*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

แด่ ไผ่ ดาวดิน และความไร้มนุษยธรรมในประเทศไทย



"ไว้อาลัย เรื่องอะไร???" ( Condolence for Injustice in Thailand. English translation is the end.)

..........

ว่าจะไม่โพสต์อะไรแล้ว เพราะอยากให้ Status เรื่องไผ่ดาวดิน นักศึกษา นิติ มข.ผู้ประสบกับโศกนาฎกรรมแห่งกระบวนการยุติธรรม เป็น Status สุดท้าย ในการไว้อาลัย การดำเนินการของกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างน่าเศร้าใจ และเป็นหลักฐานแห่งการละเมิดทั้งหลักจริยธรรมของการใช้อำนาจหน้าที่ของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม การละเมิดกติกาสากล และข้อสันนิษฐานว่าบุคคลย่อมบริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาถึงที่สุดว่าเขากระทำผิด อันจะปฏิบัติต่อเขาอย่างผู้กระทำผิดไม่ได้ ซึ่งไผ่ ดาวดิน ตรงกันข้าม ถูกกระทำยิ่งกว่าผู้ต้องโทษประหาร ไม่ว่าจะคดีจ้างวานฆ่า หรือคดีร้ายแรงใด ๆ ที่สามารถได้รับการประกันตัวได้ อย่างสบาย ๆ โดยองค์กรสูงสุดในกระบวนการยุติธรรมออกมาประกาศว่า เธอยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ต้องได้รับการประกันตัว
..........
อย่างไรก็ตาม มีคนถามว่า ผมไว้อาลัยต่อกระบวนการยุติธรรมเรื่องอะไร ซึ่งผมจะมีคำถามกลับไปว่า "ไปอยู่ไหนมา ทำไมไม่รู้อะไรเลย" หลายคนเตือนว่า ใจเย็น ๆ เงียบ ๆ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้น เดี่ยวจะเดือดร้อนเอง ฯลฯ ผมว่า เสียงแห่งสามัญสำนึก ในจริยธรรมนักกฎหมาย มันเรียกร้องให้ต้องกระทำ อย่างน้อยก็ประกาศว่าไม่เห็นด้วย เศร้าใจ และเสียใจต่อหลักคำสอนที่ได้เคยร่ำเรียนมาถูกย่ำยีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่สำคัญ ผมอยากมองหน้าตัวเองในกระจกได้อย่างภาคภูมิใจว่า ผมได้ทำตามจิตสำนึกที่ได้ร่ำเรียนมาแล้ว ผมนิ่งเฉย อย่างนักกฎหมายใหญ่ ๆ ที่สอนผมให้เคารพ ยึดมั่น ในหลักจริยธรรมมาโดยตลอดไม่ได้หรอก ละอายใจตนเอง
.........
ผมไว้อาลัยต่อกระบวนการยุติธรรม กรณีของไผ่ ดาวดิน เพราะผมเชื่อว่า ทุกคนควรได้รับความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนเหมือน ๆ กัน
.........
ไผ่ ดาวดิน ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม คนจน และชาวบ้านในหลายท้องที่ ให้ต่อสู้กับ สัมปทานเหมืองทอง ที่ชาวบ้านทุกข์ระทมแสนสาหัส
.........
ไผ่ ดาวดิน ได้ทำหน้าที่ของคนโดยสมบูรณ์ยิ่งกว่าใคร ๆ เขาได้แสดงจุดยืนของนักกฎหมายที่ไม่อาจยอมรับอำนาจไม่ชอบธรรมได้ เขาแจกเอกสารคำอธิบายร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีการบิดเบือน แต่โดนจับและถูกขังมาอย่างต่อเนื่อง
..........
ไผ่ ดาวดิน แชร์บทความ ใน BBC ประเทศไทย เขาคือ 1 ใน 2700 คนที่แชร์ แต่มีเพียงเขาที่ถูกดำเนินคดี ในขณะที่ BBC ต้นเรื่อง กลับได้รับอภิสิทธิ์ ไม่ถูกดำเนินคดีใด ๆ
...........
ไผ่ ดาวดิน ถูกเพิกถอนประกันในคดีก่อน ในข้อหาเย้ยหยันอำนาจรัฐ ผมก็เพิ่งรู้ว่า มีข้อหานี้ในระบบกฎหมาย เพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกในชีวิต รัฐ และศาลบอกว่า เขาไม่ยอมลบบทความดังกล่าวตามคำสั่ง ซึ่งจริง ๆ ไม่เคยมีคำสั่งใด ๆ
............
ไผ่ ดาวดิน ถูกสั่งอนุญาตให้ฝากขัง โดยเขาไม่อยู่ร่วมกระบวนการในการฝากขัง ซึ่งการกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย
...........
ไผ่ ดาวดิน ถูกสั่งอนุญาตให้ฝากขังต่อ โดยเป็นการพิจารณาลับ และไม่อนุญาตให้ประกัน เพราะเกรงจะทำลายหลักฐาน คำถามคือ ข้อความต่าง ๆ ถูกบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์หมดแล้ว ไผ่ ดาวดิน เป็นใคร ที่จะมีความรู้ความสามารถในการทำลายหลักฐานได้
............
ไผ่ ดาวดิน ไม่รับอนุญาตให้รับประทานอาหารตามเวลา ในวันฝากขัง แต่ไปรับประทานอาหารในเวลา บ่าย ๓ โมง นี่หรือ คือ การปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม
...........
ไผ่ ดาวดิน ถูกตรวจรูทวารหนักทุกครั้งที่มาฝากขัง เพราะเกรงว่าจะมียาเสพติด นี่คือ การปฏิบัติต่อคนด้วยกันหรือ ??
...........
ไผ่ ดาวดิน ต้องสอบวิชา คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถจบการศึกษาได้ แต่เขาไม่ได้รับการประกันตัวเพียงเพื่อไปสอบ ??? ทำไม จึงซ้ำเดิม ชีวิตกันได้ขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่การแชร์ข้อความ มันไม่ได้ร้ายแรงกว่า จ้างวานฆ่าคนตายเลย ทำไม ปล่อยให้ประกันตัวในคดีจ้างวานฆ่าได้ แต่ปล่อยเพื่อไปสอบไม่ได้ เอาหลักกฎหมายอะไรมาวินิจฉัย และที่สำคัญ ใจดำเกินไปไหม ???

