๙ ปี ถูกฟ้องร้องฐานคอรัปชั่นฯ เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๐๐๓ หลังจากพ้นตำแหน่งฯ


ปล. ผมว่า คนเก่งนี่ มีปัญหาเยอะนะครับ ยิ่งจบจากโรงเรียนชั้นนำ ซึ่งอาจเรียกคร่าว ๆ ว่า "GANG OF YALE" : เช่นนาย Bush, Dick Chaney, Lybby นี้ ก็จบจากการโรงเรียนชั้นนำสหรัฐฯ ทั้งนั้น ยิ่งเก่ง แล้วยิ่งเป็นอันตราย หากใช้ความเฉลียดฉลาดไปในทางที่ผิด ก็ง่ายที่จะสร้างความหายนะแก่ประเทศชาติและสังคมได้ง่าย แก๊งค์นี้ เขาว่ากันว่า Bush นี้ คือ หุ่นเชิดของผู้คนที่เหล่านี้ทั้งสิ้น เพราะถึงแม้ Bush จะจบจากโรงเรียนชั้นนำ แต่ Bush เอง ก็เข้าไปเรียนได้ด้วย Connection ของพ่อตัวเอง ซึ่งเป็นธรรมดาของโรงเรียนชั้นนำสหรัฐฯ ที่จะมี Connection อย่างนี้เกิดขึ้น

ผมว่าเรามาส่งเสริมคนดี คนเก่งแค่ระดับปานกลาง แต่มีคุณธรรมดีกว่านะครับ คนเก่งมาก มีปัญหาหลายอย่าง เช่น อัตตาสูง ไม่ฟังใคร และหากคิดจะทำชั่วแล้ว ก็สามารถทำได้แนบเนียน [แต่คนที่ไม่ฉลาดเลย แต่ขยัน อันนี้ ก็ทำความเสียหายได้ร้ายแรงเช่นกัน เฮ้อ ทำไม โลกจึงไม่มีความสมดุลกันเลยจริง ๆ ]




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:34:38 น.
Counter : 919 Pageviews.  

บุช สร้างประวัติศาสตร์ ประธานศาลสูงที่อายุน้อยที่สุดในรอบ ๒๐๐ ปีของสหรัฐฯ

ผมเชื่อว่า เรื่องนี้คนทั่วไป แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาฯ คงไม่ค่อยสนใจสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่ามันไกลตัว ใครจะเป็นผู้พิพากษา หรือ ใครจะมาเป็นประธานศาลสูงสุด ก็ออกจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของ "ลูกชายปู่" ของเขาสักเท่าไหร่ แต่อาจจะมีนักกฎหมายด้วยกันที่สนใจ โดยเฉพาะนักกฎหมายในสหรัฐอเมริกา

ประธานธิบดีบุชฯ ได้ทำให้ท่านโรเบิร์ต เป็นประวัติศาสตร์แห่งวงการกฎหมายสหรัฐฯไปแล้ว เพราะเขาเป็นประธานศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ที่หนุ่มที่สุดในรอบ ๒๐๐ ปี ท่านประธานคนใหม่นี้ ตอนหนุ่ม ๆ เคยเป็นเลขาประธานศาลคนก่อนที่ล่วงลับไปไม่นาน และเป็นพวกอนุรักษ์นิยมเหมือนกัน อีกทั้งยังเคยทำงานให้อดีตประธานาธิบดี เรแกน ซึ่งมีอดีต บุชฯ ผู้พ่อ เป็นรองประธานาธิบดีฯ ปัจจุบัน นายโรเบิร์ต เพิ่งอายุ ๕๐ ปีเท่านั้น การปฏิบัติงานของเขาจะสร้างผลกระทบต่อพลเมืองสหรัฐฯ ไปตลอดการดำรงตำแหน่งของเขา ซึ่งผมคิดว่า ถ้าเขาไม่เกษียณตัวเอง หรือมีอันเป็นไปเสียก่อน เขาคงจะอยู่อีกอย่างน้อย ๓๐ ปี กระมัง

