*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
แจ้งความเท็จ มรดกทางความคิดที่แตกต่าง ระหว่างอังกฤษ และสหรัฐ

เมื่อประมาณเดือนกว่าที่ผ่านมา มีสาวอเมริกันนางหนึ่ง ได้ออกป่าวประกาศว่า ขณะที่ตนกำลังเอร็ดอร่อยกับแฮมเบอร์เกอร์ ที่ผลิตโดยร้าน Wendy's ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐ California มีนิ้วมือของมนุษย์ปนอยู่ ทำให้เธอได้รับความเสียหายทางจิตใจ (Emotional distress damage) ถึงกับกินไม่ได้นอนหลับ จึงต้องการเรียกร้องค่าเสียหาย

เหตุการณ์นี้ ทำให้ผมนึกถึงเรื่องทำนองเดียวกันในประเทศไทย ที่มีนิ้วมือปนเปื้อนอยู่ในแหนมสดที่ผลิตโดยโรงงานแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนเหนือ เด็กนักเรียนหญิงกินไปแล้วต้องอ๊วกแตกอ๊วกแตนออกมา ร้อนไปถึงแพทย์หญิงคนเก่งต้องตรวจพิสูจน์ DNA ว่าเป็นของมนุษย์จริงหรือไม่ ซึ่งจากภาพนี่มันชัดเจนมากว่าเป็นนิ้วมือมนุษย์

จริง ๆ ขนาดคนที่โง่ที่สุดในโลกก็รู้ว่ามันคือนิ้วมือมนุษย์ ผมจึงไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเสียค่าตรวจ DNA ทีละหลายพันบาทอีก เนื่องจากแท้จริงแล้ว การตรวจ DNA จะต้องมีการตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับวัตถุตัวอย่าง กับสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบว่ามีลักษณะตำแหน่งทางพันธุกรรมตรงกันหรือไม่ แต่กรณีดังกล่าว ไม่ได้ตรวจเปรียบเทียบกับตำแหน่งพันธุกรรมตัวอย่าง เพราะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนงานที่ถูกตัดนิ้วในขณะทำแหนม คือ ผู้ใดกันแน่ เฮ้อ เมืองไทยเรา ก็เป็นซะอย่างนี้




รายของสาวอเมริกันนี้ ท้ายที่สุดกลายเป็นเรื่อง “โอละพ่อ” ไป เพราะท้ายที่สุดเธอยอมรับ ที่กล่าวไปทั้งหมด เธอแค่ล้อเล่น ไม่มีนิ้วมืออะไรทั้งนั้น แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ Wendy's บาดเจ็บสาหัสปางตายเลย เธอจึงถูกดำเนินคดีฐานแจ้งความเท็จไปในที่สุด อีกรายหนึ่งเป็นกรณี “เจ้าสาวที่กลัวฝน” เหตุเกิดที่ Georgia เธอกำลังจะแต่งงานกับแฟนหนุ่ม ที่มั่นหมายกันเรียบร้อย พร้อมกำหนดวันลั่นระฆังวิวาห์ เธอกลับกลัวอะไรในตัวแฟนหนุ่มขึ้นมาก็ไม่อาจทราบได้ เธอวิ่งหนี แต่ไม่ได้วิ่งหนีตัวเปล่า เธอแจ้ง 911 (หรือ 191 ในประเทศไทย) ว่าเธอลักพาตัว (Abduction) ไป โดยหญิงชายคู่หนึ่ง พร้อมกับร้องห่มร้องไห้ปางตาย เพื่อขอความช่วยเหลือ หลังเกิดเหตุ FBI และตำรวจท้องถิ่น ได้ออกตรวจสอบจุดโทรศัพท์ และข้อมูลต่าง ๆ ในการเดินทาง ก็พบว่าเธอแต่เพียงผู้เดียวที่ซื้อตั๋วรถทัวร์เดินทางโดยลำพัง ไม่มีผู้ใดลักพาตัว ท้ายที่สุด ก็โดยดำเนินคดีฐานแจ้งความเท็จ (False Statements) ไปเรียบร้อยตามตำรา