............
ถ้าเราเพิกเฉย ต่อความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นได้ เราแม่งไม่ใช่คนแล้วละครับ และที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้ มันอาจจะเกิดกับลูกหลานเราได้ ทุกคน คือ ไผ่ มีสถานการณ์อย่างเดียวกัน ที่จะถูกละเมิดได้ตลอดเวลา เราเอาความมั่นใจจากไหนว่า วันนึง อยู่ดีๆ จะไม่ถูกข้อหาแบบนี้ ??
...........
หากเราเพิกเฉยต่อการละเมิด เราจะมองหน้าตัวเองในกระจกได้หรือ ผมก็อยากรู้ว่า คนที่มีส่วนร่วมในการกระทำละเมิดครั้งนี้ ตอบจิตใต้สำนึกตัวเองได้หรือไม่ ถ้าคนเหล่านั้น เขามีความสุขที่ได้ทำ เขาไม่มีหัวใจแล้ว
..........
ปล. ไม่ต้องถามอีกว่า ไว้อาลัยเรื่องอะไร ผมจะทิ้ง Status นี้ไว้แบบนี้ จนกว่า ความยุติธรรม มันจะเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และถ้าคุณคิดว่า คุณเป็นคนมากพอ คุณต้องกล้าที่จะเปล่งเสียงเบา ๆ ของเราออกไป ให้ไปถึงผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รู้ เผื่อว่าจะไปสะกิดต่อมความดี ที่เขาอาจจะยังมีอยู่ ให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีขึ้น ก่อนที่ทุกอย่างจะสายไป
...........
ปล.๒ แล้วอย่ามาใช้ธรรมกลบปัญหา ทำนองว่า "ความยุติธรรมไม่มีอยู่จริงหรอก ความยุติธรรมอยู่ที่ใจตนเอง ใจสงบ ทุกอย่างจะดีเอง" อย่ามาพูดแบบนั้นเลย มันไม่เข้าท่าเลย โดยเฉพาะคนพูดที่เป็น นักกฎหมาย ทนายความ ตำรวจ อัยการ และศาล ถ้าคิดแบบนั้น ผมว่าเลิกเป็นเถอะ คืนปริญญากฎหมายไป
...........
ปล. ๓ ลองถามตัวเอง ถ้าเป็นคุณ ญาติคุณ เพื่อนคุณ คุณอยากให้เขาได้รับความยุติธรรมหรือไม่ ??? คิดแบบคนนะครับ
---------
My intention is not to post anything anymore until the justice appears in Thailand again. However, many of my friends ask the similar question what I have to make condolence for? I have them back where they are and why they never realize injustice is widespread throughout Thailand demonstrating clearly in Pai Dow Din case.
............
Pai Dow Din case is badly simply example of injustice which becomes the evidence of severe human right violation in Thailand as well as the discrimination against him alone with the bad faith to make him subject to disaster in his life. The result of this case also chill the others from action against the corrupted and dictatorship government.
............
I do pay condolence to the worst injustice of Thailand in this case because I believe that I strongly believe that all human are created equal and everyone should be respected in his human dignity equally.
...........
Pai has contributed himself to society in rural area; he had been fighting together with the poor against gigantic company that invested in gold industry which made the poor got sick and subject to many problems.
.........
Pai's behaviors are complete than any other human; he stands on his firm point to against the coup and dictatorship, especially before the constitutional draft referendum in 2016 by sharing his explanation of such constitution to the people but he was arrested alone while the government can broadcast their opinion about the draft without any problem. He is also detained for a long time and the case is during trial.
..........
Pai has shared a-BBC Thailand-article which is accused as a crime under the lesse majeste law, article 112 of Thailand Criminal Code. He is the only one in 2700 persons who shared it but he alone has been arrested while the others including BBC has never been touched.
...........
Pai, who got freedom on bail by the court in the other case has, has been arrested again and the bail has been revoked by the court because of sharing such article. The Court gave the reason for revocation that Pai had demonstrated that he did not scare to the state authority by sharing such article and never deleted it as the condition of bail. In fact, there is no condition and there is no court order to delete it before revocation.
............
After he was continuously detained during police investigation, the court permit the correction to detain him due to the investigator's motion without his appearance which violate the Criminal Procedure Code demanding the defendant must appear before the court, but his right became zero.
...........
Moreover, all trail of detention motion of police investigator is doing in secret fashion. This violate the principle of fair and public trial. He is still detained by the reason that if he got freedom on bail he might destroy the evidence. It is impossible because his article sharing is on the computer system and has been collected by the officer. How can he destroy such evidence?
............
Pai also had subjected to undesirable behavior; for instance, he did not have lunch on time during the detention motion period, but he got "food" at 3 pm. This can be called "humanitarianism" or treatment as human ?
...........
Pai will be thoroughly check his body including his anus every time the correction guard brought him to go and back to court by the pretext of drug prevention. Here is human conduct ?
...........
Pai still is a student at Khon Khan Law School University. He has been detained and he would like to get a bail only for taking his final exam, but the court and correction deny to let him take it in practice. Why Thais kill the small Thai like him? Why do the other serious cases like premeditated conspired murder can be presumed innocent, and the murder goes free on bail, but not Pai who would like to take an exam? What is the legal standard for this situation? What a shameful legal professionalism they are?
............
There are numerously undesirable situations that he must subject to, either renowned legal professor feel it is serious case at all. What the F happens?
............
If we can ignore for an abnormal justice, we are not a man. Injustice which happens anyplace means that it can occur to anyone everyplace. How can we feel secure that nothing like this will not happen to our relatives and ourselves?
...........
If we can ignore to those unfair practice, how can we look into our eyes when we see the mirror? I feel doubtful if the persons involving in an injustice process still feel happy? How can do answer to their voice of consciousness? Or they nothing about it? or they have no heart?
..........
Finally, please do not ask me again why do pay attention and condole for this injustcie. I will leave my status at this point till the justice comes back to Thailand. I hope that the persons in charge will coincidentally pass through my page and read this opinion, and thus trigger their heart a little bit. Importantly, I would like to do have a thin hope that they will change their minds and resolve the wrong things they did right now. Please better it before it becomes too late.
...........
Again, do not be too sanctimonious by saying that "keep calm in your mind, everything will be better." It cannot better justice in our society. Do not say it especially you are a person who get a law degree. If you think so, through your certificate a way.
...........
If you cannot think, imagine that if your relatives subject to bad situation like, how do you feel? Acceptable? Feel and Stay with the present?




 

Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2560    
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2560 13:16:53 น.
Counter : 1573 Pageviews.  

ศาลทหาร มีเขตอำนาจอย่างไร ??? พิจารณาคดีอะไรได้บ้าง ???