หากจะกล่าวไปจริง ๆ ประธานาธิบดีบุชฯ แต่งตั้งคนข้ามหัว ผู้พิพากษาอาวุโส ที่อยู่ในศาลสูงสุดปัจจุบัน ซึ่งยังมีชีวิตและปฏิบัติหน้าที่อยู่ จำนวน ๗ คน ถ้าพิจารณาจากบริบทของไทยแล้ว ก็ดูจะเป็นการไม่เหมาะสมเท่าไหร่ เพราะคนที่ทำงานในศาลสูงสุดมาก่อน ย่อมมีความรู้ และประสบการณ์ที่เหนือกว่านายโรเบิร์ตฯ เป็นแน่ (ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ในไทย ศาลคงแตกละเอียด) แต่ที่สหรัฐอเมริกานี้ ยอมรับระบบว่า ประธานาธิบดี มีอำนาจเต็มในการเสนอแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ซึ่งรัฐสภา จะไม่อาจออกกฎหมายให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง อย่างไทยได้ (เพราะรัฐธรรมนูญไทยกำหนดไว้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ) แต่การเสนอชื่อของประธานาธิบดี จะต้องได้รับการยอมรับจากวุฒิสภาฯ หากเสียงข้างมากยอมรับ ก็เป็นอันใช้ได้

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการลงมติ ทางวุฒิสภา จะตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบคุณสมบัติฯ ของนายโรเบิร์ต โดยมีการซักถาม สืบสวนสอบสวน เป็นเวลานานพอสมควร มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และสื่อมวลชนก็ติดตาม การตอบคำถามโดยคณะกรรมการยุติธรรมของวุฒิสภาฯ ดังกล่าวโดยตลอด เมื่อสิ้นสุดกระบวนการตรวจสอบ ก็จะมีการมติโดยวุฒิสภาฯ ว่าจะรับรองการเสนอชื่อดังกล่าวหรือไม่

ในการลงมติครั้งนี้ วุฒิสภาฯ พรรคเดโมแครต ประมาณครึ่งหนึ่ง กังวลว่า นายโรเบิร์ต จะกลับคำพิพากษาในคดี Roe v. Wade ที่มีการวางหลักการไว้ตั้งแต่ ในปี ค.ศ. ๑๙๗๓ ว่า สิทธิในการทำแท้งเป็นสิทธิในความเป็นส่วนตัว (right of privacy) ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental rights) ที่รัฐไม่อาจจะแทรกแซงได้ หากมีการกำหนดอะไรเป็นพิเศษ เช่น ห้ามทำแท้งฯ ก็จะขัดรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ด้วยเหตุที่นายโรเบิร์ต ได้แสดงความไม่เห็นด้วยไว้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่สมัยหนุ่มที่เป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเรแกน จากพรรค Republican เช่นเดียวกับประธานาธิบดีบุช ฯ แต่นายโรเบิร์ต ก็ได้แถลงการณ์ยอมรับแล้วว่า คำพิพากษาดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานมาเนิ่นนานกว่า ๓๐ ปีแล้ว ซึ่งแสดงเป็นนัยว่า คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงฯ ใด ๆ อีก

ในเมืองไทย เคยมีปัญหาวินิจฉัยเรื่องสิทธิในการทำแท้งของหญิงเหมือนกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา สิทธิในการทำแท้งของหญิงมีค่อนข้างจำกัดฯ เฉพาะกรณีที่หญิงถูกข่มขืน หรือ ตั้งครรภ์ต่อไป จะเป็นอันตรายต่อหญิงฯ เอง บางกรณีที่ เด็กเกิดมาจะมีปัญหา เช่น เป็นหัดเยอรมันฯ หรือ ติดเชื้อร้ายแรงฯ ปัญญาอ่อนร้ายแรง ฯลฯ กรณีนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา เคยวินิจฉัยว่า หญิงไม่อาจทำแท้งได้ เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นในการห้ามทำแท้งตามหลักกฎหมาย สองประการข้างต้น

