*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
จริยธรรมของนักกฎหมาย: Lewinsky v. Clinton

วิชาชีพกฎหมาย ได้รับการยกย่องตั้งแต่ในยุคโรมันว่ามีลักษณะพิเศษ ที่เรียกว่าเป็นวิชาชีพ (Professional) ในลักษณะเดียวกับวิชาชีพทางการแพทย์ ที่มีแต่ผู้เคารพนับถือ และกลุ่มวิชาชีพนี้ ก็จะมีลักษณะเป็นสถาบันที่มั่นคง มีการเก็บรักษาความลับในทางวิชาชีพไว้ในวงจำกัดเฉพาะสมาชิกเฉพาะกลุ่มนักกฎหมายด้วยกัน การที่บุคคลทั่วไปจะเข้ามาสู่วิชาชีพกฎหมาย จึงต้องผ่านการฝึกอบรมทั้งด้านวิชาการและด้านจริยธรรมเป็นอย่างดี ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ศาสตร์ทางกฎหมายมีลักษณะเฉพาะที่ได้รับการยอมรับว่าถูกต้องและเป็นนิรันดร์ (Dogmatic) ซึ่งไม่มีผู้ใดจะมาถกเถียงได้อีกต่อไป มีถ้อยคำและการตีความหมายที่เฉพาะเจาะจง มีกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้เฉพาะ ซึ่งบุคคลทั่วไปที่ได้ร่ำเรียนและฝึกฝนมาโดยเฉพาะย่อมไม่อาจจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

วิชาชีพกฎหมาย จึงผูกขาดอยู่เฉพาะกลุ่มนักกฎหมาย โดยกลุ่มนักกฎหมาย จะกำหนดกฎเกณฑ์การเข้ามาสู่วิชาชีพนี้ หลายประการด้วยกัน เช่น การผ่านการสอบเพื่อขออนุญาตประกอบวิชาชีพกฎหมาย และหาบุคคลทั่วไป ที่แม้มีความรู้ทางกฎหมาย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพทนายความแล้ว บังอาจมาเขียนคำร้องหรือประกอบวิชาชีพแข่งแล้ว การกระทำเหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของกลุ่มวิชาชีพเฉพาะนี้ สำหรับประเทศไทยของเราก็มีกฎเกณฑ์ในทำนองเดียวในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.๒๕๒๘ นี้

ด้วยเหตุที่วิชาชีพกฎหมาย ได้รับการยกย่องว่าเป็น Professional ซึ่งสามารถให้คุณให้โทษแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งไม่มีความรู้ทางกฎหมาย นักกฎหมายสามารถใช้วิชาความรู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างนี้ใช้แสวงประโยชน์บนความไม่รู้ของประชาชนได้โดยง่าย พูดอะไรลูกความก็เชื่อ เพราะตนไม่มีความรู้เพียงพอ โดยหลักการจึงต้องมีการควบคุมจรรยาบรรณและวิชาชีพนักกฎหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง ในประเทศไทย สภาทนายความ ก็ได้ออกข้อบังคับฯ ว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 เพื่อควบคุมจรรยาบรรณทนายความ และส่งเสริมวิชาชีพกฎหมายให้ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชนและเป้นที่พึ่งของประชาชนได้ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ มรรยาททนายความขึ้น เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนข้อร้องเรียน อันเนื่องมาจากการที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำที่ไม่เหมาะสม ผิดจรรยาบรรณทนายความ หากพบการกระทำผิดก็จะมีการลงโทษ ตั้งแต่เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหากเป็นการกระทำผิดที่ร้ายแรง หรือว่ากล่าวตักเตือนหากเป็นการกระทำผิดที่ไม่ร้ายแรง