วันนี้ (๑๐ / ๐๗ / ๕๘) จะขอกล่าวหลักการว่าด้วยการส่งเสริมและควบคุมให้เกิดความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมของศาลทหาร (UN Draft Principles Governing the Administration of Justice through Military Tribunals 2006)

----------------------------------
วันก่อน ผมพูดถึงกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง ( ICCPR) มาตรา 14 ว่าด้วยความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมายของบุคคล ที่จะต้องได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย ต่อหน้าสาธารณะ ด้วยความเท่าเทียม และปราศจากอคติ โดยองค์กรที่ได้รับการก่อตั้งตามกฎหมายที่เป็นกลางและอิสระ มาแล้ว ซึ่ง ICCPR ที่ได้กล่าวถึงนั้น ได้อธิบายว่า แม้จะไม่ได้ห้ามรัฐภาคีก่อสร้างหรือพิจารณาคดีโดยศาลทหาร แต่การพิจารณาคดีของศาลทหาร ก็จะต้องถูกต้องตามหลักการดังกล่าว Equality before the Court established by Law and Independent, Impartial and Competent Court ofJustice ที่จะต้องไม่อยู่ภายใต้การบริหารงานของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ
----------------------------------
วันนี้ พูดถึงหลักเกณฑ์ที่ สหรัฐประชาติ (UN) พูดถึง องค์ประกอบของศาลทหาร ก็เช่นกัน หากจะเรียกตัวเองว่าเป็น "ศาล" ก็ต้องสอดคล้องกับหลัก ICCPR คือ ต้องเป็น ต้องเป็นศาลที่มีศักยภาพ เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ และมีความเป็นกลางอย่างแท้จริง ตามหลักการ Basic Principle on the Independence of the Judiciary และจะต้องนำหลักประกันที่จะทำให้ศาลมีความอิสระทั้งปวงไปใช้ ตั้งแต่ โครงสร้างศาลที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายบริหาร คุณสมบัติที่จะรับประกันว่ามีความรู้และจริยธรรมในทางกฎหมายอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ตามหลักการที่ 8 ของ UN Draft Principles Governing the Administration of Justice through Military Tribunals 2006 เขตอำนาจศาลทหาร ควรจะกำหนดเฉพาะทหารเท่านั้น ที่กระทำผิดอาญาทหาร ไม่ใช่พลเรือนโดยทั่วไป เช่น เป็นการรับใช้ราชการทหาร ( Military Service) และ การปฏิบัติราชการในหน้าที่ราชการสนาม (Field operations) เท่านั้น และแม้จะเป็นศาลที่พิจารณาคดีทหารที่มีลักษณะเฉพาะจากศาลยุติธรรมทั่วไป หลักประกันเรื่องความเป็นธรรม อิสระ และปราศจากอคติ ก็จะต้องดำรงอยู่ไม่เสื่อมคลาย

การประกาศให้คดีอยู่ในศาลทหาร จึงต้องอยู่ภายใต้ ICCPR ไม่ใช่โดยใจขอบหรืออำเภอใจของผู้หนึ่งผู้ใด และแม้จะประกาศไปแล้ว ก็จะต้องอยู่ภายใต้หลักการดังกล่าวข้างต้นที่เข้มข้น เช่นกัน ซึ่งหลักการสำคัญของ ICCPR ที่จะยกเว้นสิทธิและสิทธิเสรีภาพใด ๆ จะต้องเพื่อความอยู่รอดของรัฐเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่ประกาศให้ใช้ตลอดไป หรือจะมีผลตลอดไป ดังนั้น เมื่อเหตุแห่งความจำเป็นในการทำให้รัฐอยู่รอดหมดไปแล้ว มาตรการใด ๆ ที่เป็นมาตรการพิเศษ ย่อมสูญสลายไปในทันทีเช่นกัน

ปล.
๑. ท่านว่าที่ประเทศเกาหลีเหนือพิเศษ เป็นอย่างไร เรื่องการประกาศให้คดีใดอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร มันมีส่วนไหนที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ทหาร ( Military service) หรือปฏิบัติการราชการสนาม ( Field operations ) หรือไม่?
๒. ท่านว่า โครงสร้างของศาลทหารในประเทศเกาหลีเหนือพิเศษ มีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร หรืออยู่ภายใต้กำกับดูแลบังคับบัญชาของ รมว.กระทรวงรบอย่างชัดแจ้ง และมีหลักประกันเรื่อง Impartiality (ความเป็นกลาง) และ มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายจริงหรือไม่ (Competence) จบแค่ ม.๖ หรือ วุฒิ อะไรก็ได้ หรือไม่ ??
๓. ท่านว่า หลักการเรื่องจำกัดสิทธิเพื่อความอยู่รอดของรัฐ นั้นมันยาวนานเพียงใด เงื่อนไขแค่ไหนที่จะเรียกว่า เพื่อความอยู่รอดของรัฐ ???
๔. ขอบคุณ ข้อมูล Nimit Nuphonthong ที่ศึกษาเรื่องนี้
๕. ไม่ว่าศาลอะไร ถ้าเลว ก็เลวหมดครับ จะมีอิสระอย่างไร แต่ใจยังไม่อิสระตาม ศาลนั้น ก็แมวดี ๆ นี่เองครับ