แล้วแต่นะครับ ... อาจารย์ผม เขาพูดเล่น ๆ เหมือนกันว่า สิทธิในการทำแท้ง กรณีนี้ น่าจะตีความขยายอันตรายต่อหญิง น่าจะรวม อันตรายต่อจิตใจ เพราะหากลูกเกิดมาพิกลพิการ เจ็บไข้ร้ายแรงฯ ไม่มีทางรอดแน่ ๆ การให้เกิดมาก็ดูเหมือนจะทำร้ายจิตใจแม่จนเกินไป เพราะลูกอาจจะอยู่ได้ไม่ได้นาน หลังจากทรมานแสนสาหัสฯ

อาจารย์ ท่านยังพูดเล่น ๆ อีกประการหนึ่งว่า คนที่วินิจฉัยเรื่องที่ห้ามทำแท้งกรณีนี้ ก็ไม่ได้เป็นคนที่ต้องทุกข์ หรือ ต้องมารับเลี้ยงดูด้วยแต่ประการใด อิ อิ ....จริงของอาจารย์เขาแฮะ

หมายเหตุ ขณะอัพเดทเรื่องนี้ครั้งแรก ไม่มีตัวอักษรภาษาไทยครับ เลยต้องใช้ภาษาอังกฤษ แบบ fish fish snake snake ของผมไปก่อน ตอนนี้ มีตัวอักษรไทยแล้ว เเลยขออนุญาตมาสรุปอีกทีครับ สำหรับด้านล่างต่อไปนี้ เป็นภาคภาษาอังกฤษแบบงู ๆ ปลา ๆ ในหัวข้อ John Robert-the youngest chief justice in 200 years of the U.S. history ของผมครับ สนใจ เชิญอ่านครับ




The U.S. President George W. Bush establishes the new characteristics of the U.S. Supreme Court history; he signs the commission appointing John Roberts as the 17th chief justice of the U.S. before swearing-in ceremonies at the White House, Washington, September 29, 2005.



The U.S. Supreme Court


Roberts is the youngest Chief Justice in 200 years of the U.S. Supreme Court record; he presently is 50 years old. He will work as chief Justice as long as he is able to work in this highest honorable position of judge career.



John Roberts - the youngest U.S. Supreme Court Chief Justice in 200 years


His walk of life is very impressive to me; he used to be the secretary of the late chief justice when he was young. He became the federal judge and appointed as the Chief Justice of the U.S. Supreme Court at the youngest age in history. His performance will appreciably effect to all persons in the U.S. for at least 30 years in the future.

Under the U.S. Constitution, the president shall exercise the absolute power to appoint the high level of the U.S. officers but subjected to the approval of the US Senate. Chief Just Robert, for example, was affirmed by the U.S. Senate at a margin of 78-22; of which all of Republican senetors approved him.

Around a half of Democrat Party did reject him as the new chief justice because they felt insecure of Robert's position of some area of law, especailly, the right of privacy of the woman's right to make decision whether they can legally terminate their pregnancy. Robert disagreed with the establishment of right to privacy of woman as the fundamental right in this area.


The late chief justice William Rehnquist


In Roe v. Wade case, 1973 : the U.S. Supreme Court held that state laws that prohibit abortions except to save the life of the mother were unconstitutional because they violated a right to privacy protected by the Fourteenth Amendment's Due Process Clause. The Court ruled that it was the right of privacy which is broad enough to encompass a woman's decision whether or not to terminate her pregnancy.

Chief Justice Robert said last two weeks that Roe is the precedent rule of law which has been set up for at least 30 years. It implies that he would not change the rule of law in the privacy rights area.