หลักปรัชญาในการควบคุมวิชาชีพกฎหมาย

เหตุผลในการควบคุมวิชาชีพกฎหมาย (Legal Professional) อยู่บนหลักการพื้นฐานของปรัชญากฎหมาย (Philosophy of law) และประโยชน์ของมหาชนหรือประโยชน์สาธารณะ (Public interest) เพราะความประพฤติของนักกฎหมาย มีผลกระทบต่อประชาชนและสังคมอย่างกว้างขวาง หลักการสากล องค์กรวิชาชีพกฎหมาย เช่น ทนายความ จึงต้องประสบกับการควบคุมทั้งจากองค์กรวิชาชีพเดียวกันและองค์กรที่เป็นกลาง เช่น องค์กรศาล ที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของมหาชนและประโยชน์สาธารณะอันสืบเนื่องมาจากการให้บริการของวิชาชีพทนายความอันจะต้องให้ความเป็นธรรมแก่สังคม เพราะหากทนายความประพฤติตนอยู่ในกรอบแห่งจรรยาบรรณ กฎหมายและศีลธรรมอันดี สังคมย่อมจะได้รับความผาสุก แต่หากทนายความประพฤติไม่ถูกต้องแสวงประโยชน์บนความโง่เขลาเบาปัญหาทางกฎหมายของปวงชนแล้วแล้ว สังคมย่อมได้รับความเดือดร้อนเป็นการทั่วไปทุกหย่อมหญ้า เพราะวิชาชีพกฎหมายต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialized knowledge) และต้องได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพ วิชาชีพกฎหมาย จึงมีลักษณะเป็นการผูกขาด (Monopoly) ที่มีการสร้างกฎเกณฑ์ของตนเองเพื่อกีดกันการประกอบวิชาชีพทนายความจากสังคมภายนอก

ด้วยเหตุผลของการอ้างตนเป็น Professional องค์กรวิชาชีพทนายความ จึงอ้างความชอบธรรมที่จะต้องมีกฎเกณฑ์ในการควบคุมตนเอง (Self-regulating) เพื่อตัดการควบคุมโดยองค์กรของรัฐ เช่นว่า รัฐไม่มีความรู้เชี่ยวชาญเพียงพอในการควบคุมจรรยาบรรณและความประพฤติของทนายความได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้ออ้างดังกล่าวไม่อาจอยู่เหนือประโยชน์แห่งมหาชนได้ ในหลายประเทศ รัฐและองค์กรศาลจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมจรรยาบรรณและความประพฤติของทนายความเสมอ

สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ทุกรัฐจะออกกฎหมายรับรองมาตรฐานความประพฤติของทนายความตามข้อเสนอของเนติบัณฑิตอเมริกัน (American Bar Association) เนื่องจากวิชาชีพทนายความต้องเสนอบริการทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะ(public service)ประการหนึ่ง ที่จะต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นและมีมาตรฐานที่สูงกว่าองค์กรที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นองค์กรวิชาชีพ เนติบัณฑิตอเมริกันประจำรัฐและฝ่ายบริหารของรัฐ จึงเข้ามาบทบาทสำคัญในการดำเนินคดีมรรยาทของทนายความเสมอ โดยต้องดำเนินการสอบสวนและเสนอคำฟ้องไปยังศาลเพื่อลงโทษทนายความที่กระผิดจรรยาบรรณ (Ethics) ต่อไป และโดยส่วนใหญ่แล้ว คดีมรรยาทจะมีการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยในศาล เช่นเดียวกับการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป

การดำเนินคดีมรรยาททนายความในสหรัฐ จึงมีกระบวนการเกี่ยวกับคดีที่โปร่งใสและเป็นสาธารณะ ประชาชนเข้ารับฟังได้ ทั้งนี้เพื่อปกป้องประโยชน์ของประชาชนทั่วไป ที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย ได้รับการบริการที่ดีและเป็นธรรม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบเพราะการเป็นผู้มีวิชาชีพเหนือกว่าของทนายความ เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า หากองค์กรวิชาชีพทนายความถูกควบคุมตรวจสอบน้อยเพียงใด ประชาชนผู้รับบริการจากทนายความ ก็จะยิ่งมีทางเลือกน้อยงลงเพียงนั้น

ตัวอย่างคดีมรรยาทในสหรัฐที่น่าสนใจ คือ คดี “อมของหลวง”

สืบเนื่องมาจากกรณีรัฐสภาอเมริกันได้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อดำเนินกระบวนการ Impeachment ประธานาธิบดี Clinton กับ น.ส. Lewinsky ที่มีการกระทำผิดฐาน“อมของหลวง” (เพราะของหลวงตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้) จึงเกิดเรื่องราวใหญ่โต ข้อเท็จจริงคดีมรรยาทนี้ เป็นคดีระหว่างนาย Jame A. NEAL ประธานคณะกรรมาธิการว่าด้วยจรรยาบรรณและความประพฤติแห่งศาลสูงสุดของรัฐอาคันซอ (Executive Director of the Arkansas Supreme Court Committee on Profession Conduct) กับนาย William Jefferson CLINTON ซึ่งในขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีประเทศสหรัฐ ว่าได้ประพฤติผิดต่อวิชาชีพนักกฎหมาย โดยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ส่งคำร้องไปยังคณะกรรมาธิการว่าด้วยจรรยาบรรณฯ ประจำรัฐอาคันซอ ที่นายคลินตัน เคยเป็นทนายความและพนักงานอัยการประจำอยู่ในรัฐนั้น โดยกล่าวหาว่านายคลินตัน ให้การเท็จต่อผู้พิพากษาฯ อันเป็นการกระทำผิดมรรยาททนายความ