------------


สำหรับหลักการ เรื่องการเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย จะเป็นไปตาม ICCPR มาตรา ๑๔ ซึ่ง UN ได้จัดทำข้อคำแนะนำ ลำดับที่ ๑๓ ในการปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ แห่ง ICCPR ว่าด้วย หลักความเสมอภาคต่อหน้าศาลและสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและต่อหน้าสาธารณะโดยองค์กรศาลที่เป็นอิสระซึ่งก่อตั้งโดยกฎหมาย 
-----------------
ข้อ ๑ คณะกรรมการ Human Rights Committee ยอมรับว่า มาตรา ๑๔ แห่งกติกาสากลนี้ มีความสลับซับซ้อน และแตกต่างกันในหลายมติในบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องให้ข้อสังเกตในแต่ละด้านไว้ประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของบทบัญญัติดังกล่าว ต่างมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การบริหารกระบวนการยุติธรรมเป็นไปด้วยความเหมาะสม เพื่อรับรองและประกันสิทธิของปัจเจกชน ให้มีความเสมอภาคต่อหน้าศาล และมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม และต่อหน้าสาธารณะ โดยองค์กรศาลที่มีความสามารถ อิสระ และเป็นกลางปราศจากอคติ โดยศาลนั้นจะต้องได้รับการก่อตั้งโดยกฎหมาย
-----------------
ข้อ ๒ โดยทั่วไปแล้ว พบว่า รัฐภาคีไม่ได้แสดงให้เห็นว่าได้มีการกระทำใดอันเป็นการรับรองบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๔ ดังกล่าว โดยรัฐไม่ได้ระบุถึงกระบวนการแห่งกฎหมายในการตัดสินใจว่าจะฟ้องคดีต่อประชาชนอย่างไร และยังไม่ได้มีหลักประกันถึงสิทธิตามกฎหมายแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักการที่จะประกันสิทธิดังกล่าวเมื่อถูกฟ้องคดี รัฐทั้งหลายจึงมีหน้าที่จะต้องสร้างหลักประกันทางกฎหมายดังกล่าวทั้งสองด้านให้ชัดเจนเพื่อให้มีการตีความกฎหมายที่ถูกต้องตามระบบกฎหมายนั้น
----------------
ข้อ ๓ คณะกรรมการเห็นว่า จะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากรัฐภาคีได้กำหนดรายละเอียดและข้อมูลที่จะประกันหลักความเสมอกันต่อหน้ากฎหมายดังกล่าว รวมถึงหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกระบวนการทางศาลโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างเสมอภาค หลักประกันความยุติธรรมและการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยโดยองค์กรศาลที่มีศักยภาพ และความสามารถ และความเป็นกลางและอิสระของศาลที่ก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายและหลักประกันให้มีการปฏิบัติที่เป็นจริงด้วย รัฐทั้งหลายที่เป็นภาคี ควรจะต้องระบุบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการก่อตั้งศาลซึ่งมีหลักประกันความเป็นอิสระและหลักการข้างต้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแต่งตั้งศาล คุณสมบัติของศาลที่ได้รับการแต่งตั้ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่งของศาล เงื่อนไขที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง การย้าย และการสิ้นสุดหน้าที่ของผู้พิพากษา รวมถึงหลักประกันความเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ
------------------
ข้อ ๔. บทบัญญัติในมาตรา ๑๔ นี้ จะใช้กับทุกศาลไม่ว่าจะเป็นศาลที่ได้รับการแต่งตั้งทั่วไปหรือศาลพิเศษ คณะกรรมการเห็นว่า จะต้องมีหลักประกันดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นศาลทหาร หรือศาลพิเศษอื่น ๆ ที่พิจารณาคดีที่พลเรือนเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่า ระบบการดำเนินคดีพิเศษดังกล่าว มีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาอันร้ายแรงถึงหลักความเสมอภาค หลักความเป็นกลาง และหลักความเป็นอิสระของศาลจากฝ่ายบริหาร เนื่องจาก การก่อตั้งของศาลพิเศษดังกล่าวนั้น โดยปกติจะเป็นภาวะที่มักจะอ้างข้อยกเว้นพิเศษจากมาตรฐานการบริหารการยุติธรรมปกติ แม้ว่า ICCPR มาตรา ๑๔ จะไม่ได้ห้ามการจัดตั้งศาลพิเศษนั้นโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม หลักประกันสำคัญในการพิจารณาคดีที่พลเรือนเป็นจำเลยด้วยศาลพิเศษนั้น ก็จะต้องจำกัดให้เกิดขึ้นได้น้อยมาก และในกรณีที่จะมีการพิจารณาคดีโดยศาลพิเศษ ก็จะต้องกำหนดให้มีหลักประกันที่ชัดเจนและบริบูรณ์เช่นเดียวกับศาลยุติธรรมทั่วไป คณะกรรมการเห็นว่า หลายประเทศที่กำหนดให้มีการพิจารณาคดีโดยศาลทหาร จะไม่มีหลักประกันที่เพียงพอตามทีกำหนดไว้ในมาตรา ๑๔ นี้ ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่สำคัญที่จะต้องเป็นสารัตถะที่ให้เห็นว่าถึงการปกป้องสิทธิของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
-------------------
นอกจากนี้ ยังได้มีข้อสังเกตหรือวิพากษ์ในข้อ ๕ ว่าการกำหนดให้มีการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยอย่างเป็นธรรม (fair hearing) เพื่อประกันว่า การมีบุคคลทั่วไปสามารถรับฟังการพิจารณาคดีได้ จะเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของมาตรา ๑๔ การพิจารณาคดีลับจะต้องเป็นข้อจำกัดอย่างยิ่งในการดำเนินการเท่านั้น และไม่ว่าจะกรณีอย่างไร ก็จะต้องพิพากษาโดยเปิดเผย ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๖ นอกจากนี้ยังจะต้องกำหนดหลักประกันในการปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่ดำเนินการใด ๆ ที่จะฝ่าฝืนหลักข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล และจะต้องไม่มีการแสดงให้เห็นถึงผลของการตัดสินคดีไว้ล่วงหน้าด้วย ( ข้อ ๗) ส่วนข้อสังเกตอื่น ๆ จะเป็นการให้ประกันถึงสิทธิในการรับแจ้งข้อกล่าวหาในภาษาของตนเอง และมีการปรึกษาทนายความในคดีของตนอย่างเพียงพอและจะต้องได้รับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินคดีด้วย ทั้งด้านเวลา สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักประกันว่า การสนทนาระหว่างผู้ต้องหากับทนายความ จะต้องเป็นการลับ ไม่มีผู้ใดจะสามารถได้ยินการสนทนานั้นได้ ( ข้อ ๘.และ ข้อ ๙) อีกทั้งจะต้องให้หลักประกันเรื่องการพิจารณาโดยเร็ว (ข้อ ๑๐) การได้รับการแจ้งสิทธิทั้งปวงในการดำเนินกระบวนการพิจารณาต่าง ๆ เป็นต้น




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2558    
Last Update : 10 กรกฎาคม 2558 17:56:42 น.
Counter : 1569 Pageviews.  