Nine Supreme Court Judges


The next question are far more vital; for examples, whether Robert will be able to work impartially without any saction of the Executive power under Bush Administration! Whether there will be problems of conflict between the rest of supreme court judges and the new comer! How will the newest chief justice handle the rule of law in the future?

Here are the ten landmark cases of the U.S.Supreme Court decision that Msnbc news has concluded:

1. Dred scott v. Sanford, 1857: In an opinion by Chief Justice Roger Taney, the court held that blacks could not become citizens of the United States and that slave owners had the right to take their slaves into U.S. territories. The decision added to the North-South animosity that led to the Civil War.

2. Yick Wo v. Hopkins, 1886: In a case involving a Chinese laundry owner in San Francisco, the court ruled that the Equal Protection Clause of the Fourteenth Amendment "is not confined to the protection of citizens," but instead its protections "are universal in their application, to all persons within the territorial jurisdiction, without regard to any differences of race, of color, or of nationality.." This provided a basis for Supreme Court rulings in the 1970s and 1980s that states had to provide education and other benefits to illegal aliens.

3. Pollock v. Farmer's Loan and Trust Co. II.,1895: Responding to declining tariff revenues and Populist pressure for taxing the wealthy, Congress imposed a two- percent income tax in 1894. The court ruled the tax unconstitutional, leading to a popular backlash and ratification of the 16th amendment to the Constitution, which authorized an income tax.

4. Plessy v. Furguson, 1896: The court upheld a Louisiana law requiring racial segregation on trains. The justices said the Equal Protection Clause of the Fourteenth Amendment "could not have been intended to abolish distinctions based upon color" or to enforce "a commingling of the two races unsatisfactory to either."

5. West Coast Hotel v. Parrish, 1937: After years of ruling against government regulation of wages and working conditions, the court, led by Chief Justice Charles Evans Hughes, reversed itself and sustained Washington state's minimum wage law. Coming in the middle of congressional debate over President Roosevelt's "court-packing" proposal to add pro-regulation justices to the high court, the decision helped undermine support for the plan.

6. U.S. v. Carolene Products, 1938: In the famous "footnote four," Chief Justice Harlan Fiske Stone began a constitutional revolution by declaring that the court would apply a minimal "rational basis" test to review economic regulations, but would apply a "more exacting judicial scrutiny" to laws which impinged on freedoms protected by the Bill of Rights, or which targeted religious or ethnic minorities. This ultimately led to the court using a "strict scrutiny" test to strike down such state laws as English literacy requirements for voting.

7. Brown v. Board of Education, 1954: The court discarded the "separate but equal" doctrine of Plessy v. Ferguson and declared that racial segregation in public schools violated the Equal Protection Clause of the Fourteenth Amendment.

8. Roe v. Wade, 1973: The court held that state laws that prohibit abortions except to save the life of the mother were unconstitutional because they violated a right to privacy protected by the Fourteenth Amendment's Due Process Clause. "This right of privacy.is broad enough to encompass a woman's decision whether or not to terminate her pregnancy," declared Justice Harry Blackmun, writing for the majority.

9.Grutter v. Bollinger, 2003: The court upheld the University of Michigan's use of racial and ethnic preferences to increase the numbers of black, Latino and Native American applicants admitted to its law school. Justice Sandra Day O'Connor, writing for the majority, held that "race-conscious admissions policies must be limited in time" and predicted that "25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary."

10. Lawrence v. Texas, 2003: The court struck down state anti-sodomy laws, deeming them a violation of the Due Process Clause of the Fourteenth Amendment. The majority opinion by Justice Anthony Kennedy said decisions relating to marriage, procreation, and child rearing are constitutionally protected and "persons in a homosexual relationship may seek autonomy for these purposes, just as heterosexual persons do."







 

Create Date : 02 ตุลาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:34:20 น.
Counter : 1268 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.