เรื่องการแจ้งความเท็จนี้ ในสหรัฐฯ ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะ ทรัพยากรในการทำงานของรัฐมีจำกัด ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ที่อยากจะพูดอะไรก็พูดเรื่อยเปื่อย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดที่ร้ายแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น แจ้งความเท็จเกี่ยวกับภาษีอากร ก็จะกลายเป็นคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็อาจจะได้รับโทษร้ายแรงถึงจำคุกยี่สิบปี หรือ ถูกปรับเป็นเงินหลายล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการกระทำของนิติบุคคลแล้ว ยิ่งรับโทษหนักยิ่งขึ้นไปอีก (ซึ่งผมจะกล่าวไว้ในหัวข้อ White Collar Crime เป็นการเฉพาะต่อไป) ในสหรัฐจึงไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ในอังกฤษสมัยเมื่อซักเกือบร้อยปีที่แล้ว ก็เคยมีปัญหาทำนองนี้ เกี่ยวกับการแจ้งความเท็จเหมือนกัน โดยขณะนั้น รัฐสภาอังกฤษไม่ได้ตรากฎหมายกำหนดเป็นความผิดอาญาฐานแจ้งความเท็จไว้ แต่คดีก็ขึ้นอยู่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีอาญา (Court of Criminal Appeal) เมื่อปี ค.ศ. 1932 ในคดี Rex v. Manley, 1 K.B. 529 [1933]. เพราะแม่นาง Elizabeth Manley ได้แจ้งความต่อตำรวจว่า “เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 1932 ได้มีคนร้ายเป็นชายชกต่อยเธอและกระชากกระเป๋าถือของเธอไป พร้อมทรัพย์สินมีค่ามากมาย” ขอให้ตำรวจดำเนินคดีกับชายคนดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

เรื่องกล่าวเป็นว่า “โอละพ่อ” เพราะเธอบอกว่า “ล้อเล่น” อยากรู้ว่าตำรวจจะมี “น้ำยา” สืบสวนไหมว่าไม่จริง เปรียบแล้วเหมือน “หมวยไฮโซ” ชาวฮ่องกง ที่แจ้งความว่า เธอถูกสามล้อ “สามัคคีแทงหวย” เธอ โดยเธอไม่เต็มใจ

ภายใต้การปกป้องและคุ้มครองของท่านปวีณา 24 ชั่วโมง เรื่องก็กลายเป็นโอละพ่อไป แต่รายของ Elizabeth Manley เธอหัวหมอไม่เบา เธอต่อสู้คดี และยกภาษิตละตินโบราณขึ้นมาอ้างว่า “Nullum crimen, nulla poena sine lege” คือ ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย รัฐสภาอังกฤษไม่เคยตรากฎหมายเรื่องแจ้งความเท็จไว้ แล้วศาลจะลงโทษเธอได้อย่างไร

ฝ่ายรัฐอ้างว่า ก็แม่นาง Manley มาเล่นตลกบนค่าใช้จ่ายสาธารณะซึ่งมีอย่างจำกัดเพื่อสาธารณชนอย่างนี้ ทำให้ทั้งตำรวจและฝ่ายอื่น ๆ จะต้องระดมสรรพกำลังเพื่อการตามคำล่อเล่นของเธอ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะโดยรวม (she did unlawfully effect a public mischief.)

Lord Hewart, Chief Justice. ท่านพิพากษาว่า สิ่งแรกที่ศาลต้องวินิจฉัย คือ มีข้อหาก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะหรือไม่ (Misdemeanor of committing an act tending to the public mischief) ซึ่งศาลฟันธงลงไปทันทีว่า มีมานานแล้ว เพราะศาลอังกฤษได้ตัดสินไว้ในคดี Rex v. Higgins [1901] 2 East 5: 21 ว่า “All offences of a public nature, that is, all such acts or attempts as tend to the prejudice of the community, are indictable.” พูดง่าย คือ การกระทำอะไรก็แล้ว ก่อให้เกิดภัยต่อสาธารณะ เป็นการกระทำที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้หมด และการกระทำของแม่นาง Manley ที่บังอาจแจ้งความเท็จนี้ ถือเป็นการกระทำที่เข้าข่ายตามแนวคำพิพากษาข้างต้น ติดคุกเรียบร้อยไป

ถ้าเราพลิก มาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาของไทย ก็จะมีหลักการสำคัญ คือ การไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมายระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิดและอัตราโทษไว้อย่างแน่ชัด แต่กรณีตามแนวคำพิพากษาอังกฤษนั้น เป็นการตีความขยายความผิด (Analogy) ที่โดยหลักแล้วเป็นการกระทำที่ต้องห้าม เพราะกฎหมายอาญาต้องตีความเป็นคุณเท่านั้น หลักการที่ว่ากฎหมายต้องประกาศบังคับใช้ล่วงหน้า และเปิดเผยมีมานมนานตั้งแต่อดีต ที่ชัดเจน คือ ยุคกฎหมาย 12 โต๊ะ ที่มีการนำกฎหมายไปประกาศไว้กลางตลาดให้คนทั่วไปได้รับรู้ อย่างแจ้งชัด