สิทธิในการมีทนายความของผู้ถูกกล่าวหา กับคำถามที่มีต่อสังคม หากทนายความไม่มีประสิทธิภาพ

พันตำรวจเอก ศิริพลกุศลศิลป์วุฒิ [1]

คำนำ :สิทธิในการมีทนายความของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาไม่นานนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการมีทนายความปรากฏตัวอยู่ด้วยกับผู้ต้องหาเพื่อร่วมฟังการสอบสวนในคดีอาญายิ่งเกิดขึ้นไม่นานนักและแต่ละประเทศก็มีระบบที่แตกต่างกันไป บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและ สหราชอาณาจักรสิทธิในการมีทนายความเพื่อปรึกษาหารือและการอยู่ร่วมฟังการสอบสวนเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นหลักประกันว่าสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่ถูกละเมิดในขณะที่แคนนาดา จะไม่ยินยอมให้ทนายอยู่ฟังการสอบสวนด้วย 

ในทางปฏิบัติจะพบว่าการจัดหาทนายความของไทย ตามที่กำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎกระทรวงที่ตราขึ้นโดยข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรมว่าทนายความจะต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงยุติธรรมเท่านั้นจึงนำไปสู่ข้อสงสัยว่าทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ พ.ศ.๒๕๒๘นั้น มีความแตกต่างกันเพียงใด และกระทรวงยุติธรรมจึงเสนอให้ทนายความดังกล่าวจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงยุติธรรมเสียก่อนโดยสภาทนายความไม่เห็นพ้องด้วยกับกฎกระทรวงดังกล่าวผู้เขียนจึงได้พยายามศึกษาถึงระบบการประกันสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาเพื่อที่จะสามารถประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงจัดให้มีตามกฎหมายโดยไม่ต้องสนใจว่าจะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง และเป็นธรรมมากน้อยเพียงใด[2] โดยในบทความนี้จะได้พยายามเสนอระบบการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและการพัฒนาประสิทธิภาพของทนายความตามเป้าประสงค์ของกฎหมายในปัจจุบันซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

ส่วนที่ ๑ หลักการในการคุ้มครองผู้ต้องหาว่าด้วยสิทธิในการมีทนายความในระดับสากลและต่างประเทศ

สิทธิในการมีทนายความได้มีการบัญญัติรับรองไว้ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน( Universal Declaration of Human Right of ๑๙๔๘ ) และกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( International Covenant on Civil andPolitical Rights of ๑๙๖๖หรือ ICCPR ) และมาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา( United Nations Standards on Criminal Justice) รวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานว่าด้วยบทบาทของนักกฎหมาย( Basic Principles on the Role of Lawyers ) ว่าด้วยการเข้าถึงนักกฎหมายและการบริการทางกฎหมาย ( Access tolawyers and legal services) ซึ่งได้นำเอาทฤษฎีว่าด้วยหลักนิติธรรมและนิติรัฐ (The Rule of law & Due Process of law) มารับรองอย่างเป็นทางการในระดับนานาชาติเนื่องจากผู้ต้องหาโดยส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคนิคในการดำเนินคดีที่ตนตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาและมีการถูกบังคับให้รับสารภาพด้วยวิธีการทั้งด้านกายภาพและจิตวิทยามาอย่างต่อเนื่องกฎหมายจึงกำหนดหลักประกันว่าการแสวงหาพยานหลักฐานทั้งปวงของรัฐจะต้องเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายมิเช่นนั้น พยานหลักฐานย่อมไม่อาจรับฟังได้ตามบทตัดพยาน (ExclusionaryRule) และเพื่อให้การประกันสิทธิของผู้ต้องหาและกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงจำเป็นต้องมีทนายความเข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนการการดำเนินคดีอาญาที่สำคัญในทุกขั้นตอน แต่อย่างไรก็ตามสิทธิในการมีทนายความ(Right to Counsel) ของผู้ต้องหาอาจจะแตกต่างกันและในบางกรณีอาจจะเป็นเพียงแต่การดำเนินการในเชิงรูปแบบให้ครบกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น 

ส่วนที่ ๒ รูปแบบในการจัดหาทนายความเพื่อช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหา(Modelsof legal aid)

สิทธิการในการมีทนายความเพื่อปกป้องสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยรัฐแท้จริงเพิ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้โดยเฉพาะการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แม้จะได้บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีองค์กรทนายความที่มีประสิทธิภาพทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการต่อสู้คดีให้กับผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือมีเพียงการช่วยเหลือในลักษณะที่ทำให้มีทนายความเพื่อครบตามที่กฎหมายบัญญัติ การให้ความเพื่อช่วยเหลือทางกฎหมายให้แก่ผู้ต้องหาก็เท่ากับไม่มีทนายความนั่นเองทนายความนั้น มีบทบาทสำคัญในฐานะที่ไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนของลูกความเท่านั้นแต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ (Ethicalprofessional standards) ในฐานะบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม[17] เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยรวมอีกด้วยระบบการจัดหาทนายความของรัฐจึงสำคัญอย่างมากเพื่อส่งเสริมให้ปรัชญาดังกล่าวเป็นจริง

สำหรับรูปแบบที่รัฐจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหานั้นอาจจะขึ้นอยู่กับคุณค่าและความจำเป็นของรัฐที่อาจจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น รัฐอาจจะกำหนดให้มีคดีที่มีมีโทษร้ายแรงรัฐจะต้องจัดหาทนายความให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย (Mandatorystate-funded legal aid) ในขณะที่คดีบางประเภทรัฐอาจจะมีดุลพินิจในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้(Discretionary state-funded legal aid) ซึ่งจะแตกต่างกันไป รวมถึงรูปแบบการช่วยเหลือที่อาจจะอำนวยความสะดวกอย่างมาก เช่น ระบบการให้บริการทางโทรศัพท์ (The toll-free ๒๔-hourcall service) ดังเช่นที่ประเทศแคนนาดา ดำเนินการหรือในประเทศอังกฤษก็มีการให้บริการผ่านระบบโทรศัพท์ เรียกว่า DefenceSolicitor Call Center เช่นกัน[18] เป็นต้นสำหรับระบบการให้ความช่วยเหลือนั้น จะมีด้วยกัน ๓ ลักษณะด้วยกัน ดังนี้

๑. ระบบทนายความที่ศาลแต่งตั้งในลักษณะทนายขอแรง หรือ Ex Officio / Judicare - Privately Practicing Lawyers Appointed on aCase by Case Basis

๒. ระบบทนายความที่มีลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักงานที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือ Salaried practitioners directly employed for publiclegal service delivery by the body administrating legal aid.