ประธานาธิบดีคลินตัน ได้ให้การเท็จต่อศาลในเกี่ยวกับความประพฤติอันไม่เหมาะสมทางเพศกับนางสาว Lewinsky ในคดีที่ประธานาธิบดีคลินตัน ตกเป็นจำเลยในคดีแพ่งที่ Ms. Paula Jones เป็นโจทก์ฟ้อง (โปรดดูรายละเอียดคดีที่ Jones v. Clinton, No. LR-C-94-290 (E.D.Ark.).) ซึ่งในที่สุดศาลในคดีมรรยาทนี้ ได้พิพากษาว่า แม้ว่าในขณะทำผิดมรรยาททนายความ นายคลินตันจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับอนุญาตให้ระงับการประกอบวิชาชีพว่าความในระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่นายคลินตันในฐานะที่เคยเป็นทนายความ ก็ยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหลักจรรยาบรรณและความประพฤติของนักกฎหมายอยู่ตลอดเวลา เมื่อนายคลินตัน จงใจละเมิดกฎหมายว่าด้วยจรรยาบรรณ (Arkansas Model Rules of Professional Conduct) ศาลจึงพิจารณาให้พักใบอนุญาต (Suspended) การประกอบวิชาชีพกฎหมายเป็นเวลา 5 ปี และปรับเป็นเงิน 25,000 เหรียญสหรัฐ นับแต่วันที่ 19 มกราคม ค.ศ.2001 เป็นต้นมา (ดูรายละเอียดคดี ที่ 2000 Westlaw (WL) 34355768 (Ark.Cir.))

หากจะพิจารณาย้อนกลับมาดูกฎหมายทนายความในประเทศไทย แล้วนับว่าแตกต่างกับการควบคุมจรรยาบรรณทนายความในสหรัฐเป็นอย่างมาก ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2528 จัดตั้งสภาทนายความขึ้น โดยได้ตัดการควบคุมโดยองค์กรอื่นออกไปอย่างสิ้นเชิง ก่อนกฎหมายฉบับนี้ ทนายความ จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเนติบัณฑิตสภา และองค์กรศาลยุติธรรม แต่ปัจจุบัน สภาทนายความ แต่เพียงผู้เดียวในการควบคุมมรรยาททนายความ มาตรการภายนอกที่จะควบคุมจรรยาบรรณฯ ในกรณีที่ทนายความประพฤติมิชอบหรือ ไม่มีคุณภาพ หรือผิดกฎหมายหรือผิดจรรยาบรรณและศีลธรรม (Malpractice) ออกไปโดยสิ้นเชิง ผลดีผลเสียจะเป็นอย่างไร จะได้นำมาเสนอในคราวต่อไป




Create Date : 11 พฤษภาคม 2548
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:31:59 น. 3 comments
Counter : 3389 Pageviews.

 
มาอ่านค่ะ


โดย: Aisha วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:0:39:38 น.  

 
เป็นเนื้อหาที่ดีมากเลย แต่ทำไมไม่มีจริยธรรมของนักกฎหมายเป็นข้อ ๆ ละคะ คือ ข้อที่1 ...ข้อ 2... ข้อ 3....
นะค่ะ ประชาชนตลอดจนนักศึกษาจะได้ทราบว่าที่จริงแล้วนักกฎหมายมีข้อควรปฏิบัติด้วยกันเท่าไหร่กันแน่ และต้องถูกต้องด้วย ขอบคุณมากเลยค่ะ จะคอยอ่านนะคะ คงมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการทราบไม่มากก็น้อยค่ะ


โดย: จริยา IP: 203.113.71.37 วันที่: 2 ธันวาคม 2550 เวลา:21:37:27 น.  

 
เห็นด้วยกับคุณ จริยา นะคับ

เพราะยังสามารถเป็นแหล่งความรู้ให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาได้ด้วยคับ


โดย: นัท IP: 61.7.183.128 วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:22:22:49 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.