กฎหมายสมัยหลัง ๆ จึงยอมรับในหลักการที่เรียกว่า Principle of Legality นี้ ตลอดมา โดยหลักการนี้ อยู่บนพื้นฐานมรดกทางความคิดของยุโรป ที่ท่าน Montesquieu ได้สร้างไว้ในคำสอนของท่าน คือ Separation of Powers. ซึ่งยืนยันมาโดยตลอดว่า รัฐสภาเท่านั้นที่คู่ควรในการสร้างกฎหมาย ไม่ใช่ศาล แต่ตามหลักกฎหมายอังกฤษและศาลอังกฤษหาได้ยึดหลักการดังกล่าวไม่ เพราะอังกฤษก็หยิ่งในเกียรติและศักดิ์ศรีของตน ไม่อาจจะยอมรับแนวคิดของยุโรปและฝรั่งเศสได้

ตรงกันข้ามกับแนวคิดกฎหมายอาญาของสหรัฐฯ ที่รับเอาแนวคิดเรื่อง Principle of Legality มาใช้กฎหมายอาญาแบบเต็ม ๆ และยึดมั่นมาโดยตลอด ศาลในสหรัฐอเมริกา จึงจำกัดขอบเขตในการตีความกฎหมายอาญาอย่างเคร่งครัดเสมอมา หากจะตีความถ้อยคำกฎหมาย ก็จะต้องกลับไปดูรายงานการกระชุมของรัฐสภาฯ และตีความให้สอดคล้องกับความต้องการของมหาชน ที่ผู้แทนปวงชนเป็นทรงอำนาจอธิปไตย เพราะศาลสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่า ตนหาได้อยู่บนในตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างหลักกฎหมายไม่

สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มีพื้นฐานที่เป็น Common law เหมือนกัน แต่พัฒนาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะในด้านกฎหมายอาญา ด้วยเหตุนี้ การล่อเล่นในสหรัฐ หากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ ก็ไม่อาจจะถือว่าเป็นความผิดทางอาญาได้ แต่หากการกระทำใดที่ใคร ๆ ก็ทราบว่าเป็นความผิดอย่างชัดแจ้ง เช่น การทำร้ายคนอื่น หรือ การฆ่าคนตาย บางรัฐ ถือว่า แม้นไม่มีกฎหมาย กำหนดไว้ ก็ลงโทษได้ ซึ่งก็คือ การอุดช่องโหว่ของกฎหมายโดยศาลอเมริกัน



Create Date : 12 พฤษภาคม 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:32:19 น. 3 comments
Counter : 889 Pageviews.

 
แวะมาหาความรู้


โดย: rebel วันที่: 12 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:20:24 น.  

 
Thank you khun rebel mak mak krab. Maybe, only you visited my blog.


โดย: POL_US วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:4:55:04 น.  

 
以下都是我的网站,希望能和您挑出一个来交换连接!成人用品翻译公司数据恢复翻译公司留学荷兰留学英国留学加拿大留学澳大利亚留学美国留学法国留学英国签证加拿大签证英国大学排名专升本留学中介鹿特丹商学院翻译公司印刷Google优化排名翻译公司整容北京整形医院整形丰胸隆胸瘦脸隆鼻除皱吸脂下颌角双眼皮整形医院整形美容美容整形人造美女疤痕痤疮美容翻译公司零售零售业翻译公司翻译手机窃听器窃听器监听器手机监听器留学英国英国高中留学荷兰留学法国留学澳大利亚留学加拿大新加坡留学留学新加坡莫那什大学留学美国雅思考试出国留学托福考试翻译公司数据恢复阿姆斯特丹商学院上海翻译公司成人用品印刷厂北京印刷北京印刷厂数据恢复窃听器手机窃听器成人用品翻译公司数据恢复数据恢复翻译留学家居数据恢复网站建设电脑维修注册公司打折机票监控系统婚庆公司办公用品办公家具管理咨询ERPVOIP整形成人用品英语培训集团电话条码太阳能空调视频会议写字楼数据恢复投影机翻译公司翻译公司加湿器虚拟主机性用品笔记本出国留学移民成人用品公司注册装修污染UPS电源注册商标医疗器械猎头公司印刷门禁系统净水设备母婴用品翻译公司鲜花礼品礼仪公司保险保洁公司公司注册数据恢复公关公司广告公司连锁加盟企业名录心理咨询防辐射拓展训练制卡速记电脑培训灯具汽车陪练市场调查开关私人侦探北大青鸟成人用品Google排名不孕不育翻译公司|整形整容吸脂隆鼻隆胸丰胸除皱瘦脸瘦身重睑垫下巴下颌角双眼皮处女膜整形美容美容整形妇科整形整形外科人造美女处女膜修复北京整形医院隆乳315法国留学整形整容吸脂隆鼻隆胸丰胸隆乳除皱瘦脸瘦身重睑垫下巴下颌角双眼皮处女膜整形美容美容整形妇科整形整形外科人造美女整形医院处女膜修复北京整形医院整形美容医院监听器手机监听器


โดย: merry IP: 222.129.209.200 วันที่: 30 กรกฎาคม 2549 เวลา:17:07:20 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.