๓. ระบบทนายความขององค์กรทนายความพิทักษ์สิทธิที่มีการบริหารเป็นอิสระจากรัฐ ไม่อยู่ใต้บังคับบัญชาของฝ่ายบริหารโดยตรง หรือ Public Defenders – staff attorneys employed by an independentorganization (Public Defender Office) and undertaking a full representation ofdefendants

สำหรับวิธีการบริหารจัดการทั้งสามรูปแบบข้างต้น อาจจะดำเนินการโดยการจัดทำสัญญาว่าจ้างทนายความ(Contracted Service scheme) เพื่อให้ทนายความเอกชนมาทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในคดีอาญาได้ซึ่งแต่ละระบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป  [19]

ส่วนที่๓ สภาพปัญหาในปัจจุบันเกี่ยวกับหลักการช่วยเหลือในการมีทนายความและแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพของทนายความ

ระบบกฎหมายของไทย ได้กำหนดให้กระบวนการยุติธรรมจะต้องดำเนินการตามหลักนิติรัฐและ นิติธรรมไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ผู้ต้องหาต้องได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอการตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร หากจะกล่าวโดยสรุปในทางทฤษฎีแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้นำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติรับรองอย่างชัดแจ้งและโดยบริบูรณ์เช่นกันไม่ว่าจะเป็นหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล (presumptionof innocence) โดยฝ่ายรัฐจะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยนั้นได้กระทำความผิดจริง หลักการห้ามบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องกล่าวถ้อยคำปรักปรำตนในคดีอาญา(Privilege against self-incrimination) ผู้กระทำผิดจึงมีสิทธิที่จะไม่ให้การใดๆ (Right to remain silent) ถูกซักถามโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยรัฐเท่านั้นที่มีภาระในการแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าบุคคลดังกล่าวกระทำผิดจนปราศจากสงสัยตามสมควร(Proof beyond reasonable doubt) โดยพยานหลักฐานที่ได้มาจะต้องชอบด้วยหลักนิติรัฐและนิติธรรมดังที่บัญญัติในหมวดว่าด้วยการจับ (มาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๔) การสอบสวน (มาตรา๑๒๐-๑๕๗) และการรับฟังพยานหลักฐาน(มาตรา ๒๒๖ และมาตรา ๒๒๖/๑-๒๒๖/๕) เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมยังได้ตรากฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาพ.ศ. ๒๕๔๙และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่รัฐจัดหาให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพคดีอาญา ทำหน้าที่จัดตั้งงบประมาณค่าตอบแทนเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความและจัดสรรเงินงบประมาณให้หน่วยงานเบิกจ่ายในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้มอบหมายให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศรับผิดชอบโดยทนายความที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาได้จะต้องเป็นทนายความที่ยื่นความจำนงขอขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงยุติธรรมได้ส่งมอบบัญชีรายชื่อให้กับพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจต่าง ๆจะต้องแจ้งทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวนตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวเป็นลำดับโดยมิให้ข้ามลำดับรายชื่อดังกล่าวเพื่อป้องกันมิให้ทนายความและพนักงานสอบสวนร่วมกันปฏิบัติงานเป็นทีมเพื่อให้ดูเหมือนว่าหลักประกันสิทธิในการมีทนายความได้รับการประกันตามกฎหมายที่กำหนดไว้ตามหลักสากลและหลักกฎหมายของประเทศไทยแล้วเท่านั้นแต่ไม่มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือใด ๆ ในทางความเป็นจริง ซึ่งกรณีนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกระทรวงยุติธรรมและสภาทนายความ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและได้รับการอุดหนุนเงินงบประมาณแผ่นดินจากรัฐเช่นเดียวกันโดยสภาทนายความไม่เห็นด้วยกับกฎกระทรวงดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสำนักงานความช่วยเหลือทางกฎหมายในรูปแบบพิเศษที่ให้ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่ทนายความเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยตรงอีกทางหนึ่ง 


โจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทย จึงมีหลายประเด็น เช่น 

๑. ระบบงบประมาณประเทศไทยจะรับภาระไหวกับการช่วยเหลือผู้ต้องหาในทุก ๆ คดีโดยไม่ต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องความยากจนของผู้ถูกกล่าวหาเลยหรือไม่

๒. จะมีวิธีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของทนายความอย่างไร  ว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่  องค์กรใด จะตรวจสอบได้บ้าง  องค์กรศาล อัยการ หรือพนักงานสอบสวน หรือแม้กระทั่งผู้เสียหาย สามารถดำเนินการอย่างไร เมื่อมีการกระทำที่ไม่มีสิทธิภาพของทนายความ  องค์กรใด ระหว่างสภาทนายความ เนติบัณฑิต หรือองค์กรพิเศษอื่น ๆ ที่สามารถตรวจสอบการดำเนินการของทนายความได้  หรือจะปล่อยให้เป็นไปตามระบบปัจจุบัน ที่สภาทนายความ จะดำเนินการตรวจสอบเองโดยลำพัง โดยปราศจากการตรวจสอบที่จริงจัง 

๓. กรณีที่ทนายความไม่มีประสิทธิภาพ จะมีผลต่อคดีอย่างไร เช่น การพิจารณาคดีใหม่ จะทำได้หรือไม่ ใครจะต้องจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหากจะต้องดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีใหม่  กระทรวงยุติธรรม จะมีบทบาทอย่างไรในการช่วยเหลือกรณีที่มีการปฏิบัติหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพของทนายความ ???  




[1] ปัจจุบันรับราชการตำรวจตำแหน่งผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศ InternationalLaw Enforcement Academy (ILEA) สำเร็จการศึกษา ปริญญาเอกทางกฎหมาย (JSD)และปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.) จาก Universityof Illinois at Urbana-Champaign, ปริญญาโททางกฎหมาย (LL.M.) จาก IndianaUniversity – Bloomington, นม.(มหาชน) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,รม.(บริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นบ.(เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รป.บ.(ตร.)จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

[2] ผู้เขียนได้เคยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับระบบการพัฒนาทนายความไว้แล้วโปรดศึกษารายละเอียดในรายงานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด,พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ, และ ดร.ดล บุนนาค การส่งเสริมสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญาอย่างมีประสิทธิภาพ,รายงานวิจัยเสนอ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, ๒๕๕๖

[3] กุลพล พลวัน, “วันสิทธิมนุษยชน,”บทบัณฑิตย์, เล่มที่ ๓๒ ตอนที่ ๔ (๒๕๑๘) : ๖๑๙

[4] พนัส ทัศนียานนท์, “สิทธิมนุษยชน,”วารสารธรรมศาสตร์, ๑๒, ๓(๒๕๒๖) : ๓๓

[5] โปรดดูรายละเอียดใน //www.ohchr.org/en/professionalinterest/pages/ccpr.aspx

[7] Siriphon Kusonsinwut, A comparative study ofconfession law : the lesson for Thailand regarding the exclusionary rule andconfession admissibility standard, J.S.D. Dissertation for Completion of the Degree of Doctor of theScience of the Law, University of Illinois at Urbana-Champaign, 2008.

[8] Alex Conte, and et al., Defining Civil and PoliticalRights: The Jurisprudence of the United Nations Human Rights Committee(Aldershot: Ashgate Publishing Limited, ๒๐๐๔), ๑๒๙

[9] Elena Burmitskaya, World’s models of legal aid forcriminal cases: What can Russia borrow?, LAMBERT Academic Publishing, pp. ๑๘-๑๙

[10] กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, มาตราฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา(กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, ๒๕๔๗), หน้า ๑๖๒-๑๖๓.

[11] โปรดดู Council of Europe, EuropeanConvention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms, November ๑๙๕๐, ETS ,[Online], available at aebb๐๔.html>,(accessed May ๑๘, ๒๐๑๓)

[12] Elena Burmitskaya, World’s models of legal aid forcriminal cases: What can Russia borrow?, LAMBERT Academic Publishing, pp. ๒๑-๒๒

[13] เที่ยงธรรม แก้วรักษ์,“การพัฒนาระบบการจัดหาทนายความที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา,”(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,๒๕๔๙), หน้า ๕ -

[14]ประเวช อยู่ยง, “บทบาทนายความในคดีอาญา : ศึกษาในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา,”(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, ๒๕๕๒) หน้า ๑๔-๑๖

[15] โสภณ รัตนากร. (๒๕๔๔).คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ ๕) กรุงเทพ : นิติบรรณาการ, หน้า ๒

[16] ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ,หลักการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาในประเทศสหรัฐอเมริกา : บทเรียนที่อาจนำมาใช้ในประเทศไทย, บทบัณฑิตย์ . เล่มที่๖๖ ตอนที่ ๓ (กันยายน ๒๕๕๓) : ๑๘ - ๕๕

[17] Jarinde P.W.Termminck Tuinstra, Defence Counsel in International Criminal Law, (TheNetherland, T.M.C. Asser Press,๒๐๐๙), ๑๑๑

[18] รายละเอียด โปรดดู Ab Currie, “The Nature and Extent ofUnmet Need for Criminal Legal Aid in Canada,” International Journal Of TheLegal Profession ๑๑, no. (๒๐๐๔), ๑๙๖ และ โปรดดู Legal ServiceCommission, “Defence Solicitors Call Centre”, [Online]. Available at:, (accessed May ๑๘, ๒๐๑๓)

[19] Elena Burmitskaya, World’s models of legal aid forcriminal cases: What can Russia borrow?, LAMBERT Academic Publishing, pp. ๓๕-๓๖

[20] โปรดดูหลักกฎหมายของประเทศต่างๆตลอดจนรูปแบบหรือตัวแบบในการช่วยเหลือทางกฎหมายตามหลักการสิทธิในการมีทนายความนั้น ขอให้ศึกษารายละเอียดใน เอกสารงานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร. ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด,พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ, และ ดร.ดล บุนนาค การส่งเสริมสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญาอย่างมีประสิทธิภาพ,รายงานวิจัยเสนอ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กระทรวงยุติธรรม, ๒๕๕๖ ซึ่งผู้เขียนได้พรรณนาไว้โดยละเอียดแล้ว 




 

Create Date : 30 มิถุนายน 2558    
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2559 15:16:39 น.
Counter : 2918 Pageviews.  

สนช.กับ การพิจารณากฎหมายที่เร่งร้อน

  ช่วงที่มีการรัฐประหารที่ไร จะเหมือนกับนาทีทองในการแก้ไข เพิ่มเติม หรือ เสนอกฎหมายใหม่ ๆ ในช่วงรัฐบาล นายอานันท์ ปันยารชุน ก็มีการตรากฎหมายที่รวดเร็วและเยอะมาก  เช่นเดียวกับ ในยุคของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็มีการตรากฎหมายออกมาจำนวนมาก แต่ในยุคของ พล.อ.สุรยุทธ์ฯ นับว่า มีปัญหาในการตรากฎหมายอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครหยิบขึ้นมาถกเถียงในประเด็นเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย 


ที่ว่ามีปัญหา คือ การที่ สนช. ในยุครัฐบาล สุรยุทธ์ มีการเข้าประชุมไม่ครบองค์ประชุม ไม่ว่าวาระที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ในกฎหมายกว่า ๓๐๐ ฉบับ  โดยเกือบทั้งหมดมีการเสนอโปรดเกล้าลงพระปรมาภิไธย และประกาศเป็นกฎหมายแล้ว  จึงไม่มีใครกล้าจะพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแม้แต่น้อย 

มาในยุคของรัฐบาล คสช. จะพบว่า มีกฎหมายเข้า สนช. สัปดาห์ละ  ๑๐ ฉบับหรือมากกว่า นั้น  ซึ่งบางกรณีก็ถือเป็นกฎหมายที่ดี  แต่บางกรณี ก็ดูจะเป็น กม.ที่ล้าสมัยมาก เช่น พรบ.หอพัก ที่เพิ่งเสนอโดยกระทรวง พม.  

ผู้เขียนไม่เห็นพ้องด้วยกับการเสนอกฎหมายดังกล่าว จึงได้เสนอความเห็นแย้ง และไม่ควรตราเป็นกฎหมาย โดยส่งความเห็นไปยัง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในนามของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปรากฎว่า ความเห็นแย้งของ ตร. ไม่ได้รับการพิจารณาแม้แต่น้อย  

เหตุที่ผู้เขียนทราบ ก็เพราะ สนช. ได้ลงมติเห็นชอบกับร่างกฎหมายดังกล่าว และมีการเรียกหน่วยงานต่าง ๆ เข้าประชุมเพื่อชี้แจง เมื่อวันที่ ๒๒ ธ.ค.๕๗ ที่ผ่านมา  โดยผู้เขียนฯ ได้เข้าเป็นตัวในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการของ สนช. ที่ห้องประชุม ๓๐๑ ณ เวลา ๑๓.๓๐ น. ด้วย แต่ปรากฎว่า คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณากฎหมายนี้ ไม่ได้ถามความเห็นของ ตร. แม้แต่วินาทีเดียวว่า ทำไมจึงไม่เห็นด้วย  แสดงให้เห็นว่า เสียงของเรา ไม่ได้ถูกให้ความสนใจแม้แต่น้อย 

ผู้เขียน ได้สังเกต กฎหมายที่เข้า สนช. ทางเว็บไซต์ของ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ที่ทำหน้าที่เลขาของ สนช. ปัจจุบัน จะพบว่า มีกฎหมายเข้า สนช. สัปดาห์ละ ๑๐ กว่าฉบับ และมีการตั้งกรรมาธิการพิจารณาอย่างรวดเร็ว คือ ไม่เกิน ๗ วัน ก็พิจารณาเสร็จแล้วก็เสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. อย่างรวดเร็ว เป็นเช่นนี้ ในทุก ๆ ฉบับ 

กระบวนการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นเลยในยุคประชาธิปไตย เพราะในยุคประชาธิปไตย หน่วยราชการ ไม่ว่า สำนักเลขาฯ ครม. หรือ กฤษฎีกา ไม่ได้ทำงานรวดเร็วแบบนี้  คือ น่าจะต่างกัน ๙๙% เห็นจะได้  และที่ผ่านมา หากมีการเสนอกฎหมาย และมีส่วนราชการใด ไม่เห็นด้วยแล้ว กระบวนการพิจารณากฎหมาย จะไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะ สำนักเลขาฯ ครม. จะโยนกลับมาที่หน่วยงานที่เสนอทันที  

ทั้งหมด คือ กระบวนการนิติบัญญัติที่ ไม่มีประสิทธิภาพในระบบประชาธิปไตย หรือ จะเรียกได้ว่า ห่วยก็ว่าได้  ซึ่งถ้าไม่ปรับปรุงให้ดีขึ้น  ระบบประชาธิปไตย จะถูกโจมตีเสมอ ๆ ว่า เห็นว่า กฎหมายดี ๆ เกิดขึ้นในสมัยประชาธิปไตยไม่ได้หรอก  ต้องสมัยเผด็จการนี่แหละ จึงจะมีนาทีทอง เพราะไม่มีนักการเมืองเลว ๆ มาขวางกฎหมายดี ๆ 

เหล่านี้ คือ ปัญหาของกระบวนการประชาธิปไตย คือ ความล่าช้า ที่มักจะถูกอ้างว่า "เพื่อความรอบคอบ"   ซึ่งที่จริง  "ความรอบคอบ" ก็สามารถทำให้ "รวดเร็ว" ได้ มิใช่หรือ  ถึงเวลาหรือยังที่ หน่วยราชการ สำนักเลขา ครม. กฤษฎีกา หรือ สำนักงานเลขา สภาผู้แทนฯ หรือ วุฒิสภา ในยามปกติ จะเลิกทำให้เห็นว่า ระบอบประชาธิปไตยไม่ดี กันเสียที  มาช่วยกันทำให้ดี รวดเร็ว มีประสิทธิภภาพ และ รอบคอบกันเถอะครับ  

ผมอยากเห็นประชาธิปไตย เจริญงอกงามในแผ่นดินนี้  และ ข้ออ้างที่ไม่มีผลดีต่อระบอบ ปชต. ที่ว่า กฎหมายดี ๆ ออกในสมัยประชาธิปไตยไม่ได้ ต้องอาศัยจังหวะที่มีการรัฐประหารเท่านั้น  จงสูญพันธุ์ไป 




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2557    
Last Update : 23 ธันวาคม 2557 20:44:39 น.
Counter : 1168 Pageviews.  

สนช. ถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่ ???

ด้วยวันที่ ๗ พ.ย.๕๗ สนช. จะมีการประชุมหลายเรื่อง รวมถึงการถอดถอน นายนิคม ไวยรัชพานิช และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ด้วย โดย ปปช. เห็นว่า มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ว่าด้วย ปปช. พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๔ และ รธน. ฉบับชั่วคราว พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๖ วรรคสอง ซึ่งให้ สนช. ทำหน้าที่ สส.สว. จึงเสนอเรื่องให้ สนช. ทำการถอดถอน นายนิคม และ นายสมศักดิ์ฯ ต่อไป
สำหรับนี้ มีข้อพิจารณา ดังนี้

๑. ข้อกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา กระทำผิดโดยปิดอภิปรายและตัดสิทธิสมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติในการประชุมร่วมของรัฐสภา ฯ เพื่อพิจารณาแก้ไข รธน. ๒๕๕๐ มาตรา ๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๙๑ และกล่าวหาว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อ รธน. ตาม รธน. ๒๕๕๐

๒. สนช. ได้ส่งเรื่องคืน ปปช. ไปครั้งหนึ่ง เนื่องจาก รธน. ๒๕๕๐ ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ ปปช. เห็นว่า ยังสามารถดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ. ปปช. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๘ คือ กระทำผิดประมวลจริยธรรม และดำเนินการถอดถอนได้ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยไม่เกี่ยวข้องกับ รธน. ๒๕๕๐

๓. ข้อพิจารณา

หากพิจารณา ตาม พ.ร.บ. ปปช. พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๕๘-๖๓ แล้ว จะพบว่า

๓.๑ มาตรา ๕๘-๕๙ ว่าด้วยตำแหน่งที่อาจถูกถอนได้ รวมถึง สส.และ สว. ด้วย โดยจะต้องดำเนินการตาม รูปแบบที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๑ คือ จะต้องทำเป็นหนังสือ ระบุพยานหลักฐาน ที่ทำให้เห็นว่าจงใจกระทำขัดต่อ รธน. ซึ่ง ปปช. ได้ดำเนินการไต่สวนมาครบถ้วนแล้ว

๓.๒ มาตรา ๖๓ แห่ง พ.ร.บ.ปปช. ๒๕๕๒ เมื่อประธาน สว. ได้รับเรื่องไว้แล้ว ให้พิจารณาว่า ปปช. ได้ดำเนินการครบถ้วนตามที่ รธน. กำหนดไว้หรือไม่ ไม่ใช่เพียงดำเนินการครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ปปช. เท่านั้น

ดังนั้น กรณีนี้ จะต้องพิจารณาว่า พ.ร.บ.ปปช.๒๕๔๒ จะต้องยึดโยงอำนาจกับ รธน. ที่กำหนดเรื่องถอดถอนเอาไว้ หาก รธน. ไม่ได้กำหนดไว้ ก็ไม่สามารถดำเนินการถอดถอนได้ หากพิจารณา รธน. ๒๕๕๗ ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับเรื่องการถอดถอนไว้แต่ประการใด มีเพียงให้ สนช. ทำหน้าที่ สว. และ สส. ไปในคนเดียวกันเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอดถอนแต่ประการใด มีเพียงมาตรา ๔ บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพในทางบวกของประชาชนเท่านั้น ไม่มีการบัญญัติเรื่องสิทธิในทางลบหรือทางตัดสิทธิ์ของประชาชน

ด้วยเหตุนี้ ตาม มาตรา ๖๓ แห่ง พ.ร.บ.ปปช. ๒๕๕๒ แม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอดถอน แต่มาตรา ๖๓ กำหนดให้ จะต้องยึดโยงกับข้อกล่าวหาตาม รธน. เมื่อ รธน. ๒๕๕๗ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการถอดถอนไว้ ย่อมเป็นกรณีที่ สนช. ไม่มีอำนาจถอดถอนแต่ประการใด ตามหลักการ “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ”  




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2557 22:08:53 น.
Counter : 1094 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.